ประกอบธุรกิจ ให้ กู้ยืม เงิน

SMEs อยากได้เงินลงทุนสักก้อนเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดหลังจากช่วงโควิดที่ผ่านมา แต่ไม่มีสินทรัพย์ ควรทำอย่างไรดี

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนเพื่อนำมาจัดการกับปัญหาของกิจการที่เกิดขึ้นหลังจากผ่านช่วงโควิดมา แต่ไม่มีสินทรัพย์ในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือยื่นกู้เงินจากธนาคารใด ๆ ก็โดนปฏิเสธมานักต่อนักจนเริ่มอ่อนระทวยและเหนื่อยใจในการยื่นเอกสารการกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจจากสถาบันการเงินต่าง ๆ วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการกู้เงินในกรณีที่ไม่มีสินทรัพย์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการกู้เงินมาฝากกัน

Show

ธุรกิจ SMEs หรือ Small and Medium Enterprises คือธุรกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของ ซึ่งช่วยกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีผลประกอบการทางธุรกิจไม่สูงมาก มีการบริหารธุรกิจเป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือธุรกิจใด ๆ อีกทั้งช่วยกระจายรายได้สู่ระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น รวมถึงชุมชนระดับฐานราก ช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวบ้าน อาทิ สินค้าโอทอป (OTOP) เป็นต้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็มีจำนวนพนักงานไม่มาก และมีต้นทุนต่ำ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจ SMEs ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนเกิดความกังวลใจและมีคำถามเกี่ยวกับการกู้เงินในธุรกิจ SMEs ในกรณีที่ผู้กู้ไม่มีสินทรัพย์ว่า เราจะสามารถกู้ได้หรือไม่ เราต้องเตรียมตัวก่อนการขอสินเชื่อ SME เพื่อเริ่มต้นธุรกิจอย่างไร เป็นสิ่งที่เราควรหาคำตอบและทำความเข้าใจก่อนในเบื้องต้น

1. จดทะเบียนการค้าถูกต้องตามกฎหมาย

ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนพาณิชย์ การจดทะเบียนนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น เพราะเป็นเงื่อนไขพื้นฐานของธนาคารแต่ละแห่งในการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ ซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินกิจการว่าเราดำเนินธุรกิจ SMEs อยู่จริง และเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามทวงหนี้ในกรณีที่ไม่คาดฝัน ดังนั้น ก่อนการขอสินเชื่อ หากยังไม่มีทะเบียนการค้า อย่าลืมดำเนินการในข้อนี้ให้เรียบร้อยก่อน

2. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

สิ่งที่ผู้อยากได้เงินลงทุนสักก้อนต้องทำกันเป็นลำดับต่อมา ได้แก่การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้ประกอบการจะต้องมีบัญชีทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย การสต๊อกสินค้า เจ้าหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐานให้ธนาคารตรวจสอบว่าเรามีแหล่งรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจที่ธนาคารจะใช้พิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อให้ SMEs ในการเริ่มต้นธุรกิจ

3. เดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ

โดยธนาคารจะใช้ประกอบพิจารณาร่วมกับบัญชีรายรับ-รายจ่าย (ข้อที่ 2) หากเรามียอดเดินบัญชีบ่อย ๆ ไม่ถอนเงินออกจากธนาคารก้อนเดียวทั้งหมด หรือถอนเงินออกหมดในคราวเดียวกันภายในวันเดียวกัน ก็เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจให้กับเจ้าของกิจการที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เราต้องแจ้งธนาคารเกี่ยวกับยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน

4. มีประวัติการจ่ายหนี้ที่ดี

การสร้างเครดิตที่ดีก็เปรียบเสมือนการสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนดูมีความน่าเชื่อถือ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีเครดิตที่ดี มีประวัติการเป็นหนี้แต่จ่ายเงินตรงตามเวลาการชำระเงิน และไม่มีประวัติติดเครดิตบูโรเพราะหากธนาคารตรวจพบรายงานการติดเครดิตบูโรก็อาจทำให้คุณเสียประวัติได้ ซึ่งส่งผลสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการเงินของคุณที่ธนาคารใช้ประกอบการพิจารณาความสามารถในการจ่ายหนี้ในขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อเพื่อธุรกิจนั่นเอง

5. ขอสินเชื่อให้เหมาะกับตัวเอง

โดยผู้กู้ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระเงินแก่ธนาคาร ซึ่งพิจารณาจากรายได้ ภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่าย เป็นต้น ดังนั้นก่อนคิดจะกู้เงิน ผู้ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนควรจะวางแผนการชำระหนี้ให้ดีเพื่อเตรียมความพร้อมในการชำระเงิน ที่สำคัญไม่ควรกู้เงินเกินความจำเป็น เพราะสุดท้ายแล้วอย่าลืมว่าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารอีกด้วย

อยากได้เงินลงทุนสักก้อน จะกู้ได้จริงไหม?


หากใครทำตามและเตรียมตัวก่อนการกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SMEs ตามที่เราแนะนำ รับรองว่าเรื่องการกู้เงินเป็นเพียงเรื่องง่ายดายขึ้นมาทันที เพราะทุกวันนี้มีสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SMEs ที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่สำคัญดอกเบี้ยต่ำ กู้สินเชื่อได้ง่าย ซึ่งเจ้าของธุรกิจ SMEs ที่อยากปรับปรุงธุรกิจสามารถกู้ได้ง่าย ๆ ด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์
  • ดอกเบี้ยต่ำ
  • ให้วงเงินสูงตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ
  • ระยะเวลาชำระคืนธนาคารนานสูงสุด 120 วัน
  • อัตราดอกเบี้ย สูงสุด MLR+1.50% ต่อปี
  • ลดภาระการจัดการ โดยธนาคารบริการจ่ายเงินให้คู่ค้าโดยตรง

สุดท้ายนี้เราอยากจะฝากบอกเจ้าของกิจการ SMEs ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนว่า การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและวงเงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด หากกำลังตัดสินใจว่าจะขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจธนาคารไหนดี โปรดศึกษาข้อมูลสินเชื่อเพื่อการลงทุนขนาดเล็กหรือ สินเชื่อ SMEs ให้เข้าใจก่อน หรือปรึกษาได้ที่ 02-208-2900

​​​ เลือก Tab "Non-bank ที่เปิดดำเนินการ" และเลือก​ประเภทธุรกิจ​ "บริษัทผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต"​​​)​
  

2. ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

หมายถึง นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลธรรมดาโดยไม่มีหลักประกัน เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่ไม่รวมการเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท (ดูรายชื่อบริษัท​​​​ เลือก Tab "Non-bank ที่เปิดดำเนินการ" และเลือก​ประเภทธุรกิจ​ "บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ"​​​)​​​

3. ผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพสำหรับบุคคลรายย่อย (นาโนไฟแนนซ์)

หมายถึง นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลธรรมดาโดยไม่มีหลักประกัน เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ ทั้งนี้่ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท  (ดูรายชื่อบริษัท​​​​ เลือก Tab "Non-bank ที่เปิดดำเนินการ" และเลือก​ประเภทธุรกิจ​ "บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อราย​ย่อยเพื่อประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ"​​​)​​   ​​

4. ผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ก่อนให้บริการจะต้องได้รับการพิจารณาจาก ธปท. ก่อน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ (ดูรายชื่อบริษัท)​ ได้แก่

01

บัญชี ก - ผู้ให้บริการที่ต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบก่อนให้บริการ ได้แก่ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำห​นดไว้ล่วงหน้าจากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว เช่น บัตรที่ใช้ในศูนย์อาหาร 

02

บัญชี ข - ผู้ให้บริการที่ต้องขอขึ้นทะเบียนก่อนให้บริการ ได้แก่ การให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต การให้บริการเครือข่ายอีดีซี (เครือข่ายการรับส่งข้อมูลการชำระเงินจากเครื่องรับบัตรไปยังสถาบันผู้ออกบัตร) การให้บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงินระบบใดระบบหนึ่ง (ศูนย์กลางรับส่งข้อมูลที่ใช้ในการหักบัญชีและชำระดุลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์) การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้าและรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน เช่น บัตรที่ใช้ชำระค่าตั๋วภาพยนตร์และสินค้าอื่นในเครือของโรงภาพยนตร์ 

​03

บัญชี ค - ผู้ให้บริการที่ต้องได้รับอนุญาตจาก ธปท. ก่อนให้บริการ ได้แก่ ธุรกิจการให้บริการหักบัญชี การให้บริการชำระดุล การให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์หรือเครือข่ายการให้บริการสวิตช์ชิ่งชำระเงินหลายระบบ การให้บริการชำระเงินแทน การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้าและรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ให้บริการหลายรายโดยไม่จำกัดสถานที่ และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและให้บริการเดียวกัน เช่น บัตรที่ใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าและสินค้าในร้านค้าที่ร่วมรายการ

 

5. ผู้ให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนเงินหรือโอนเงินตราต่างประเทศ

หมายถึง นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ได้แก่​​ 

01​

บุคคลรับอนุญาต (Authorized Money Changer) หมายถึง นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจซื้อและขายธนบัตรต่างประเทศ และรับซื้อเช็คเดินทาง ดังนี้

รับซื้อธนบัตร เหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ หรือเช็คเดินทางที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศโดยไม่จำกัดจำนวน

ขายธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ ให้แก่ผู้จะเดินทางไปต่างประเทศไม่เกิน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า ต่อคนต่อการเดินทาง 1 ครั้ง (ดูรายชื่อบริษัท)​​​

02

ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (Money Transfer Agent) หมายถึง นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการโอนและรับโอนเงินตราต่างประเทศ

รับโอนเงินตราต่างประเทศจากบุคคลในต่างประเทศ เพื่อจ่ายเงินบาทให้ผู้รับในประเทศโดยไม่จำกัดจำนวน

​โอนเงินตราต่างประเทศให้แก่บุคคลในต่างประเทศ เพื่อชำระเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเลี้ยงดูครอบครัว เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการศึกษา หรือค่าบริการย่อยอื่น ๆ ไม่เกิน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าต่อคนต่อวัน