หนี้ไม่ถึงล้าน ฟ้องล้มละลาย

หนี้ไม่ถึงล้าน ฟ้องล้มละลาย

เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และผิดนัดในการชำระหนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เจ้าหนี้มี สี่ ทางเลือกเพื่อที่จะให้ตนได้รับการชำระหนี้ ได้แก่

กฎหมายล้มละลายและผลของการล้มละลาย

เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และผิดนัดในการชำระหนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เจ้าหนี้มี สี่ ทางเลือกเพื่อที่จะให้ตนได้รับการชำระหนี้คือ

            1 ปรับโครงสร้างหนี้

            2 ฟ้องคดีแพ่ง

            3 ดำเนินการเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และ

            4 การดำเนินคดีล้มละลาย

การล้มละลาย

แม้ว่าจะมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น จนอาจทำให้บุคคลไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติก็ตาม แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องเหตุสุดวิสัยเป็นเหตุยกเว้นการดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ได้แต่อย่างใด ทำให้การดำเนินคดีล้มละลายกับลูกหนี้นั้น เจ้าหนี้สามารถฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต่อเมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและหนี้ต้องมีจำนวนที่แน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่หนี้นั้นต้องไม่ใช่หนี้ที่ขาดอายุความ โดยกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าถ้าลูกหนี้นั้นเป็นบุคคลธรรมดา บุคคลนั้นต้องมีจำนวนหนี้มากกว่าทรัพย์สินไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท แต่หากเป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องมีหนี้มากกว่าทรัพย์สินไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท จึงจะเข้าหลักเกณฑ์ของการมีหนี้สินล้มพ้นตัวตามกฎหมายล้มละลาย และเมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องล้มละลายแล้วเจ้าหนี้จะถอนคำฟ้องล้มละลายนั้นไม่ได้อีก การถอนฟ้องล้มละลายจะต้องขอศาลเท่านั้น ซึ่งการที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล กฎหมายไม่ได้บังคับให้ศาลต้องอนุญาตเสมอไป เพราะการฟ้องล้มละลายเป็นไปเพื่อผลประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนหากศาลพิจารณาแล้วว่าเมื่อถอนฟ้องไปแล้วจะไม่เป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้รายอื่นศาลท่านก็อาจจะไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องคดีล้มละลายก็ได้

เมื่อศาลได้รับคำฟ้องล้มละลายจากเจ้าหนี้และพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวครบตามองค์ประกอบของการล้มละลายดังกล่าวมาข้างต้น ศาลก็จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

ผลของการถูกพิทักษ์ทรัพย์ ในคดีล้มละลาย

ภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ผลที่ตามมาคือลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้นจะไม่สามารถกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนได้อีกต่อไป หน้าที่ทั้งหมดในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์จะเป็นผู้จัดการทั้งหมด ดังนั้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็กขาด ลูกหนี้จะไปกระทำนิติกรรมใดๆก็จะตกเป็นโมฆะหมดโดยกฎหมายจะไม่สนใจว่าคู่กรณีอีกฝ่ายจะรู้หรือไม่ว่าลูกหนี้คนนั้นถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่

หน้าที่ของเจ้าหนี้ทุกรายภายหลังจากที่ลูกหนี้ของตนถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ในกรณีที่เป็นหนี้เงินเจ้าหนี้ทุกรายต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่มีการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็กขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถขยายกำหนดเวลาให้ยื่นคำร้องไปอีกได้ไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งถ้าเจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลากำหนด จะทำให้เจ้าหนี้ผู้นั้นหมดสิทธิในการขอรับชำระหนี้ และหลังจากคดีล้มละลายสิ้นสุดลูกหนี้ก็จะหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง ซึ่งในกรณีที่เจ้าหนี้ยื่นไม่ทันภายในกำหนดเนื่องมาจากมีเหตุสุดวิสัย เช่น เจ้าหนี้ต่างประเทศไม่สามารถเข้าประเทศได้เพราะการปิดประเทศ เจ้าหนี้อาจมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลว่าเจ้าหนี้ประสงค์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ และแสดงถึงเหตุสุดวิสัยที่ตนไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันภายในกำหนดเวลา หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยและมีเหตุผลอันสมควรที่จะให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายนั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด อย่างไรก็ตามเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่ภายหลังการแบ่งทรัพย์สินก่อนที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และไม่กระทบถึงการใดที่ศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว

หากศาลได้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว และลูกหนี้ขอประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะทำการเรียกประชุมเจ้าหนี้โดยเร็วที่สุด เพื่อปรึกษากับที่ประชุมเจ้าหนี้ว่าจะควรยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ รวมถึงปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของลูกนี้ว่าจะจัดการอย่างไรต่อไป ซึ่งเจ้าหนี้อาจพิจารณาและมีมติให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอประนอมหนี้และไม่ขอให้ศาลสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ได้ แต่อย่างไรก็ดีมติดังกล่าวจะยังไม่ผูกมันเจ้าหนี้ทั้งหลายจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วย ศาลอาจมีคำสั่งเห็นชอบในการประนอมหนี้ได้เพราะหากศาลยังไม่สั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายในกรณีนิติบุคคลก็ยังไม่เลิกกันทันทีโดยผลของกฎหมาย บางกรณีเจ้าหนี้อาจได้รับชำระหนี้อย่างครบถ้วนมากกว่าปล่อยให้บริษัทเลิกกัน และเมื่อศาลเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้แล้ว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นการยกเลิกไปในตัว เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามสัญญาประนอมหนี้ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นในหนี้ทั้งปวง แต่อย่างไรก็ดีหากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจรายงานหรือเจ้าหนี้คนใดจะมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ ศาลอาจสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หากลูกหนี้ไม่มีเหตุผลอันสมควรในการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนอมหนี้ แต่การยกเลิกการประนอมหนี้นั้นจะไม่มีผลกระทบกับกิจการใดๆที่ได้ทำไปแล้วในการประนอมหนี้ ซึ่งในสถานการณ์โควิท 19 ในปัจจุบันอาจใช้เป็นเหตุผลในการผ่อนผันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมได้ซึ่งลูกหนี้คงต้องทำการเจรจาขอผ่อนผันการชำระหนี้กับเจ้าหนี้แหละพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยนี้ก็ได้

ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งล้มลายแล้ว ลูกหนี้จะเสนอคำขอประนอมหนี้ได้เช่นกัน แต่การประนอมหนี้นี้ไม่เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เลื่อนหรืองดการจำหน่ายทรัพย์สิน เว้นแต่ถ้ามีเหตุอันควรที่อาจเป็นประโยชน์แก่การขอประนอมหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจเลื่อนหรืองดการจำหน่ายทรัพย์สินได้ และถ้าศาลเห็นชอบด้วยกับการขอประนอมหนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายและจะสั่งให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนหรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ซึ่งหากลูกหนี้อยากหลุดพ้นจากการล้มละลายก่อนกำหนด 3 ปีลูกหนี้สามารถใช้วิธีตามที่กล่าวมานี้ได้

ผลของการถูกปลดจากการล้มละลาย

ผลหลังจากการปลดจากล้มละลาย หากเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว บุคคลนั้นจะถูกปลดจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพาษาให้ล้มละลาย และคำสั่งปลดจากล้มละลายจะทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ทันที ทำให้เจ้าหนี้หากภายในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ถ้าเจ้าหนี้ได้รับทรัพย์สินจากลูกหนี้ไม่ครบเต็มตามจำนวนหนี้ เจ้าหนี้ก็จะต้องแบบรับความเสียหายที่เกิดจากการได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวน โดยไม่สามารถเรียกร้องเอาแก่ลูกหนี้ได้อีกต่อไป กรณีลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อนิติบุคคลนั้นล้มละลาย นิติบุคคลนั้นเป็นอันเลิกกันทันทีโดยผลของกฎหมายเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของนิติบุคคลที่เหลืออยู่เท่านั้น จะเห็นได้ว่า การดำเนินคดีล้มละลายจึงมักจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายของเจ้าหนี้เพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นั่นเอง

อ่านบทความอื่นๆของเรา

แนะแนวเรื่อง