เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปตามกฎหมาย หลายคนพอจะได้ทราบกันไปแล้วว่าโซลาร์รูฟท็อปดียังไง และมีอยู่ด้วยกันกี่แบบ แต่การจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ทันที เพราะจะต้องมีกระบวนการขออนุญาตหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งการขออนุญาตติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปนั้นจะแบ่งการขออนุญาตออกเป็น 2 แบบคือ

1. การขออนุญาตเพื่อขอขายไฟคืนตามโครงการไฟฟ้าภาคประชาชน (ต้องติดตั้งขนาดที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์) และต้องเป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น (ประเภท1)

2. การขอขนานไฟเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรี โดยติดตั้งที่มีกำลังการผลิตได้ทุกขนาดไม่จำกัด

โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งการขายไฟคืน หรือการติดตั้งเพื่อใช้ภายในบ้านหรือสำนักงาน จะต้องติดต่อกับหน่วยงานของรัฐทั้ง 3 หน่วยงานดังนี้ค่ะ

1. กกพ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) เพื่อแจ้งขอเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นและขอรับใบอนุญาตทำการผลิตพลังงานควบคุม

2. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือสำนักงานเขตที่อาคารที่จะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปตั้งอยู่เพื่อขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1)

3. กฟน. (การไฟฟ้านครหลวง) หรือ กฟภ. (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ในเขตพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้ง

เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

ขั้นตอนการยื่นขอติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

1. ยื่นเอกสารต่อ กกพ. เพื่อแสดงความจำนงในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปหลังจากนั้นจะได้ใบอนุญาตให้ผู้ยื่นขอสามารถทำการผลิตพลังงานควบคุมได้

2. เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์มีน้ำหนักถึง 22 กิโลกรัม การนำแผงโซลาร์เซลล์จำนวนหลาย ๆ แผงไปวางบนหลังคา จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างหลังคาว่ารับน้ำหนักได้หรือไม่ ผู้ติดตั้งจึงต้องยื่นแบบขอต่อเติมอาคารกับสำนักงานเขต หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น แล้วก็จะได้ใบอนุญาตมา 1 ใบ (แต่ในกรณีที่พื้นที่ติดตั้ง มีขนาดไม่เกิน 160 ตรม. และมีน้ำหนักรวมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์และโครงสร้างรับรองแผงไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อ ตรม. ไม่ต้องขอใบอนุญาต อ.1 แต่จะต้องขอแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นทราบว่าการออกแบบและการคำนวณได้มีวิศวกรโยธาเซ็น๖รับรอง )

3. นำเอกสารทั้ง 2 ส่วนมายื่นต่อการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าฯส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งการไฟฟ้าฯจะนำมิเตอร์ไฟฟ้ามาเปลี่ยนให้ใหม่ เป็นมิเตอร์แบบป้องกันไฟฟ้าย้อนกลับ และหากจะขายไฟฟ้าคืน มิเตอร์ก็จะเป็นอีกประเภทหนึ่งที่สามารถปล่อยไฟฟ้ากลับคืนสายส่งของภาครัฐได้ โดยขั้นตอนทั้งหมดเป็นไปตามเงื่อนไข ของผู้จำหน่ายในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ค่ะ

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม  โซลาร์รูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

1. จัดทำแบบการติดตั้งโดยให้วิศวกรโยธาเป็นผู้ตรวจสอบและลงนาม จากนั้นแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล หรือ อบต. รับทราบการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ บนหลังคาที่พักอาศัย

2. เมื่อได้รับหลักฐานการอนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ก็ทำการติดตั้งได้เลย

3. ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ.

4. แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. ให้เข้าตรวจสอบระบบแล้วชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ

 *** ฝากทิ้งท้าย คงไม่มีใครอยากแหกกฏ ที่ทำให้ไม่สบายใจหรอกครับ แต่ช่วยทำให้กฏ มันง่ายในทางปฏิบัติหน่อยเถอะ และอย่าเหมารวมเรื่องความปลอดภัย มาทำให้เกิดความยุ่งยาก เพราะเราสามารถมีกฏที่ง่ายในทางปฏิบัติ และครอบคลุมความปลอดภัยได้ ***

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับโซล่าฟาร์ม (Solar farm) และโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน (Solar Rooftop) ซึ่งการขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ มีวัตถุประสงค์หลักคือ ความปลอดภัย และไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง แต่ไม่ใช้ระบบโซล่าเซลล์ทุกประเภทที่ต้องทำการขออนุญาต เฉพาะระบบโซล่าเซลล์ที่ต้องทำงานขนานกับการไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งก็คือระบบออนกริด (On Grid) และระบบไฮบริดบางรุ่น (Hybrid) วันนี้โซล่ากูรูได้นำขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์มาฝาก ทั้งการเตรียมเอกสารและดำเนินการ รวมถึงข้อมูล ข้อกำหนด คำถาม และข้อกฎหมายโซล่าเซลล์ที่ควรรู้  เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายตามมาในภายหลัง 

เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ 2565

การติดตั้งโซล่าเซลล์ในบ้านเพื่อใช้เอง ก็จำเป็นต้องขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์กับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องถึง 3 หน่วยงาน เริ่มจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และการไฟฟ้านครหลวง (เขตกรุงเทพมหานคร) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (นอกเขตกรุงเทพมหานคร) เพื่อไม่ให้ทำผิดกฎหมายโซล่าเซลล์โดยไม่รู้ตัว ประเภทของโซล่าเซลล์ที่ต้องขออนุญาตคือระบบออนกริดที่นิยมติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกว่า โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) ซึ่งเหตุผลที่ต้องขออนุญาตติดตั้งก็เพราะหลักการทำงานของระบบออนกริดจะทำงานร่วมกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า รวมถึงเพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้าน

ข้อกำหนดการติดตั้ง โซล่าเซลล์

ก่อนที่จะทำการการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) โซล่ากูรูอยากแนะนำให้เพื่อนอ่านข้อกำหนดการติดตั้งให้เข้าใจเสียก่อน โดยข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง แบ่งได้ดังนี้

ข้อกำหนดจากการไฟฟ้านครหลวง (เขต กทม)

  • ระเบียบการไฟฟ้านครหลวง ระบบโครงข่ายไฟฟ้า pdf
  • รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการตรวจสอบจาก กฟนpdf
  • รายชื่ออุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไหลย้อนpdf

ข้อกำหนดจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (นอกเขต กทม)

  • ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบโครงข่ายไฟฟ้าpdf
  • รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการพิจารณาจาก กฟภpdf

ติดโซล่าเซลล์ ผิดกฎหมายไหม

การติดโซล่าเซลล์ไม่ผิดกฎหมาย แต่เจ้าของบ้านต้องยื่นขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง โดยระบบออนกริดและระบบไฮบริดมีการทำงานร่วมกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า จึงต้องทำการยื่นขออนุญาต และต้องมีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นต์รับรองการติดตั้ง แต่หากเป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบออฟกริดที่ใช้แบตเตอรี่ในการกักเก็บกระแสไฟ ก็สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตใด ๆ เช่นเดียวกันกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าโซล่าเซลล์อย่างหลอดไฟ หรือโคมไฟที่นิยมติดตั้งโซล่าเซลล์ในสวน เจ้าของบ้านสามารถดำเนินการติดตั้งโซล่าเซลล์เองได้ และใช้งานได้เลยโดยไม่ผิดกฎหมาย

เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

  1. เลือกบริษัทช่วยออกแบบและรับติดตั้งโซล่าเซลล์

ปัจจุบันมีบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน ราคาถูกให้บริการมากมาย ซึ่งโซล่ากูรูแนะนำว่าการติดโซล่าเซลล์แบบออนกริดบนหลังคานั้น ควรต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดำเนินการ เพื่อให้การติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐาน ปลอดภัย ได้อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่เป็นไปตามเกณฑ์ ทั้งอินเวอร์เตอร์ หรือแผง โซล่าเซลล์ ที่การไฟฟ้ารับรอง รวมทั้งการขออนุญาตนั้นจำเป็นต้องให้วิศวกรโยธาผู้ออกแบบและควบคุมงานเซ็นต์รับรอง เพื่อใช้ยื่นกับองค์การส่วนท้องถิ่น ในขั้นตอนต่อไป

  1. ยื่นเอกสารขออนุญาตก่อสร้าง

เจ้าของบ้านนำเอกสารที่เตรียมไว้ ยื่นขอต่อหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นอย่าง เทศบาล หรือ อบต. เพื่อขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยหลังจากได้รับหนังสืออนุญาตแล้วก็สามารถเริ่มทำการติดตั้งได้ทันที

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรโยธาผู้ออกแบบและควบคุมงาน 
  1. ลงทะเบียน

เมื่อการติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ให้ทำการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) www.erc.or.th เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต หรือใครสะดวกเดินทางก็สามารถติดต่อที่สำนักงาน กกพ. ด้วยตนเองได้เลย

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานท้องถิ่น
  • ภาพถ่ายการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
  • แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรโยธาผู้ออกแบบและควบคุมงาน 
  1. แจ้งการไฟฟ้าเข้าตรวจสอบระบบและชำระเงิน

แจ้งการไฟฟ้าในพื้นที่ ไม่ว่าจะ กฟน. หรือ กฟภ. ให้เข้าตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อของระบบโซล่าเซลล์กับไฟของการไฟฟ้า พร้อมชำระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้ากำหนด 

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรโยธาผู้ออกแบบและควบคุมงาน 
  1. รับหนังสืออนุญาตจาก กกพ.

นำหลักฐานการตรวจสอบและทดสอบระบบ พร้อมเอกสารชำระเงินจากการไฟฟ้าไปยื่นต่อ กกพ. เพื่อรับหนังสือแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต

  1. ยื่นหนังสือต่อการไฟฟ้า

นำเพื่อรับหนังสือแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ยื่นต่อการไฟฟ้า เมื่อการไฟฟ้าตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์ตามข้อกำหนดเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถใช้โซล่าเซลล์ผลิตไฟไว้ใช้ภายในบ้านได้เลย

Q&A การอนุญาตติดโซล่าเซลล์

ติดตั้งโซล่าเซลล์เอง ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าไหม

การติดตั้งโซล่าเซลล์เอง เช่นหลอดไฟโซล่าเซลล์ ชุดนอนนาโซล่าเซลล์ หรือปั้มน้ำโซล่าเซลล์ ไม่ต้องขออนุญาต และสามารถติดตั้งเองได้ไม่ยาก แต่ถ้าจะติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด (on grid) หรือระบบไฮบริด (hybrid) ที่มีการเชื่อมต่อกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
เอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

ติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างไร ที่ไม่ต้องขออนุญาต

ระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด (off grid) ที่ไม่ได้ใช้ไฟจากการไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตการไฟฟ้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าโซล่าเซลล์ต่างๆ เช่น โคมไฟโซล่าเซลล์ หลอดไฟโซล่าเซลล์ก็ไม่ต้องขออนุญาตเช่นกัน แล้วระบบโซล่าเซลล์ hybrid off grid ต้องขออนุญาตไหม สำหรับโซล่าเซลล์ระบบ hybrid off grid คือระบบที่มีการขนานไฟฟ้ามาใช้ รวมกับมีแผงโซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อไรก็ตามที่ทำการเชื่อมต่อระบบไฟของการไฟฟ้า ผู้ใช้จำเป็นต้องขออนุญาตทั้งสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ถ้าติดตั้งโซล่าเซลล์ แล้วไม่แจ้งการไฟฟ้า จะมีปัญหาไหม

หากติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่มีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า โดยไม่ได้แจ้งหรือขออนุญาต จะมีปัญหาภายหลังอย่างแน่นอน เพราะกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์จะไหลเข้าระบบของการไฟฟ้า และทำให้มิเตอร์ไหลกลับ ดังนั้นการไฟฟ้าจะทราบแน่นอนว่าเราติดตั้งโซล่าเซลล์โดยไม่มีการแจ้ง เจ้าของบ้านจะถูกแจ้งให้ถอดโซล่าเซลล์ออก และเสียค่าปรับจากการที่ใช้ขนานไฟฟ้าใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยค่าปรับค่อนข้างสูงพอสมควร เพราะจะคำนวณจากไฟฟ้าที่โซล่าเซลล์ผลิตได้พร้อมดอกเบี้ย

ไม่ว่าจะใช้เลือกใช้โซล่าเซลล์แบบไหน โซล่ากูรูแนะนำว่าอย่างไรก็ตามควรให้บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์มาช่วยดูแลความเรียบร้อยให้ การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด และแบบไฮบริดจำเป็นต้องได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยวางระบบ ดูแลมาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักมีบริการช่วยขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ให้ ไม่ต้องมาปวดหัวกับเอกสารและขั้นตอน เบาแรง ได้พอสมควรเลยทีเดียว

ติดตั้งโซล่าเซลล์ที่บ้านต้องขออนุญาติไหม

1. ต้องขออนุญาต/แจ้ง ให้หน่วยงานราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเขต เทศบาลหรือ อบต. ในท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่รับทราบการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคารเพื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โดยการยื่นเอกสาร ใบอนุญาติก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1)

โซล่า เซลล์ กี่กิโลวัตต์ ต้องขออนุญาต

หลักเกณฑ์ในการยื่นขออนุญาตเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ เงื่อนไขที่ 1 : แผงโซล่าเซลล์ (PV) < 200kWp (<200,000 Watt) เงื่อนไขที่ 2 : แผงโซล่าเซลล์ (PV) >= 200kWp แต่ไม่เกิน 1,000kWp (200,001 Watt – 1,000,000 Watt) เงื่อนไขที่ 3 : แผงโซล่าร์เซลล์ (PV) >=1,000kWp (1,000,000 Watt) ขึ้นไป

ติดตั้งโซล่าเซลล์ผิดกฎหมายไหม

การติดโซล่าเซลล์ไม่ผิดกฎหมาย แต่เจ้าของบ้านต้องยื่นขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง โดยระบบออนกริดและระบบไฮบริดมีการทำงานร่วมกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า จึงต้องทำการยื่นขออนุญาต และต้องมีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นต์รับรองการติดตั้ง แต่หากเป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบออฟกริดที่ใช้แบตเตอรี่ในการกักเก็บกระแส ...

ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เองได้ไหม

4. ระบบโซล่าปั๊ม ระบบโซล่าเซลล์ เป็นการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะการติดตั้งเอง สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะระบบโซล่าเซลล์สำหรับปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ สามารถจ่ายไฟให้กับปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านเครื่องแปลงไฟหรือที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ จากซันเนอร์ยี่โซล่าเซลล์ จะเริ่มต้นตั้่งแต่รุ่นแผง ...