โรคที่เกิดขึ้น เนื่องจาก การใช้งาน คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใน ยุคดิจิทัล

โรคที่เกิดขึ้น เนื่องจาก การใช้งาน คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใน ยุคดิจิทัล

ดร.พีรเดช ณ น่าน

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

การดูแลรักษาสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต ซึ่งแนววิธีการดูแลสุขภาพนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีเครื่องมือจะเข้ามาอำนวยความสะดวกมากขึ้น ปัจจุบันแนวการดูแลสุขภาพของตัวเองได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่ทุกคนมีเครื่องมือ ชุดตรวจวัดสัญญาณต่างๆ อยู่ในมือ คราวนี้ข้ออ้างในการดูแลตัวเองคงเหลือน้อยลงแล้ว

นวัตกรรมด้านสุขภาพและการใช้งานเทคโนโลยีสำหรับสุขภาพ กลายเป็นสิ่งใกล้ตัวมากขึ้น จากเดิมที่ต้องไปสถานพยาบาลจึงจะสามารถวัดสัญญาณชีพต่างๆ ได้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการใช้งานที่บ้าน หาซื้อได้ง่าย ใช้งานง่าย ในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อส่งข้อมูลได้ ทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น เหมือนมีพยาบาลอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ข้างกาย

บุคลากรทางการแพทย์ต่างให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เมื่อผู้ใช้/คนไข้ เห็นค่าต่างๆ ที่วัดได้บ่อยขึ้น สะดวกขึ้น มีผลในเชิงจิตวิทยา ส่งผลให้การดูแลรักษาร่างกาย ปรับอาหารการกิน และการปรับพฤติกรรม เป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะการตรวจจับข้อมูลอย่าง activity tracking ที่เชื่อมต่อแชร์ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ เหมือนเล่นเกมแข่งกับเพื่อนบนโลกออนไลน์ นอกจากความสนุกแล้วยังได้สุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย

สำหรับองค์กรแล้ว เมื่อพนักงานมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจวัดข้อมูลสุขภาพประจำตัว การนำข้อมูลที่เกิด เข้ามาสนับสนุนโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพพนักงานในองค์กรย่อมมีแต่ผลดี เมื่อพนักงานซึ่งกล่าวได้ว่าเป็น สินทรัพย์ (asset) ที่สำคัญของหน่วยงาน มีสุขภาพแข็งแรง มีกำลังใจในการทำงาน สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ สร้างรายได้ให้กับหน่วยงาน ส่งผลให้มีการขยายกิจการ มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น แรงงานมีกำลังซื้อ เสริมการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง แถมประเทศยังไม่ต้องแบกรับค่ารักษาพยาบาลที่มีแต่จะสูงขึ้นทุกวัน

โรคที่เกิดขึ้น เนื่องจาก การใช้งาน คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใน ยุคดิจิทัล
การที่จะประสบความสำเร็จด้านการดูแลสุขภาพ สร้างสุขอนามัย จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืน อุปกรณ์พกพาอัจฉริยะ (wearable device) สามารถตรวจจับและบันทึกกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร และคุณภาพการนอนของแต่ละคนได้

สิ่งสำคัญคือการกระตุ้นเตือนปรับทัศนคติให้เห็นความสำคัญของสุขภาพมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากสังคมเมืองที่ผู้คนต่างเร่งรีบ ไม่มีเวลาแม้แต่จะคิดถึงตนเอง การนำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาเสริมสร้างสุขภาพให้ประชาชนแข็งแรง นับเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นใด

การทำงานในยุคดิจิทัล อย่างทุกวันนี้ Bring your device (BYOD) เป็นเรื่องปกติ โดยหน่วยงานจะต้องกำหนดนโยบาย BYOD ที่ชัดเจน จากเดิมที่เน้นไปที่คอมพิวเตอร์พกพา (notebook)แท็บเล็ต (Tablet) และสมาร์ตโฟน (smartphone)แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์พกพาอัจฉริยะ (wearable device) เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่หน่วยงานจะเปิดให้ พนักงาน นำมาใช้ได้อย่างอิสระ

สอดคล้องกับธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่อย่าง สตาร์ทอัพ (startup) หรืออาจจะเรียกว่าเป็น innovative SME เป็นผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยีใหม่ หรือรูปแบบธุรกิจ (business model) ใหม่ ที่สามารถขยายธุรกิจได้และทำซ้ำได้ง่าย อย่างในวงการสุขภาพ เหล่า สตาร์ทอัพ ก็คือบริษัทที่พัฒนาเซนเซอร์เครื่องมือดิจิทัลบน คลาวด์ (cloud)แอพพลิเคชั่นสำหรับการวิเคราะห์ ในการมอนิเตอร์คนไข้ได้จากระยะไกล หรือจะเป็นการปรึกษาด้านสุขภาพทางไกลได้

ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และคนไข้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยอันดับโลก และ ผู้ประกอบการด้านสุขภาพ นำ คอมพิวเตอร์แอพพลิเคชั่น มาช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างแพทย์ กับคนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โดยเก็บข้อมูลจากนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาคการศึกษา วิศวกร ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานกำกับจากภาครัฐ เป็นเวลา 4 ปี เมื่อมีฐานข้อมูลมากพอที่หลากหลายจากหลายแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ

จากเดิม การพบแพทย์แต่ละครั้ง จะมีการสอบถามประวัติ อาการและสิ่งปกติที่พบ การนำเอาเครื่องมือ ดิจิทัล อย่างแอพพลิเคชั่น มาใช้งาน ช่วยลดเวลา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์บริหารเวลาได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการติดตามอาการได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีกับคนไข้ ด้วยการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ที่ออกแบบโดยบุคลากรทางการแพทย์

การนำเทคโนโลยี ดิจิทัล เข้ามาช่วยสนับสนุน มิใช่เข้ามาทดแทน แพทย์ ยังคงต้องพบผู้ป่วย การได้พูดคุยจะเข้าใจถึงอาการอย่างละเอียด เข้าใจถึงสภาพอารมณ์ อาการทางร่างกายได้ชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำแทนได้เมื่ออาการถูกบันทึกลงในระบบ ประกอบกับฐานข้อมูลที่มีจำนวนมากพอ ทำให้ทราบว่าอาการที่มีแนวโน้มเป็นอันตรายหรือไม่ จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ทันทีหรือไม่ เป็นการสร้างความตระหนักรู้ ประยุกต์ใช้ ดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือช่วยแจ้งเตือนได้ก่อน เหมาะกับยุค อโรคยา ด้วย ดิจิทัล