ขับรถขึ้นเขา เกียร์ ออ โต้

สำหรับใครที่กำลังวางแผนขับรถ เที่ยวภูเขา เที่ยวดอย หรือเที่ยวผาต่างๆ คงต้องขับรถทั้งขึ้นเขาลงเขา แล้วเราต้องทำยังไงบ้างละ วันนี้ TPIS มีคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาเพิ่มความปลอดภัยให้ ทั้งรถเกียร์ธรรมดา(เกียร์กระปุก) และเกียร์ออโต้ เรามาเริ่มกันเลยแล้วกัน

Show

ความเร็วในการขับรถขึ้นเขา

ความเร็วในการขับรถขึ้นเขา – ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเขา ขึ้นดอย ที่ถนนมีความชันมากๆ เราต้องรักษาความเร็วของรถไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 50 – 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เร็วเกินไปจนแหกโค้ง หรือช้าจนรถขึ้นไม่ไหวไหลไปชนคันข้างหลัง ยิ่งถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาต้องระวังเรื่องคลัทซ์เป็นพิเศษเพราะอาจจะทำให้รถไหลเวลาเปลี่ยนเกียร์ได้

ความเร็วในการขับรถลงเขา

ไม่ว่าจะเป็นรถเกียร์ออโต้หรือรถเกียร์ธรรมดาก็ควรใช้ความเร็วไม่เกิน 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในการขับรถลงเขา เพราะนอกจากจะช่วยให้เราปลอดภัยจากอุบัติเหตุรถชนแล้ว ยังช่วยให้ผ้าเบรคไม่ต้องทำงานหนักอีกด้วย

หากเราไม่มั่นใจในการควบคุมความเร็วรถ เราสามารถใช้เกียร์เป็นตัวช่วยได้ โดยใช้เกียร์ 1 หรือ 2 เพื่อเพิ่มแรงฉุดรถ หรือถ้าเป็นเกียร์ออโต้ ให้ใช้เป็นเกียร์ S หรือ L ก็จะช่วยให้รถไม่ไหลเพิ่มแรงฉุดได้เยอะ ส่วนรายละเอียดจะเป็นยังไงลองอ่านกันดูครับ

ใช้เกียร์ต่ำขับรถขึ้นเขา ลงเขา

เวลากำลังขับรถลงเขาหากเป็นเกียร์ธรรมดาควรใช้เกียร์ต่ำเพียงแค่เกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้น ห้ามใช้เกียร์ว่างในการลงเขาเด็ดขาด รถเกียร์ออโต้ก็เช่นกัน ไม่ควรใช้ทั้งเกียร์ N และ D ในการลงเขาแต่ควรใช้เกียร์ S หรือ L เพื่อเพิ่มรอบแรงฉุดของเครื่องยนต์จะเหมาะกับการขับรถลงเขามากกว่า

มิเช่นนั้นรถอาจจะมีแรงฉุดจากเครื่องยนต์ไม่มากพอ และทำให้รถไหลลงเขาแรงเกินไปด้วยน้ำหนักของรถ และเสียการควบคุมจนเกิดอุบัติเหตุได้

ขับรถขึ้นเขา ลงเขา รถเกียร์ธรรมดาระวังเรื่องคลัทซ์

เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเครื่องยนต์และล้อผ่านทางเกียร์ หากเราเหยียบคลัทซ์ขณะที่ขับรถขึ้นเขา หรือ ลงเขา เพื่อเปลี่ยนเกียร์ เครื่องจะเสียแรงฉุดแม้จะเป็นระยะสั้นๆ รถก็อาจจะไหลได้ถ้าขับไม่ชำนาญมากพอ และไม่ควรเอาเท้าวางบนคลัทซ์ขณะขับรถขึ้นเขา เพราะถ้าเราเกิดเมื่อยหรือเหยียบไปด้วยความเคยชินก็อาจเกิดอุบัติเหตุจากรถไหลได้ เช่นกัน

ใช้เบรคมือเป็นตัวช่วยเวลาขับรถขึ้นเขา ลงเขา

ถือเป็นตัวช่วยในการขึ้นเขาลงเขา หากต้องจอดค้างอยู่บนเนินนานๆ จะช่วยให้เราได้พักขา และช่วยให้เบรคไม่ต้องทำงานหนักจนเกิดความร้อนมากเกินไปอีกด้วย

ขับรถขึ้นเขา ลงเขาไม่ควรเหยียบเบรคแช่

หากเราขับรถลงเขาเป็นเวลานานๆ ผ้าเบรคจะสะสมความร้อนจากการเบรคมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นเราควรจะขับแบบค่อยๆ แตะเบรคเป็นระยะๆ ไม่ควรเหยียบเบรคแบบแช่นานๆ เพราะผ้าเบรคที่มีความร้อนสะสมนานๆ อาจเกิดการผ้าเบรคไหม้ และเบรคไม่อยู่จนเกิดอุบัติเหตุได้

          อย่างไรก็ตาม การขับรถขึ้นหรือลงเขาไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขอเพียงแค่รู้เทคนิคการใช้งานเกียร์ และไม่ใช้ความเร็วสูงเกินไป แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นเกียร์แบบไหนตัวผู้ขับขี่เองควรศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง หากดูแล้วภูเขาที่จะไปมีความลาดชันมาก และเส้นทางค่อนข้างอันตราย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถขึ้นไปเอง และใช้บริการรถของคนในพื้นที่เพื่อความปลอดภัย

สำหรับ Frank แล้ว เรื่องเที่ยวขอให้บอกครับ โดยเฉพาะ การขับรถเที่ยว เป็นอีกกิจกรรมที่ Frank ชอบและแนะนำเลยครับ ยิ่งช่วงใกล้ปลายปี หลายคนคงเตรียมลาพักร้อนกันแล้วใช่ไหมล่ะ Frank เองก็มีที่หมายตาไว้แล้วครับ ยิ่งใกล้สิ้นปี อากาศหนาว ภูเขาเป็นที่หมายเลยครับ แต่ข่าวเกี่ยวกับรถตกเขาก็เป็นอุบัติเหตุที่เราได้ยินกันบ่อย Frank เป็นห่วงเพื่อนๆ นะครับ เลยอยากมาเล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ฟังเป็นตัวอย่าง ว่าตอนที่เราไปเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเนี่ย ทำไงให้เราเอาตัวรอดมาได้

ประสบการณ์ขับทางชันครั้งแรกของ Frank

เมื่อตอนขับรถเป็นใหม่ๆ Frank ก็อยากขับรถเที่ยวเพื่อแสวงหาแรงบันดาลใจตามป่าตามดอยชิลๆ บ้าง ไม่รู้ทางก็เปิด Google map เอา ปรากฎว่า Google เลือกเส้นทางที่เร็วที่สุดให้ครับ แต่...มันคือทางหลวงชนบทที่มีแต่ป่ารก ๆ ไปตลอดทางและมันเป็นทางขึ้น-ลงเขาที่ชันมากที่สุดที่เคยเจอเลยครับ รถชาวบ้านก็ไม่มีมาให้อุ่นใจเลยมี Frank เดินทางกลางป่าอยู่คนเดียว เหงาและหลอนทีเดียวครับ
ตอนนั้นสิ่งเดียวที่กลัว คือกลัวรถเป็นอะไรไปแล้วออกจากป่าไม่ได้ครับ เลยต้องตั้งสติให้มั่นจัดเกียร์ D ขึ้นเขาที่ชันเกือบ 45 องศาไปแบบเอื่อย ๆ เอื่อยแบบที่ถ้าลงเดินคงถึงไวกว่าอีกครับ ขาขึ้นยังนึกขำ ๆ ว่า เออดีนะ รู้แต่ทฤษฎีเทคนิคการใช้เกียร์ออโต้ขึ้นเขาเพิ่งได้เอามาใช้จริง ระหว่างขึ้นไปก็มองวิวมองป่าไปเพลินดีฮะ วิวภูเขาระหว่างทางสวยมาก ธรรมชาติสุด ๆ แต่ ณ จุดนั้นไม่มีอารมณ์ชิลล์ละครับ ลุ้นมากกว่า กลัวจะตกเขา
q_start

ห้ามใช้เกียร์ N ลงเขาโดยเด็ดขาด

q_end
ถ้าขาขึ้นว่าท้าทายแล้ว ขาลงนี่คือไฮไลท์เลยครับ มันสุดยอดมากเหมือนขับรถเล่นเกมส์เลยฮะ แต่..มันคือชีวิตจริงครับ! หักโค้งแบบหักศอกเพียบตลอดทาง ทางลงชันกว่า 45 องศาเกือบ 3 ชั่วโมง (เป็นทางหลางชนบท 2 เลนส์แคบๆ พอให้ขับสวนกันได้ครับ) งานนี้ไม่มีเวลามาคิดเปลี่ยนเกียร์กันล่ะครับ จัด D ยาวตลอดทาง แค่จับพวงมาลัยเพื่อหักโค้งให้ทันก็จะแย่แล้วครับ หายง่วงเป็นปลิดทิ้ง ในตอนนั้นคิดอย่างเดียวเลยว่าดีนะที่เราต่อประกันรถยนต์ไว้ก่อนเดินทาง เกิดเป็นไรขึ้นมาก็ยังมีตัวช่วยล่ะ แต่จะระวังเรื่องการใช้เบรกอย่างสุดชีวิต (นั่นคือสิ่งเดียวที่ช่วยรักษาชีวิตเราเลยครับ)
พอลงมาได้ จอดรถเลยครับขาแข้งสั่นไปหมด รีบโทรหาที่บ้านก่อนเลยว่าเราคิดถึงพวกเค้ามากนะ เราจะซื้อของไปฝากเยอะ ๆ เลย ที่บ้านก็งงซิครับว่าเราเป็นอะไรหรือเปล่า? ไม่กล้าบอกเลยครับว่าเพิ่งผ่านเหตุการณ์เฉียดตายมาหมาดๆ Frank เลยอยากสรุปให้เพื่อนๆ เตรียมตัวก่อนขับรถเที่ยวนะครับ

ขับรถเที่ยวจะสนุกหรือไม่ นอกจากเพื่อนร่วมทางที่ไปด้วยกันแล้ว ความพร้อมของรถยนต์ การป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุด้วยการต่อประกันรถยนต์ให้พร้อมก็เป็นอีกตัวช่วยที่สำคัญไม่แพ้กัน

สิ่งที่สำคัญของการขับรถเที่ยวขึ้น-ลงเขา   

นอกจากความชำนาญของเส้นทางที่เราจะขับแล้ว Frank อยากแนะนำเรื่องของการใช้ความเร็วของรถยนต์ การใช้เบรก และการกะระยะห่างจากรถคันหน้าด้วยครับ

การใช้ความเร็ว

ควรขับให้ช้ากว่าปกติ เพราะยิ่งช้าเรายิ่งควบคุมรถได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะทางโค้งลงเขาและถ้าเราไม่ชำนาญเส้นทางด้วยแล้วขับให้ช้าลงและชิดซ้ายไว้เลยครับ เผื่อรถคันอื่นที่รีบเดินทางจะได้แซงเราไปได้

การใช้เบรก

ตอนขึ้นเขานั้นเราไปเน้นที่การเร่งเครื่องยนต์ให้รถมีกำลังมากพอและรอบของเครื่องยนต์เป็นหลัก ส่วนตอนลงเขา “เบรก” สำคัญที่สุดเลยครับ การใช้เบรกที่ถูกต้องนั้นห้ามเหยียบเบรกค้างนานๆ ให้เราเหยียบเบรกให้ลึกแล้วปล่อยเป็นจังหวะไปตลอดทางเพื่อหลีกเลี่ยงการไหม้ของผ้าเบรกนะครับ
แต่ถ้าเริ่มได้กลิ่นไหม้แล้วล่ะก็ หาที่จอดรถที่ปลอดภัยและจอดพักรถให้น้ำมันเบรกเย็นลงก่อนค่อยขับรถเที่ยวกันต่อไปครับ

เว้นระยะปลอดภัย

อย่าไปขับจี้รถคันหน้ามากนัก เว้นระยะให้ห่างจากปกติไปเลยครับ เพราะนอกจากทำให้เรามองเห็นทางในระยะไกลแล้ว ยังเผื่อระยะให้เบรกทำงานได้มากขึ้นตอนที่ลงเขาที่ลาดชันเพื่อป้องกันอุบัติเหตุชนท้ายด้วยนะครับ
ขับรถเที่ยวขึ้น-ลงเขาใช้เกียร์อะไรดีระหว่าง S, L, D หรือ D3?
ประกันเดินทางในประเทศ

การใช้เกียร์ออโต้ระหว่างขับรถขึ้น-ลงเขา

ขับรถขึ้นเขา

เรามาเริ่มการขับรถเที่ยวขึ้นเขาโดยการใช้เกียร์ D ตามปกติไปก่อนเลยครับ แล้วให้เราสังเกตรอบของเครื่องยนต์ซะหน่อยไม่ให้เกิน 4500 รอบต่อนาทีเพื่อป้องกันเครื่องยนต์พังอ่ะนะครับ
ถ้าเกียร์ D แล้วเครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้นหรือรอบของเครื่องยนต์แตะ 4500 แล้วให้เราปรับมาใช้เกียร์ D3 หรือ S เพื่อให้เครื่องยนต์เร่งขึ้นก่อนแล้วค่อยปรับมาใช้ D เมื่อถึงทางลาดนะครับ

ขับรถลงเขา

ขาลงนั้นก็ไม่ยากครับ เริ่มต้นด้วยด้วยเกียร์ D เหมือนกันเลยฮะ (ไม่ว่าจะเจออะไร จัด D ไว้ก่อน) ถ้าไปเจอทางลงเขาที่ชันมาก ๆ เราปรับเป็น L หรือ D2 เพื่อให้เวลาขับรถลงเขามันจะหน่วงให้เราลงได้ช้าลงเพิ่มความปลอดภัยให้เรามากขึ้น

ที่สำคัญในการขับรถลงเขาคือ “เบรก” ฮะ อย่าไปกดแช่ ลากยาว ๆ เบรกจะไหม้เอาได้ ให้เราเหยียบให้ลึกในแต่ละครั้งเพื่อให้เบรกอยู่และค่อย ๆ เหยียบไปตามระยะจะดีกว่าครับ

ขับรถขึ้นลงเขาใช้เกียร์อะไร

การลงเขา – ควรใช้เกียร์ต่ำ เพราะในทางลาดรถยนต์อาจจะไม่ต้องการกำลังของเครื่องมากนัก แต่ต้องการแรงฉุดเพื่อชะลอความเร็ว เกียร์ต่ำจะทำให้รถมีแรงฉุดมากกว่าทำให้รถไม่ไหล ง่ายต่อการเลี้ยงเบรกและบังคับรถเข้าโค้งในทางลาดได้ดีกว่า

ลงเขาใช้เกียร์อะไร เกียร์ออโต้

ใช้เกียร์ต่ำทุกครั้งที่ลงเขา การขับรถลงเขานั้นควรใช้เกียร์ต่ำเป็นหลัก เกียร์ธรรมดา คือ เกียร์ 1-2 เกียร์ออโต้ คือ เกียร์ D2, D1, 2 หรือ L เพราะการใช้เกียร์ต่ำ เครื่องยนต์จะมีแรงฉุด แรงดึงของเครื่องยนต์ หรือที่เรียกกันว่า Engine Brake เป็นตัวช่วยในการลดความเร็ว และลดการใช้เบรกได้อีกด้วย

การขับรถเกียร์ออโต้ ยากไหม

ข้อเสีย ขับขี่ยาก เพราะต้องมีการเหยียบคลัตช์ และเท้าต้องสัมพันธ์กัน การเลี้ยงเบรกเลี้ยงคลัตช์ทำได้ยาก จอดรถลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่ต้องอยู่บนเนินหรือสะพานนานๆ ถ้าเหยียบไม่ดีจะทำให้รถดับ ไม่เหมาะกับรถที่ขับอยู่ในตัวเมือง เพราะมีการจอดติดไฟแดง มีการเบรก การขยับ ตลอดเวลา ต้องเข้าเกียร์บ่อยๆ

รถเกียร์ออโต้ขับอย่างไร

การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ