ข้าราชการท้องถิ่น มี กบ ข. ไหม

ตอบ   กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ ไม่มีสถานะเป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เป็นระบบเสริมระบบบำเหน็จบำนาญเดิม
       (1)  วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน
           (1.1)  เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
           (1.2)  ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
           (1.3)  จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
       (2)  หน้าที่หลัก กบข. มี 2 ประการ คือ
           (2.1)  ด้านสมาชิก
                 งานที่ดำเนินการในส่วนนี้ ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับการรับข้อมูลและเงินรายเดือน การบริหารฐานข้อมูลบัญชีสมาชิก การจัดสรรผลประโยชน์จากการลงทุน การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกองทุน การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆให้แก่สมาชิก รวมถึงการจ่ายเงินสดและผลประโยชน์คืนแก่สมาชิกเมื่อพ้นจากสมาชิกภาพ
           (2.2)  ด้านการลงทุน
                 กบข. มีหน้าที่นำเงินที่รับเข้าจากสมาชิกไปลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุน
       (3)  ความครอบคลุม
           ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.  ขณะนี้ประกอบด้วยข้าราชการ 12 ประเภท คือ
                    -  ข้าราชการพลเรือน                     -  ข้าราชการตุลาการ
                    -  ข้าราชการอัยการ                      -  ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
                    -  ข้าราชการครู                          -  ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
                    -  ข้าราชการตำรวจ                      -  ข้าราชการทหาร
                    -  ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ     -  ข้าราชการศาลปกครอง
                    -  ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
                    -  ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
       ทั้งนี้ ข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 (พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ) จะเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ แต่ข้าราชการที่เข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ทุกคนต้องเป็นสมาชิก กบข.
       (4)  การจ่ายเงินสะสม
           ออมเงินจากเงินเดือนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด คือ 3% ของเงินเดือนทุกเดือน และรับเงินสมทบจากรัฐเป็นรางวัลสำหรับการออมเงินในอัตราที่เท่ากัน คือ 3% ของเงินเดือนทุกเดือน
       (5)  ผลประโยชน์ทดแทน
           เมื่อข้าราชการออกจากงานจะได้รับเงิน 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1  เงินบำเหน็จบำนาญ (สิทธิในบำเหน็จหรือบำนาญเป็นเช่นเดิม คือขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงาน) จากเงินงบประมาณ ซึ่งคำนวณจาก
          บำเหน็จ  =  เงินเดือนเดือนสุดท้าย * อายุราชการ  (ปี)
          บำนาญ  =  เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย*อายุราชการ (ปี)
                                         50
       ทั้งนี้ เงินจำนวนนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ส่วนที่ 2  สมาชิกจะได้รับเงินก้อนจากกองทุนภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน นับแต่เกษียณอายุหรือลาออกจากราชการซึ่งเงินก้อนนี้จะประกอบ
          - เงินสะสม หรือเงินออมของสมาชิกที่ถูกหักจากเงินเดือนทุกเดือน
          - เงินสมทบ  หรือรางวัลการออมที่รัฐให้
          - เงินประเดิม และเงินชดเชย  เป็นเงินที่รัฐให้กับสมาชิกเพื่อชดเชยสูตรบำนาญที่จะได้น้อยลง (ชดเชยเพื่อไม่ให้ผู้เป็นสมาชิก กบข. เสียเปรียบคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก) เงินนี้มีเงื่อนไขว่าจะจ่ายให้สมาชิกเมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพและเลือกรับบำนาญเท่านั้น หากสมาชิกที่เลือกรับบำเหน็จจะไม่ได้รับเงินประเดิมและเงินชดเชย เพราะไม่มีการเปลี่ยนสูตรบำเหน็จ
          - ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารเงินดังกล่าว
       (6)  หน่วยงานกำกับดูแลคณะกรรมการ กบข. เป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลเพื่อให้มีการบริหารที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย

ข้าราชการ ต้องสมัคร กบข ไหม

ข้าราชการที่เข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ทุกคนต้องเป็นสมาชิก กบข. ตามที่พระพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 กำหนด ส่วนข้าราชการที่เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 มีสิทธิเลือกเป็นสมาชิกตามความสมัครใจ ปัจจุบัน สมาชิก กบข. ประกอบด้วยข้าราชการ 12 ประเภท ดังต่อไปนี้

กบข ท้องถิ่นสมัครได้ไหม

นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยถึงสิทธิในการเป็นสมาชิก กบข. กรณีข้าราชการซึ่งถ่ายโอนไปเป็นข้าราชการท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. ...

ข้าราชการท้องถิ่นมีกี่ประเภท

ตำแหน่งและมาตรฐานของตำแหน่ง ซึ่งกำหนดให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มี 3 ประเภท คือ (1) ตำแหน่งประเภททั่วไป (2) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กําหนด (3) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ

สํานักงาน กบข อยู่ที่ไหน

ที่อยู่ : เลขที่ 990 อาคารอับดุลราฮิม เพลส ชั้น 4 ถนนพระราม 4 สีลม บางรัก กรุงเทพฯ 10500. โทรศัพท์ : 02-636-1000. โทรสาร : 02-636-0603-4.