รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม

3. กรณีหากเป็นการจ้างผู้รับเหมา (รับเหมาทั้งค่าแรง และค่าของ) จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตรา 3% ของทั้งค่าแรง และค่าของที่จ่าย โดยผู้รับเหมา สามารถนำภาษีที่ถูกหักไปหักออกจากภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีได้ หากภาษีที่ถูกหักมากกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถใช้สิทธิขอคืนภาษีได้

เงินได้ประเภทที่ 7 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(7)

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้

การหักค่าใช้จ่าย

เงินได้ประเภทที่ 7 คุณสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ หักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือหักเหมา 60% (ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย)

ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ x 60% = ค่าใช้จ่ายของค่ารับเหมา หรือเลือกหักตามจริง

อะไรเป็นเงินได้ประเภทที่ 7 ได้บ้าง?

เงินได้ประเภทที่ 7 หมายถึงค่ารับเหมาที่มีการเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ โดยที่คุณเป็นผู้จัดหาทั้งแรงงาน เครื่องมือ และสัมภาระเอง เช่น

  • รับเหมาก่อสร้าง
  • รับผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการโดยที่ปกติคุณไม่ได้ทำขายเป็นปกติทั่วไป เช่น ผลิตตามต้นแบบของลูกค้าซึ่งไม่มีอยู่ในแคตาล็อกสินค้าของคุณ

ดังนั้น ถ้ามีการรับเหมาแต่ค่าแรงแล้วให้ลูกค้าเป็นคนซื้อวัสดุเองจะไม่ใช่การรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของตามความหมายนี้ เพราะเป็นเพียงการว่าจ้างธรรมดาในฐานะ เงินได้ประเภทที่ 2 หรือถ้าเป็นการรับจ้างที่มีค่าใช้จ่ายมากก็อาจเป็น เงินได้ประเภทที่ 8 ก็ได้

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้รับเหมาแบบไหน รายได้ที่นับเป็นเงินได้จะเป็น เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ เงินได้ประเภทที่ 7 คุณก็ต้องคำนวณภาษีเพื่อยื่นแบบฟอร์มภาษีประจำปีด้วย โดยคุณสามารถคำนวณภาษีได้ฟรีในรูปแบบ App ทั้งบนระบบ iOS และ Android พร้อมค้นหาค้นตัวช่วยลดหย่อนภาษี ที่จะช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้มากกว่าเดิมได้ที่ iTAX shop


อ้างอิง

  1. มาตรา 40(7) ประมวลรัษฎากร

  2. ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2), www.rd.go.th

  3. มาตรา 45 ประมวลรัษฎากร, มาตรา 7 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560

    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม

    ผู้รับเหมา รายได้เกิน 1.8 ล้าน โดนสรรพากรปรับภาษี ทำอย่างไรดี ?

    ครูต๊ะ ตอบปัญหาภาษี
    เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    กรณี: ผู้รับเหมา รายได้เกิน 1.8 ล้าน โดนสรรพากรปรับภาษี ทำอย่างไรดี?

    ...........................

    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
     รบกวนสอบถามค่ะ
    - แฟนน้องสาวรับเหมาเดินสายไฟเงินผ่านบัญชีเกินล้านแปด
    - แต่ในนั้นเป็นเงินค่าแรงของคนงานเสียส่วนมาก
    - แต่การจ่ายคนงานเป็นการกดเงินสดมาจ่าย
    - ไม่มีสลิปเงินเดือน เขียนบันทึกเองด้วยลายมือ
    - แบบนี้คือยังไง ก็ต้องจ่ายใช่มั้ยคะ
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
     มันไม่ยุติธรรมเลย ใครพอมีข้อแนะนำบ้างมั้ยคะ
     
    ................................ 
    ครูต๊ะตอบปัญหาภาษี
    ................................
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
     กรณีเงินได้จากการรับเหมาเดินสายไฟ หากผู้รับเหมาเป็นผู้จัดหาสัมภาระสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ เป็นต้น เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีอยู่ 2 รายการคือ
     
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
     1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ตัวอย่างเช่น เพื่อนของคุณมีรายได้รวมตลอดปี 2,000,000 บาท คำนวณภาษีเงินได้ฯ ดังนี้
    (1) เพื่อนของคุณมีรายได้ รวมตลอดปี = 2,000,000 บาท
    (2) หัก ค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย 60% = 1,200,000 บาท
    (3) คงเหลือ 800,000 บาท
    (4) หักลดหย่อนส่วนตัว = 60,000 บาท (สมมุติว่าไม่มีลดหย่อนอื่นใดอีก)
    (5) คงเหลือเงินได้สุทธิ = 740,000 บาท (คำนวณภาษีอัตราก้าวหน้า)
    (6) ดังนั้น จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = 63,500 บาทครับ
     
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
     2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 
    กรณีที่ เพื่อนของคุณมีเงินได้ตลอดปีเกินกว่า 1,800,000 บาท ก็มีหน้าที่ที่จะต้องจดทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย และเสียภาษีในอัตรา 7% ของเงินได้ส่วนที่เกิน 1,800,000 บาทนี้เป็นต้นไปครับ
     
    ***จากกรณีข้างต้น***
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
     ในทางกฎหมายถือว่า ความผิดสำเร็จแล้ว นั่นคือ คุณมีรายได้และต้องเสียภาษีให้ถูกต้องทั้ง 2 รายการ ไม่เสียไม่ได้ครับ โดยต้องชำระภาษี อีกทั้งยังมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอีกด้วย ดังนี้
    1. ภาษีที่ต้องชำระ – ในส่วนนี้เพื่อนของคุณต้องชำระให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ครับ
    2. เงินเพิ่ม (เหมือนต้องเสียดอกเบี้ยนั่นแหละครับ) อัตรา 1.5% ต่อเดือน นับจากเดือนสุดท้ายที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสียภาษี ส่วนนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ เช่นกันครับ
    3. เบี้ยปรับ – กรณีที่สรรพากรออกหมายเรียก สรรพากรอาจคิดเบี้ยปรับได้อีก 1-2 เท่าของเนื้อภาษีที่คุณไม่ได้เสียหรือหลีกหนีไม่เสีย ในส่วนนี้อาจขอความกรุณาให้งดหรือลดได้ครับ โดยต้องเข้าเงื่อนไขว่า
    - เราไม่ได้มีเจตนาจะหลีกหนีไม่เสียภาษี
    - เราให้ความร่วมมือด้วยดีกับสรรพากรครับ
     
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
    คำแนะนำคือ
    1. ทางออกที่ดีที่สุดคือ เข้าไปพูดคุยดี ๆ กับเจ้าพนักงานประเมินครับ 
    2. ขอผ่อนชำระภาษีที่ต้องจ่ายครับ
    3. วางแผนเรื่องกิจการใหม่ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายและภาษีอากร เช่น
    - การจัดเก็บเอกสารประกอบรายจ่ายตามจริงที่เกิดขึ้น
    - การยื่นเสียภาษีตามกำหนดเวลา เป็นต้น
     
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
    ขอย้ำว่า ทางที่ดีที่สุดคือ พูดคุยขอความกรุณาจากสรรพากรครับ
    รับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีไหม
     ขอบคุณบทความดีๆ จาก ครูต๊ะ ครูภาษี
    ................
    ถ้าชอบก็กดปุ่ม "ถูกใจ"
    ถ้าใช่ก็กดปุ่ม "แชร์"

    อ้างอิง : เพจครูต๊ะ กะ ภาษี

    Tags   ปัญหาภาษี   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา   ภาษีมูลค่าเพิ่ม   ครูต๊ะ   ครูภาษี  

    Facebook Twitter Line Reddit LinkedIn

    รับเหมาก่อสร้าง เสียภาษีอะไร

    โดยผู้รับเหมาต้องยื่นภาษี กลางปีและสิ้นปี ด้วยแบบ ภงด94 และ ภงด90 ตามละดับ

    รับเหมาหักภาษีกี่%

    ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องหัก มีดังต่อไปนี้ ค่าเช่าหัก 5% , ค่าโฆษณาหัก 2%, ค่าขนส่งหัก 1% , ค่ารับเหมาก่อสร้าง ค่าจ้างทำของ ค่าโทรศัพท์ ค่าแรงเหมา ค่าบริการซักรีดผ้า ค่าซ่อมแซม ค่าบริการอื่นๆ หัก 3% ซึ่งหักยอดก่อน Vat นะครับ บุคคลธรรมดา ยื่นแบบ ภงด.3 นิติบุคคล ยื่นแบบ ภงด.53 เงินปันผลจากนิติบุคคล คนไทย 10% ต่างชาติ 15 ...

    ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ต้องจดVAT ไหม

    รายได้จากการให้บริการรับจ้างเหมาก่อสร้างเป็น “บริการ” ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้ต่อปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท ซึ่งตามข้อเท็จจริงเพียงค่าจ้างหลังที่สอง ก็เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท นั่นย่อมหมายความว่า มีรายได้เกิน ...

    พนักงานจ้างเหมาบริการต้องจ่ายภาษีไหม

    เงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคล ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๒) แห่งประมวลรัษฎากร ๒. ให้ทุกหน่วยงานที่มีการจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคล ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน โดยจำนวนเงินภาษีที่หักให้คำนวณตามมาตรา ๕๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร