การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มีข้อดี

การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มีข้อดี

แผนผังแสดงที่มาและทางใช้ไปของเงินทุน ธนาคารพาณิชย์นำเงินที่ได้จากการรับฝากเงิน การกู้ยืม และเงินทุนของตนเอง ไปให้กู้ยืมแก่ลูกค้า ลงทุนซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน และดำเนินธุรกิจอื่นในขอบเขต ที่ธนาคารพาณิชย์ พึงกระทำได้ตามพระราชบัญญัติการธนาคาร พาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อก่อให้เกิดรายได้ต่อไป ทางใช้ไปของเงินทุนของธนาคาร พาณิชย์ (use of funds) มีรายการที่สำคัญอันเป็น ธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ คือ เงินให้กู้ยืม มีอัตราประมาณร้อยละ ๗๕ ของสินทรัพย์ทั้งหมด รองลงมาคือการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ทั้งในภาคเอกชน และรัฐบาล เช่น ซื้อพันธบัตร และตั๋วเงินคลังของรัฐบาล หรือซื้อหุ้นของ บริษัทต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการนำเงินทุนไปใช้ในการลงทุนสร้างอาคารสำนักงาน และซื้อสินทรัพย์อื่นๆ และธนาคารพาณิชย์ยังต้องกันเงินส่วนหนึ่งไว้ เป็นเงินสำรอง เพื่อใช้ในการเบิกถอน ของผู้ฝากเงินด้วย
การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มีข้อดี

เจ้าหน้าที่ของธนาคารเยี่ยมชมกิจการของเกษตรกร พร้อมทั้งให้คำปรึกษาในการขอกู้เงิน เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ จะเป็นเงินให้กู้ยืมระยะสั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแหล่งที่มาของเงินทุน อันได้แก่ เงินรับฝากจากประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินรับฝากอาย ประมาณ ๑ ปี ด้วยเหตุนี้ เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์จึงมุ่งให้กู้ยืม เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการค้าปลีก และค้าส่ง อุตสาหกรรม และการนำเข้า และส่งออกสินค้า รวมกันมากกว่าร้อย ละ ๕๐ ของเงินให้สินเชื่อทั้งหมด กิจการดังกล่าว นับเป็นภาคเศรษฐกิจ ที่เจริญแล้ว และให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง ส่วนในภาคเศรษฐกิจที่ยังไม่เจริญ เช่น ภาคเกษตรนั้น ธนาคารพาณิชย์ ถูกกำหนดโดยข้อบังคับ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ปล่อยสินเชื่อหรือให้กู้ยืมแก่ภาคเกษตร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๓ ของยอดเงินฝากรวมของธนาคารนั้น ในสิ้นปีที่ผ่านมา โดยจะดำเนินการให้กู้ยืมเอง หรือนำไปฝากกับธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นำไปให้เกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรกู้ยืมแทน ตามนโยบายของทางการ ที่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อไปสู่ภาคเศรษฐกิจ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม เงินให้กู้อีกประเภทหนึ่ง ที่ธนาคารพาณิชย์ให้ความสนใจ และให้กู้ยืมมากขึ้นคือ การให้กู้ยืมแก่บุคคลทั่วไป เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นเงินให้กู้ยืม ที่มีความเสี่ยงน้อยมาก สำหรับธนาคารพาณิชย์เอง แต่เป็นเงินกู้ในระยะค่อนข้างยาว
การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มีข้อดี

แผนผังแสดงประเภทของตั๋วเงิน การให้กู้ยืมหรือการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แยกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

๑. เงินให้กู้ (loans)
๒. เงินเบิกเกินบัญชี (overdrafts)
๓. ตั๋วเงินซื้อลด (discounts)

เงินให้กู้

เป็นเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าเป็นเงินก้อน ลูกค้าผู้กู้จะเบิกเงินไปได้ทั้งจำนวน เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของตน ผู้ขอกู้ต้องชำระดอกเบี้ยเต็มตามจำนวนเงินที่กู้ นับตั้งแต่วันที่เริ่มสัญญากู้ ไม่ว่าผู้กู้จะเบิกเงินก้อนนั้นไปใช้ หรือยังฝากไว้กับธนาคาร ดังนั้น ผู้ที่ขอกู้เงินประเภทนี้ จะต้องมีโครงการใช้เงินพร้อมอยู่แล้ว และหากมีเงินเหลือก็จะต้องแสวงหาที่ลงทุนชั่วคราว เพื่อให้เงินที่เหลือได้ดอกผล พอจะชดเชยกับส่วนของดอกเบี้ย ที่ต้องเสีย สำหรับเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์

การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มีข้อดี

การรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจที่ต้องพึ่งบริการรับรองหรือค้ำประกันจากธนาคารพาณิชย์ เงินเบิกเงินบัญชี

แตกต่างจากเงินให้กู้ตรงที่ว่า เมื่อผู้กู้ทำสัญญาขอกู้แบบเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารแล้ว ธนาคารยังไม่ถือว่า ผู้กู้เป็นลูกหนี้ ของธนาคาร จนกว่าผู้กู้จะได้ใช้จ่ายเงินเกินบัญชีกระแสรายวันที่ตนมีอยู่กับธนาคาร ธนาคารจะยินยอมให้ผู้กู้เบิกเงินเกินจำนวนเงิน ที่มีอยู่ในบัญชีกระแสรายวันของผู้กู้ได้ เท่ากับจำนวนเงินที่กำหนดเอาไว้ในสัญญา ภายในช่วงเวลาอายุของสัญญา ผู้กู้จะใช้เงินเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ และเมื่อใดที่ผู้กู้มีเงินก็นำเงินมาฝากเข้าบัญชี เพื่อลดยอดเงินส่วนที่เบิกเกินบัญชีลง ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่เจ้าของบัญชี เบิกเกินบัญชี และเฉพาะวันที่มีการเบิกเกินบัญชีจริงเท่านั้น สัญญาเงินกู้ชนิดนี้ เป็นสัญญาที่สะดวก สำหรับผู้ทำการค้า ที่บางเวลาต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่ต้องการเงินไปใช้เป็นช่วงเวลาไม่นานนัก วิธีเบิกเกินบัญชีเป็นวิธีปฏิบัติของการธนาคารพาณิชย์ในอังกฤษ และในประเทศไทยด้วย ส่วนวิธีการให้กู้ยืมเงินก้อน เป็นวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา นิยมใช้ในการให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้า

การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มีข้อดี

รถบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตั๋วเงินซื้อลด

เป็นวิธีการให้เงินกู้เพื่อการค้า โดยธนาคารพาณิชย์จะรับซื้อตั๋วเงิน ที่พ่อค้ารายหนึ่ง ออกให้พ่อค้าอีกรายหนึ่ง ตั๋วเงินนี้เป็นตั๋วเงินที่เกิดขึ้น เนื่องจากการซื้อขายสินค้า ซึ่งจะมีการชำระเงินในภายหลัง พ่อค้าที่ได้รับตั๋วเงิน แต่ต้องการเงินสดไปใช้ จะนำตั๋วเงินนี้ ไปขายลดต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ ตั๋วเงินประเภทนี้ จะเป็นตั๋วที่มีการชำระเงิน ตามจำนวนที่ระบุไว้บนหน้าตั๋ว ในวันที่ตั๋วเงินครบกำหนด ธนาคารรับซื้อตั๋วเงินในรูปของการซื้อลด คือ ธนาคารให้ราคาแก่ผู้ที่นำตั๋วเงินมาขายไม่เต็มตามราคา ที่ระบุไว้บนหน้าตั๋ว ส่วนต่างของจำนวนเงิน ที่ธนาคารชำระเป็นค่าซื้อลดตั๋วเงิน กับจำนวนเงินที่ธนาคารได้รับตามหน้าตั๋วเงิน เมื่อครบกำหนด คือ ดอกเบี้ยที่ธนาคารได้รับจากการซื้อลดตั๋วเงินดังกล่าว ตั๋วเงินมี ๓ ชนิด คือ เช็ค ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินส่วนใหญ่ที่ธนาคารพาณิชย์ซื้อลดไว้ ได้แก่ เช็ค

ในการให้กู้ยืมเงินด้วยวิธีต่างๆ ธนาคาร พาณิชย์จะต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้มีความมั่นใจพอสมควรว่า จะได้เงินคืน เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ถ้าเป็นการกู้ไปทำธุรกิจจะต้องศึกษาฐานะทางการเงินของธุรกิจ และโครงการที่จะนำเงินกู้ไปใช้ว่า เหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ธนาคารอาจจะให้กู้ยืม โดยให้มีผู้ค้ำประกัน หรือเรียกหลักทรัพย์เป็นประกันการชำระหนี้คืน เมื่อครบกำหนด หลักทรัพย์ที่ค้ำประกันอาจจะเป็นที่ดิน เงินฝากประจำ และสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ