แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมระดมความเห็นต่อ "ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)” กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดปราจีนบุรี นครนายกจันทบุรี ตราด และสระแก้ว  ณ โรงแรมเดอะเวโล โฮเทล แอนด์ บีเอ็มเอ็กซ์ ปั๊มแทร๊ก จังหวัดสระแก้ว โดยมีผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยหน่วยราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน เครือข่ายภาคประชาสังคม และนักวิชาการ เข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 200 คน อาทิ นายณัฏฐชัย นำพูนสุขสันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว 

รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สศช. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2565) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 โดยน้อมนำ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มากำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 รวมทั้งเป็นหลักนำทางในการขับเคลื่อนแผน ตลอดจนยึดโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโต สังคมก้าวหน้า ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลในระยะยาว

การจัดประชุมระดมความเห็นร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคีการพัฒนาต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 รวมถึงเปิดโอกาสให้ภาคีการพัฒนาในระดับพื้นที่/กลุ่มเฉพาะ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ทั้งในระดับภาพรวม ได้แก่ เป้าหมาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ และแนวทางหลักในร่างแผนฯ และระดับหมุดหมาย ได้แก่ เป้าหมาย ตัวชี้วัดและกลยุทธ์ในแต่ละหมุดหมาย ให้มีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละภาคส่วนได้อย่างแท้จริง 

หลักจากนั้น รองเลขาธิการฯ ได้นำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13  ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า แผนฯ 13 มีเป้าหมายหลักของการพัฒนาในระยะ 5 ปีของแผนรวม 5 เป้าหมาย ได้แก่ (1) การปรับโครงสร้างการผลิต สู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม (2) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ (3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม (4) การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน และ (5) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทโลกใหม่ 

รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน

ในลักษณะของวาระการพัฒนา (Agenda) ที่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วน

ในการผลักดันการพัฒนาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม แผนฯ 13  จึงได้กำหนดหมุดหมาย

การพัฒนา จำนวน 13 ประการ โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่  

1. มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน

2. มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และ

คนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม

3. มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจาก

ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4. มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และหมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย 

มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน 

รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า นอกจากกลุ่มภาคตะวันออก 1 ที่จัดระดมความเห็นในวันนี้แล้ว ยังได้จัดระดมความเห็นฯ ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) ที่ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อ 1 ธันวาคม 2564 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 100 คน อาทิ นายธัชกร หัตถาธยากูล  ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี) ที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564 โดยมีผู้ร่วมประชุมจำนวนประมาณ 150 คน อาทิ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ 

ทั้งนี้ ในการจัดระดมความเห็นร่างแผนพัฒนาฯ ทั้ง 3 กลุ่มจังหวัดดังกล่าว ดำเนินการในรูปแบบ world café ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นในภาพรวมของร่างแผนฯ และในระดับ 13 หมุดหมาย ทั้งเป้าหมายหลักของแผน เป้าหมายระดับหมุดหมาย ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์

เมื่อวันที่ 16 วันที่ 20 และวันที่ 23 ธันวาคม 2565 กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ได้ร่วมลงพื้นที่กับคณะทำงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีงบประมาณก่อนที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นการติดตามผลการดำเนินงานทั้งโครงการ/กิจกรรมที่แล้วเสร็จ และโครงการ/กิจกรรมที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตร กิจกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนในเขตนครชัยบุรินทร์ ด้านปศุสัตว์ การยกระดับมาตรฐานฟาร์ม และการจัดการฟาร์มตามมาตรฐานฟาร์ม GFM และการยกระดับการผลิตโคเนื้อคุณภาพ และโควากิว นครชัยบุรินทร์เพื่อสนับสนุนการส่งออกที่มีมาตรฐาน ด้านท่องเที่ยว กิจกรรมการพัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวนครชัยบุรินทร์ รายการเทศกาลภาพยนตร์นานาชาตินครชัยบุรินทร์ ด้านไหม กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแปลงหม่อนให้มีคุณภาพ รายการการพัฒนาโรงเรือนอัจฉริยะ และด้านสังคม กิจกรรมการสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุในชุมชนอย่างยั่งยืน


กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 มีจังหวัดอะไรบ้าง

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

กลุ่มภาคเหนือตอนล่างมีกี่จังหวัด

17) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 คือ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ โดยมีจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด 18) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 คือ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี โดยมีจังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

จังหวัดใดที่อยู่ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (กลุ่มนครชัยบุรินทร์) ประกอบด้วย : จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิบุรีรัมย์และสุรินทร์ “โครงการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและบริการ ตามรอยอารยธรรมขอม”

จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอะไรบ้าง

ขนาดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ มีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ติดกับ ...