มูลนิธิ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

         หากเป็นองค์กรการกุศลที่ได้รับอนุมัติ แม้จะไม่ต้องนำเงินได้ไปเสียภาษี แต่โดยหลักการที่ถูกต้องแล้ว ควรดำเนินการในนามขององค์กร ให้ถูกต้อง จัดทำบัญชี และยื่นแบบฯ ชำระภาษีให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายต่อไปครับ

การเปิดมูลนิธิหรือองค์กรสาธารณกุศลจะสามารถเปิดกันได้ง่ายๆ เพราะต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วยข้อบังคับทางกฎหมาย ล้วนมีความรับผิดชอบต่อภาษีสรรพากรทั้งสิ้น ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งก็ยังมีอีกหลายๆ คนที่ยังไม่ทราบในกฎข้อบังคับนี้ แต่ไม่ใช่ปัญหา เพราะเราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นโยชน์ต่อคุณหรือใครก็ตามที่กำลังคิดอยากจะเปิดมูลนิธิหรือองค์กรสาธารณกุศลมาให้คุณได้รู้กันว่า ในมุมมองของสรรพากรนั้น เขามองมูลนิธิอย่างไร และสมาคมอย่างไร แตกต่างกันไหม ต้องจ่ายภาษีในส่วนไหนบ้าง ขอบอกเลยว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากนั้น จะถือเป็นความรู้ใหม่ที่หลายคนยังไม่เคยรู้มาก่อนแน่ๆ ไม่รอช้า เราไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลยดีกว่า

มูลนิธิ

มูลนิธิในมุมมองของสรรพากรหมายถึง ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่นๆ โดยไม่ได้มีความประสงค์จะมุ่งหาผลประโยชน์เข้าตัวเองและพรรคพวก ที่สำคัญต้องจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนในเรื่องการจัดการทรัพย์สินและรายได้อื่นๆ ต้องไม่ใช่การหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งต้องดำเนินกิจกรรมหรือหารายได้เพื่อมาดำเนินตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเท่านั้น หรือสรุปใจความสำคัญคือ การก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมานั้น ต้องทำเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือสัตว์หรืออื่นๆ โดยห้ามหาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองโดยการใช้การรับบริจาคหรือกิจกรรมอื่นๆ ภายใต้ชื่อของมูลนิธินั่นเอง

สมาคม

สมาคมในมุมมองของสรรพากรหมายถึง การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและไม่ใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันเองรายบุคคล ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้รวมถึงสมาคมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นๆ ได้แก่ พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 พระราชบัญญัติฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

แล้วทั้งมูลนิธิหรือสมาคมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?

ทั้งนี้รายได้ที่ได้รับจากค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงต่างๆ ที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงินรวมถึงทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค การให้โดยเสน่หา ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเป็นรายรับในการเสียภาษี แต่หากมูลนิธิและสมาคมที่เข้าข่ายต้องเป็นผู้ประกอบการ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีดังกล่าวด้วย

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแล้วมูลนิธิและสมาคมต่างๆ ต้องจ่ายด้วยเหรอ?

นอกจากจะได้รับการยกเว้นตามข้อกฎหมายนอกจากนั้นแล้ว ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลประเภทหนึ่ง มูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารณกุศลก็อยู่ในข้อบังคับ ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งต่อกรมสรรพากร ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ด้วย มูลนิธิ สมาคม ที่มีฐานะเป็นองค์กร หรือสถานสาธารณกุศล เป็นอีกสถานะหนึ่งในทางกฎหมายสรรพากรที่เอื้อประโยชน์แก่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลที่จะได้รับส่วนลดทางภาษี ได้แก่ เมื่อบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานสาธารณกุศล โดยบุคคลธรรมดาจะได้รับลดหย่อนภาษีจำนวนเท่ากับที่ได้บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆ ส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะมาตั้งมูลนิธิ สมาคม องค์กรต่างๆ ได้ง่ายๆ

การดำเนินการเพื่อให้ได้รับการประกาศเป็นองค์กรหรือสถานสาธารณกุศล เป็นวินิจฉัยของคณะกรรมการมูลนิธิที่จะดำเนินการยื่นคำขอหรือไม่ อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอนไว้ การจะบรรลุผลได้รับการประกาศเป็นองค์กรหรือสถานสาธารณกุศล มูลนิธิ สมาคม จะต้องดำเนินการต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ตามประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 704) ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งจะใช้บังคับสำหรับมูลนิธิที่ได้ยื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกรมสรรพากรตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป

ส่วนมูลนิธิที่ยื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนนั้น ยังคงใช้หลักเกณฑ์ ขั้นตอนตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม

มูลนิธิ สมาคม องค์กร หรือสถานสาธารณกุศลที่เราเห็นกันอยู่ทั่วๆ ไป มีทั้งขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ บางที่มีสมาชิกเป็นหลักหมื่นคนซึ่งก็แล้วแต่การดำเนินงานขององค์กร ซึ่งแต่ละคนที่เข้ามาทำงานนั้นคงมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการช่วยเหลือสังคมไทยให้ดีขึ้น เพราะต้องบอกเลยว่าผู้ที่สละตนเข้ามารับหน้าที่ในมูลนิธิ สมาคมต่างๆ ล้วนแล้วต่างมีจิตใจที่เสียสละต่อสังคมและส่วนรวมเป็นอย่างมาก แต่ก็อย่าลืมว่าทุกอย่างต้องมีกฎเกณฑ์ในการดำเนินงาน ภาระหน้าที่การจัดทำเอกสารหลักฐาน การเก็บบันทึกรายการเพื่อการเสียภาษีเงินได้ประจำปีก็คงยังต้องทำ การจัดเก็บเอกสารหลักฐานการดำเนินงาน ซึ่งเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่บางคนไม่ได้จบสายงานบัญชีมาอาจจะละเลิกได้ ทางที่ดีในองค์กรหรือมูลนิธิ ควรมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความรู้ในด้านบัญชีมาช่วยตรวจสอบเรื่องวางแผนภาษี คืนภาษี หรือเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้สักคนสองคน เพื่อที่การทำงานในเรื่องภาษีจะได้ไม่มีปัญหาตามมา เอาเป็นว่าไม่ว่าใครที่อยากก่อตั้งมูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารณกุศลคงต้องหันกลับมาศึกษาเรื่องการชำระภาษีต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ดีก่อน เพื่อที่การดำเนินงานและวัตถุประสงค์จะได้ดำเนินต่อไปได้โดยสะดวกและถูกต้องตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด

มูลนิธิเสียภาษียังไง

รายได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของมูลนิธิหรือสมาคม ได้แก่ รายได้จากการ ประกอบกิจการ เช่น ค่าเช่า รายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ และรายได้จากทุน เช่น ดอกเบี้ย และเงินปันผล เป็นต้น มูลนิธิหรือสมาคมจะต้องนำรายได้ดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตรา ที่กฎหมายกำหนด โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

มูลนิธิมีเลขที่ผู้เสียภาษีไหม

มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

มูลนิธิได้รับยกเว้นภาษีอะไรบ้าง

มูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรายได้ดังต่อไปนี้มาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ 1. ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้จากสมาชิก 2. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค 3. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการให้โดยเสน่หา

มูลนิธิ เสียภาษีที่ดินไหม

๒. ตามข้อหารือขององค์การบริหารส่วนตำบลละหาร พิจารณาแล้วเห็นว่า ๒.๑ ทรัพย์สินของมูลนิธิที่เป็นนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย มีสถานะเป็นมูลนิธิของเอกชน ซึ่งจะต้องอยู่ในสถานะที่จะต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒