อันตรายจากการใช้งาน อินเทอร์เน็ต และ แนวทาง ป้องกัน

อันตรายจากการใช้งาน อินเทอร์เน็ต และ แนวทาง ป้องกัน

10 วิธีป้องกันภัยจากอินเตอร์เนตสำหรับเด็กและเยาวชน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เนตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการว่า ในประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรวมประมาณ 4.5 ล้านคน โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน และแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย แต่ก็มีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งการเกิดปัญหาการล่อลวงเด็กและก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อล่อลวงเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการล่อลวงไปข่มขืน ทำอนาจาร หรือแม้แต่การลักพาตัวไป โดยเฉพาะการพูดคุยในห้องแชตรูมผ่านอินเทอร์เน็ต ที่นำไปสู่การนัดพบกันของคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน รวมทั้งเนื้อหาที่นำเสนอในหน้าเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกมีจำนวนไม่น้อยที่นำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก เช่น เนื้อหาทางเพศ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง หรือการเสนอขายสินค้าที่ไม่เหมาะสมหรือส่งเสริมการใช้ความรุนแรง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหา ควรได้รับความร่วมมือด้วยกันทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองควรสอดส่องดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของเยาวชนอย่างใกล้ชิด และให้คำแนะนำในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ปกครองก็คือ ความแตกต่างระหว่างความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งจัดว่าเป็น Digital Divide อีกประเภทหนึ่งที่ต้องพิจารณาและทำให้ผู้ปกครองต้องหันมากระตุ้นเตือนตนเองให้เร่งหันมาศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาวะความเสี่ยงจากภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชนหรือลูกหลาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมแนวทางในการป้องกันปัญหาในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้กับกลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มมเยาวชน ดังนี้ ในส่วนของผู้ปกครองทำได้คือ

1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเทอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และให้ร้องขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่ หรือรหัสผ่านที่เป็นความลับกับผู้ที่ไม่เคยรู้จัก หรือเริ่มรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว กลุ่มเยาวชน
7. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ที่ทำงาน หรือเบอร์ที่ทำงาน ของผู้ปกครองให้แก่บุคคลอื่น ที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
8. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูล หรือรูปภาพใด ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
9. ไม่ไปพบบุคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
10. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใด ๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้ขออนุญาติจากผู้ปกครองก่อน

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Related

1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเทอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และให้ร้องขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว กลุ่มเยาวชน
5. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ที่ทำงาน หรือเบอร์ที่ทำงาน ของผู้ปกครองให้แก่บุคคลอื่น ที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
6. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูล หรือรูปภาพใด ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
7. ไม่ไปพบบุคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
8. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใด ๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้ขออนุญาติจากผู้ปกครองก่อน

ที่มา : watinwrooney.wordpress.com

อย่างไรก็ตามข้อยืนยันว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ต ยังตั้งอยู่ในฝั่งของสิ่งที่ดี เช่น ทางด้านการศึกษา ทางด้านการสื่อสาร ทางด้านการเผยแพร่ความรู้ ผลงาน และผลผลิต แต่เนื่องจากสังคมอินเทอร์เน็ต เป็นสังคมที่ไม่สามารถมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงมีทั้งคนดี และคนร้าย ดังนั้นการระวังป้องกันภัย ล่วงรู้ถึงภัยที่เคยมามาในอดีตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก

                ภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. ภัยที่เกิดกับบุคคล

2. ภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ

               

อันตรายจากการใช้งาน อินเทอร์เน็ต และ แนวทาง ป้องกัน
ภัยที่เกิดกับบุคคล

ภัยที่เกิดกับบุคคลมักเกิดจากการหลอกลวง การกลั่นแกล้ง โดยผลที่ได้รับอาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายเกิดความอาย เสียเงิน จนถึงขั้นเสียชีวิต ดั้งนั้นควรระมัดระวังในการใช้งาน

ตัวอย่างภัยที่เกิดกับบุคคล

1. การกลั่นแกล้งโดยผ่านทาง Webboard เช่น  นาย ก. มีความเกลียดชังนาย ข. จึงไปเขียนลงบน Webboard โดยกล่าวร้ายกับนาย ข. จึงทำให้นาย ข. เกิดความอับอาย

 2. การหลอกลวงผ่านทางโฆษณาขายสินค้าด้วยวิธีการประมูล โดยผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลต้องลงทะเบียนสมาชิกของเว็บไซต์ หลังจากนั้นผู้ซื้อจะต้องเสนอราคาซื้อแข่งขันกับผู้ซื้อรายอื่น เมื่อเสร็จสิ้นการประมูลถือว่ามีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประมูลและผู้เสนอขาย ในรายงานพบว่าเป็นการหลอกลวงมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าเพราะไม่มีสินค้าอยู่จริง การปั่นราคาสินค้าสูงกว่าปกติ

3.การชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต มีทั้งฝ่ายผู้ซื้อหลอกลวงผู้ขาย และผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าเมื่อมีการตัดบัตรเครดิต หรือการหลอกขายสินค้าแล้วขอเบอร์บัตรเครดิต และรหัสแล้วนำไปทำบัตรปลอมเพื่อซื้อสินค้าอีกต่อ

4. การล่อลวงไปกระทำมิดีมิร้ายกับผู้หญิง เช่นล่วงละเมิดทางเพศ ดังที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ส่วนมากจะมาในรูปแบบของการใช้งานโปรแกรม Chartroom ต่างๆ

5. เด็กที่เข้าเว็บที่มีการเสนอในทางรุ่นแรงอาจทำให้เด็กมีนิสัยชอบความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

ตัวอย่างภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ

1. การปล่อยโปรแกรม Virus มาทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับ Virus จะเกิดอาการใช้งานไม่ปกติ หรือบางอย่างอาจจะลบข้อมูลทั้งหมด

ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มีผู้เขียน เขียนขึ้นมาเพื่อขัดขวางการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้เสมือนว่าใช้งานกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ จนกระทั่งทำลายแฟ้มข้อมูล หรือทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติไปจากเดิม ส่วนการติดไวรัสอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะทาง Internet นั่นแหละแหล่งรวมไวรัส

2. ใช้วิธีการเข้าควบคุมโมเ ด็มของบุคคลอื่น เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส หลังจากที่เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วไวรัสกำหนดคำสั่งให้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตใหม่อีกครั้ง แต่คราวนี้จะเป็นการเชื่อมโยงไปยังคู่สายที่อยู่เมืองนอก ดังนั้นการเสียค่าโทรศัพท์จะต้องเสียในอัตราโทรต่างประเทศ

3. Trojan Horse เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมทั่วไป  เพื่อหลอกผู้ใช้ให้ทำการเรียกใช้งาน เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ทันที

จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจัน เพื่อที่จะล้วงความลับของระบบคอมพิวเตอร์บุคคลอื่น ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้น

                      

อันตรายจากการใช้งาน อินเทอร์เน็ต และ แนวทาง ป้องกัน
การป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต

การป้องกันภัยที่เกิดกับบุคคล

1. ไม่ควรสนทนา (Chart) กับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก หรือไว้ใจได้

2. ไม่ควรใส่ชื่อที่อยู่จริงกับเว็บที่ไม่น่าไว้ใจ

3. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์

4. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนกับเว็บต่างๆ เพราะท่านอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองท่านอยู่  

5. จงคิดไว้เสมอว่า ไม่มีใครยอมเสียผลประโยชน์ ถ้าไม่ได้อะไรตอบแทน

6. ทุกครั้งที่คนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำ ธุระกรรมผ่านทางเว็บจงคิดเสมอว่า รายได้ที่สูงเกินความจริงอาจตกอยู่กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย

7. การไปพบปะกับบุคคลที่ติดต่อผ่านทางเว็บไม่ควรไปอยู่ในที่ลับตา ควรอยู่ในที่รโหฐาน

8. ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง

9. การตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับลูกควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง เช่นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน

10. เมื่อเห็นบุคคลที่อยู่ไกล้ตัวท่านมีลักษณะการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปควรรีบเสาะหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อป้องกับเหตุร้ายที่จะตามมา

                      

อันตรายจากการใช้งาน อินเทอร์เน็ต และ แนวทาง ป้องกัน
การป้องกันภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ ว่ามีไวรัสหรือไม่ โดยใช้โปรแกรมประเภท สแกนไว้รัส

2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น

4. ควรสำรองข้อมูลไว้เพื่อเกิดความเสียหายจะได้มีไฟล์สำรองทุกครั้ง  

5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ

6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect) หรือถ้าจำเป็นต้องเปิด ควรมีการ สแกนไว้รัสก่อนใช้งานทุกครั้ง

7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด

8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด

9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก

10. เมื่อมีการติดตั้ง โปรแกรม ป้องกันไวรัสแล้วมิได้จบเพียงแคนั้น ควรจะมีการ Update ไวรัสบ่อยๆ เพราะทุกๆ วันจะมีการสร้างไวรัสใหม่เสมอ

11. หมั่นติดตามข่าวด้าน Information Security และข่าวไวรัสใหม่ๆ ตลอดจนหมั่น Update Patch ให้กับระบบที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ  

แนวทางในการป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

1. ตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้งานปลอดภัยหรือยัง 2. การแชร์ไฟล์และการรับ-ส่งไฟล์ต่างๆ 3. การสํารองข้อมูล ๔. ติดตามข่าวสารต่างๆ 4. เช็คที่มาที่ไปของไฟล์ที่จะดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต และควรทําการแสกนไวรัส ทุกครั้ง 5. หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่มาที่ไม่ใช่เว็บไซต์ที่เราไม่รู้จัก

อันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นการสื่อสารที่อิสระ บุคคลทั่วไปสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ถึงแม้จะมีกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ก็เป็นเพียงการลงโทษ ผู้ใช้งานจึงควรเข้าใจถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการโดนโจรกรรมข้อมูล การโจมตีจากไวรัสแฮกเกอร์ และจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มัลแวร์ การถูกหลอกลวง โจมตี ...

ข้อตกลงในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

ข้อตกลงในการใช้งานอินเตอร์เน็ต.
1. ใช้ภาษาที่สุภาพและเหมาะสม 1.1 ไม่ใช้คำหยาบ ล้อเลียน หรือด่าทอผู้อื่น ... .
2. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม 2.1 ไม่เปิดเผยข้อมูลเท็จที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ... .
3. เคารพสิทธิและข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น 3.1 ไม่ใช้งานหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น.

ข้อใดคือวิธีป้องกันบุตรหลานกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต

สำหรับการดูแลบุตรหลานไม่ให้เสี่ยง Cyberbullying ผู้ปกครองสามารถทำได้ดังนี้ 1. สอนลูก ๆ ว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี หากไม่รู้จักก็ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนนั้น 2. คอยสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนที่ลูกคุยด้วย แชทด้วยเป็นใคร