ข้อเสียของซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์

1.ซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะทาง

เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเพื่อใช้เฉพาะงาน มักทําเมื่อหน่วยงานหรือองค์กรไม่สามารถจัดหาซอฟต์แวร์ที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ จึงต้องมีการสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในหน่วยงานโดยเฉพาะ หรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องศึกษาและเข้าใจงานและรายละเอียดของโปรแกรมเป็นอย่างดี จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆได้ แบ่งวิธีการพัฒนาได้ 2 วิธีดังนี้

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

ซอฟต์แวร์เหล่านี้มีวางขายอยู่ทั่วไป เช่น ดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต, App Store, Play Store หรืออื่นๆ สามารถนําไปติดตั้งและใช้งานได้ทันที บางครั้งจึงนิยมเรียกว่า โปรแกรมสําเร็จรูป (Packaged Software) อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท

โปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)

โปรแกรมเฉพาะ (Customized Package)

การแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามกลุ่มการใช้งาน

กลุ่มซอฟต์แวร์สํานักงาน (Office Automation)

กลุ่มซอฟต์แวร์สําหรับงานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Multimedia)

ซอฟต์แวร์จัดหน้าสิ่งพิมพ์

กลุ่มซอฟต์แวร์สําหรับอินเทอร์เน็ตและการสื่อสาร (Internet and Communications)

ซอฟต์แวร์สื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต

กลุ่มซอฟต์แวร์สําหรับประมวลผลในเชิงธุรกิจ/บัญชี/ทรัพยากร (Business/Accounting/EHP)

ซอฟต์แวร์ระบบเงินเดือนและทรัพยากรบุคคล

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของซอฟต์แวร์เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

- เพิ่มเงื่อนไขและความต้องการต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ออกแบบ
- ควบคุมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ตลอดระยะเวลาการพัฒนานั้น
- มีความยืดหยุ่นในการทํางานได้ดีกว่าหากเกิดความเปลี่ยนแปลงในการใช้งาน เช่น สภาพการ แข่งขัน แนวโน้มธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป

- ใช้เวลาออกแบบและพัฒนานาน
- ทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์อาจถูกกดดันอย่างมาก เพราะความคาดหวังว่าต้องได้คุณสมบัติตรงตามต้องการและยังต้องเสียทรัพยากรเพื่อบํารุงรักษาระบบนั้นๆ อีกด้วย
- ระบบมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดหากไม่ได้มีการทดสอบอย่างจริงจังมาก และใช้เวลานานพอ

ความหมายของซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นกลุ่มซอฟแวร์ที่สามารถติดตั้งได้ในภายหลังจากการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการประยุกต์ใช้งานเป็นหลัก โดยปกติจะมุ่งใช้กับงานเฉพาะด้าน

การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพ

สำรวจงานที่ผู้ใช้ต้องการใช้ซอฟต์แวร์อย่างละเอียดว่ามีลักษณะงานแบบใด

สำรวจฮาร์ดแวร์และระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้

ทดลองใช้ซอฟต์แวร์อย่างน้อย 15 นาที เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งานโดยใช้งานง่าย ไม่มีข้อผิดพลาด

ศึกษาเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ

ศึกษาข้อมูลบริการหลังการขายและระยะเวลาในการรับประกัน

ทำความคุ้นเคยกับการใช้ซอฟต์แวร์ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำไปใช้งานและควรเลือกบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ที่เปิดโอกาสให้คืนซอฟต์แวร์ที่ซื้อไปไม่น้อยกว่า 30 วัน

ข้อเสียของซอฟต์แวร์ประยุกต์

1.ชนิดและประเภทของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 

ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้

กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ 

1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft Windows 

2. โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือยูทิลิตี้ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่าง

การประมวลผลข้อมูล หรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ ( Editor) 

3. โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ในรูปแบบที่

เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ   

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้

สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 

1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไปและประยุกต์ใช้งานอื่น เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป

ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing , Spreadsheet, Database Management Hypertext

, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น 

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้

************************************** 

2.เปรียบเทียบจุดเด่นและจุดด้อยของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ของแต่ละประเภท

ซอฟต์แวร์ระบบ

ข้อดี

1.สามารถเพิ่มเงื่อนไขและความต้องการต่าง ๆ ได้ไม่จำกัด 

2.สามารถที่จะควบคุมและพัฒนาให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ตลอดระยะ เวลาการพัฒนานั้น

3.มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า หากเกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้งาน เช่น ข้อมูลผู้ขาย

ลูกค้าหรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า 

ข้อเสีย

1.ต้องใช้ระยะเวลาในการออกแบบและพัฒนานานมาก เพื่อที่จะให้ได้คุณสมบัติตรงตามที่ต้องการจริง ๆ

2.ทีมงานที่พัฒนาอาจจะถูกกดดันอย่างมากเพราะ จะถูกคาดหวังว่าต้องได้คุณสมบัติตามความต้องการ

ทุกประการและยังต้องเสียเวลาดูแลและบำรุงรักษาระบบนั้น ๆ ตามมาอีกด้วย

3.มีความเสี่ยงของระบบต่อความผิดพลาดสูงเนื่องจากในระหว่างการพัฒนาระบบหากไม่ได้นำไปทดสอบ

อย่างจริงจัง อาจจะทำให้คุณสมบัติบางอย่างของโปรแกรมและประสิทธิ ภาพ โดยรวมไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ 

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ข้อดี

1.ค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูก เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์เหล่านี้นำออกมาจำหน่ายให้กับผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

2.เกิดความเสี่ยงในการใช้งานต่ำ และสามารถศึกษาคุณสมบัติและประสิทธิภาพของโปรแกรมได้โดยตรงจากคู่มือที่มีให้

3.โปรแกรมที่ได้มีคุณภาพดีกว่า เนื่องจากผู้ใช้จำนวนมากได้ทำการทดสอบและแจ้งแก้ไขปัญหาของ

การใช้งานกับผู้ผลิตโปรแกรมมาเป็นอย่างดีแล้ว

ข้อเสีย

1.คุณสมบัติบางอย่างอาจจะใช้ไม่ได้เลย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เกินความจำเป็นและไม่มีความต้องการใช้งานใด ๆ

2.โปรแกรมจะขาดคุณสมบัติบางอย่าง หากต้องการเปลี่ยนแปลงอาจต้องจ่ายเงินในราคาที่แพงขึ้น

แต่ในบางโปรแกรมก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

3.ไม่มีความยืดหยุ่นและอาจไม่เหมาะสมกับงานในปัจจุบันที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขระบบอยู่บ่อย ๆ  

************************************** 

ซอฟต์แวร์ที่จะเลือกใช้คือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 

เพราะถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการจัดทำสื่อที่ต้องการอยู่แล้ว ใช้งานได้ง่าย

ไม่ต้องมีความชำนาญก็สามารถทำได้ และสามารถตอบสนองความต้องการได้ นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

แหล่งอ้างอิง: 

http://www.lks.ac.th/anchalee/c_soft.htm ,http://www.pattani1.go.th/wbi/page1/t39.htm ,http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page42.htm