ไม่เปลี่ยน นามสกุล ตามสามี

บางคนอาจจะสงสัยว่า เมื่อจดทะเบียนสมรสกับสามีคนญี่ปุ่นแล้ว จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี ถ้าไม่เปลี่ยนจะมีผลอะไรหรือเปล่า?


Show


ซึ่งถ้าตามกฎหมายญี่ปุ่นแล้วก็ไม่มีการบังคับว่าจะให้ฝ่ายหญิงคนต่างชาติเปลี่ยนหรือไม่ แต่ การที่ไม่เปลี่ยนนามสกุล หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จะเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนญี่ปุ่นมาก เพราะสังคมคนญี่ปุ่น เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเพราะใบคำร้องจดทะเบียนสมรสของคนญี่ปุ่นเขาจะให้เลือกว่าใช้นามสกุลภรรยาหรือสามีค่ะ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเปลี่ยนเพื่อให้เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน


กรณีที่คนไทยจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น จึงต้องมีการสอบถามฝ่ายหญิงว่าต้องการเปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือไม่ ถ้าต้องการเปลี่ยนตามสามีคนญี่ปุ่น ถ้าสามีคนญี่ปุ่นไม่ได้เดินทางมาที่เมืองไทย สามีต้องดำเนินเรื่องทำเอกสารให้ภรรยาใช้นามสกุลของตนได้ ภรรยาถึงจะสามารถดำเนินเรื่องเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอไทยได้


แต่อีกกรณีถ้าฝ่ายชายมาที่เมืองไทยได้ก็สามารถพาสามีไปที่อำเภอไทยด้วยกัน เจ้าหน้าที่อำเภอก็จะสอบถามเรื่องเปลี่ยนนามสกุลว่าจะเปลี่ยนตามสามีหรือไม่ เรื่องนี้คุณก็สามารถเลือกได้เลย ถ้าต้องการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ก็จะเปลี่ยนให้เลยนะคะ เอกสารที่เราได้จากอำเภอไทยจะเรียกว่า หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) ค่ะ และเมื่อเราเปลี่ยนนามสกุลที่เมืองไทยเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล แปลเป็นภาษาอังกฤษรับรองกระทรวงการต่างประเทศ และให้สามีคนญี่ปุ่นยื่นเรื่องเปลี่ยนที่อำเภอญี่ปุ่นได้เลยค่ะ

หลังจากที่บ่าวสาวส่งแขกแล้ว ทุกคนก็คิดถึงคืนเข้าหออันแสนหวานใช่มั้ยคะ แต่ความเป็นจริงแล้ว ลืมประเด็นการเข้าหอไปได้เลยค่ะ เพราะส่วนมากแล้วบ่าวสาวยังมี สิ่งที่ต้องทำหลังจากแต่งงาน เป็นเรื่องสำคัญไม่ควรมองข้าม และเรื่องที่เป็นการเอาใจใส่ดูแลกันตั้งแต่คืนแต่งงาน จะมีเรื่องไหนบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

สิ่งที่ต้องทำหลังจากแต่งงาน

  • สิ่งที่ต้องทำในคืนแต่งงาน
    • 1. หาข้าวกินกัน
    • 2. แกะกิ๊ฟติดผมเจ้าสาว
    • 3. นับซองและแกะของขวัญ
    • 4. เคลียร์อุปกรณ์ตกแต่งและค่าใช้จ่าย
    • 5. ตามรูปและวิดีโอจากช่างภาพ
    • 6. ตกลงกันให้ดี ว่าจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่
  • สิ่งที่ต้องทำสำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส
    • 1. แจ้งเปลี่ยนนามสกุล
    • 2. เปลี่ยนนามสกุลบัตรประชาชน
    • 3. เปลี่ยนพาสปอร์ต
    • 4. เปลี่ยนนามสกุลวีซ่า
    • 5. เปลี่ยนนามสกุลใบขับขี่
    • 6. เปลี่ยนนามสกุลทะเบียนรถ
    • 7. เปลี่ยนนามสกุลบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต
    • 8. เปลี่ยนนามสกุลประกันสังคม

สิ่งที่ต้องทำในคืนแต่งงาน

1. หาข้าวกินกัน

แค่ข้อแรกก็เอ๊ะกันแล้ว ในงานแต่งก็มีอาหารเลี้ยงไม่ใช่หรอ แล้วหลังจากจบงานแล้ว ทำไมยังต้องหาข้าวกินด้วย ถึงแม้ว่าในงานจะมีอาหารเลี้ยงก็จริง แต่บ่าวสาวก็ยุ่งเกินกว่าที่จะมีเวลามานั่งกินข้าว อาจจะได้กินบ้างคำสองคำ ไม่ได้ให้ความรู้สึกถึงคำว่าอิ่ม พอส่งแขกเสร็จ ความหิวที่สะสมมาทั้งวันก็จู่โจมทันที ก็ต้องหาข้าวกินกันก่อน อาจจะโทรสั่งเดลิเวอร์รี่ หรือบอกกับทางสถานที่ที่จัดดูแลเรื่องอาหารให้เก็บไว้ให้บ่าวสาว จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาหาข้าวค่ะ

2. แกะกิ๊ฟติดผมเจ้าสาว

ไม่เปลี่ยน นามสกุล ตามสามี

การแกะกิ๊ฟติดผมเจ้าสาว กลายเป็นกิจกรรมที่คู่สามี-ภรรยา ข้าวใหม่ปลามัน แทบทุกคู่ต้องทำร่วมกัน ไม่ว่าเจ้าสาวจะผมสั้นผมยาว บนหัวของเธอจะมีกิ๊ฟติดผมสีดำติดอยู่ อยู่ที่ว่ามากหรือน้อยนั่นเอง สำหรับสาวๆ ที่ไม่ได้ทำผมทรงเว่อร์วังมากก็อาจจะใช้เวลาแกะกันแป๊บเดียว แต่เจ้าสาวที่ผมยาวและทำผมทรงไม่ธรรมดารับรองว่าช่วยกันแกะทั้งคืน แถมคุณสามียังต้องคอยช่วยสางผมให้ภรรยาอีกด้วยค่ะ แต่ก็นับเป็นโมเมนต์กุ๊กกิ๊กแสนหวานนะคะ

3. นับซองและแกะของขวัญ

ไม่เปลี่ยน นามสกุล ตามสามี

สำหรับคืนแรกเกือบทั้งร้อย มานั่งนับเงินในซองกันก่อน อย่างว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญ อยากจะรู้ว่าเงินที่แขกทุกคนให้มา จะคืนทุน หรือขาดทุน หรือได้กำไร นับไปก็ลุ้นกันไป จดไว้ ใครให้ซอง ให้เท่าไหร่ เมื่อถึงเวลางานมงคลครั้งหน้าจะได้ใส่ซองคืนได้ถูกต้อง สำหรับของขวัญถ้าคืนนี้เหนื่อยมากแล้ว วันรุ่งขึ้นค่อยมาจัดการแกะ เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยก็ได้

4. เคลียร์อุปกรณ์ตกแต่งและค่าใช้จ่าย

เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับเจ้าภาพจัดงาน เพราะหลังจากงานแต่งงานจบแล้ว บ่าวสาวยังไม่สามารถกลับไปพักได้ทันที ยังต้องประสานกับออแกไนซ์ในการจัดเก็บอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ ในสถานที่จัดงาน โดยทางสถานที่จะตกลงกับบ่าวสาวอยู่แล้วว่าต้องเคลียร์ของให้เสร็จภายในกี่โมงค่ะ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ต้องรีบเคลียร์ให้จบโดยเร็ว ทางที่ดีบ่าวสาวควรจะจดไว้อย่างละเอียดว่ารายการไหนชำระครบหมดแล้ว รายการไหนที่ค้างชำระ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าสถานที่กับค่าออแกไนซ์ที่สามารถเคลียร์ในวันงานได้เลย

5. ตามรูปและวิดีโอจากช่างภาพ

ไม่เปลี่ยน นามสกุล ตามสามี

หลังจากผ่านพ้นคืนวันแต่งงานไปแล้ว เจ้าบ่าว-เจ้าสาวที่ขยับสถานะเป็นสามี-ภรรยาแล้ว หลายคู่มักจะลืมวันที่ช่างภาพนัดส่งไฟล์รูปวิดีโอ ให้รีบโทรถามความคืบหน้านะคะ และเมื่อได้รับไฟล์รูป อัลบั้มรูป วิดีโอแล้ว ก็ควรที่จะเช็คทันที เพราะถ้าเกิดมีอะไรผิดพลาด เช่นกรณีที่ไฟล์รูป ไฟล์วิดีโอเสีย เปิดไม่ได้ จะได้ให้ช่างภาพแก้ไขได้ทันที

6. ตกลงกันให้ดี ว่าจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่

สำหรับสามี-ภรรยา ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสในวันงานแต่งงาน หลังจากวันนั้น แล้วทั้งคู่ควรที่จะคุยกัน ตกลงกันให้ดี ว่าจะจดทะเบียนสมรสกันมั้ย เพราะถ้าจดทะเบียนสมรส แล้วทางภรรยาจะเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี จะต้องแก้ไขเอกสารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาน พาสปอร์ต สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น

สิ่งที่ต้องทำสำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส

ในปัจจุบัน ถ้าสามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรส ภรรยาไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุลไปใช้ของสามี สามารถใช้นามสกุลตัวเองได้ และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคำนำหน้าจากนางสาวเป็นนาง ทางภรรยามีสิทธิ์เลือกที่จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนได้ ซึ่งถ้าภรรยาจะเปลี่ยนนามสกุล สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

1. แจ้งเปลี่ยนนามสกุล

หลังจากที่จดทะเบียนสมรสแล้ว ภายใน 60-90 วัน คุณภรรยาจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลที่สำนักงานเขต เขตที่ออกทะเบียนบ้านให้นะคะ ถ้าเป็นเขตอื่น จะไม่สามารถเปลี่ยนนามสกุลได้ โดยต้องเตรียมเอกสารไปด้วย ดังนี้

  • เล่มทะเบียนตัวจริง ที่มีชื่อภรรยาอยู่ในนั้น พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • ใบจดทะเบียนสมรสตัวจริงและสำเนา 1 ชุด (แบบฟอร์ม คร.2)
  • ใบสำคัญการสมรสตัวจริงและสำเนา 1 ชุด (แบบฟอร์ม คร.3)
  • เอกสารที่ทางสำนักงานเขตให้ไว้หลังจากทำการจดทะเบียนสมรสแล้ว เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส

เมื่อยื่นเอกสารกับทางเจ้าหน้าที่แล้ว รอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและแก้ไขนามสกุลในเล่มทะเบียน เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะให้เอกสารสำคัญ “หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล หรือแบบฟอร์ม ช.5) ซึ่งเอกสารนี้ควรจะเก็บไว้อย่างดีห้ามหายและถ่ายสำเนาไว้หลายๆ ชุด เพราะจะต้องใช้เอกสารชุดนี้ในการทำเรื่องอื่นๆ อีกเพียบ

2. เปลี่ยนนามสกุลบัตรประชาชน

สำหรับการเปลี่ยนบัตรประชาชน คุณภรรยาสามารถทำได้ที่สำนักงานเขตไหนก็ได้ที่ใกล้บ้าน หรือจะไปทำวันเดียวกับที่เปลี่ยนทะเบียนได้เลยค่ะ หรือถ้าไม่อยากไปรอคิวนานๆ สามารถไปทำบัตรประชาชนใหม่ได้ที่จุดบริการด่วนมหานคร (BME Express)

  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพร้อมพงษ์
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอุดุมสุข
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสวงเวียนใหญ่ 

ทุกสถานีรถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการ ดังนี้

  • วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 10.00 -19.00 น.
  • วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

เอกสารที่ต้องเตรียมไป

  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ใบทะเบียนสมรสฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียม 20 บาท

3. เปลี่ยนพาสปอร์ต

ไม่เปลี่ยน นามสกุล ตามสามี

ทางกรมศุลกากรจะไม่แก้ไขชื่อหรือนามสกุลกับพาสปอร์ตเล่มเดิม แต่จะเป็นการทำเล่มใหม่เลย ซึ่งค่าบริการทำเล่มใหม่ 1,000 บาท ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันทำการเสร็จ หากไปรับเล่มด้วยตัวเอง แต่ถ้าต้องการให้จัดส่งมาที่บ้าน จะมีค่าส่งไปรษณีย์ 40 บาท ใช้เวลาทำการ 5-7 วันทำการ

เอกสารหลักฐานในการทำพาสปอร์ตเล่มใหม่

  • พาสปอร์ตเล่มเดิม
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการรับรองหนังสือเดินทาง 100 บาท (ใช้เพื่อยืนยันและรับรองว่าเจ้าของพาสปอร์ตเล่มเก่ากับเล่มใหม่ คือคนคนเดียวกันจริงๆ ส่วนมากจากจะใช้ในกรณีที่พาสปอร์ตหมดอายุไปแล้ว)

4. เปลี่ยนนามสกุลวีซ่า

การจดทะเบียนสมรส เปลี่ยนนามสกุล ส่วนใหญ่ไม่ต้องทำวีซ่าใหม่ เพราะวีซ่าในแต่ละประเทศส่วนใหญ่ จะมีอายุอยู่ไม่นาน 1-3 เดือน ก็หมดอายุแล้ว ซึ่งถ้ามันหมดอายุ แล้วต้องเดินทางใหม่ในเดือนหน้าก็สามารถนำพาสปอร์ตเล่มใหม่ เล่มที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปขอวีซ่าใหม่ ในชื่อ-สกุล ใหม่ได้เลย ยกเว้นบางประเทศ อย่างประเทศออสเตรเลียหรือสหรัฐอเมริกา ที่มีอายุนานๆ แต่วีซ่าของสองประเทศนี้ เราไม่ต้องไปทำวีซ่าใหม่นะคะ แค่ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษที่ได้รับการรับรองเอกสารติดตัวไปด้วยขณะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเข้าประเทศเขา

5. เปลี่ยนนามสกุลใบขับขี่

ในส่วนของการเปลี่ยนนามสกุลในใบขับขี่ คุณสามารถไปทำได้ที่สำนักงานขนส่งได้ทุกที่ เพียงแค่เตรียมเอกสารไป

  • ใบขับขี่ ใบเดิม
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียมคำขอ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการแก้ไขรายการในใบขับขี่ รายการละ 50 บาท
  • ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถแบบใหม่ระบบคอมพิวเตอร์ (แถบแม่เหล็ก) 100 บาท

6. เปลี่ยนนามสกุลทะเบียนรถ

หากคุณภรรยาเป็นเจ้าของรถอยู่ก่อนแต่งงาน สามารถไปเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ได้ที่สำนักงานที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ จังหวัดไหนก็ไปจังหวัดนั้น โดยเตรียมเอกสารและค่าธรรมเนียมไปให้พร้อม

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ-สกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียมคำขอ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการแก้ไขรายการในใบทะเบียน รายการละ 50 บาท สำหรับรถจักรยานยนต์ 10 บาท

7. เปลี่ยนนามสกุลบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต

ไม่เปลี่ยน นามสกุล ตามสามี

ถ้าคุณภรรยาจะเปลี่ยนนามสกุลในบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต จะต้องยื่นเอกสารที่ธนาคารสาขาที่เราเปิดบัญชีไว้ เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักในนระบบทั้งหมด

  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • สมุดบัญชีเล่มเดิม
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริง
  • สำเนาทะเบียน
  • สำเนาทะเบียนสมรส แบบฟอร์ม คร.2
  • ค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ ประมาณ 214 บาท (200 บาท + ภาษี 7%)

8. เปลี่ยนนามสกุลประกันสังคม

สามารถแจ้งเปลี่ยนนามสกุลได้ด้วยตัวเอง โดยให้ยื่นแบบฟอร์ม สปส.6-10 ที่เขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่จะพิมพ์บัตรใหม่ให้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร  หรือถ้าไม่สะดวกที่จะไปยื่นเอง สามารถส่งเอกสารทั้งหมดผ่านทางไปรษณีย์ได้

เอกสารที่ต้องเตรียมไป

  • แบบฟอร์ม สปส.6-10
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียน
  • สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5

สิ่งเหล่านี้เป็น สิ่งที่ต้องทำหลังจากแต่งงาน และเกือบร้อยทั้งร้อยต้องเผชิญหลังเสร็จสิ้นพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก็อย่าลืมจดลิสต์กันให้เรียบร้อยนะคะ หลังงานแต่งงานจบลงจะได้ไม่ตกหล่น หลงลืมค่ะ

จดทะเบียนสมรสโดยไม่เปลี่ยนนามสกุลได้ไหม

ในปัจจุบัน ถ้าสามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรส ภรรยาไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุลไปใช้ของสามี สามารถใช้นามสกุลตัวเองได้ และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคำนำหน้าจากนางสาวเป็นนาง ทางภรรยามีสิทธิ์เลือกที่จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนได้ ซึ่งถ้าภรรยาจะเปลี่ยนนามสกุล สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

แต่งงานต้องเปลี่ยนนามสกุลไหม

หากจะพูดกันจริงๆ แล้ว การเปลี่ยนนามสกุลให้ตามคู่สมรสนั้น ไม่ได้มีกฎ หรือข้อบังคับตายตัวว่าบุคคลที่สมรสแล้วต้องเปลี่ยนนามสกุลทันที สามารถทำได้ตามสะดวก และถ้าจะหยิบยกข้อดีของการใช้นามสกุลเดิม (ก่อนสมรส) อยู่นั้น ก็คือการที่เอกสารต่างๆ ยังเป็นชื่อสกุลเดิมนั้น คุณไม่ต้องเป็นธุระเปลี่ยนเอกสารทุกอย่างที่มี การเปลี่ยนชื่อใน ...

หญิงที่มีสามีมีสิทธิ์ในการใช้ชื่อสกุลอย่างไร

“มาตรา ๑๒ คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน การตกลงกันตามวรรคหนึ่ง จะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือใน ระหว่างสมรสก็ได้

จะเปลี่ยนชื่อ นามสกุล แต่ยังไม่ได้หย่า ทำได้ไหม

ตามนัยมาตรา 12 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 และความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 63/2547 การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสนั้น หากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่ตกลงให้เปลี่ยนแปลงก็ไม่อาจทำได้ เว้นแต่กรณีการสมรสสิ้นสุด (หนังสือสำนักงานคณะกรรมการ ...