โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด

วิดีโอของ Google เอกสาร


การแพร่ภาพโทรทัศน์ ( Television Broadcasting ) 
      โทรทัศน์ (Television) คือ การถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเครื่องที่เปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงเป็นคลื่นโทรทัศน์ เรียกว่า เครื่องส่งโทรทัศน์(TV Transmission) และเครื่องที่เปลี่ยนคลื่นโทรทัศน์เป็นสัญญาณภาพและเสียง เรียกว่าเครื่องรับโทรทัศน์(TV Reciever )
      การแพร่ภาพ (Television Broadcasting) เป็นการส่งกระจายภาพและเสียงออกไปในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ ซึ่งจากเดิมที่เป็นการแพร่ภาพแบบไม่จำกัดผู้รับ และก็ได้พัฒนามาเป็นแบบแพร่ภาพเฉพาะทาง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ( Satellite ) , การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านสื่อนำสัญญาณ อาจรวมถึงการแพร่ภาพไปเฉพาะผู้รับที่เป็นสมาชิกหรือเคเบิลทีวี ( Cable TV )
      การที่จะรับและส่งข้อมูลข่าวสารมีได้หลายวิธี แต่การที่จะรับและส่งข้อมูลได้ดีคือการที่ผู้รับสามารถรับข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นการส่งข้อมูลอีกวิธีหนึ่งที่สามารถที่ให้ผู้รับได้ทั้งข้อมูลทางภาพและทางเสียงเหมือนกับแหล่งที่มา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การแพร่ภาพโทรทัศน์แบบอนาล็อก และการแพร่ภาพโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งการแพร่ภาพในแต่ละประเภทสามารถรับและส่งข้อมูลได้หลายแบบ เช่น การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และการส่งสัญญาณภาคพื้นดิน ซึ่งอาจจะมาจากการถ่ายทอดสดหรือจากการบันทึกเทปไว้

ประเภทของโทรทัศน์
      1) โทรทัศน์อนาล็อก (Analog Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบ A.M. และ F.M. โดยมีการส่งเป็นสัญญาณแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband (VSB) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป เช่น โทรทัศน์ที่เป็นระบบ NTSC, PAL และ SECAM  ซึ่งก็คือโทรทัศน์ทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือน แบบ SDTV

      

2) โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีรูปแบบมาตรฐานพัฒนามาจากโทรทัศน์อนาล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อก เป็นการผสมคลื่นแบบ COFDM โดยในหนึ่งช่องสัญญาณสามารถนำมาส่งได้หลายๆรายการโทรทัศน์( Program ) จึงเรียกได้อีกอย่างว่าการแพร่กระจายคลื่นแบบหลากหลายรายการ(Multicasting) การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV




จากบันทึกใน Television Technology Demystified ได้ระบุว่าการเริ่มต้นของโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2416 จากการที่ Leonard May พนักงานโทรเลขชาวไอริช ได้ค้นพบสารเซเลเนียมที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนสัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 Paul Nipkow นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้คิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไกเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 2454 Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปี 2466 ได้กลายเป็นแนวความคิดให้ Vladimir Zworykin ประดิษฐ์ iconoscope ซึ่งทำหน้าที่เก็บรูปและสแกนรูปไว้เป็นสัญญาณไฟฟ้าหลายๆเส้น และในปี 2467 Vladimir Zworykinได้ประดิษฐ์ kinescope ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จาก iconoscope มายิงบนจอเรืองแสงที่มีตำแหน่งสอดคล้องกัน และในปี พ.ศ.2468 ได้มีนักวิทยาศาสตร์สองคนคือ John Logie Baird ชาวอังกฤษ และ Charles Francis Jenkins ชาวอเมริกันได้ทำการทดลองส่งภาพเงาโดยไม่ใช้สายซึ่งเป็นการทดลองออกอากาศครั้งแรกโดยใช้จานหมุนของ Paul Nipkow ต่อมาได้มีการพัฒนานำเอาระบบภาพสีมาใช้ร่วมกับจานหมุน Nipkow โดยในปี พ.ศ.2471 John Logie Baird ได้นำแผ่นกรองสีมาแยกสัญญาณสีได้สำเร็จโดยใช้จานหมุนแยกสีในการแยกสัญญาณออกเป็นสีพื้นฐาน 3 สีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งการแพร่ภาพโทรทัศน์ขาว-ดำ เป็นครั้งแรกของโลกได้เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2479 และการแพร่ภาพโทรทัศน์สีเป็นครั้งแรกของโลกได้เกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2497

     

รากฐานของโทรทัศน์อนาล็อกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2426 แต่มีการให้บริการจริงๆ แบบขาว-ดำ ในยุค ปี พ.ศ.2493  สำหรับประเทศไทยเริ่มให้บริการโทรทัศน์อนาล็อกแบบ ขาว-ดำ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2498 และพัฒนาเป็นโทรทัศน์สีอนาล็อก ระบบ CCIR-PAL 625 /50 ในปี พ.ศ.2510

โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 
โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 : [2]



ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์อนาล็อก
      การส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์สีได้พัฒนามาจากการส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์แบบขาว-ดำ โดยที่ได้มีการกำหนดว่าการส่งสัญญาณระบบสีทุกระบบจะต้องให้เครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำสามารถรับสัญญาณได้ด้วย เพียงแต่จะเห็นเป็นภาพขาว-ดำเท่านั้น

      

1) ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) ย่อมาจาก Nation Television System Committee หรืออาจเรียกว่าระบบเอฟซีซี(FCC) เป็นระบบของสหรัฐอเมริกา ระบบนี้เป็นแม่แบบของระบบอื่นๆ ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งภาพ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือแทรกความถี่พาหะย่อยของสีลงในสัญญาณภาพโดยไม่รบกวนกัน แต่ข้อเสียของระบบนี้คือจะมีความเพี้ยนของสีเกิดขึ้น

      

2) ระบบพาล (PAL) ย่อมาจาก Phase Alternative Line หรืออาจเรียกว่าระบบ ซีซีไออาร์(CCIR) ระบบนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเยอรมนี โดย Dr.Walter Bruch เป็นระบบที่ปรับปรุงมาจากระบบเอ็นทีเอสซี(NTSC) เป็นระบบที่มีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ซึ่งหลักการของระบบนี้จะเหมือนกันกับหลักการของระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) โดยปรับปรุงเรื่องความผิดพลาดของสีที่เกิดจากเฟสที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา โดยมีวิธีการแก้ไขคือเพิ่มเฟสเข้าไป 180 องศา และเป็นระบบการส่งโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย

      

3) ระบบซีแคม (SECAM) ย่อมาจาก Sequantiel Couleur a Memoire (sequential color with a memory) ได้ถูกคิดค้นโดย Henri de France นักวิจัยชาวฝรั่งเศส ระบบนี้เป็นระบบที่มีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือ แยกส่งสัญญาณกำหนดความแตกต่างของสีสลับกันทีละเส้น ในเครื่องรับจะจับสัญญาณไว้ชุดหนึ่งเพื่อรวมกับสัญญาณในเส้นถัดไปทำให้ได้ภาพสีตรงตามสัญญาณภาพที่ส่งมา เป็นระบบที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศทางแถบยุโรปและแอฟริกา

คุณภาพของระบบโทรทัศน์สีในระบบต่างๆ

     

1. ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีข้อดี คือ สามารถมองเห็นภาพได้ 30 ภาพ/วินาที (ระบบอื่นมองเห็นได้ 25 ภาพ/วินาที) ทำให้การสั่นไหวของภาพลดน้อยลง และเนื่องจากสัญญาณภาพ ใช้ความกว้างของคลื่นสัญญาณน้อย ทำให้ภาพถูกรบกวนน้อย ภาพที่ได้รับจึงมีความคมชัดมากขึ้น ส่วนข้อเสีย นั้นเกิดจากการที่เส้นสแกนภาพมีจำนวนน้อย หากใช้จอภาพเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่รับภาพจะทำให้รายละเอียดภาพมีน้อย ดังนั้นภาพจึงขาดความคมชัดและถ้าใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำ สัญญาณสีที่ความถี่ 3.58 MHz จะเกิดการรบกวนสัญญาณขาว-ดำ ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของสี วิธีแก้ไข ต้องปรับแก้ที่เครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อให้ได้ภาพเป็นธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวของผู้รับชมปรับแต่งสีให้ภาพได้ดี

2.ระบบ PAL เป็นระบบที่ให้รายละเอียดของภาพสูง ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี ภาพที่ได้เป็นธรรมชาติ ความเข้มของภาพสูง (High Contrast) ดีกว่าระบบ NTSC แต่มีข้อเสียคือภาพที่มองเห็นมีความสั่นไหวมากกว่าระบบ NTSC เนื่องจากภาพที่มองเห็น 25 ภาพ/วินาที ถูกรบกวนสัญญาณ ภาพสูง สาเหตุเพราะมีความกว้างของสัญญาณภาพมากกว่า (Higher Bandwidth)ระบบ NTSC จุดอิ่มตัวความสว่างของสีน้อย (reduce the color saturation) ทำให้เห็นความสว่างของสีน้อยลง

3.ระบบ SECAM เป็นระบบที่ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี รายละเอียดของภาพมีคุณภาพสูงเทียบเท่ากันระบบ PAL ข้อเสีย ภาพจะมีการสั่นไหวเหมือนระบบ PAL ส่วนการตัดต่อภาพในระบบนี้ไม่สามารถทำได้ ซึ่งในการผลิตรายการโทรทัศน์ส่วนมากใช้ระบบ PAL และเมื่อผลิตเสร็จแล้วจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นระบบ SECAM แล้วจึงส่งออกอากาศและเนื่องจากความกว้างของคลื่นสัญญาณมีน้อย จึงทำให้เกิดคลื่นความถี่สัญญาณสีรบกวนภาพ (Patterning Effects) จึงทำให้ภาพเกิดมีสีรบกวนในขณะรับชมรายการได้

โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 
โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 : [3]



หลักการแพร่ภาพเบื้องต้น
      การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่สายตามนุษย์เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนเรียงกันตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สายตาของคนจับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทัน จึงเกิดลักษณะการมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์ เนื่องจากการแพร่ภาพคือการส่งภาพและเสียงออกไปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง

     

หลักในการแพร่ภาพคือการส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม.(AM) ผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband และผสมสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม.(FM)โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า (Video Signal-สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณที่แพร่ออกไปถึงเครื่องรับโทรทัศน์จะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุ และสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ โดยการที่เครื่องรับและเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้นเกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ที่ได้ทำการผสมสัญญาณเข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน

     

สัญญาณซิงโครไนซ์( Synchronize Signal ) คือ สัญญาณที่ใช้ผสมกับสัญญาณภาพเพื่อให้การสแกนภาพเป็นไปอย่างถูกต้องตรงจังหวะ คือเริ่มต้นพร้อมกันและจบพร้อมกัน

การสแกนภาพ
      ปัจจุบันมีระบบโทรทัศน์สี 3 ระบบ คือ NTSC, PAL และ SECAM โดยทั้ง 3 ระบบมีส่วนที่เหมือนกัน คือ ภาพ(ขาว-ดำ) เกิดจากการสแกน(Scan) ทางแนวนอน จำนวนหลายเส้นสแกน(Scan) จนครบเฟรมภาพ(Frame) ในทางทฤษฎีเส้นสแกนทางแนวนอนจะต่อเนื่องกัน นั่นคือความชัดเจนของภาพทางแนวนอนไม่มีขีดจำกัด แต่ในทางปฏิบัติความชัดเจนของภาพทางแนวนอน จะถูกจำกัดด้วยความกว้างของแถบความถี่ของช่องโทรทัศน์(Bandwidth)

โทรทัศน์สีอนาล็อกใช้วิธีสแกนภาพแบบ Interlaced (สอดประสาน) ซึ่งจะต่างกับจอคอมพิวเตอร์ ที่เป็นการสแกนแบบ Progressive (ก้าวหน้า) การสแกนแบบ Interlaced  ภาพแต่ละเฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น Field คี่ และ Field คู่ ทั้งสอง Field จะถูกนำมาแสดงสลับกันด้วยอัตรา จำนวน ภาพ(Frame) ต่อวินาที ที่อ้างอิงกับมาตรฐานภาพยนตร์ 24 ภาพ(Frame) ต่อวินาที  คือ 25  ภาพ(Frame) ต่อวินาที สำหรับประเทศที่ใช้กระแสไฟฟ้า 50 Hz และ 30  ภาพ(Frame) ต่อวินาที สำหรับประเทศที่ใช้กระแสไฟฟ้า 60 Hz ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการวูบวาบ (Flicker)ของภาพ ที่เกิดขึ้นจากการรบกวนเมื่อจังหวะในการสแกนภาพโทรทัศน์ไม่สัมพันธ์กับแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าในห้องที่รับชมโทรทัศน์อยู่

ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า จุดภาพ(Dot) หรือพิกเซล(Pixel) ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง(ความสว่างของภาพ)ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง(R) สีเขียว(G) สีน้ำเงิน(B) ที่เกิดเป็นภาพ โดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้น จากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมา

โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 
โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 : [4]



การส่งสัญญาณโทรทัศน์
1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
       เป็นการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณไปในอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHz จะเป็นช่วงของ Very high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของ Ultra high Frequency (UHF)

2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ
      เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
      2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน 
      2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
      2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว

3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 
      เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ

4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต 
      เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www สามารถเปิดใช้งานและรับชมได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านระบบเครือข่ายเนตเวิร์ก ( Network )

ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย
      ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF แถบคลื่นความถี่ของความถี่การใช้งานโทรทัศน์ได้แบ่งตามตารางดังนี้

ช่องความถี่ใช้งาน    ย่านความถี่          ช่วงความถี่
ช่อง 2-4                   VHF                41 - 68 เมกะเฮิร์ซ
สถานีวิทยุ FM          VHF                88 - 108 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง 5-13                 VHF               174 - 230 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง 21-69               UHF               470 - 806 เมกะเฮิร์ซ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
      1) ดาวเทียม ดาวเทียมมีความเกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ในแง่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ในทุกที่
      2) สายอากาศ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยคลื่นวิทยุโดยที่มีระยะทางจำกัด
      3) การผสมสัญญาณ เป็นการผสมสัญญาณระหว่างสัญญาณภาพกับสัญญาณคลื่นวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ เพื่อทำการส่งออกไปในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม. ( AM )

และยังเป็นการผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นพาหะเสียงเพื่อส่งออกไปในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม. ( FM )
      4) คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระยะทางไกลเนื่องจากสามารถกำหนดทิศทางการส่งได้แน่นอน เพราะคลื่นความถี่สูงมากๆ จะมีการหักเหน้อย
      5) คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นที่กระจายไปได้ทุกทิศทาง ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย สามารถส่งออกไปได้ในระยะทางไกล แต่เมื่อผ่านสิ่งกีดขวางกำลังในการส่งก็จะลดลงอย่างมาก
      6) จดหมายเหตุ
      โทรทัศน์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจากบันทึกในหนังสือเทคโนโลยีโทรทัศน์โดยได้ระบุว่า จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นผู้ริเริ่มให้นำโทรทัศน์เข้ามาในประเทศ โดยมีหนังสือถึงอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ความตอนหนึ่งว่า "...ผมอยากจะให้พิจารณาจัดหา และจัดการส่ง Television ขึ้นในประเทศของเรา เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของประชาชน จะควรทำเป็น Mobile unit อย่างที่สนทนาวันก่อน แล้วจัดหารถจี๊บขนาดเล็กมาทดลองต่อไป..."  ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงได้มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นหลังจากนั้นมา

การค้นพบและการใช้งาน
ปี พ.ศ.   การค้นพบและการใช้งาน
2416   Andrew May ค้นพบสารเซเลเนียมซึ่งเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า 
2426   Paul Nipkow คิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไก 
2454   Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์
2466   Vladimir Zworykinประดิษฐ์ iconoscope 
2467   Vladimir Zworykin ประดิษฐ์ kinescope 
2468   John Logie Baird และ Charles Francis Jenkins ทดลองการออกอากาศโดยส่งภาพเงาโดยไม่ใช้สาย 
2471   James L. Bairdนำแผ่นกรองสีมาใช้แยกสัญญาณสี เกิดการส่งภาพสี 
2479   แพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษด้วยระบบ 405 เส้น 25 ภาพต่อวินาที 
2494    แพร่ภาพสีเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที 
2495   ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ( ใน พ.ศ. 2550 คือสถานีโทรทัศน์โมเดิลไนน์ ทีวี Modern Nine TV )
2498    มีการแพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (ใน พ.ศ.2550 คือ สถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี)
2500   ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และมีการแพร่ภาพเป็นภาพขาว-ดำ
2510   สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แพร่ภาพเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
2513    ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์สีระบบ PAL
2517    สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ย้ายมาเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และได้เปลี่ยนจากการแพร่ภาพระบบขาว-ดำมาเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL
2539   สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ใน พ.ศ.2550 เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) เป็นสถานีแรกที่ใช้ระบบ UHF เนื่องจากช่องสัญญาณในย่านความถี่ VHF ถูกใช้จนเต็ม

โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 
โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ใน ประเทศไทย มี ช่วง ความถี่ ใช้งาน อยู่ในย่าน ใด
 : [5]



ในปี พ.ศ. 2360 จาคอบ เบอร์เซเบียส (Jacob Berzebius) ได้ค้นพบธาตุชนิดหนึ่งและตั้งชื่อว่า ซีลีเนียม ต่อมาเขาได้นำไปประดิษฐ์เป็นโฟโตอีเลคตริกเซลซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าและเซลไฟฟ้าชนิดนี้เองทำให้เกิดโทรทัศน์ขึ้น ในระยะเวลาใกล้ ๆ กัน วิลเลียม ครุก (William Crook) ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าชนิดหนึ่งเรียกว่า หลอดครุก ซึ่งนับว่าเป็นต้นกำเนิดของหลอดรังสีแคโธดในปัจจุบันนี้ ต่อมามีนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการทดลองในเรื่องโทรทัศน์โดยได้รวบรวมเอาความคิดเห็นและผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ เช่นของ จอห์นแอมโบรส เฟลมิง (John ambrose Fleming) และโธมัส เอดิสัน (Thomas A Edison) มาใช้

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2407 เจมส์ แมกเวลล์ (James Clerk Maxvell) ได้ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ คลื่นแม่เหล็ก และ คลื่นไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปด้วยกัน แต่คลื่นทั้งสองตั้งฉากกัน ซึ่งต่อมาก็นำมาใช้เป็นคลื่นพาห์ซึ่งเป็นนำคลื่นเสียงในวิทยุและนำทั้งคลื่นเสียงและภาพในโทรทัศน์ เป็นการแพร่สัญญาณจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับซึ่ง รูดอล์ฟ เฮิร์ทซ์ (Rudolph Henrich Hertz) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ผลิตเครื่องมือที่สามารถนำเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารและได้ประกาศให้โลกยอมรับรู้เมื่อ พ.ศ.2429 และให้สื่อสิ่งที่เขาค้นพบว่า คลื่นเฮิร์ทซ์ (Hertzain Wave) และชื่อของเขาก็ได้รับการยกย่องให้ใช้เรียกหน่วยของความถี่คลื่นวิทยุทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้หน่วยของความถี่ (จำนวนที่เคลื่อนที่ผ่านจุดหนึ่งจุดใดในเวลา 1 วินาที) เรียกว่า ไซเกิ้ล

ในศตวรรษที่ 19 นี้ ได้มีผู้ค้นพบโทรทัศน์ขึ้น คือ ปอล นิพโกว์ (Paul Nipkow) ชาวเยอรมัน ได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้ภาพเป็นเส้นทางบนจอได้ ปอล นิพโกว์ ได้คิดค้นเครื่องสแกนภาพแบบใหม่ที่ใช้จานหมุนที่มีรูเล็กๆ เรียงกันในลักษณะเป็นก้นหอยเรียกว่านิพโกว์ดิสก์ (Nipkow disk) ในการอ่านภาพ ซึ่งถือเป็นประดิษฐ์กรรมต้นแบบของเครื่องสแกนรวมทั้งเทคโนโลยีการถ่ายทอดภาพของวงการโทรทัศน์ในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโทรทัศน์ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโทรทัศน์

ดร.วีเค ชวอร์กิ้น (Dr.V.K. Zworgkin) นักวิทยาศาสตร์ชาวรุสเซียที่โอนสัญชาติเป็นอเมริกัน ได้ค้นพบหลอดจับภาพไปสู่จอภาพที่สมบูรณ์ขึ้น เขาได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์เมื่อปี พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) และให้ชื่อสิ่งที่ค้นพบนี้ว่า ไอโคโนสโคฟ (Iconoscope) ซึ่งไอโคโนสโคฟนี้ใช้ทฤษฎีของ ปอล นิพโกว์

จอห์น โลจิก แบร์ด (John Logic Baid) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเกิดที่สก๊อตแลนด์ได้อาศัยทฤษฎีของ ปอล นิพโกว์ ค้นคว้าทดลองต่อมาจนแสดงให้ชาวโลกดูได้ว่าเขาสามารถจับภาพเข้าเครื่องส่งแล้วส่งมาออกที่จอภาพที่เครื่องรับโทรทัศน์ได้สำเร็จและแสดงให้นักวิทยาศาสตร์และบุคคลชั้นนำของประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2469 และสถานีวิทยุบีบีซี (British Broadcasting Corporation) ก็ได้นำสิ่งประดิษฐ์ของแบร์ดไปทดลองออกอากาศให้คนอังกฤษได้ชมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2472

สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกคือ บีบีซี ของอังกฤษแพร่ภาพออกสู่ประชาชนเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2479 ได้มีพิธิเปิดแพร่ภาพเป็นครั้งแรกที่พระราชวังอเล็กซานด้าในกรุงลอนดอน โดยได้ใช้วิธีการสแกนภาพระบบของแบร์ด ในขณะนั้นทั่วประเทศอังกฤษมีเครื่องรับเพียง 100 เครื่องเท่านั้น แพร่ภาพครั้งหนึ่งไม่เกิน 3 ชั่วโมง จัดเป็นช่วงแพร่ภาพ 3 ช่วง ภาพที่เครื่องรับกว้าง 10 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ราคาเครื่องละประมาณ 6,000 บาท ในสมัยนั้นนับว่าแพงมาก แต่ในชั่วระยะเวลา 2 ปี ในอังกฤษก็มีเครื่องรับถึง 3,000 เครื่อง

ในสหรัฐอเมริการได้ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นเครือข่ายร่วมกันทดลอง 17 สถานี ในปี พ.ศ.2480 ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้สร้างสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกในมลรัฐนิวยอร์ก โดยบริษัทซีบีเอส ปีถัดมาคือ พ.ศ.2482 บริษัทเอ็นบีซี แพร่ภาพออกอากาศเช่นกัน