จิตวิทยาพัฒนาการ ต่อการศึกษา

ถ้าพูดถึงจิตวิทยาและจิตวิทยากับการศึกษาในเอกสารตำราทางการศึกษาหลายๆเล่มที่ผู้รู้และนักวิชาการของไทย และต่างประเทศได้วิเคราะห์และเขียนเป็นตำราเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ เนื้อหาทั้งหมด ต่างก็เน้นหนักไปในเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางจิตของคนเพื่อเป็นการปรับความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของคนหรือบุคคลต่างๆก่อนที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่ละเอียดซับซ้อน ของเนื้อหาสาระในหลักสูตร ชั้นเรียน สถาบันการศึกษา ครูผู้สอนตัวนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ที่สูงและต่ำ

Show

1. สาระของจิตวิทยาการศึกษา

ถ้าพูดถึงจิตวิทยาและจิตวิทยากับการศึกษาในเอกสารตำราทางการศึกษาหลายๆเล่มที่ผู้รู้และนักวิชาการของไทย และต่างประเทศได้วิเคราะห์และเขียนเป็นตำราเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ เนื้อหาทั้งหมด ต่างก็เน้นหนักไปในเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางจิตของคนเพื่อเป็นการปรับความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของคนหรือบุคคลต่างๆก่อนที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่ละเอียดซับซ้อน ของเนื้อหาสาระในหลักสูตร ชั้นเรียน สถาบันการศึกษา ครูผู้สอนตัวนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ที่สูงและต่ำ

ดังที่ Meyer (1987, p.7) ได้กล่าวถึงจิตวิทยาการศึกษาวา เป็นสาขาหนึ่งของจิตวิทยา ประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการทางความคิดที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เช่นเดียวกับ Woolfolk (1998, p.1) ให้ความเห็นวา จิตวิทยาการศึกษาเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ โดยการประยุกต์วิธีการและทฤษฎีทางด้าน จิตวิทยามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

ในขณะที่ สุรางค์ โค้วตระกูล (2544, หน้า 1) กล่าวว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกบการเรียนรู้ และการพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อคิดค้นทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา และสร้างเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2543, หน้า 14) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมวา จิตวิทยา การศึกษา เป็นจิตวิทยาประยุกต์แขนงหนึ่งของจิตวิทยา จิตวิทยาการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ช่วยให้ครูได้นำความรู้ในด้านต่างๆทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอน และสามารถนำความรู้นั้นไปพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนให้มีคุณภาพและบรรลุเป้าหมายของการศึกษา

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งที่ นำเอาแนวคิดทางด้านจิตวิทยามาใช้ในการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียน

2. ความหมายของกรอบแนวคิดทางจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้

จิตวิทยากับการศึกษา แยกคำศัพท์ได้ คือ จิตวิทยา กับ การศึกษา

จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการของจิตมาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ “Psyche” (วิญญาณ)

และ “logos”(การศึกษา) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์

การศึกษา คือ การจัดโปรแกรมการเรียนการสอนขึ้นอย่างเป็นทางการโดยมอบให้โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย เป็นผู้จัดหาโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความถึงสถานศึกษาเท่านั้นแต่ยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงการศึกษาพิเศษ โดยใช้บริการทางไปรษณีย์ วิทยุโทรทัศน์เป็นเครื่องมือตลอดจนการอบรมซึ่งรัฐบาลหรือองค์การและเอกชนเป็นผู้จัดทำขึ้นอีกด้วย

การศึกษานั้นเป็นเรื่องของการสร้างคนเพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีงามและเปลี่ยนแปลงสถานะภาพทางสังคมได้จิตวิทยาจะช่วยบุคคลในเรื่องของการปรับตัวเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพทำอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กและบุคคลสามารถปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างพอดี

สรุปได้ว่า จิตวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทฤษฎีพัฒนาการทฤษฎีทางบุคลิกภาพของบุคคลในระดับอายุต่างๆตั้งแต่ก่อนวัยทารกคือหลังจากมีปฏิสนธิสู่วัยทารกวัยเด็ก วัยรุ่นตอนต้นตอนปลาย วัยผู้ใหญ่และวัยชราที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างล้วนแต่เป็นเรื่องของการปรับตัวทั้งสิ้นการศึกษา

3. กรอบแนวคิดของนักทฤษฏีทางด้านจิตวิทยาการศึกษา

Lefrancois (1972) ได้กล่าวถึง จิตวิทยา กับ การศึกษา ไว้ดังนี้

จิตวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทฤษฎีพัฒนาการทฤษฎีทางบุคลิกภาพของบุคคลในระดับอายุต่างๆตั้งแต่ก่อนวัยทารกคือหลังจากมีปฏิสนธิสู่วัยทารกวัยเด็ก วัยรุ่นตอนต้นตอนปลาย วัยผู้ใหญ่และวัยชราที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างล้วนแต่เป็นเรื่องของการปรับตัวทั้งสิ้นการศึกษา การศึกษานั้นเป็นเรื่องของการสร้างคนเพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีงามและเปลี่ยนแปลงสถานะภาพทางสังคมได้จิตวิทยาจะช่วยบุคคลในเรื่องของการปรับตัวเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพทำอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กและบุคคลสามารถปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างพอดีจิตวิทยากับการศึกษา จึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาสาระทั้งสองสาขาวิชาที่บูรณาการเข้าด้วยกันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการทดลอง

John B. Watson กล่าวว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม

Crow & Crow เห็นจิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

Good คิดว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

Hilgard กล่าวว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ

William James ให้ทัศนะว่าจิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการมนุษย์

กล่าวโดยสรุป คือ จิตวิทยาได้เปลี่ยนเป็นศาสตร์ที่ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ทั้งภายในและภายนอก (Behavior) ของมนุษย์ (Psychology is the science of behavior)

4. ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา

  1. จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตฺวิทยาสาจาอื่นต่อไป
  2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
  3. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
  4. จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
  5. จิตวิทยาการแนะแนว (Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
  6. จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้
  7. จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น T
  8. จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน
  9. จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
  10. จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต

5. วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา

ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ นักจิตวิทยาจึงต้องใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ วิธี ซึ่งการที่จะเลือกใช้วิธีการใด ๆ ย่อมขึ้นอยู่กับปัญหาที่จะศึกษาและสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น

วิธีการศึกษาที่นักจิตวิทยานิยมใช้ 6 วิธี

1. การสังเกต (observation)

เป็นการใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกตสัมผัสสิ่งที่ต้องการสังเกต นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการสังเกตอย่างมีเหตุผล และแผนการในการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหาอันดับต่อเนื่องของพฤติกรรมทั้งหลายว่า พฤติกรรมอันหนึ่งซึ่งเกิดก่อนเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่ตามมาใช่หรือไม่ การสังเกตแบ่งออกเป็น2 ลักษณะ คือ การสังเกตอย่างมีระบบและการสังเกตอย่างไม่มีระบบ

1.1 การสังเกตอย่างมีระบบ หมายถึง การสังเกตที่มีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะสังเกตพฤติกรรมประเภทใด ในช่วงเวลาใด จะบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตอย่างไร

1.2 การสังเกตอย่างไม่มีระบบ หมายถึงการสังเกตที่ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า เพียงแต่เมื่อผู้สังเกตพบเหตุการณ์ที่ตนสนใจก็สังเกตรายละเอียดบางอย่างเอาไว้การสังเกตอาจใช้เครื่องมือช่วยบันทึกรายละเอียด เช่น เครื่องบันทึกเสียง วิดิโอและกล้องถ่ายภาพ เป็นต้น ภายหลังจากการสังเกตพฤติกรรมแล้วต้องมีการบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตทุกครั้ง โดยผู้สังเกตต้องวางตัวเป็นกลาง ปราศจากอคติ และควรเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

2. การสำรวจ (surveys)

เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลายในการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากประชากร หรือจากกลุ่มตัวอย่าง และมักเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเจตคติและความสนใจ ความคิดเห็นและการรับรู้ ข้อดีของการศึกษาวิธีการนี้คือ สามารถตั้งคำถามได้ตรงจุด และคำตอบจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ อย่างแท้จริง ในการสำรวจจะต้องมีการวางแผนในการเลือกกลุ่มประชากรเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ที่อ่านออกเขียนได้ มี 2แบบ คือแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามปลายปิด ส่วนการสัมภาษณ์มักจะใช้ควบคู่กันไปกับแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น หรือใช้กับบุคคลที่อ่านหนังสือไม่ออกหรือเขียนไม่ได้ หรือไม่มีความถนัดในการใช้ภาษา

3. การทดสอบและการวัด (test and measurement)

3.1 การทดสอบทางจิตวิทยา (psychological tests) เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สำคัญมาก ใช้วัดความสามารถต่าง ๆ ของบุคคล เช่น ความสนใจ เจตคติ ความถนัดสติปัญญา บุคลิกภาพ และสัมฤทธิผลในด้านต่าง ๆ การทดสอบจะเป็นการเสนอสิ่งเร้าให้บุคลตอบสนองตามวิธีการหรือเกณฑ์ที่กำหนด สิ่งเร้าที่ใช้ในการทดสอบ เรียกว่าแบบทดสอบ ซึ่งแบบทดสอบที่ดีต้องมีความตรง (validity) มีความเที่ยง (reliability) และสามารภนำไปใช้ได้สะดวก การใช้แบบทดสอบเพื่อวัดบุคคลในด้านต่าง ๆ จะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลมากขึ้น

3.2 การวัดทางร่างกาย (biological measures) ได้มีการสร้างเครื่องมือและเทคนิคเพื่อวัดลักษณะต่าง ๆ ทางร่างกายและการทำงานของสมอง เพื่อดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายในขณะที่เกิดพฤติกรรม เช่น มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง เกิดจากการหลั่งสารเคมีบางอย่างผิดปกติในสมอง หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบในกระแสเลือด จะทำให้คนรู้สึกหิว ซึ่งผิดกับสมัยก่อนที่เชื่อกันว่า ความหิวเกิดจากการบับตัวของกระเพาะอาหาร หรือการสร้างเครื่องมือเพื่อวัดการไหลเวียนของเลือด การทำงานของสมอง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและไฟฟ้าภายในร่างกายในขณะที่บุคคลมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ติดยาเสพย์ติด ประสาทหลอน นอนหลับ อาจจะวัดการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด และระบบการหายใจในขณะที่คนมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง อาจจะวัดการบีบตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของคลื่นสมองในขณะที่คนอยู่ในภาวะเครียด และผ่อนคลาย

4. การศึกษาสหสัมพันธ์ (correlational studies)

สหสัมพันธ์เป็นเครื่องมือทางสถิติที่นักจิตวิทยานำมาใช้ในการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้วิจัย เช่น สติปัญญาของพ่อแม่กับสติปัญญาของลูกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรือการศึกษาพฤติกรรมของเด็กนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนนสม่ำเสมอกับเด็กนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย ในประเด็นที่ว่าเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอโดยทั่วไปจะทำคะแนนสอบได้ดีกว่าเด็กนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย ในการศึกษาผู้วิจัยไม่ได้ควบคุมตัวแปรใด ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจในการเรียนของเด็ก หรือคะแนนสอบ แต่ศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งนี้ในการสำรวจก็ศึกษาสหสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน ถ้าผู้สัมภาษณ์ทำการเปรียบเทียบกลุ่ม 2 กลุ่ม หรือมากกว่า 2กลุ่ม เช่น จะเปรียบเทียบความเชื่อของเพศชายกับเพศหญิง หรือความเชื่อของคนหนุ่มกับคนแก่ว่าเป็นอย่างไร โดยการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตัวหนึ่ง (เพศ หรืออายุ) กับตัวแปรอีกตัวหนึ่ง (ความเชื่อ)

5. การศึกษาอัตชีวประวัติ (case histories)

เป็นวิธีการศึกษาที่นิยมใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์ มีความประพฤติ หรือมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ เป็นการศึกษาชีวประวัติ หรือภูมิหลังของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างละเอียดในทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจะทำให้ทราบประวัติ พัฒนาการของบุคคลนั้นสามารถทำได้โดยการสังเกต และบันทึกการพัฒนาการของบุคคลนั้น ๆ เอาไว้ หรือจัดสร้างชีวประวัติขึ้นมาใหม่โดยอาศัยข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้ที่ต้องการศึกษาจากบิดามารดา หรือจากบุคคลอื่น ๆ ที่รู้จักและเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์ซึ่งจะสามารถค้นหาพฤติกรรม และความรู้สึกต่าง ๆ ภายในของบุคคลที่มีปัญหา การศึกษาวิธีนี้จะช่วยให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุคคลนั้นได้มากขึ้น

6. การทดลอง (experimental studies)

เป็นการจัดหรือการสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อการศึกษา และมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการให้มีอิทธิพลต่อผลการทดลองน้อยที่สุด การทดลองสามารถทำได้ในสภาพธรรมชาติ เรียกว่า การทดลองภาคสนาม และการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่การควบคุมตัวแปรในการทดลองภาคสนามทำได้รัดกุมน้อยกว่าการทดลองในห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้นในการทดลองทางจิตวิทยานิยมใช้ทดลองเป็นกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยกันคือ (1) กลุ่มทดลอง หมายถึง กลุ่มที่ต้องการจะศึกษา เป็นกลุ่มที่ต้องการจะศึกษา จะถูกกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการบางอย่าง หรือมีการสร้างภาพการณ์บางอย่างขึ้นมา (2) กลุ่มควบคุม หมายถึง กลุ่มที่ต้องการจะนำมาใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่จะอยู่ในสภาพการณ์ปกติ

จุดหมายที่สำคัญในการทดลอง คือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรในการทดลอง หมายถึง สิ่งที่สามารถเปลี่ยนค่าได้ ตัวแปรในการทดลองแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ตัวแปรอิสระ หมายถึง สภาพการณ์ที่ผู้ทดลองจัดสร้างขึ้นเพื่อพยายามค้นหาว่าสิ่ง ๆ นั้นมีอิทธิพล หรือมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้ทดลองอย่างไร (2)ตัวแปรตาม หมายถึง สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลจากการที่ผู้ทดลองนำตัวแปรอิสระเข้ามา หรือถอนออกไปความหมาย

“จิตวิทยา” เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก

6. การศึกษาตามวิธีวิจัย

6.1 การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research)

การวิจัยเชิงบรรยาย เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทราบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ในการวิจัยประเภทนี้มีตั้งแต่การสำรวจว่า มีตัวแปรอะไรบ้าง สัมพันธ์อย่างไร ไปจนถึงการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปร

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงบรรยาย

การวิจัยเชิงบรรยายเป็นการหาเงื่อนไข และความสำคัญที่เกิดขึ้นในการปฎิบัติความเชื่อ ความคิดเห็นทัศนคติ ผลที่มองเห็นตลอดจนแนวโน้ม เพื่อจุดประสงค์ที่จะบรรยาย และแปลความถึงลักษณะ ระดับของเงื่อนไข ความสัมพันธ์ การวิจัยชนิดนี้ต้องมีการสำรวจ สืบค้น เกี่ยวกับตัวแปร และมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล มิใช่เพียงแต่นำข้อมูลมารวบรวมนำเสนอเท่านั้น ต้องมีพรรณนา หรือบรรยายนี้ ผู้วิจัยจะต้องศึกษาสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ โดยมิได้แตะต้อง หรือควบคุมตัวแปร และสภาพแวดล้อมเลย โดยอาศัยการสังเกต บันทึก รวบรวม และวิเคราะห์ จากนั้นจึงสรุปให้เป็นผลการวิจัย ในศิลปกรรมศาสตร์นั้น ใช้วิธีการนี้ในงานวิจัยมาก ดังนั้น ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงบรรยายรายดังต่อไปนี้

1. เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร

2. เพื่อนำข้อมูลไปตีความอธิบาย ประเมินผล และเปรียบเทียบ

3. เพื่อหาแนวโน้มของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

4. เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งที่ได้ศึกษา เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ และเป็นแนวทางในการแสวงหาความรู้ต่อไป

5. เพื่อทราบหลักเหตุผล และการปฏิบัติ ตลอดจนปัญหาในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุง

ข้อมูลของการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. ข้อมูลปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือใช้สถิติ

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข หรือสถิติเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการสัมภาษณ์ การค้นคว้าเอกสาร แต่ข้อมูลประเภทนี้มักขาดความเที่ยงตรง ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความละเอียด ในการอธิบายขั้นตอนของการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์อย่างมาก โดยใช้เหตุผล อีกทั้งยังจะต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีที่เหมาะสม และจะต้องใช้กลุ่มตัวอย่าง ขนาดเหมาะสม เพื่อใช้เป็นตัวแทนได้ดีที่สุด เพื่อให้ผลวิจัยที่มีความเชื่อถือได้มากที่สุด

ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies)

เป็นการศึกษาถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ หรือปรากฎการณ์หนึ่ง เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อการวางแผน และปรับปรุงให้ดีขึ้น แบ่งออกได้เป็นสำรวจชุมชน สำรวจสภาพการปกครอง สำรวจทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจพื้นฐาน สำรวจทางวัฒนธรรม ประเพณี และศิลปะ สำรวจประชากร สำรวจประชามติ และวิเคราะห์งาน (Job Analysis) วิเคราะห์เอกสาร (Documentary Anaiysis)

2. การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies)

เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ ของตัวแปรของปรากฎการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ แบ่งออกไปได้เป็น

2.1 กรณีศึกษา (Case Study) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ เพื่อต้องการทราบรายละเอียดของทุกแง่มุมในเรื่องที่ต้องการศึกษานั้น ๆ เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี มิได้มุ่งในเรื่องปริมาณ เป็นการศึกษาเพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ

2.2 ศึกษาเปรียบเทียบผลเพื่อสืบหาเหตุ (Cusual Comparative Studies) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปรากฎการณ์ต่าง ๆ โดยการสังเกตุผลของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร แล้วย้อนกลับไปดูว่า ผลที่เกิดจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่เป็นเหตุอะไรได้บ้าง การวิจัยลักษณะนี้ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Expost Facto Research

2.3 ศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Studies) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อดูว่าตัวแปรเหล่านั้นมีการผันแปรคล้อยตามกัน หรือผันแปรตรงกันข้ามกัน คือ ศึกษาสหสัมพันธ์นั้นเอง ส่วนใหญ่จะใช้สถิติเข้ามาช่วยในการวิจัยประเภทนี้

2.4 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรม (Cross Cultural Studies) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการนำสิ่งนั้น ๆ ไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในแต่ละวัฒนธรรม การวิจัยประเภทนี้ต้องการข้อมูลจากการศึกษาจากหลายลักษณะ โดยการสำรวจศึกษาทางกรณี การสังเกต แล้วจึงมาสรุปผลว่าสามารถสืบอ้างไปสู่กลุ่มที่มีวัฒนธรรมอื่น ๆ ได้หรือไม่ หรือใช้ได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น

3. การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Studies)

เป็นการวิจัยที่ดูความก้าวหน้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในช่วงของสภาพที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลา เช่น การศึกษาความเจริญงอกงามความก้าวหน้าต่าง ๆ หรือการศึกษากลุ่มเป็นระยะเวลายาว (Longitudinal Studies) และการศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงรูปแบบ และทิศทางของความเปลี่ยนแปลง เพื่อการพยากรณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยการศึกษาจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ช่วงต่อเนื่องกัน แบบ Longitudinal Study มีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ทำให้ทราบอัตรา และทิศทางการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงพยากรณ์สภาพ หรือเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

6.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

เป็นการศึกษาตัวแปร เพื่อทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผลการทดลองสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ไม่ว่าจะเป็นการทดลองชนิดใดต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ได้แก่ การปฏิบัติซ้ำเพื่อตรวจสอบผลให้เกิดความมั่นใจ การควบคุมเพื่อไม่ให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความจริง ตัวแปร คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ และต้องมีขอบเขตจำกัด ในการทดลองจะมีการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวประกอบ 2 ตัว หรือ 2กลุ่ม โดยให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental Group) เป็นกลุ่มที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม (Control Group) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะถูกเปรียบเทียบกัน ปัจจุบัน วิธีทดลองถูกนำไปใช้ในจิตวิทยาสมัยใหม่เกือบทุกสาขาอย่างได้ผลดี

สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) คือ การวิจัยที่ศึกษาเหตุที่เกิดจากการจัดกระทำ (Manipulation)ในตัวแปรตาม โดยการควบคุมปัจจัยอื่นที่อาจมีผล (Control of events) เพื่อพัฒนาหรือค้นพบองค์ความรู้ (body of knowlage) การออกแบบการวิจัยเชิงทดลองแบ่งเป็น 3 ประเภท (ประวิต เอราวรรณ์. มปป.: 29) ดังนี้

1) การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Designs) เป็นการออกแบบการทดลองที่ไม่มีการสุ่ม หรือไม่มีกลุ่มควบคุม มีเพียงการทดลองเพียงกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นรูปแบบการทดลองที่อ่อนแอที่สุดเนื่องจากมีความตรงภายในและความตรงภายนอกน้อยที่สุด

2) การวิจัยเชิงทดลองกึ่งทดลอง(Quasi-experimental Designs) เป็นการออกแบบการทดลองที่ไม่มีการสุ่ม แต่มีกลุ่มควบคุมเพื่อการเปรียบเทียบ ดังนั้น ในการทดลองจึงมีทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่สมาชิกไม่มีการสุ่ม

3) การวิจัยเชิงทดลองแท้จริง (True-experimental Designs) เป็นการออกแบบการทดลองที่มีการสุ่ม และมีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบ ดังนั้น การทดลองจึงมีทั้งทดลองและกลุ่มควบคุมโดยสมาชิกได้มาโดยการสุ่ม รูปนี้เป็นรูปแบบที่แกร่งที่สุด เนื่องจากมีความตรงภายในและความตรงภายนอกมากที่สุด ซึ่งการเลือกใช้รูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและเงื่อนไขของเรื่องที่ศึกษาหรือบริบทนั้นๆ

7. จิตวิทยาการศึกษากับการจัดการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

  1. ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
  2. ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้ เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
  3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
  4. ทฤษฎีการเรียนรู้นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ ผู้เรียน เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
  5. ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
  6. หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยม
  7. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
  8. การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน

8. จิตวิทยาการศึกษากับการจัดการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร

ผลการศึกษาพบว่า จิตวิทยาการศึกษากับการพัฒนาหลักสูตร จิตวิทยานำมาพัฒนาหลักสูตร 2 แขนง คือ

8.1 จิตวิทยาพัฒนาการ

นำมาพัฒนาหลักสูตรในด้าน

1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

2) การกำหนดระยะเวลาความสนใจของเด็กหรือคาบเวลาในการเรียนรู้

3) การกำหนดเกณฑ์อายุมาตรฐานของการเข้าเรียน ต้องคำนึงถึงความพร้อมของเด็กทั้งทางร่างกายและสติปัญญา

4) การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งจะต้องยึดลำดับความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความสลับซับซ้อนของเนื้อหาทำให้พอเหมาะกับวัยของผู้เรียนด้วย

8.2 จิตวิทยาการเรียนรู้

เป็นจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องธรรมชาติ ของการเรียนรู้และองค์ประกอบต่างๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การคิด และการแก้ปัญหา จิตวิทยาแขนงนี้จะช่วยให้ทราบว่ามนุษย์เราเรียนรู้ได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้เร็วหรือช้า เป็นต้น

9. จิตวิทยากับการจัดการเรียนการสอน

9.1 จิตวิทยากับครู

จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับครู ดังนี้

1) ช่วยให้ครูสามารถเข้าใจตนเองพิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

2) ช่วยให้ครูเข้าใจทฤษฎี วิธีการใหม่ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น ในการเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรม ครูจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายขึ้น

9.2 จิตวิทยากับผู้เรียน

จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับผู้เรียน ดังนี้

1) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะธรรามชาติของมนุษย์ ลำดับขั้นพัฒนาการชีวิตในแต่ละช่วงวัย และทราบถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย

2) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการยอมรับ เข้าใจตนเองและผู้อื่น เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในวัยต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยต่างๆ ในแนวทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

3) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี รู้จักจิตใจคนอื่น รู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

10. ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

  1. ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
  2. ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
  3. ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
  4. ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
  5. ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
  6. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
  7. ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี

จิตวิทยาการศึกษาจะเน้นในเรื่องการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยจุดประสงค์ 3 ด้าน ตามหลักของการเรียนรู้ที่ดีคือ

  1. ด้านความคิด (Cognitive Domain) ผู้เรียนต้องเข้าใจในหลักการเรียนรู้ต่างๆ ของทฤษฎีการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสมอง โดยสามารถวิเคราะห์สรุป และแยกแยะสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในการเรียนรู้ได้ถูกต้องแท้จริงอย่างมีหลักเกณฑ์
  2. ด้านอารมณ์ (Affective Domain) ผู้เรียนต้องสามารถเปลี่ยนแปลงความรู้สึก เชื่อถือ ทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้นั้นๆ เพื่อเสริมสร้างหรือสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
  3. ด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Domain) ผู้เรียนต้องสามารถนำผลที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนการแก้ปัญหาและการปรับตัวอยู่ในสังคมได้ ซึ่งจะอยู่ในรูปของเชิงพฤติกรรม

จิตวิทยาการศึกษาสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในสังคมโดยแยกออกได้ 4 ประการใหญ่ๆ คือ

  1. ประโยชน์ด้านการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็กได้ดีขึ้นสามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจเชาว์ปัญญา และความถนัดของเด็กซึ่งจะทำให้การสอนประสบผลสำเร็จ
  2. ประโยชน์ด้านการเรียน ช่วยให้ครูมีการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ และวิธีการสอนอันเป็นหนทางส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างดีช่วยให้เด็กมีหลักเกณฑ์ในการเรียนรู้โดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้ถูกต้องตามหลักการเรียนรู้ที่ดี
  3. ประโยชน์ด้านสังคม ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่นตลอดจนรู้จักปรับปรุงตนเองโดยใช้การดัดแปลงพฤติกรรมตามหลักการเรียนรู้ให้อยู่ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ประโยชน์ด้านการปกครองและการแนะแนว ช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น และสามารถอบรม แนะนำควบคุมดูแลเด็กให้อยู่ในระเบียบวินัยอันดี เสริมสร้างให้มีบุคลิกภาพที่ดีมีการปรับตัวที่เหมาะสม มีอุปนิสัย ความสนใจตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อวิธีการเรียนรู้ต่างๆ

11. ครูกับจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ จิตวิทยาการศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล ครูอาจารย์จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น ในเรียงความบทนี้ผมจึงอยากจะพูดถึงจิตวิทยาการศึกษาระดับพื้นฐานที่ได้เรียนมาในภาคการศึกษานี้ ในฐานะนิสิตคณะครุศาสตร์ที่จะต้องจบการศึกษาออกไปเป็นครู

จิตวิทยาการศึกษาจะช่วยให้ครูอาจารย์มีความเข้าใจตัวในตัวผู้เรียนอย่างแจ่มแจ้ง เข้าใจธรรมชาติของพวกเขา ความคิดจิตใจและความต้องการของพวกเขา เข้าใจว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับพวกเขา เข้าใจว่าอะไรจะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการศึกษาของพวกเขา หรือสามารถกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า จิตวิทยาการศึกษาทำให้ครูอาจารย์มีจิตวิทยาในการสอน

ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู

วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้

1. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย ของนักเรียนที่ครูต้องสอน

2. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน

3. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย

5. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ

6. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้

6.1 ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัย

6.2 ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม

6.3 ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้น

7. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้

8. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ

9. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว

10. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน

เนื่องจากการศึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เยาวชนพัฒนาการทั้งทางด้านเชาวน์ปัญญาและทางบุคลิกภาพ ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษาจึงสำคัญในการช่วยทั้งครูและนักการศึกษาผู้มีความรับผิดชอบในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน

แนวทางในการศึกษา

  • ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง
  • นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียน
  • ค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
  • ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา
  • ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ของนักเรียน

บทบาทของจิตวิทยาการศึกษา

  1. ช่วยครูผู้สอนให้รู้จักจัดการอารมณ์ของตนเองให้ถูกต้อง มีวิธีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสม
  2. ช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจวิธีการเตรียมวิธีสอน เตรียมการวัดผลและการประเมินผลให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
  3. ช่วยให้ครูผู้สอนได้รู้จักสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้เรียน
  4. ช่วยให้ครูผู้สอนได้รับความรู้ความเข้าใจ และมีหลักในการพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
  5. ช่วยครูผู้สอนให้รู้จักใช้วิธีการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง

จะเห็นได้ว่าหลักจิตวิทยาในการสอนที่น่าสนใจคือการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะด้านความสามารถและความพร้อมของผู้เรียน

สรุปจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษาเป็นจิตวิทยาประยุกต์โดยการนำเอาหลักการทางจิตวิทยาไปใช้ในการศึกษา จิตวิทยาการศึกษามาจากศาสตร์ 2 ศาสตร์คือ จิตวิทยา และ การศึกษา ซึ่งมีปรัชญา แนวคิด หลักการ และวิธีการที่แตกต่างกัน แต่นำมาเกื้อหนุนกัน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจากความรู้และเทคนิควิธีการศึกษาทางจิตวิทยาทำให้เกิดเป็นการศึกษาที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในสภาพการณ์จริง จนทำให้ได้แนวคิดทฤษฏีเฉพาะของจิตวิทยาการศึกษาให้การจัดการเรียนการสอนเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณธรรมในตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

บทบาทหน้าที่หลักของจิตวิทยาการศึกษา คือ การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อหาหนทางทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันการศึกษาวิจัยในสภาพการเรียนการสอนนี้เองก็นำมาซึ่งแนวคิด ทฤษฏีที่จะช่วยอธิบายพฤติกรรมต่างๆในสภาพการเรียนการสอน รวมทั้งช่วยเสนอแนะวิธีที่จะทำให้การจัดดำเนินการเรียนการสอนมีคุณภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น เนื้อหาสาระของจิตวิทยาการศึกษาจึงมีประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาขึ้นในขณะดำเนินการจัดการเรียนการสอน ก็สามารถศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหานั้นๆได้อย่างมีหลักการ ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาได้แล้วยังก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนต่อไปอีกด้วย ดังนั้นผู้สอนทุกคนจึงต้องเป็นนักจิตวิทยาการศึกษาไปในตัว

เนื่องจากจิตวิทยาการศึกษาจะต้องเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน พฤติกรรมของผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนการสอน สภาพสังคมปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต จึงทำให้มีขอบข่ายเนื้อหาที่สัมพันธ์กับหลากหลายสาขาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาพัฒนาการ รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดชั้นเรียน การทดสอบ การจูงใจ การศึกษาตลอดชีวิต โสตทัศนศึกษา เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง

  1. อารีย์ พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิฟเพรส จำกัด.
  2. ชม ภูมิภาค. (2523). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  3. ชาติชาย พิทักษ์ธนานุคม. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาฯ.
  4. พรรณี ชูทัย. (2522). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเพทฯ : วรวุฒิการพิมพ์.
  5. ประสาท อิศรปรีดา. (2523). จิตวิทยาการเรียนรู้กับการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต.
  6. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2521). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
  7. สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2537). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
  8. พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการศึกษา. แพร่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
  9. อัคคเดช เอี่ยมละออง. แหล่งที่มา : http://nuttapong.wikispaces.com/หน่วยที่+1+ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา (ออนไลน์) เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2558

ถ้าพูดถึงจิตวิทยาและจิตวิทยากับการศึกษาในเอกสารตำราทางการศึกษาหลายๆเล่มที่ผู้รู้และนักวิชาการของไทย และต่างประเทศได้วิเคราะห์และเขียนเป็นตำราเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ เนื้อหาทั้งหมด ต่างก็เน้นหนักไปในเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางจิตของคนเพื่อเป็นการปรับความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของคนหรือบุคคลต่างๆก่อนที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่ละเอียดซับซ้อน ของเนื้อหาสาระในหลักสูตร ชั้นเรียน สถาบันการศึกษา ครูผู้สอนตัวนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ที่สูงและต่ำ

1. สาระของจิตวิทยาการศึกษา

ถ้าพูดถึงจิตวิทยาและจิตวิทยากับการศึกษาในเอกสารตำราทางการศึกษาหลายๆเล่มที่ผู้รู้และนักวิชาการของไทย และต่างประเทศได้วิเคราะห์และเขียนเป็นตำราเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ เนื้อหาทั้งหมด ต่างก็เน้นหนักไปในเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางจิตของคนเพื่อเป็นการปรับความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของคนหรือบุคคลต่างๆก่อนที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่ละเอียดซับซ้อน ของเนื้อหาสาระในหลักสูตร ชั้นเรียน สถาบันการศึกษา ครูผู้สอนตัวนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ที่สูงและต่ำ

ดังที่ Meyer (1987, p.7) ได้กล่าวถึงจิตวิทยาการศึกษาวา เป็นสาขาหนึ่งของจิตวิทยา ประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการทางความคิดที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เช่นเดียวกับ Woolfolk (1998, p.1) ให้ความเห็นวา จิตวิทยาการศึกษาเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ โดยการประยุกต์วิธีการและทฤษฎีทางด้าน จิตวิทยามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

ในขณะที่ สุรางค์ โค้วตระกูล (2544, หน้า 1) กล่าวว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกบการเรียนรู้ และการพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อคิดค้นทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา และสร้างเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2543, หน้า 14) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมวา จิตวิทยา การศึกษา เป็นจิตวิทยาประยุกต์แขนงหนึ่งของจิตวิทยา จิตวิทยาการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ช่วยให้ครูได้นำความรู้ในด้านต่างๆทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอน และสามารถนำความรู้นั้นไปพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนให้มีคุณภาพและบรรลุเป้าหมายของการศึกษา

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งที่ นำเอาแนวคิดทางด้านจิตวิทยามาใช้ในการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียน

2. ความหมายของกรอบแนวคิดทางจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้

จิตวิทยากับการศึกษา แยกคำศัพท์ได้ คือ จิตวิทยา กับ การศึกษา

จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการของจิตมาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ “Psyche” (วิญญาณ)

และ “logos”(การศึกษา) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์

การศึกษา คือ การจัดโปรแกรมการเรียนการสอนขึ้นอย่างเป็นทางการโดยมอบให้โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย เป็นผู้จัดหาโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความถึงสถานศึกษาเท่านั้นแต่ยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงการศึกษาพิเศษ โดยใช้บริการทางไปรษณีย์ วิทยุโทรทัศน์เป็นเครื่องมือตลอดจนการอบรมซึ่งรัฐบาลหรือองค์การและเอกชนเป็นผู้จัดทำขึ้นอีกด้วย

การศึกษานั้นเป็นเรื่องของการสร้างคนเพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีงามและเปลี่ยนแปลงสถานะภาพทางสังคมได้จิตวิทยาจะช่วยบุคคลในเรื่องของการปรับตัวเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพทำอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กและบุคคลสามารถปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างพอดี

สรุปได้ว่า จิตวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทฤษฎีพัฒนาการทฤษฎีทางบุคลิกภาพของบุคคลในระดับอายุต่างๆตั้งแต่ก่อนวัยทารกคือหลังจากมีปฏิสนธิสู่วัยทารกวัยเด็ก วัยรุ่นตอนต้นตอนปลาย วัยผู้ใหญ่และวัยชราที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างล้วนแต่เป็นเรื่องของการปรับตัวทั้งสิ้นการศึกษา

3. กรอบแนวคิดของนักทฤษฏีทางด้านจิตวิทยาการศึกษา

Lefrancois (1972) ได้กล่าวถึง จิตวิทยา กับ การศึกษา ไว้ดังนี้

จิตวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทฤษฎีพัฒนาการทฤษฎีทางบุคลิกภาพของบุคคลในระดับอายุต่างๆตั้งแต่ก่อนวัยทารกคือหลังจากมีปฏิสนธิสู่วัยทารกวัยเด็ก วัยรุ่นตอนต้นตอนปลาย วัยผู้ใหญ่และวัยชราที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างล้วนแต่เป็นเรื่องของการปรับตัวทั้งสิ้นการศึกษา การศึกษานั้นเป็นเรื่องของการสร้างคนเพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีงามและเปลี่ยนแปลงสถานะภาพทางสังคมได้จิตวิทยาจะช่วยบุคคลในเรื่องของการปรับตัวเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพทำอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กและบุคคลสามารถปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างพอดีจิตวิทยากับการศึกษา จึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาสาระทั้งสองสาขาวิชาที่บูรณาการเข้าด้วยกันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการทดลอง

John B. Watson กล่าวว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม

Crow & Crow เห็นจิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

Good คิดว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

Hilgard กล่าวว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ

William James ให้ทัศนะว่าจิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการมนุษย์

กล่าวโดยสรุป คือ จิตวิทยาได้เปลี่ยนเป็นศาสตร์ที่ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ทั้งภายในและภายนอก (Behavior) ของมนุษย์ (Psychology is the science of behavior)

4. ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา

  1. จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตฺวิทยาสาจาอื่นต่อไป
  2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
  3. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
  4. จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
  5. จิตวิทยาการแนะแนว (Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
  6. จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้
  7. จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น T
  8. จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน
  9. จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
  10. จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต

5. วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา

ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ นักจิตวิทยาจึงต้องใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ วิธี ซึ่งการที่จะเลือกใช้วิธีการใด ๆ ย่อมขึ้นอยู่กับปัญหาที่จะศึกษาและสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น

วิธีการศึกษาที่นักจิตวิทยานิยมใช้ 6 วิธี

1. การสังเกต (observation)

เป็นการใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกตสัมผัสสิ่งที่ต้องการสังเกต นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการสังเกตอย่างมีเหตุผล และแผนการในการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหาอันดับต่อเนื่องของพฤติกรรมทั้งหลายว่า พฤติกรรมอันหนึ่งซึ่งเกิดก่อนเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่ตามมาใช่หรือไม่ การสังเกตแบ่งออกเป็น2 ลักษณะ คือ การสังเกตอย่างมีระบบและการสังเกตอย่างไม่มีระบบ

1.1 การสังเกตอย่างมีระบบ หมายถึง การสังเกตที่มีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะสังเกตพฤติกรรมประเภทใด ในช่วงเวลาใด จะบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตอย่างไร

1.2 การสังเกตอย่างไม่มีระบบ หมายถึงการสังเกตที่ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า เพียงแต่เมื่อผู้สังเกตพบเหตุการณ์ที่ตนสนใจก็สังเกตรายละเอียดบางอย่างเอาไว้การสังเกตอาจใช้เครื่องมือช่วยบันทึกรายละเอียด เช่น เครื่องบันทึกเสียง วิดิโอและกล้องถ่ายภาพ เป็นต้น ภายหลังจากการสังเกตพฤติกรรมแล้วต้องมีการบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตทุกครั้ง โดยผู้สังเกตต้องวางตัวเป็นกลาง ปราศจากอคติ และควรเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

2. การสำรวจ (surveys)

เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลายในการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากประชากร หรือจากกลุ่มตัวอย่าง และมักเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเจตคติและความสนใจ ความคิดเห็นและการรับรู้ ข้อดีของการศึกษาวิธีการนี้คือ สามารถตั้งคำถามได้ตรงจุด และคำตอบจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ อย่างแท้จริง ในการสำรวจจะต้องมีการวางแผนในการเลือกกลุ่มประชากรเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ที่อ่านออกเขียนได้ มี 2แบบ คือแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามปลายปิด ส่วนการสัมภาษณ์มักจะใช้ควบคู่กันไปกับแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น หรือใช้กับบุคคลที่อ่านหนังสือไม่ออกหรือเขียนไม่ได้ หรือไม่มีความถนัดในการใช้ภาษา

3. การทดสอบและการวัด (test and measurement)

3.1 การทดสอบทางจิตวิทยา (psychological tests) เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สำคัญมาก ใช้วัดความสามารถต่าง ๆ ของบุคคล เช่น ความสนใจ เจตคติ ความถนัดสติปัญญา บุคลิกภาพ และสัมฤทธิผลในด้านต่าง ๆ การทดสอบจะเป็นการเสนอสิ่งเร้าให้บุคลตอบสนองตามวิธีการหรือเกณฑ์ที่กำหนด สิ่งเร้าที่ใช้ในการทดสอบ เรียกว่าแบบทดสอบ ซึ่งแบบทดสอบที่ดีต้องมีความตรง (validity) มีความเที่ยง (reliability) และสามารภนำไปใช้ได้สะดวก การใช้แบบทดสอบเพื่อวัดบุคคลในด้านต่าง ๆ จะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลมากขึ้น

3.2 การวัดทางร่างกาย (biological measures) ได้มีการสร้างเครื่องมือและเทคนิคเพื่อวัดลักษณะต่าง ๆ ทางร่างกายและการทำงานของสมอง เพื่อดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายในขณะที่เกิดพฤติกรรม เช่น มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง เกิดจากการหลั่งสารเคมีบางอย่างผิดปกติในสมอง หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบในกระแสเลือด จะทำให้คนรู้สึกหิว ซึ่งผิดกับสมัยก่อนที่เชื่อกันว่า ความหิวเกิดจากการบับตัวของกระเพาะอาหาร หรือการสร้างเครื่องมือเพื่อวัดการไหลเวียนของเลือด การทำงานของสมอง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและไฟฟ้าภายในร่างกายในขณะที่บุคคลมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ติดยาเสพย์ติด ประสาทหลอน นอนหลับ อาจจะวัดการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด และระบบการหายใจในขณะที่คนมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง อาจจะวัดการบีบตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของคลื่นสมองในขณะที่คนอยู่ในภาวะเครียด และผ่อนคลาย

4. การศึกษาสหสัมพันธ์ (correlational studies)

สหสัมพันธ์เป็นเครื่องมือทางสถิติที่นักจิตวิทยานำมาใช้ในการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้วิจัย เช่น สติปัญญาของพ่อแม่กับสติปัญญาของลูกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรือการศึกษาพฤติกรรมของเด็กนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนนสม่ำเสมอกับเด็กนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย ในประเด็นที่ว่าเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอโดยทั่วไปจะทำคะแนนสอบได้ดีกว่าเด็กนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย ในการศึกษาผู้วิจัยไม่ได้ควบคุมตัวแปรใด ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจในการเรียนของเด็ก หรือคะแนนสอบ แต่ศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งนี้ในการสำรวจก็ศึกษาสหสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน ถ้าผู้สัมภาษณ์ทำการเปรียบเทียบกลุ่ม 2 กลุ่ม หรือมากกว่า 2กลุ่ม เช่น จะเปรียบเทียบความเชื่อของเพศชายกับเพศหญิง หรือความเชื่อของคนหนุ่มกับคนแก่ว่าเป็นอย่างไร โดยการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตัวหนึ่ง (เพศ หรืออายุ) กับตัวแปรอีกตัวหนึ่ง (ความเชื่อ)

5. การศึกษาอัตชีวประวัติ (case histories)

เป็นวิธีการศึกษาที่นิยมใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์ มีความประพฤติ หรือมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ เป็นการศึกษาชีวประวัติ หรือภูมิหลังของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างละเอียดในทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจะทำให้ทราบประวัติ พัฒนาการของบุคคลนั้นสามารถทำได้โดยการสังเกต และบันทึกการพัฒนาการของบุคคลนั้น ๆ เอาไว้ หรือจัดสร้างชีวประวัติขึ้นมาใหม่โดยอาศัยข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้ที่ต้องการศึกษาจากบิดามารดา หรือจากบุคคลอื่น ๆ ที่รู้จักและเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์ซึ่งจะสามารถค้นหาพฤติกรรม และความรู้สึกต่าง ๆ ภายในของบุคคลที่มีปัญหา การศึกษาวิธีนี้จะช่วยให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุคคลนั้นได้มากขึ้น

6. การทดลอง (experimental studies)

เป็นการจัดหรือการสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อการศึกษา และมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการให้มีอิทธิพลต่อผลการทดลองน้อยที่สุด การทดลองสามารถทำได้ในสภาพธรรมชาติ เรียกว่า การทดลองภาคสนาม และการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่การควบคุมตัวแปรในการทดลองภาคสนามทำได้รัดกุมน้อยกว่าการทดลองในห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้นในการทดลองทางจิตวิทยานิยมใช้ทดลองเป็นกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยกันคือ (1) กลุ่มทดลอง หมายถึง กลุ่มที่ต้องการจะศึกษา เป็นกลุ่มที่ต้องการจะศึกษา จะถูกกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการบางอย่าง หรือมีการสร้างภาพการณ์บางอย่างขึ้นมา (2) กลุ่มควบคุม หมายถึง กลุ่มที่ต้องการจะนำมาใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่จะอยู่ในสภาพการณ์ปกติ

จุดหมายที่สำคัญในการทดลอง คือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรในการทดลอง หมายถึง สิ่งที่สามารถเปลี่ยนค่าได้ ตัวแปรในการทดลองแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ตัวแปรอิสระ หมายถึง สภาพการณ์ที่ผู้ทดลองจัดสร้างขึ้นเพื่อพยายามค้นหาว่าสิ่ง ๆ นั้นมีอิทธิพล หรือมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้ทดลองอย่างไร (2)ตัวแปรตาม หมายถึง สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลจากการที่ผู้ทดลองนำตัวแปรอิสระเข้ามา หรือถอนออกไปความหมาย

“จิตวิทยา” เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก

6. การศึกษาตามวิธีวิจัย

6.1 การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research)

การวิจัยเชิงบรรยาย เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทราบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ในการวิจัยประเภทนี้มีตั้งแต่การสำรวจว่า มีตัวแปรอะไรบ้าง สัมพันธ์อย่างไร ไปจนถึงการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปร

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงบรรยาย

การวิจัยเชิงบรรยายเป็นการหาเงื่อนไข และความสำคัญที่เกิดขึ้นในการปฎิบัติความเชื่อ ความคิดเห็นทัศนคติ ผลที่มองเห็นตลอดจนแนวโน้ม เพื่อจุดประสงค์ที่จะบรรยาย และแปลความถึงลักษณะ ระดับของเงื่อนไข ความสัมพันธ์ การวิจัยชนิดนี้ต้องมีการสำรวจ สืบค้น เกี่ยวกับตัวแปร และมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล มิใช่เพียงแต่นำข้อมูลมารวบรวมนำเสนอเท่านั้น ต้องมีพรรณนา หรือบรรยายนี้ ผู้วิจัยจะต้องศึกษาสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ โดยมิได้แตะต้อง หรือควบคุมตัวแปร และสภาพแวดล้อมเลย โดยอาศัยการสังเกต บันทึก รวบรวม และวิเคราะห์ จากนั้นจึงสรุปให้เป็นผลการวิจัย ในศิลปกรรมศาสตร์นั้น ใช้วิธีการนี้ในงานวิจัยมาก ดังนั้น ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงบรรยายรายดังต่อไปนี้

1. เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร

2. เพื่อนำข้อมูลไปตีความอธิบาย ประเมินผล และเปรียบเทียบ

3. เพื่อหาแนวโน้มของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

4. เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งที่ได้ศึกษา เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ และเป็นแนวทางในการแสวงหาความรู้ต่อไป

5. เพื่อทราบหลักเหตุผล และการปฏิบัติ ตลอดจนปัญหาในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุง

ข้อมูลของการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. ข้อมูลปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือใช้สถิติ

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข หรือสถิติเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการสัมภาษณ์ การค้นคว้าเอกสาร แต่ข้อมูลประเภทนี้มักขาดความเที่ยงตรง ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความละเอียด ในการอธิบายขั้นตอนของการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์อย่างมาก โดยใช้เหตุผล อีกทั้งยังจะต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีที่เหมาะสม และจะต้องใช้กลุ่มตัวอย่าง ขนาดเหมาะสม เพื่อใช้เป็นตัวแทนได้ดีที่สุด เพื่อให้ผลวิจัยที่มีความเชื่อถือได้มากที่สุด

ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies)

เป็นการศึกษาถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ หรือปรากฎการณ์หนึ่ง เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อการวางแผน และปรับปรุงให้ดีขึ้น แบ่งออกได้เป็นสำรวจชุมชน สำรวจสภาพการปกครอง สำรวจทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจพื้นฐาน สำรวจทางวัฒนธรรม ประเพณี และศิลปะ สำรวจประชากร สำรวจประชามติ และวิเคราะห์งาน (Job Analysis) วิเคราะห์เอกสาร (Documentary Anaiysis)

2. การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies)

เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ ของตัวแปรของปรากฎการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ แบ่งออกไปได้เป็น

2.1 กรณีศึกษา (Case Study) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ เพื่อต้องการทราบรายละเอียดของทุกแง่มุมในเรื่องที่ต้องการศึกษานั้น ๆ เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี มิได้มุ่งในเรื่องปริมาณ เป็นการศึกษาเพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ

2.2 ศึกษาเปรียบเทียบผลเพื่อสืบหาเหตุ (Cusual Comparative Studies) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปรากฎการณ์ต่าง ๆ โดยการสังเกตุผลของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร แล้วย้อนกลับไปดูว่า ผลที่เกิดจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่เป็นเหตุอะไรได้บ้าง การวิจัยลักษณะนี้ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Expost Facto Research

2.3 ศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Studies) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อดูว่าตัวแปรเหล่านั้นมีการผันแปรคล้อยตามกัน หรือผันแปรตรงกันข้ามกัน คือ ศึกษาสหสัมพันธ์นั้นเอง ส่วนใหญ่จะใช้สถิติเข้ามาช่วยในการวิจัยประเภทนี้

2.4 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรม (Cross Cultural Studies) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการนำสิ่งนั้น ๆ ไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในแต่ละวัฒนธรรม การวิจัยประเภทนี้ต้องการข้อมูลจากการศึกษาจากหลายลักษณะ โดยการสำรวจศึกษาทางกรณี การสังเกต แล้วจึงมาสรุปผลว่าสามารถสืบอ้างไปสู่กลุ่มที่มีวัฒนธรรมอื่น ๆ ได้หรือไม่ หรือใช้ได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น

3. การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Studies)

เป็นการวิจัยที่ดูความก้าวหน้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในช่วงของสภาพที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลา เช่น การศึกษาความเจริญงอกงามความก้าวหน้าต่าง ๆ หรือการศึกษากลุ่มเป็นระยะเวลายาว (Longitudinal Studies) และการศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงรูปแบบ และทิศทางของความเปลี่ยนแปลง เพื่อการพยากรณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยการศึกษาจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ช่วงต่อเนื่องกัน แบบ Longitudinal Study มีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ทำให้ทราบอัตรา และทิศทางการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงพยากรณ์สภาพ หรือเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

6.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

เป็นการศึกษาตัวแปร เพื่อทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผลการทดลองสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ไม่ว่าจะเป็นการทดลองชนิดใดต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ได้แก่ การปฏิบัติซ้ำเพื่อตรวจสอบผลให้เกิดความมั่นใจ การควบคุมเพื่อไม่ให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความจริง ตัวแปร คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ และต้องมีขอบเขตจำกัด ในการทดลองจะมีการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวประกอบ 2 ตัว หรือ 2กลุ่ม โดยให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental Group) เป็นกลุ่มที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม (Control Group) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะถูกเปรียบเทียบกัน ปัจจุบัน วิธีทดลองถูกนำไปใช้ในจิตวิทยาสมัยใหม่เกือบทุกสาขาอย่างได้ผลดี

สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) คือ การวิจัยที่ศึกษาเหตุที่เกิดจากการจัดกระทำ (Manipulation)ในตัวแปรตาม โดยการควบคุมปัจจัยอื่นที่อาจมีผล (Control of events) เพื่อพัฒนาหรือค้นพบองค์ความรู้ (body of knowlage) การออกแบบการวิจัยเชิงทดลองแบ่งเป็น 3 ประเภท (ประวิต เอราวรรณ์. มปป.: 29) ดังนี้

1) การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Designs) เป็นการออกแบบการทดลองที่ไม่มีการสุ่ม หรือไม่มีกลุ่มควบคุม มีเพียงการทดลองเพียงกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นรูปแบบการทดลองที่อ่อนแอที่สุดเนื่องจากมีความตรงภายในและความตรงภายนอกน้อยที่สุด

2) การวิจัยเชิงทดลองกึ่งทดลอง(Quasi-experimental Designs) เป็นการออกแบบการทดลองที่ไม่มีการสุ่ม แต่มีกลุ่มควบคุมเพื่อการเปรียบเทียบ ดังนั้น ในการทดลองจึงมีทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่สมาชิกไม่มีการสุ่ม

3) การวิจัยเชิงทดลองแท้จริง (True-experimental Designs) เป็นการออกแบบการทดลองที่มีการสุ่ม และมีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบ ดังนั้น การทดลองจึงมีทั้งทดลองและกลุ่มควบคุมโดยสมาชิกได้มาโดยการสุ่ม รูปนี้เป็นรูปแบบที่แกร่งที่สุด เนื่องจากมีความตรงภายในและความตรงภายนอกมากที่สุด ซึ่งการเลือกใช้รูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและเงื่อนไขของเรื่องที่ศึกษาหรือบริบทนั้นๆ

7. จิตวิทยาการศึกษากับการจัดการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

  1. ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
  2. ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้ เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
  3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
  4. ทฤษฎีการเรียนรู้นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ ผู้เรียน เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
  5. ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
  6. หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยม
  7. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
  8. การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน

8. จิตวิทยาการศึกษากับการจัดการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร

ผลการศึกษาพบว่า จิตวิทยาการศึกษากับการพัฒนาหลักสูตร จิตวิทยานำมาพัฒนาหลักสูตร 2 แขนง คือ

8.1 จิตวิทยาพัฒนาการ

นำมาพัฒนาหลักสูตรในด้าน

1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

2) การกำหนดระยะเวลาความสนใจของเด็กหรือคาบเวลาในการเรียนรู้

3) การกำหนดเกณฑ์อายุมาตรฐานของการเข้าเรียน ต้องคำนึงถึงความพร้อมของเด็กทั้งทางร่างกายและสติปัญญา

4) การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งจะต้องยึดลำดับความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความสลับซับซ้อนของเนื้อหาทำให้พอเหมาะกับวัยของผู้เรียนด้วย

8.2 จิตวิทยาการเรียนรู้

เป็นจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องธรรมชาติ ของการเรียนรู้และองค์ประกอบต่างๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การคิด และการแก้ปัญหา จิตวิทยาแขนงนี้จะช่วยให้ทราบว่ามนุษย์เราเรียนรู้ได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้เร็วหรือช้า เป็นต้น

9. จิตวิทยากับการจัดการเรียนการสอน

9.1 จิตวิทยากับครู

จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับครู ดังนี้

1) ช่วยให้ครูสามารถเข้าใจตนเองพิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

2) ช่วยให้ครูเข้าใจทฤษฎี วิธีการใหม่ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น ในการเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรม ครูจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายขึ้น

9.2 จิตวิทยากับผู้เรียน

จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับผู้เรียน ดังนี้

1) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะธรรามชาติของมนุษย์ ลำดับขั้นพัฒนาการชีวิตในแต่ละช่วงวัย และทราบถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย

2) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการยอมรับ เข้าใจตนเองและผู้อื่น เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในวัยต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยต่างๆ ในแนวทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

3) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี รู้จักจิตใจคนอื่น รู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

10. ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

  1. ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
  2. ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
  3. ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
  4. ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
  5. ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
  6. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
  7. ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี

จิตวิทยาการศึกษาจะเน้นในเรื่องการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยจุดประสงค์ 3 ด้าน ตามหลักของการเรียนรู้ที่ดีคือ

  1. ด้านความคิด (Cognitive Domain) ผู้เรียนต้องเข้าใจในหลักการเรียนรู้ต่างๆ ของทฤษฎีการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสมอง โดยสามารถวิเคราะห์สรุป และแยกแยะสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในการเรียนรู้ได้ถูกต้องแท้จริงอย่างมีหลักเกณฑ์
  2. ด้านอารมณ์ (Affective Domain) ผู้เรียนต้องสามารถเปลี่ยนแปลงความรู้สึก เชื่อถือ ทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้นั้นๆ เพื่อเสริมสร้างหรือสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
  3. ด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Domain) ผู้เรียนต้องสามารถนำผลที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนการแก้ปัญหาและการปรับตัวอยู่ในสังคมได้ ซึ่งจะอยู่ในรูปของเชิงพฤติกรรม

จิตวิทยาการศึกษาสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในสังคมโดยแยกออกได้ 4 ประการใหญ่ๆ คือ

  1. ประโยชน์ด้านการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็กได้ดีขึ้นสามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจเชาว์ปัญญา และความถนัดของเด็กซึ่งจะทำให้การสอนประสบผลสำเร็จ
  2. ประโยชน์ด้านการเรียน ช่วยให้ครูมีการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ และวิธีการสอนอันเป็นหนทางส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างดีช่วยให้เด็กมีหลักเกณฑ์ในการเรียนรู้โดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้ถูกต้องตามหลักการเรียนรู้ที่ดี
  3. ประโยชน์ด้านสังคม ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่นตลอดจนรู้จักปรับปรุงตนเองโดยใช้การดัดแปลงพฤติกรรมตามหลักการเรียนรู้ให้อยู่ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ประโยชน์ด้านการปกครองและการแนะแนว ช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น และสามารถอบรม แนะนำควบคุมดูแลเด็กให้อยู่ในระเบียบวินัยอันดี เสริมสร้างให้มีบุคลิกภาพที่ดีมีการปรับตัวที่เหมาะสม มีอุปนิสัย ความสนใจตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อวิธีการเรียนรู้ต่างๆ

11. ครูกับจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ จิตวิทยาการศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล ครูอาจารย์จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น ในเรียงความบทนี้ผมจึงอยากจะพูดถึงจิตวิทยาการศึกษาระดับพื้นฐานที่ได้เรียนมาในภาคการศึกษานี้ ในฐานะนิสิตคณะครุศาสตร์ที่จะต้องจบการศึกษาออกไปเป็นครู

จิตวิทยาการศึกษาจะช่วยให้ครูอาจารย์มีความเข้าใจตัวในตัวผู้เรียนอย่างแจ่มแจ้ง เข้าใจธรรมชาติของพวกเขา ความคิดจิตใจและความต้องการของพวกเขา เข้าใจว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับพวกเขา เข้าใจว่าอะไรจะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการศึกษาของพวกเขา หรือสามารถกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า จิตวิทยาการศึกษาทำให้ครูอาจารย์มีจิตวิทยาในการสอน

ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู

วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้

1. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย ของนักเรียนที่ครูต้องสอน

2. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน

3. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย

5. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ

6. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้

6.1 ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัย

6.2 ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม

6.3 ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้น

7. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้

8. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ

9. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว

10. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน

เนื่องจากการศึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เยาวชนพัฒนาการทั้งทางด้านเชาวน์ปัญญาและทางบุคลิกภาพ ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษาจึงสำคัญในการช่วยทั้งครูและนักการศึกษาผู้มีความรับผิดชอบในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน

แนวทางในการศึกษา

  • ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง
  • นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียน
  • ค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
  • ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา
  • ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ของนักเรียน

บทบาทของจิตวิทยาการศึกษา

  1. ช่วยครูผู้สอนให้รู้จักจัดการอารมณ์ของตนเองให้ถูกต้อง มีวิธีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสม
  2. ช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจวิธีการเตรียมวิธีสอน เตรียมการวัดผลและการประเมินผลให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
  3. ช่วยให้ครูผู้สอนได้รู้จักสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้เรียน
  4. ช่วยให้ครูผู้สอนได้รับความรู้ความเข้าใจ และมีหลักในการพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
  5. ช่วยครูผู้สอนให้รู้จักใช้วิธีการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง

จะเห็นได้ว่าหลักจิตวิทยาในการสอนที่น่าสนใจคือการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะด้านความสามารถและความพร้อมของผู้เรียน

สรุปจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษาเป็นจิตวิทยาประยุกต์โดยการนำเอาหลักการทางจิตวิทยาไปใช้ในการศึกษา จิตวิทยาการศึกษามาจากศาสตร์ 2 ศาสตร์คือ จิตวิทยา และ การศึกษา ซึ่งมีปรัชญา แนวคิด หลักการ และวิธีการที่แตกต่างกัน แต่นำมาเกื้อหนุนกัน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจากความรู้และเทคนิควิธีการศึกษาทางจิตวิทยาทำให้เกิดเป็นการศึกษาที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในสภาพการณ์จริง จนทำให้ได้แนวคิดทฤษฏีเฉพาะของจิตวิทยาการศึกษาให้การจัดการเรียนการสอนเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณธรรมในตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

บทบาทหน้าที่หลักของจิตวิทยาการศึกษา คือ การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อหาหนทางทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันการศึกษาวิจัยในสภาพการเรียนการสอนนี้เองก็นำมาซึ่งแนวคิด ทฤษฏีที่จะช่วยอธิบายพฤติกรรมต่างๆในสภาพการเรียนการสอน รวมทั้งช่วยเสนอแนะวิธีที่จะทำให้การจัดดำเนินการเรียนการสอนมีคุณภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น เนื้อหาสาระของจิตวิทยาการศึกษาจึงมีประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาขึ้นในขณะดำเนินการจัดการเรียนการสอน ก็สามารถศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหานั้นๆได้อย่างมีหลักการ ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาได้แล้วยังก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนต่อไปอีกด้วย ดังนั้นผู้สอนทุกคนจึงต้องเป็นนักจิตวิทยาการศึกษาไปในตัว

เนื่องจากจิตวิทยาการศึกษาจะต้องเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน พฤติกรรมของผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนการสอน สภาพสังคมปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต จึงทำให้มีขอบข่ายเนื้อหาที่สัมพันธ์กับหลากหลายสาขาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาพัฒนาการ รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดชั้นเรียน การทดสอบ การจูงใจ การศึกษาตลอดชีวิต โสตทัศนศึกษา เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง

  1. อารีย์ พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิฟเพรส จำกัด.
  2. ชม ภูมิภาค. (2523). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  3. ชาติชาย พิทักษ์ธนานุคม. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาฯ.
  4. พรรณี ชูทัย. (2522). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเพทฯ : วรวุฒิการพิมพ์.
  5. ประสาท อิศรปรีดา. (2523). จิตวิทยาการเรียนรู้กับการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต.
  6. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2521). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
  7. สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2537). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
  8. พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการศึกษา. แพร่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
  9. อัคคเดช เอี่ยมละออง. แหล่งที่มา : http://nuttapong.wikispaces.com/หน่วยที่+1+ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา (ออนไลน์) เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2558