โครงการเศรษฐกิจ พ่อ เพียง อนุบาล

ระดับชั้นปฐมวัยได้น้อมนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องของความพอเพียง ความมีเหตุผล และมีภูมิคุมกัน คุณธรรมนำความรู้ เด็กเรียนรู้เรื่องของการประหยัดและได้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ รับประทานอาหารไม่ให้เหลือ การนำเศษวัสดุมาประดิษฐ์ให้เป็นของเล่นของใช้  การปลุกผักไว้รับประทาน เด็กเกิดภูมิรู้ เป็นนักคิด และรู้จักใช้วิจารณญาณ

รูปแบบการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย

         การจัดกิกรรมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น การจัดกิจกรรมที่ผสมผสานหรือบูรณาการในทุกกิจกรรมเป็นการจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรง คุณครูมีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกันทำให้เด็กเด็กได้รับความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ได้รับรู้และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความสุขสนุกสนาน ทำให้เด็กค่อยๆซึมซับความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และกล้าแสดงออกในด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เกิดคามรู้สึกรักและมีความอนุรักษ์ในการรักษาธรรมชาติ มีความภาคภูมิใจ รักในบ้านเกิดของตน

          กิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ประกอบกับการที่ครูได้จัดสภาพแวดล้อม กระตุ้นและชี้แนะเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อเด็กปฐมวัยทำกิจกรรมทุกครั้งจึงส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้เผชิญกับปัญหาและได้ฝึกประสบการณ์การแก้ปัญหาโดยเด็กมีปฏิสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือกระทำและคิดด้วยตัวเด็กเอง ครูสนับสนุนให้เด็กควบคุมตนเองในการแก้ปัญหาในแต่ละกิจกรรมโดยการทำซ้ำๆ ตามความพอใจจะช่วยให้เด็กปฐมวัยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ในเรื่องของกฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) ว่า การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อยๆ ก็ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ให้เด็กได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติหรือทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ จนทำได้อย่างคล่องแคล่วและมีแรงจูงใจ มีความสนใจเข้าถึงเป้าหมายและคุณค่าของสิ่งที่ทำทั้งนี้เพราะเด็กปฐมวัยต้องการได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์แห่งการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการให้เด็กได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

การนำหลักความพอเพียงปรับประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย

   1.ใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการจัดกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมหลัก

   2. สอดแทรกเชื่อมโยงจากประสบการณ์ตรงทั้งในและนอกห้องเรียน

แนวคิดและการทำความเข้าใจ

   1.ศึกษาทำความเข้าใจหลักความพอเพียงที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ในเงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม

  2. นำหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน มาใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติจริงในการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย

  3. ไม่นำคุณลักษณะที่พึงประสงค์หรือคุณธรรมที่ต้องการปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยมาเป็นตัวแปรตามหรือเป็นจุดหมายของการจัดกิจกรรม

ข้อสังเกตการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้

• การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้หลายด้าน และ หลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ละคนจะต้องพิจารณา ปรับใช้ตาม ความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และสภาวะที่ตนเผชิญอยู่

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. เทศบาลตำบลจุนภายใต้การอำนวยการของปลัดเทศบาลตำบลจุน ว่าที่ร้อยเอกทูล จักรคำ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเทศบาล ร่วมโครงการ "ปฐมวัยเดินตามรอยพ่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเรียนที่ 2/2563 (ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ 3. เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าของการพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้


ข้อความนี้ถูกเขียนใน ข่าวประชาสัมพันธ์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดทักษะในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน (3) เด็กนักเรียนได้รับการปลูกฝังในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นประเมิน (3) กิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติ