ศูนย์กระจายสินค้า ยาคู ล ท์

นับเป็นการขยับตัวครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้ สำหรับแบรนด์นมเปรี้ยวที่มาพร้อมจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสที่หลายคนคุ้นเคยอย่าง ‘ยาคูลท์’ ที่ล่าสุดเพิ่งเปิดให้บริการสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วทั้งแบบรายครั้งและแบบให้จัดส่งประจำ

โดยจะมี ‘สาวยาคูลท์’ ไปส่งให้ถึงบ้าน และลูกค้าก็สามารถชำระเงินผ่านสาวยาคูลท์ได้โดยตรง

แล้วทำไมมูฟเมนต์ครั้งนี้ถึงเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ?

อาจต้องบอกว่าที่ผ่านมา กลยุทธ์หลักที่ยาคูลท์ใช้มาตลอดในการขาย ก็คือการอาศัย ‘สาวยาคูลท์’ ที่นอกจากจะทำหน้าที่เป็น Direct Sale ในการขายตรงส่งสินค้าแบบถึงมือลูกค้า ก็ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าไปในตัว

ความอัธยาศัยดี คุยเก่งของสาวยาคูลท์ ล้วนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้นอกจากรสชาติปละประโยชน์แล้ว ลูกค้าบางรายเกิด Loyalty กับแบรนด์ก็เพราะสาวยาคูลท์ คือถึงแม้จะลองไปดื่มนมเปรี้ยวยี่ห้ออื่นๆ แต่สุดท้ายก็กลับมาหายาคูลท์อยู่ดี

โดยในปัจจุบันมีสาวยาคูลท์อยู่ราว 3,000-4,000 คนทั่วประเทศที่กระจายสินค้าให้กับสมาชิกชาวไทยกว่าล้านครัวเรือน

แต่การยึดแต่สาวยาคูลท์นี่เองที่ทำให้ดูเหมือนว่า การทำการตลาดของแบรนด์ยังคงมีช่องโหว่อยู่ นั่นก็คือการพยายามเจาะกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ

เพราะถึงแม้ที่ผ่านมายาคูลท์จะเข้าไปวางขายในโมเดิร์มเทรดและเซเว่นอีเลฟเว่นมาบ้าง แต่ก็ด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตที่มีจำกัด ทำให้อาจไม่สามารถรองรับการขายหลายช่องทางได้

รวมถึงการขายผ่านโมเดิร์นเทรดและร้านสะดวกซื้อ ทำให้สินค้าถูกเก็บไปไว้ที่คลังสินค้าก่อน และนั่นก็อาจทำให้คุณสมบัติของจุลินทรีย์ไม่เป็นไปอย่างที่แบรนด์หวังไว้

นี่จึงเป็นเหตุผลให้การขายยาคูลท์ผ่านร้านสะดวกซื้อและโมเดิร์นเทรดยังไม่ครอบคลุมทุกสาขา ส่งผลให้แบรนด์ยาคูลท์เองยังอาจเข้าถึงลูกค้าได้ไม่ครบทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มักรู้จักสินค้าใหม่ๆ ผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อและการตลาดออนไลน์

การปรับเกมมาให้สามารถสั่งผ่านออนไลน์ได้ในครั้งนี้ของยาคูลท์ จึงเป็นเหมือนการอุดช่องว่าง และรักษาฐานความแข็งแกร่งในตลาดและการเติบโตของรายได้เอาไว้

แล้วรายได้ของยาคูลท์เป็นอย่างไร?

ลองมาดูรายได้ของบริษัท ยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ปี 2561 รายได้รวม 2,409 ล้านบาท กำไรสุทธิ 357 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้รวม 2,495 ล้านบาท กำไรสุทธิ 295 ล้านบาท

ปี 2563 รายได้รวม 2,353 ล้านบาท กำไรสุทธิ 308 ล้านบาท

การเปิดให้สั่งออนไลน์ได้ยังทำให้ยาคูลท์ได้ข้อมูลลูกค้าที่สามารถนำไปทำบิ๊กดาต้า ใช้วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถคอนโทรลการผลิตได้ง่ายขึ้น เพราะรู้ออร์เดอร์ที่สั่งมาล่วงหน้า ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสาวยาคูลท์กับลูกค้าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม

เรียกได้ว่าหากประสบความสำเร็จ ก็คงเป็นกลยุทธ์เด็ดที่สร้างการเติบโตให้ยาคูลท์ได้อีกยาวๆ

ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส

โดย บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือเอไอเอส ในฐานะผู้นำที่ไม่เคยหยุดพัฒนาบริการที่ดีที่สุดด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ผ่านเว็บไซต์รวมสินค้าและบริการ จากผู้ประกอบการที่เชื่อถือได้ มีการตรวจสอบและยืนยันตัวตนจริง และครอบคลุมทุกหมวดธุรกิจมากที่สุดในประเทศ เราจะมอบบริการที่เหนือความคาดหมาย จากทีมงานคุณภาพ

เครื่องดื่มยาคูลท์ ของโปรดของใครหลายๆ คนที่มักจะซื้อติดบ้านกันไว้ตลอด พร้อมกับกิมมิคสาวยาคูลท์ที่มักจะปั่นจักรยานมาขายตามบ้าน สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าทุกคน 

มาในยุคนี้ที่ COVID-19 กำลังแพร่ระบาดทำให้หลายๆ คนไม่ค่อยจะอยากออกจากบ้านกัน แม้แต่สาวยาคูลท์เองก็อาจจะมีความเสี่ยงที่ต้องปั่นไปขายตามบ้าน ทางยาคูลท์จึงได้ออกแคมเปญใหม่ล่าสุดเปิดขายยาคูลท์แบบออนไลน์ครั้งแรกในเมืองไทย! 

โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อยาคูลท์ออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ http://yakultthailand.com หรือโทรสั่งผ่านทาง 02-619-8008 หรือทางหน้าเพจ Yakult Thailand 

ใครเก็บตัวอยู๋บ้านในช่วงนี้แล้วอยากจะกินยาคูลท์แบบปลอดภัยไม่ต้องเสี่ยงภัย COVID-19 สามารถสั่งมาทานกันได้ที่บ้านแบบเดลิเวอรี่ คุณภาพขับขวดเช่นเคยแน่นอน

ศูนย์กระจายสินค้า ยาคู ล ท์

สัปดาห์ก่อน ยาคูลท์ ประเทศไทย ได้ประกาศบนเพจเฟซบุ๊กว่า ได้เปิดให้สั่งซื้อนมเปรี้ยวยาคูลท์ผ่านออนไลน์อย่างเป็นทางการ

ถือเป็นอีกหลักหมุดสำคัญของธุรกิจ เพราะ ยาคูลท์ ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลเต็มตัว

คำถามที่น่าสนใจคือ การบุกเข้ามาออนไลน์ของ ยาคูลท์ ประเทศไทย ช้าไปหรือไม่ จริงๆ นี่เป็นคำถามที่คล้ายกับกรณีการวางขายสินค้าในค้าปลีกที่เพิ่งทำเมื่อปี 2558 ที่หลายคนก็มองว่าช้าไป

ยาคูลท์ ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2513 โดย ประพันธ์ เหตระกูล ที่ตอนนั้นได้ทุนการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2496

เหตุที่เขาสนใจนำ ยาคูลท์ เข้ามาทำตลาดมาจากอาการปวดท้องช่วงเรียนที่ญี่ปุ่น แต่พอได้ดื่มยาคูลท์แล้วดีขึ้น และทราบว่ามีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร และลำไส้ โดยจุลินทรีย์นั้นชื่อว่า แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ ชิโรต้า ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีสินค้าแบบนี้ และน่าจะเป็นโอกาสธุรกิจที่น่าสนใจ

หลังก่อสร้างโรงงานผลิตเสร็จสมบูรณ์ ยาคูลท์ ประเทศไทย คิกออฟการทำตลาดในปี 2514

สำหรับการทำตลาด ยาคูลท์ ประเทศไทย ใช้กลยุทธ์เดียวกับที่ญี่ปุ่นคือ ‘สาวยาคูลท์’ โดยสาวยาคูลท์ มีหน้าที่ขาย และแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ที่สนใจ

อยากรู้อะไร ถาม สาวยาคูลท์ ได้เลย

ด้วยความใหม่ของรูปแบบธุรกิจ และอาชีพที่ไม่เคยมีมาก่อน จึงมีผู้สมัครเข้ามาเป็น สาวยาคูลท์ จำนวนมาก ถึงขนาดกระจายการขายไปทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็ว กาลเวลาผ่าน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ยาคูลท์ ประเทศไทย ยังเดินหน้าธุรกิจด้วยกลยุทธ์เดิม

จนปี 2558 หรือผ่านมา 44 ปี ยาคูลท์ ประเทศไทย ตัดสินใจวางขายในค้าปลีก เริ่มที่ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น อาศัยเครือข่าย สาวยาคูลท์ เป็นผู้กระจายสินค้า และขายแพงกว่าปกติ 1 บาท

เล่นเอาแบรนด์ในตลาดนมเปรี้ยวเต้นกันหมด พร้อมหาทางมารับมือการบุกตลาดครั้งนี้

สุดท้ายเวลาผ่านไป เหตุการณ์นั้นแทบไม่เขย่าตลาดนมเปรี้ยวนัก เพราะแต่ละแบรนด์มีความแข็งแกร่งในช่องทาง และการทำตลาดที่ชัดเจน

ปัจจุบันน่าจะเห็น ยาคูลท์ วางจำหน่ายในค้าปลีกบ้าง แต่ต้องยอมรับว่าแบรนด์อื่นบนเชลฟ์เด่นกว่า

ย้อนไปปี 2561 ยาคูลท์ ประเทศไทย เขย่าตลาดนมเปรี้ยวอีกรอบด้วยการขาย ยาคูลท์ ไลท์ มันคือ ยาคูลท์ ที่ลดความหวาน ตอบโจทย์กระแสรักสุขภาพที่มาแรง ซึ่งเอาจริง ๆ แบรนด์คู่แข่งทำตลาดไประยะหนึ่งแล้ว

ถึง 2 กรณีข้างต้นจะเป็นตัวอย่างที่ ยาคูลท์ ประเทศไทย เดินเกมช้ากว่าคู่แข่ง แต่ยาคูลท์ ประเทศไทย ยังมีธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

2561 รายได้รวม 2,409 ล้านบาท กำไรสุทธิ 357 ล้านบาท
2562 รายได้รวม 2,495 ล้านบาท กำไรสุทธิ 295 ล้านบาท
2563 รายได้รวม 2,353 ล้านบาท กำไรสุทธิ 308 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยาคูลท์ ในประเทศไทยยังมีอีกบริษัทคือ ยาคูลท์เซลส์ (กรุงเทพฯ)

2561 รายได้รวม 4,861 ล้านบาท กำไรสุทธิ 956 ล้านบาท
2562 รายได้รวม 5,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 959 ล้านบาท
2563 รายได้รวม 4,680 ล้านบาท กำไรสุทธิ 921 ล้านบาท

ล่าสุด ยาคูลท์ ประเทศไทย ส่งกลยุทธ์ใหม่ นั่นคือการขาย ยาคูลท์ ผ่านออนไลน์

ผู้สนใจไม่ต้องรอ สาวยาคูลท์ แวะมาแถวบ้าน หรือเดินไปซื้อที่ค้าปลีกต่างๆ เพราะสามารถสั่งได้ผ่านเฟสบุ๊กเพจ ยาคูลท์ ประเทศไทย และเว็บไซต์ yakultthailand.com/order

ลูกค้าจะสั่งให้ส่งเป็นประจำ หรือสั่งแบบจำนวนมากเป็นรายครั้งก็กำหนดได้ ไม่ต้องกลัวว่าพอสั่งออนไลน์แล้วรายได้จะไม่ไปถึง สาวยาคูลท์ เพราะข้อมูลการสั่งซื้อจะส่งไปที่ สาวยาคูลท์ ที่ปัจจุบันมีกว่า 3,000 คน

ผู้สั่งซื้ออยู่ในเขตไหน งานจะกระจายไปเขตนั้น และผู้สั่งซื้อจะชำระเงินให้ สาวยาคูลท์ โดยตรง

ในต่างประเทศมีการขายออนไลน์แบบนี้แล้ว และเอาจริง ๆ ยังไม่มีนมเปรี้ยวแบรนด์ไหนประกาศทำตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง

ถือเป็นมิติใหม่ในตลาดนมเปรี้ยว และคือการเปิดตลาดใหม่อีกครั้งของ ยาคูลท์ ประเทศไทย

ถ้าให้สรุปว่า ยาคูลท์ ประเทศไทย ช้าหรือไม่ในการส่งแผนขายออนไลน์ ก็คงบอกว่า ‘ไม่ช้า’ เพราะเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึง ยาคูลท์ ได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสการขายสินค้าได้มากกว่าเดิม

แม้จะไม่ได้เป็นการขายออนไลน์เต็มระบบ แต่ส่วนตัวมองว่าการให้ชำระที่ สาวยาคูลท์ น่าจะเหมาะกับการทำตลาดในประเทศไทย

คงต้องดูว่าการปรับตัวของ ยาคูลท์ ประเทศไทย ครั้งนี้ จะเขย่าตลาดนมเปรี้ยวหลายหมื่นล้านบาทได้แค่ไหน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา