ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด

ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด

อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริงเมื่อกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย

มาตราส่วนแผนที่

มาตราส่วน :

หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย

เมื่อ มาตราส่วน 1 : 50,000 หมายความว่า ถ้าวัดระยะในแผนที่ได้ 1 หน่วย ระยะในภูมิประเทศจะเท่ากับ 50,000 หน่วย เช่น  
ถ้าในแผนที่เท่ากับ
1 เซนติเมตร ในภูมิประเทศจะเท่ากับ 50,000 เซนติเมตร   ถ้าในแผนที่เท่ากับ 2 เซนติเมตร ในภูมิประเทศจะเท่ากับ 2  X  50,000 เซนติเมตร
หรือ
100,000 เซนติเมตร หรือเท่ากับ 1 กิโลเมตร

มาตราส่วนที่ใช้งานทั่วไปจะมี 3 ชนิด คือ

1) มาตราส่วนเศษส่วน เช่น  1 : 50,000   1: 100,000   1 : 1,000,000 เป็นต้น

2) มาตราส่วนคำพูด เช่น 1 เซนติเมตรต่อ 1 กิโลเมตร  1 นิ้วต่อ 2 ไมล์ เป็นต้น

3) มาตราส่วน รูปภาพหรือมาตราส่วนเส้นบรรทัด มาตราส่วนชนิดนี้จะเป็นเส้นตรงที่แบ่งส่วน ซึ่งจะมีตัวเลขบอกความยาวไว้

 

ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด

ระดับการวัดของข้อมูล

    การวัดเป็นการกำหนดตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการศึกษาภายใต้กฎเกณฑ์ที่แน่นอน ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องทราบคุณลักษณะของข้อมูลที่ถูกวัด เพื่อใช้ในการพิจารณาว่าจะเลือกใช้วิธีการทางสถิติใดจึงจะเหมาะสม ดังนั้นจึงควรทราบว่าข้อมูลที่ถูกวัดมานั้นอยู่ในมาตราการวัดระดับใด ซึ่งมาตราการวัดแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ

ระดับที่ 1 มาตราการวัดระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นระดับที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้ตัวเลข เช่น ตัวแปรเพศ แบ่งออกเป็นกลุ่มเพศชายและกลุ่มเพศหญิง ในการกำหนดตัวเลขอาจจะใช้เลข 1 แทนเพศชาย และเลข 2 แทนเพศหญิง ตัวแปรระดับการศึกษา แบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาจจะแทนด้วยเลข 1 กลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาจจะแทนด้วยเลข 2 และกลุ่มที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี อาจจะแทนด้วยเลข 3 เป็นต้น ตัวเลข 1 หรือ 2 หรือ 3 ที่ใช้แทนกลุ่มต่าง ๆ นั้น ถือเป็นตัวเลขในระดับนามบัญญัติไม่สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาสัดส่วนได้ระดับที่ 2 มาตราการวัดระดับเรียงอันดับ (Ordinal Scales) เป็นระดับที่ใช้สำหรับจัดอันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการวัด ตัวเลขในมาตราการวัดระดับนี้เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะมาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง-อ่อน กว่ากัน เช่น ด.ช.ดำสอบได้ที่ 1 ด.ช.แดงสอบได้ที่ 2 ด.ญ.เขียวสอบได้ที่ 3 หรือ การประกวดร้องเพลง นางสาวเขียวได้รางวัลที่ 1 นางสาวชมพูได้รางวัลที่ 2 นางสาวเหลืองได้รางวัลที่ 3 เป็นต้น ตัวเลขอันดับที่แตกต่างกันไม่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้ เช่น ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ที่ประกวดร้องเพลงได้รางวัลที่ 1 มีความเก่งมากกว่าผู้ที่ได้รางวัลที่ 2 ในปริมาณเท่าใด ตัวเลขในระดับนี้สามารถนำมาบวกหรือลบ กันได้ระดับที่ 3 มาตราการวัดระดับช่วง (Interval Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่า ๆ กัน สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่าว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน เพราะมาตราการวัดระดับนี้ไม่มี 0 (ศูนย์) แท้ มีแต่ 0 (ศูนย์) สมมติ เช่น นายวิชัยสอบได้ 0 คะแนน มิได้หมายความว่าเขาไม่มีความรู้ เพียงแต่เขาไม่สามารถทำข้อสอบซึ่งเป็นตัวแทนของความรู้ทั้งหมดได้ หรือ อุณหภูมิ 0 องศา มิได้หมายความว่าจะไม่มีความร้อน เพียงแต่มีความร้อนเป็น 0 องศาเท่านั้น จุดที่ไม่มีความร้อนอยู่เลยก็คือที่ -273 องศา ดังนั้นอุณหภูมิ 40 องศาจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามีความร้อนเป็น 2 เท่าของอุณหภูมิ 20 องศา เป็นต้น ตัวเลขในระดับนี้สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้ระดับที่ 4 มาตราการวัดระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มี 0 (ศูนย์) แท้ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ เป็นต้น ระดับนี้สามารถนำตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาอัตราส่วนกันได้ คือสามารถบอกได้ว่า ถนนสายหนึ่งยาว 50 กิโลเมตร ยาวเป็น 2 เท่าของถนนอีกสายหนึ่งที่ยาวเพียง 25 กิโลเมตร

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องมีความรู้ในเรื่องของมาตราการวัดระดับต่าง ๆ เป็นอย่างดี เพื่อใช้ในการวินิจฉัยตัวแปรในงานวิจัยว่าอยู่ในมาตราการวัดระดับใด เพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้วิธีการทางสถิติให้มีความถูกต้องเหมาะสม

ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด

ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด

  1. โปรแกรมใดที่มีบางส่วนที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้
    ก.โปรแกรม MATHCAD                                 ข. โปรแกรม Macromedia Fireworks
    ค. โปรแกรม Microsoft Excel                         ง. ข้อ A และ C ถูก
    ตอบ   ง. ข้อ  ก  และ  ค ถูก
  2. ข้อใดคือความสามารถของโปรแกรม SPSS for Windows
    ก. การคำนวณค่าสถิติพื้นฐาน                          ข. การเรียงลำดับเนื้อหางานวิจัย
    ค. การสรุปผลการวิเคราะห์                              ง. ถูกทุกข้อ
    ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ
  3. ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร, 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด
    ก. Nominal Scale                                               ข. Ordinal Scale
    ค. Interval Scale                                                 ง. Ratio Scale
    ตอบ    ง. Ratio Scale
  4. แฟ้มข้อมูลใดต่อไปนี้ที่โปรแกรม SPSS for Windows ไม่สามารถเรียกใช้งานได้
    ก. แฟ้มข้อมูล Text                                             ข. แฟ้มข้อมูล Microsoft Excel
    ค. แฟ้มข้อมูล Data base                                   ง. แฟ้มข้อมูล Microsoft InfoPath
    ตอบ     ง. แฟ้มข้อมูล Microsoft InfoPath
  5. โปรแกรม SPSS for Windows ย่อมาจาก
    ก. Social Package for the Statistical Sciences
    ข. Sciences Package for the Social Statistical
    ค. Statistical Package for the Social Sciences
    ง. Statistical Package for the Sciences Social
    ตอบ   ค. Statistical Package for the Social Sciences 
  6. ในระยะเริ่มแรกโปรแกรม SPSS พัฒนาบนเครื่องประเภทใด
    ก. Minicomputer                                                ข. Microcomputer
    ค. Mainframe                                                      ง. Workstation
    ตอบ   ค. Mainframe 
  7. ข้อใดไม่ใช่ นามสกุลของโปรแกรม SPSS for Windows
    ก. Spo                                                                   ข. sav
    ค. Sct                                                                     ง. sbs
    ตอบ   ข. sav
  8. ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
    ก. BMDP                                                             ข. MINTIAB
    ค. AMOS                                                             ง. SRS
    ตอบ    ง. SRS
  9. ตัวแปรแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
    ก. 2 ประเภท คือ ตัวแปรทดลอง และตัวแปรที่ถูกกำหนด
    ข. 2 ประเภท คือ ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม
    ค. 2 ประเภท คือ ตัวแปรเชิงปริมาณ และตัวแปรเชิงคุณภาพ
    ง. 3 ประเภท คือ ตัวแปรควบคุม ตัวแปรแทรกซ้อน ตัวแปรทดลอง
    ตอบ    ค. 2 ประเภท คือ ตัวแปรเชิงปริมาณ และตัวแปรเชิงคุณภาพ 
  10. เมื่อต้องการสร้างและแก้ไขตัวแปรในโปรแกรม SPSS for Windows จะต้องทำงานในหน้าต่างใด
    ก. Data View                                                      ข. Variable View
    ค. Data Editor                                                    ง. Variable Editor
    ตอบ   ข. Variable View
    ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด
  11. โปรแกรม SPSS ย่อมาจากคำว่า..
    ก. Statistical Package for the Sciences Social
    ข. Statistical Package for the Social Sciences
    ค. Sciences Package for the Social Statistical
    ง. Social Package for the Statistical Sciences
    ตอบ   ข. Statistical Package for the Social Sciences
  12. ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลก. BMDP                                                             ข. MINTIAB
    ค. GENSTAT                                                     ง.SAS
    ตอบ   ง. SRS.SAS
  13. ข้อใดคือความสามารถของโปรแกรม SPSS for Windows
    ก. คำนวณค่าสถิติพื้นฐาน                                 ข. สรุปผลการวิเคราะห์
    ค. เรียงลำดับเนื้อหางานวิจัย                             ง. ถูกทุกข้อ
    ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ
  14. เมื่อต้องการกรอกข้อมูลลงในโปรแกรม SPSS จะต้องกรอกในหน้าต่างใด
    ก. Data View                                                       ข. Data Editor
    ค. Variable View                                               ง. Variable Editor
    ตอบ   ก. Data View
  15. เมื่อต้องการสร้างและแก้ไขตัวแปรในโปรแกรม SPSS จะต้องทำงานในหน้าต่างใด
    ก. Data View                                                       ข. Data Editor
    ค. Variable View                                               ง. Variable Editor
    ตอบ   ค. Variable View
  16. คำสั่งในข้อใดคือ คำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ
    ก. Transform  Compute                                  ข. Transform  Sort Cases
    ค. Transform  Recode                                    ง. Transform   Count
    ตอบ    ก. Transform  Compute
  17. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
    ก. เป็นสถิติที่สามารถอ้างอิงถึงลักษณะของประชากรได้
    ข. การแจกแจงความถี่คือสถิติเชิงพรรณนา
    ค. เป็นสถิติที่ไม่สามารถอ้างอิงถึงลักษณะของประชากรได้
    ง. เป็นสถิติที่ใช้เพื่ออธิบาย บรรยาย หรือสรุป
    ตอบ   ก. เป็นสถิติที่สามารถอ้างอิงถึงลักษณะของประชากรได้
  18. ระดับมาตรวัดระดับใดเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
    ก. Nominal scale และ Ordinal scale             ข. Interval scale และ Ratio scale
    ค. Ordinal scale และ Ratio scale                   ง. Nominal scale และ Interval scale
    ตอบ    ก. Nominal scale และ Ordinal scal
  19. ข้อมูลที่เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด เช่น น้ำหนัก………กิโลกรัม จัดเป็นข้อมูลระดับใด
    ก. Nominal Scale ข. Interval Scale
    ค. Ordinal Scale                                                 ง. Ratio Scale
    ตอบ   ง. Ratio Scale
  20. คำสั่งในข้อใดคือคำสั่งสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ชื่อ sav
    ก. Transform    Compute                                ข. Data   Aggregating   Data
    ค. Transform   Aggregating Data                                ง. Data   Merging    Data
    ตอบ    ข. Data   Aggregating   Data

ระยะทาง เช่น 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตร จัดเป็นข้อมูล ระดับใด

สินค้า ใน แนวข้อสอบ การใช้โปรแกรม SPSS (0 ชนิด)

แสดงสินค้าที่ 0-0 จากทั้งหมด 0 ชิ้น