คนหูตึง โดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินตามข้อใด

หูตึง หูหนวก หูดับ หรือ การสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss, Hearing impairment, Deaf หรือ Deafness) หมายถึง ภาวะที่ความสามารถในการได้ยินหรือรับเสียงลดลง ซึ่งอาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ยินเลย (หูหนวก)

ประเภทการสูญเสียการได้ยิน


1. สูญเสียการได้ยินชนิด การนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss)

     สาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอก หรือ/และหูชั้นกลาง แต่ประสาทหูยังดีอยู่ สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด โดยสาเหตุมักเกิดจาก

  • เยื่อแก้วหูทะลุ ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติทางการได้ยินหลังการได้รับบาดเจ็บ
  • ขี้หูอุดตัน
  • หูชั้นกลางอักเสบ หรือหูน้ำหนวก
  • ภาวะมีน้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง
  • ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก
  • โรคหินปูนในหูชั้นกลาง ส่งผลให้เกิดอาการหูตึง โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การรักษาต้องทำการผ่าตัดหรือใส่เครื่องช่วยฟัง
  • กระดูกหูชั้นกลางหักหรือหลุดจากอุบัติเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหูอื้อ หูตึงทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ การรักษาต้องอาศัยการผ่าตัด
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น หูพิการแต่กำเนิด สิ่งแปลกปลอมเข้าหู แก้วหูอักเสบ เยื่อแก้วหูหนา มีเลือดออกในหูชั้นกลาง ฯลฯ

คนหูตึง โดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินตามข้อใด

2. สูญเสียการได้ยินชนิด ประสาทรับเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss)

     เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของส่วนหูชั้นใน ประสาทรับเสียง ไปจนถึงสมอง ความผิดปกติบริเวณนี้จะทำให้ได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดภาวะหูตึง หูหนวกถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ โดยสาเหตุมักเกิดจาก

  • ประสาทหูเสื่อมตามวัย/หูตึงในผู้สูงอายุ (80% มักเกิดจากสาเหตุนี้) มีสาเหตุมาจากเซลล์ขนในหูชั้นในและเส้นประสาทหูค่อยๆ เสื่อมไปตามอายุ โดยเฉพาะเซลล์ขนส่วนฐานของคอเคลียจะเสื่อมไปก่อน ทำให้สูญเสียการได้ยินช่วงเสียงแหลมเมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมจะลามไปถึงช่วงความถี่กลางสำหรับฟังเสียงพูด ทำให้ผู้สูงอายุเริ่มหูตึง ฟังไม่ชัดเจน และมักบ่นว่าได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง โดยมากผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ในผู้ชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าและมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ได้ยินได้
  • ประสาทหูเสื่อมจากเสียงที่ดังมากๆ เป็นการเสื่อมของเส้นประสาทหูที่เกิดจากการได้ยินเสียงที่ดังมากในระยะเวลาสั้น ๆ หรือได้ยินเพียงครั้งเดียว เช่น การได้ยินเสียงฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงพลุ หรือเสียงประทัด เป็นต้น
  • ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป จากการได้ยินเสียงดังระดับปานกลางหรือดังเกิน 85 เดซิเบลขึ้นไป เป็นเวลานานๆ เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน, ทหาร/ตำรวจที่ต้องฝึกซ้อมการยิงปืนเป็นประจำ, เสียงดังจากเครื่องจักรหรือยวดยานพาหนะต่างๆ, เสียงเพลงหรือเสียงดนตรี เสียงในงานคอนเสิร์ตที่ดังมากๆ เป็นต้น เนื่องจากเซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายไป ค่อยๆ เสื่อม และมักเป็นแบบถาวร และไม่มีทางแก้ไขให้กลับคืนมาดีได้เหมือนเดิม ถ้ายังอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเช่นเดิม อาการหูตึงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาจรุนแรงจนถึงขั้นหูหนวกได้
  • ประสาทหูเสื่อมแต่กำเนิด
  • สาเหตุทางกรรมพันธุ์
  • สาเหตุจากโรคทางกาย เช่น โรคเมเนียส์/น้ำในหูไม่เท่ากัน โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • สาเหตุที่เกิดในสมอง
  • หูชั้นในอักเสบ
  • การได้รับอุบัติเหตุของหูชั้นใน
  • การมีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน
  • การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู

คนหูตึง โดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินตามข้อใด

3. สูญเสียการได้ยินชนิด การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss)

     เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติในการนำเสียงบกพร่องร่วมกับประสาทรับเสียงบกพร่อง ซึ่งพบในโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นนอก หูชั้นกลาง ร่วมกับความผิดปกติของหูชั้นใน โรคที่พบ เช่น

  • โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังที่ลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน
  • โรคในหูชั้นกลางของผู้สูงอายุที่มีปัญหาประสาทรับเสียงเสื่อมด้วย
  • โรคหินปูนเกาะกระดูกโกลนและมีพยาธิสภาพในหูชั้นในร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม มีผู้สูญเสียการได้ยินจำนวนไม่น้อยที่แพทย์ตรวจแล้วไม่พบสาเหตุ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาการได้ยิน เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

เมื่อต้อง...ตรวจระดับการได้ยิน!!

เผยแพร่: 6 มี.ค. 2556 08:14   โดย: MGR Online


รศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

การตรวจระดับการได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหู และระบบโสตประสาทเพื่อหาระดับการได้ยิน แล้วนำมาประกอบการวินิจฉัยโรค
โดยปกติแล้วระดับการได้ยินของคนปกติจะอยู่ระหว่าง -10 ถึง 25 เดซิเบล ผู้ที่มีระดับการได้ยินสูงกว่านี้ ถือว่ามีความผิดปกติของระดับการได้ยิน โดยแบ่งเป็นระดับต่างๆ ดังนี้

ระดับการได้ยิน  ความผิดปกติ
(เดซิเบล)
-10 ถึง 25การได้ยินปกติ
26 ถึง 40หูตึงเล็กน้อย
41 ถึง 55หูตึงปานกลาง
56 ถึง 70หูตึงมาก
70 ถึง 90หูตึงอย่างรุนแรง
มากกว่า 90หูหนวก

สำหรับการทดสอบหาระดับการได้ยิน (Pure tone audiogram) จะตรวจผ่านสองทาง คือ การนำเสียงผ่านอากาศ (Air conduction) ทดสอบโดยการครอบหูฟัง และการนำเสียงผ่านกระดูก (Bone conduction) ทดสอบโดยการวางตัวปล่อยเสียงที่กระดูกกกหู (Mastoid) จากนั้นจะปล่อยเสียงความถี่เดียว (pure tone) ที่ระดับความดังต่างๆ แล้วลดระดับลงเรื่อยๆ จนถึงระดับความดังที่เบาที่สุดที่ผู้ถูกทดสอบได้ยิน นอกจากนี้ยังมีการทดสอบระดับการได้ยินด้วยวิธีอื่นๆ อีก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

เมื่อได้รับผลการตรวจเบื้องต้น แพทย์จะนำผลที่ได้มาประกอบการวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยมีความสูญเสียการได้ยินประเภทใด ซึ่งโดยทั่วไปอาจแบ่งได้ดังนี้

1.สูญเสียการได้ยินเฉพาะการนำเสียงผ่านอากาศ (Conductive hearing loss) เป็นการสูญเสียความสามารถในการนำเสียงของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง แต่หูชั้นในและระบบประสาทการได้ยินยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยจะพบว่าระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านอากาศสูงกว่า 25 เดซิเบล

2. สูญเสียการได้ยินที่โสตประสาท (Sensorineural hearing loss) เป็นการสูญเสียความสามารถในการนำเสียงของหูชั้นในหรือระบบประสาทการได้ยิน พบว่าระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านกระดูกและการนำเสียงผ่านอากาศสูงกว่า 25 เดซิเบล โดยทั้งสองเส้นของระดับการได้ยินจะไม่ห่างกันเกิน 15 เดซิเบล

3. สูญเสียการได้ยินแบบผสม (Mixed hearing loss) เป็นการสูญเสียความสามารถในการนำเสียงของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง ร่วมกับการสูญเสียความสามารถของหูชั้นในและระบบประสาทการได้ยิน พบว่าระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านกระดูกและการนำเสียงผ่านอากาศสูงกว่า 25 เดซิเบล แต่ทั้งสองเส้นห่างกันมากกว่า 15 เดซิเบล แสดงว่าการนำเสียงผ่านอากาศแย่กว่าการนำเสียงผ่านกระดูก

ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียการได้ยินประเภทใด จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ซึ่งบางครั้งอาจรักษาได้ด้วยยา หรือการผ่าตัด นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง รวมถึงได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วย
------

พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ร่วมสัปดาห์วันต้อหินโลก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานสัปดาห์วันต้อหินโลก บริการตรวจคัดกรองโรคต้อหินพร้อมรับคำแนะนำ ฟังเสวนาจากประสบการณ์จริงของผู้ป่วย “เป็นเบาหวานก็ตาบอดจากต้อหินได้” และนิทรรศการให้ความรู้ วันที่ 7 มี.ค.นี้  เวลา 09.00-15.00 น.ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถาม โทร.0 2419 8033