นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

                                                เนื้อหา การแสดงนาฏศิลป์ไทยและสากล
          1. ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงนาฏศิลป์เป็นการแสดงออกทางศิลปะของการ่ายรำที่มุ่งเน้นให้เห็นถึงอารมอันสุทรี ประกอบเข้ากับศิลปะด้านดุริยางคศิลป์ ระบำ รำ ฟ้อน เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลง ดนตรีและบทขับร้อง ซิ้งมีความหมายที่จะอะิบายได้พอสังเขป


  ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ความงามของการแสดงระบำ อยู่ที่ความสอดประสานกลมกลืนกัน ด้วยความพร้อมเพรียงกัน การแสดงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ใช้เพียงดนตรีประกอบ คำว่า "ระบำ" รวมเอา "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เข้าไว้ด้วยกัน เพราะวิธีการแสดงไปในรูปเดียวกัน แตกต่างกันที่วิธีร่ายรำ และการแต่งกายตามระเบียบประเพณีตามท้องถิ่น
ระบำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน และระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด
รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ เป็นการแสดงท่าทางลีลาของผู้รำ โดยใช้มือแขนเป็นหลัก
1. การรำเดี่ยว คือ การรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว จุดมุ่งหมายคือ
1.1 ต้องการอวดฝีมือในการรำ
1.2 ต้องการแสดงศิลปะร่ายรำ
1.3 ต้อง การสลับฉากเพื่อรอการจัดฉากหรือตัวละครแต่งกายยังไม่เสร็จเรียบร้อย การรำเดี่ยว เช่น การรำฉุยฉายต่าง ๆ รำมโนราห์บูชายัญ รำพลายชุมพล ฯลฯ
2. การรำคู่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ไม่มีบทร้อง และรำคู่ในชุดสวยงาม
2.1 การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ได้แก่ กระบี่ กระบอง ดาบสองมือ โล่ ดาบ เขน ดั้ง ทวน และรำกริชเป็นการรำไม่มีบทร้องใช้สลับฉากในการแสดง
2.2 การรำคู่ในชุดสวยงาม ท่ารำในการรำจะต้องประดิษฐ์ให้สวยงาม ทั้งท่ารำที่มีคำร้องตลอดชุด หรือมีบางช่วงเพื่ออวดลีลาท่ารำ มีบทร้องและใช้ท่าทางแสดงความหมายในตอนนั้น ๆ ได้แก่ หนุมานจับสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รามสูร เมขลา รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ทุษยันต์ตามกวาง รำแม่บท รำประเลง รำดอกไม้เงินทอง รถเสนจับม้า
3. การรำหมู่ เป็นการแสดงมากกว่า 2 คนขึ้นไป ได้แก่ รำโคม ญวนรำกระถาง รำพัด รำวงมาตรฐาน และรำวงทั่วไป การแสดงพื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น เต้นกำรำเคียว รำกลองยาว
ฟ้อน หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ จะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก
มีลีลาการฟ้อนพร้อมเพรียงกันด้วยจังหวะที่ค่อนข้างช้า
นาฏศิลป์ไทย
การกำเนิดนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์เป็นศิลปะแห่งการละคร การฟ้อนรำ และดนตรี อันมีรูปแบบปฏิบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ ซึ่งกำหนดว่าต้องประกอบด้วยศิลปะ ๓ ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรีและการขับร้องรวมเข้าด้วยกัน นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่างๆ แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าฟ้อนรำหรือเกิดจากความเชื่อในเทพเจ้าโดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการขับร้อง เต้น และฟ้อนรำ
นอกจากนี้นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่นวัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เกี่ยวกับเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำผ่านสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนจะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่าอารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดีย ได้เผยแพร่สู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๐๐ ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัยประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทยแบ่งตามลักษณะของการแสดงได้ ๔ ประเภทดังนี้
๑.โขน เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยโขนมีเอกลักษณ์คือผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวพระ ตัวนางและเทวดา จะใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ บทเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ ที่นิยมแสดงคือ ละครรามเกียรติ์ ใช้เครื่องแต่งกายแบบ ยืนเครื่อง มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพระราชพิธีสำคัญๆ
๒.ละคร เป็นเรื่องราวในลักษณะของการสนธนาที่กล่าวถึงความขัดแย้งและสภาพความเป็นไปของชีวิตด้านต่างๆ
เป็นการแสดงที่ผูกเป็นเรื่อง แต่เนื้อเรื่อง ข้อความ จะประกอบด้วยเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ฉาก แสง เสียง เป็นต้น ละครไทยแต่เดิมจะจัดแสดงกลางแจ้งไม่มีสิ่งประกอบอะไรทั้งสิ้นแต่จะต้องมีการฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรี การขับร้อง และการเจรจาตามความเหมาะสมของเนื้อเรื่อง ในสมัยอยุธยามีการแสดงละครต่างๆ ถึง ๒๑ เรื่องคือ๑. การะเกด ๒.คาวี ๓.ไชยทัต ๔.พิกุลทอง ๕.พิมพ์สวรรค์ ๖.พิณสุริวงศ์ ๗.มโนราห์ ๘.โม่งป่า ๙.มณีพิชัย ๑๐.สังข์ทอง ๑๑.สังข์ศิลป์ชัย ๑๒.สุวรรณศิลป์ ๑๓.สุวรรณหงส์ ๑๔.โสวัต ๑๕.อิเหนา (ดาหลัง) ๑๖.ไกรทอง ๑๗.โคตรบุตร ๑๘.ไชยเชษฐ์ ๑๙.พระรถ ๒๐.ศิลป์สุริวงศ์ ๒๑.อุณรุท

ละครไทยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๒.๑ ละครรำ คือ ละครที่ใช้ศิลปะการรำเป็นส่วนใหญ่ โดยนำนาฏศิลป์ ดนตรี เพลงร้องและบทร้อยกรองมาประกอบเข้าด้วยกัน การแต่งกายจะแต่งของละครนั้นๆ ละครรำสามารถจำแนกออกได้ ดังนี้

๑) ละครโนรา เรียกเต็มๆว่า “มโนราห์” เป็นต้นกำเนิดของละครรำ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในภาคใต้ ใช้ตัวแสดงเพียง ๓ ตัว ใช้ผู้แสดงชายล้วน ละครโนราจะแสดงเฉพาะเรื่องชาดก ที่นิยมแสดงมี ๒ เรื่อง แต่ส่วนมากจะแสดงเรื่องพระสุธนมโนราห์จนเรียกติดปากว่า “ละครโนรา”
๒) ละครชาตรี เป็นการแสดงใกล้เคียงกับละครมโนรา เพราะดัดมาจากละครโนราโดยตรงจนเรียกว่า “โนราชาตรี” แต่ละครนี้แสดงยากขึ้น เครื่องดนตรีเพิ่มขึ้น
๓) ละครนอก เป็นละครที่วิวัฒนาการมาจากละครโนรา ใช้ลีลาท่ารำไปตามจังหวะมุ่งหมายที่จะดำเนินเรื่องโดยเร็ว มุ่งตลกขบขัน เพลงที่ใช้ร้องจะไม่มีลีลา จะมีการเอื้อนมาและใช้ระดับเสียงผู้ชายซึ่งเรียกว่า “เสียงนอก”
๔) ละครใน เป็นละครที่มีความประณีต พิถีพิถัน มุ่งหมายให้เห็นความประณีตของศิลปะมากกว่าเนื้อเรื่อง แต่งกายยืนเครื่องเหมือนละครนอก เพลงร้องมีทำนองไพเราะ เชื่องช้า คำว่า “ละครใน” มาจากชื่อเต็มว่า “ละครนางใน” คือ ใช้ผู้แสดงเป็นสตรีในราชสำนัก
๕) ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครรำชนิดปรับปรุงใหม่ มีวิธีแปลกออกไปคือ ผู้แสดงร้องเอง มุ่งการร้องเป็นการเป็นสำคัญเท่ากับการรำ และเป็นละครที่เริ่มมีฉากแสดงตามท้องเรื่อง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ทรงร่วมกันปรับปรุงใหม่
๖) ละครพันทาง เป็นละครผสม ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงปรับปรุงการแสดงขึ้น จะแสดงบนเวที โดยมีการเปลี่ยนฉากไปตามท้องเรื่อง มีการยึดแบบแผนของละครนอก

๒.๒ ละครร้อง เป็นละครที่เริ่มมีฉากแสดงตามท้องเรื่อง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ทรงร่วมกันปรับปรุงใหม่ จะแสดงบนเวที โดยมีการเปลี่ยนฉากไปตามท้องเรื่อง
ละครร้องแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆดังนี้
๑) ละครร้องล้วน ร้องสำคัญ คือ ใช้เพลงร้องตลอดเรื่อง
๒) ละครพูดสลับลำ หรือละครที่ทั้งร้อง ทั้งเจรจา
๓) ละครสังคีต คือ ละครที่มีทั้งร้องทั้งเจรจาเป็นส่วนสำคัญเสมอกัน

๒.๓ ละครพูด เป็นละครที่มีนิยมแพร่หลายในสมัยราชกาลที่ ๖ ละครพูดตอนแรกทรงเรียกว่า “ละครทวีปัญญา” ต่อมาทรงตั้งชื่อเป็นหลักฐานว่า “ละครศรีอยุธยา” ตามพระนามปากกาของท่าน ละครพูดเป็นละครที่แสดงบนเวที การแต่งกายแต่งไปตามสภาพจริงของท้องเรื่อง
๓. รำ และระบำ เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำ และระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายดังนี้

๓.๑ รำ คือ ศิลปะการแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ มีผู้แสดงตั้งแต่ ๑-๒ คน มีลักษณะการแต่งกายตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่า โดยการรำคู่ จะต่างกับระบำเนื่องจากท่ารำจะมีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
๓.๒ ระบำ คือ ศิลปะการแสดงที่มีความสวยงาม และความบันเทิงเป็นสำคัญมีผู้แสดงตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ลักษณะการแต่งกายและกระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว นิยมการแต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก

๔. การแสดงพื้นเมือง เป็นศิลปะแห่งกายร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งเป็นภูมิภาคได้ ๔ ภูมิภาคดังนี้

๔.๑ การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำและการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ ลักษณะการฟ้อนแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุง แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้

๔.๒ การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม การแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนจาการทำงานหรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว
๔.๓ การแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้าน แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลมาจากไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม วงดนตรีที่ใช้เล่นคือ วงมโหรีอีสานใต้

๔.๔ การแสดงพื้นเมืองของภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้าน แบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ ๒ กลุ่ม คือ วัฒนธรรมไทยพุทธ และวัฒนธรรมไทยมุสลิม มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต และศิลปะชีพต่างๆ

ท่ารำตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย มีความอ่อนช้อยงดงามของการร่ายรำตามจังหวะและทำนอง จนท่าทางอากัปกิริยาต่างๆ ที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกของละครไทย สื่อความหมายด้วยบทเจรจา ท่าทาง ทำให้ผู้ชมได้สนุกสนาน จนเกิดอารมณ์คล้อยตาม ดังนั้นจึงทำให้การแสดงต่างๆ จึงมีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์ในด้านของท่ารำสามารถแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
๑. ท่ารำนาฏศิลป์ในการแสดงโขนละคร ท่ารำที่ใช้ในการแสดงสามารถจำแนกออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

๑.๑ ท่ารำที่เป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้น ได้แก่ การรำเพลงช้า เพลงเร็ว รำแม่บทของตัวพระ ตัวนาง และการฝึกหัดแม่ท่าของยักษ์และลิงในการแสดง

๑.๒ ท่ารำที่ประกอบเพลงหน้าพาทย์ แบ่งออกเป็นเพลงหน้าพาทย์ธรรมดา และเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ผู้ฝึกหัดทั้งตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง จะต้องฝึกหัดเพื่อสามารถนำไปใช้ประกอบการแสดงตามบทบาทในเนื้อเรื่อง

๑.๓ ท่ารำที่ประกอบการขับร้อง หรือที่เรียกว่า “รำบทและรำใช้บท” จะมีเนื้อร้องและเพลงประกอบ โดยผู้แสดงจะต้องใช้ท่ารำให้สอดคล้องกับความหมายและอารมณ์ตรงตามบทที่ขับร้อง

๑.๔ ท่ารำที่เป็นการสื่อสารหรือภาษานาฏศิลป์ คือ ท่ารำที่แสดงความหมายเพื่อการสื่อสารให้ผู้ชมได้ทราบบทบาทของผู้แสดง แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑) ท่ารำที่แสดงอิริยาบถ
๒) ท่ารำที่แสดงความหมาย
๓) ท่ารำที่แสดงอารมณ์

๒. ท่ารำนาฏศิลป์ไทยในการแสดง ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทระบำ รำ ฟ้อน ทั้งที่เป็นแบบมาตรฐานและเป็นการแสดงพื้นเมืองนั้น จะมีการเลือกใช้ท่ารำที่เป็นท่าแบบแผนและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การแสดงมักจะใช้ท่ารำที่เป็นการ แสดงออกถึงเอกลักษณ์ ตามสาเหตุดังต่อไปนี้
๒.๑ ท่ารำที่มาจากความเชื่อศรัทธาเกี่ยวกับพิธีกรรม มีระบำ รำ ฟ้อนพื้นบ้านหลายชนิดที่ประดิษฐ์และปรับปรุงท่ารำจากประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีการบรรเลงเพลงและผู้ร่วมพิธีจะร่ายรำเพื่อเซ่นไหว้ บวงสรวง บูชาอ้อนวอนขอให้เกิดความสุข ความอุดมสมบูรณ์แก่ชุมชนของตน

๒.๒ ท่ารำที่มาจากสภาพชีวิต วิถีความเป็นอยู่ และอาชีพการงาน เป็นท่ารำที่เกิดขึ้นและบ่งบอกให้ทราบและรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพการงานของผู้คนในแต่ละภูมิภาค ซึ่งได้นำมาประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นระบำ รำ ฟ้อนขึ้น

๒.๓ ท่ารำที่มาจากประเพณีและวัฒนธรรมการละเล่น เป็นท่ารำที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางประเพณีและวัฒนธรรมการละเล่นของท้องถิ่น เช่น เซิ้งบั้งไฟเป็นประเพณีของชาวอีสาน แล้วพัฒนามาเป็นรูปแบบเพื่อการแสดง การฟ้อนดาบ

ดนตรี / เพลง / การขับร้องเพลงไทยประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

ดนตรีและการขับร้องเพลงไทยเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชาติไทย ดนตรี เพลง สามารถแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
๑. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย
๑.๑ ดนตรีประกอบการแสดงโขนละคร วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย คือ วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราว ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ๒ วง

๑.๒ ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่ารำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงจะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง อาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะความจำเป็นของการแสดง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร

๑.๓ ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่

๑) ดนตรีเมืองภาคเหนือ มีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่ตัด ระนาดไม้ ฆ้องวงใหญ่ กลองหลวง กลองปูจา กลองสะบัดชัย เป็นต้น เมื่อนำมารวมเป็นวงจะได้วงต่างๆ
๒) ดนตรีเมืองภาคกลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับวงดนตรีหลักของไทย คือ วงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย ซึ่งมีลักษณะในการนำมาใช้อำนาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท
๓) ดนตรีเมืองภาคอีสาน มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ พิณ ซุง หมากจับปี่ ซอ โปงลาง แคน โหวด กลองกันตรึม ซอกันตรึม ซอด้วง ปี่อ้อ ปี่สไล เป็นต้น เมื่อนำมาประสมวงแล้วจะได้วงดนตรีพื้นเมือง เช่น วงโปงลาง
๔) ดนตรีเมืองภาคใต้ มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา กลองโพน โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวง และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีตาร์
๒. เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย
๒.๑ เพลงไทยประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตรฐาน แบ่งได้ ๒ ประเภท ดังนี้

๑) เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขนละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย
๒) เพลงขับร้องรับส่ง คือ เพลงไทยที่นำมาบรรจุไว้ในบทละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เพลงเถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน

๒.๒ เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เป็นบทเพลงที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาค ดังนี้

๑) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เพลงบรรเลงประกอบฟ้อนเล็บ ได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลง ปราสาทไหว
๒) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง เพลงบรรเลงประกอบ เต้นกำรำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา
๓) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน เพลงบรรเลงประกอบ การแสดงเซิ้งโปงลาง ได้แก่ เพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไท ได้แก่ เพลงลายลำภูไท
๔) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ เพลงบรรเลงประกอบการ แสดงลิแกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน

นาฏศิลป์สากล
การกำเนิดนาฏศิลป์สากล
นาฏศิลป์เป็นการแสดงออกทางการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีระบบและงดงาม ซึ่งกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติของมนุษย์หรือพฤติกรรมปกติของมนุษย์ที่เรียกกันว่า “ภาษากาย หรือภาษาท่าทาง” ในการแสดงออกทางความรู้สึกและอารมณ์ของมนุษย์ออกมาทางร่างกาย สิ่งเหล่านี้เป็นภาษากายที่เป็นภาษสากลทางนาฏศิลป์ ต่อมามนุษย์มีการพัฒนาโดยนำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี ซึ่งมนุษย์เกิดสนุกสนานไปกับดนตรีจึงทำให้มีการเต้นรำตามจังหวะดนตรีไปด้วย ดังนั้น การกำเนิดของนาฏศิลป์สากลจึงเกิดขึ้นจากธรรมชาติและความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนี้

๑) การกำเนิดของนาฏศิลป์จากธรรมชาติ เริ่มจากมนุษย์รู้จักการเต้นรำและการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตทั้งจากสัตว์ พืช และมนุษย์ด้วยกันเอง จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาท่าทางและการขยับร่างกายตามความรู้สึกของมนุษย์ที่แสดงถึงอารมณ์ต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่มาของการแสดงละครที่เริ่มต้นจากละครพูด โดยการพูดทำท่าทางการแสดงอารมณ์ต่างๆ และการแต่งกายตามบท ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มาจากชีวิตจริงของมนุษย์แตกต่างกันไป

๒) การกำเนิดของนาฏศิลป์จากความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคมและมีสัญชาตญาณแห่งความกลัว จึงทำให้มนุษย์พยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจด้วยการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งพัฒนามาเป็นความศรัทธาในลัทธิศาสนาต่อไป
สำหรับประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์สากลที่เด่นชัด คือ ศิลปะการละครของชาวตะวันตกที่เรียกว่า “ละครตะวันตก” โดยเริ่มขึ้นตามลำดับดังนี้

๑. ละครตะวันตดในสมัยกรีกโบราณ เริ่มจากการแสดงเรื่องราว เกี่ยวกับเทพเจ้าไดโอนีซุส (Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ การบูชาจะจัดขึ้นปีละครั้ง โดยมีการแสดงละครที่โรงละครกลางแจ้ง จากนั้นก็พัฒนาเป็นละครเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์

๒. ละครตะวันตกในสมัยโรมัน เริ่มจากการนำรูปแบบของละครกรีกโบราณในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวกับการบูชาเทพเจ้ามาปรับปรุง โดยเพิ่มการเต้นรำและการแสดงอารมณ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามละครตะวันตกในสมัยโรมันได้ลดบทบาทลงเรื่อยๆ เนื่องจากละครส่วนใหญ่เป็นประเภทสุขนาฏกรรมที่ไม่ค่อยได้แก่นสาร และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับใช้พระเจ้า จึงทำให้มีการออกคำสั่งห้ามไปดูละคร จนที่สุดทุกโรงละครทุกโรงต้องปิดลง
ต่อมาละครตะวันตกก็ได้มีการฟื้นตัวขึ้นในยุคกลางของประเทศในทวีปยุโรป โดยในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีการแสดงละครเป็นการแสดงรีวิว ซึ่งเป็นการแสดงที่ไม่เป็นเรื่อง โดยมีทั้งการพูดคนเดียว การร้องเพลง การเต้นรำ และการแสดงมายากล จนมาถึงศตวรรษที่ ๒๐ ตอนต้นรูปแบบการแสดงละครเริ่มหันเข้าสู่การสะท้อนสภาพความเป็นในสังคม

เอกลักษณ์และความสำคัญของการฟ้อนรำไทย
การฟ้อนรำของไทย มีลักษณะเฉพาะตัว และมีความเป็นไทยในตัวเองเป็นอย่างยิ่ง เป็นศิลปะประจำชาติ ไม่ซ้ำหรือเหมือนของชาติอื่น นับว่าเป็นสมบัติอันเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่าภูมิใจยิ่ง

การแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ

1. ภาคกลาง ได้แก่ รำกลองยาว เพลงเทพทอง อีแซว เพลงฉ่อย ลำตัด
เต้นกำรำเคียว รำเหย่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงเกี่ยวข้าว
เพลงทรงเครื่อง
1.1รำกลองยาว
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

เข้ามาใน ร. 4 โดยชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามา มีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า
ในการแสดงละครเรื่อง พระอภัยมณีตอนเก้าทัพ และไทยเราเห็นเล่นง่ายสนุกสนาน
จึงนิยมนำมาเล่นกันจนบัดนี้
วิธีเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
- ฝ่ายตีกลองยาว ผู้ตีมักทำท่าต่างๆ สนุกสนาน ออกท่าลีลาต่างๆ
- ฝ่ายรำ ต้องรำให้เข้ากับจังหวะกลองยาว
** เครื่องดนตรีที่ใช้ กลองยาว กรับหรือเกราะ ฉาบเล็ก โหม่ง ฉิ่ง

1.2 เต้นกำรำเคียว

นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวนครสวรรค์ นิยมเล่นกันในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว
หลังการเก็บเกี่ยวข้าวเมื่อรู้สึกเหน็ดเหนื่อย จึงผ่อนคลายโดยการตั้งวงเต้นกำรำเคียว
วิธีเล่น ชายหญิง จะถือเคียวคนละมือ และรวงข้าวอีกมือ เต้นรำร้องเกี้ยวพาราสีกัน
ต่อมากรมศิลปากร โดยนายมนตรี ตราโมท ได้ทำดนตรีประกอบและนำออกแสดง
ในงานบันเทิง2. ภาคเหนือ (ฟ้อน) ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนสาวไหม กลองสะบัดชัย
ซอเมือง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนดาบ ฟ้อนเงี้ยว
1.3 ฟ้อนเงี้ยว
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

เป็นการเล่นสนุกสนานของชาวไทยเผ่าหนึ่งในแคว้นฉาน พม่า มีทั้งเนื้อร้องคำเมือง
และภาษาภาคกลาง
1.4 ฟ้อนลาวแพน
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

เรียกชื่อตามชื่อเพลงทางดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง
คือ จะเข้และปี่
ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยนำมาจากละครเรื่องพระลอ ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำกาหลง
โดยยึดท่าฟ้อนทางเหนือและอีสานเป็นแบ บ ดัดแปลงให้เข้ากับทำนอง ใช้แสดงเดี่ยว
ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นหลายคน
1.5 ฟ้อนสาวไหม
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

เป็นการฟ้อนของสาวเชียงใหม่ ที่เลียนแบบลีลาท่าทางจากอาชีพทอผ้าไหมของสาวๆ
ครูพลอยศรีสรรพศรี เป็นผู้คิด ประดิษฐ์ท่าฟ้อน จากท่าปั่นฝ้ายและสาวไหม
3. ภาคอีสาน ได้แก่ เซิ้งกระติ๊บข้าว หมอลำ หมอแคน เพลงโคราช ฟ้อนภูไท
เซิ้งกระหยัง แสกเต้นสาก เรือมอันเร ลิเกกลองยาว เซิ้งบั้งไฟ
1.6 เซิ้งกระติ๊บข้าว
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

กำเนิดมาจาก อ. เรณูนคร จ. นครพนม ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลป์กรมศิลปากร
ได้รับการถ่ายทอดจากคณะครู และนำมาแสดงเป็นครั้งแรก ในการต้อนรับ
พระราชอาคันตุกะ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ณ. หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี ค.ศ 2509
ดนตรีที่ใช้ประกอบนั้นใช้กลองยาวเป็นหลัก แคน และกรับ การแต่งกาย
หญิง ใส่เสื้อแขนกระบอกนุ่งซิ่น(คอนข้างสั้น)สะพายกระติ๊บข้าว
1.7 หมอลำ
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

หมอแคน ถ้ามีการขับลำอย่างเดียว โดยไม่มีแคนเป่าคลอ เรียกว่า "หมอลำ"
แต่ถ้ามีการขับลำและนำแคนมาเป่าคลอด้วย เรียก" หมอลำ หมอแคน "
จะแสดงที่ลานกว้าง หรือจะยกเวทีขึ้นก็ได้ จะแสดง 3 - 4 คนเท่านั้น
ไม่รวมนับถึง หมอแคน แบ่งเป็น 3 ชนิด
- ลำเรื่อง จะลำว่าเป็นเรื่องราว ว่ากันเปป็นรเหตุการณ์ทั่วๆไป
- ลำประชัน เป็นการลำร้องแก้กันคนละกลอน เเพื่อลับฝีปากว่าใครจะแน่กว่ากัน
- ลำเกี้ยว เป็นการลำในเชิงเกี้ยวพาราสีกัน บางที่จะพรรณาถึงคู่ครอง
ซึ่งอาจจะติชมกันถึงแก่น คนขอบฟังกันมาก
ประเภทเพลง "ลำ" อีสานมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน ลำโจทย์แก้
ลำเกี้ยว ลำชิงชู้ ลำพื้น ( ลำเรื่อง) ลำหมู่ ลำเพลิน ลำเต้ย และลำผีฟ้า
โอกาสแสดง งานบวช ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า โกนจุก งานมงคลต่างๆ
1.8 เพลงโคราช
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

นิยมในจังหวัดนครราชสีมา และใกล้เคียง มีลักษณะเป็นกลอนเพลง
ปฏิพากย์ ที่ใช้ไหวพริบ ในการแก้ปัญหาในการร้องตอบโต้
เพลงโคราชเป็นเพลงครูของเพลงเรือ การเล่น ชายหญิงจะเริ่มต้นไหว้ครู
บทเกริ่น บทเกี้ยว บทลักหาพาหนี แต่มีเพลงโคราชหลายเพลงที่ใช้แง่คิด
ในรูปของ สุภาษิต ปรัชญา และสะท้อนแง่คิดในชีวิตประจำวัน
1.9 ฟ้อนภูไท
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

นิยมเล่นในจังหวัด สกลนคร และใกล้เคียง ในงานรื่นเริง วันนักขัตฤกษ์
โดยจะเริ่มด้วยผู้ ตีกลองจึง( กลองชนิดหนึ่งของชาวภูไทย )และ แคน
4. ภาคใต้ เป็นดินแดนที่มีมรสุมตลอดปี และเป็นแหล่งอารยธรรมที่รุ่งโรจน์ในอดีต
มีรำพื้นเมืองรูปแบบต่างๆ เช่น รองเง็ง เพลงบอก เพลงนา กริช มโนราห์
หนังตะลุง มะโย่ง ลิละ เพลงคำตัก
1.10 รองเง็ง
นาฏศิลป์และการละครสากล หมาย ถึง

เดิมเป็นการแสดงในราชสำนักมาเลเซีย เจ้าเมืองจะจัดหาหญิงสาวให้ฝึกเต้นรองเง็ง
เพื่อเอาไว้ ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ต่อมาได้ออกมาสู่ประชาชน
แพร่หลายเข้าสู่ตอนใต้ของไทย ใช้ผู้แสดง ชายและหญิงรวมกัน
การแต่งกาย หญิงนุ่งโสร่ง มีลวดลายดอกดวงต่างๆกัน
สวมเสื้อแขนยาวคอกลม หรือ คอชวา ยาว ปิดโสร่ง ผ่าอกตลอด
ตัวเสื้อต้องเข้ารูปตรงเอวมาก ๆ แลเห็นสะโพกผาย มีผ้าคลุมไหล่
วิธีเล่น ดนตรีใช้ ฆ้อง กลองรำมะนา และไวโอลิน เมื่อดนตรีเร่มบรรเลง
ฝ่ายหญิงจะเริ่มร้องเชื้อเชิญ ให้ผู้ชมเข้าสู่วง
เต้นด้วยเนื้อร้องจะชมธรรมชาติความสวยงาม และเกี้ยวพาราสี
ที่นิยมร้อง จะมี 6 - 7 เพลงเท่านั้น จังหวะเต้นจะต่างกันไป
ความเด่นของรองเง็ง อยู่ที่ความพร้อมเพรียงและการก้าวหน้าถอยหลัง
ชายและหญิงต้องอยู่ในครึ่งวงกลมกลางเวที
1.11 เพลงบอก

               


1. ความหมายของละคร ( DRAMA ) นักปราชญ์ นักการศึกษา และท่านผู้รู้ได้ให้นิยามความหมายของละครแตกต่างกันออกไปดังนี้
ละคร หมายถึง การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว
ละคร หมายถึง การแสดงที่ผูกเป็นเรื่อง มีเนื้อความเหตุการณ์เกี่ยวข้องเป็นตอน ๆ ตามลำดับ
ละคร หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เกิดจากการนำภาพประสบการณ์ และจินตนาการของมนุษย์ มาผูกเป็นเรื่องราวแล้วนำเสนอแก่ผู้ชม โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมาย
ละคร หมายถึง มหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่าง ๆ มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู ขณะเดียวกันผู้ดูก็จะได้แนวความคิด คติธรรมและปรัชญาจากการละครนั้น
ละคร หมายถึง วรรณกรรมรูปหนึ่งเพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ของมนุษย์ โดยสร้างตัวละคร สร้างสถานการณ์ขึ้น เพื่อให้ตัวละครแสดงอารมณ์ออกมาตามสถานการณ์ ก่อให้เกิดเหตุการณ์สอดคล้องสืบเนื่องเป็นเรื่องใหญ่ หากเรื่องเล็ก ๆ ที่ตัดออกเป็นตอน ๆ นั้นต่อเนื่องกันได้โดยสนิท เป็นที่พอใจคนดู ก็นับว่าละครเรื่องนั้นเป็นละครที่ดี
สรุปละคร หมายถึง การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว เกิดจากการนำภาพประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องราว โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู และให้แนวคิด คติธรรมและปรัชญาแก่ผู้ดู


1.2 ประเภทของละคร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1) ละครแนวเหมือนจริง (Representational Drama) คือละครที่ให้ภาพชีวิตความเป็นจริง สะท้อนชีวิตในสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนออกมาเป็นเรื่องราว ดังคำกล่าวที่ว่า “ ละครคือชีวิต ”
2) ละครแนวไม่เหมือนจริง (Presentational Drama) คือละครที่ให้ภาพของการแสดงหลุดออกไปจากชีวิตประจำวัน โดยยึดคนดูเป็นเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้คนดูเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ตื่นเต้น และผู้ดูจะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ชีวิตจริง เช่น การแสดงโขน ละครรำ ซึ่งฉากและเครื่องแต่งกายจะหรูหราเกินจริง แต่ก็สวยงามประณีตวิจิตรบรรจง มีเสน่ห์ประทับใจคนดู


1.3 องค์ประกอบของละคร ที่สำคัญมี 4 ประการ คือ
1) ต้องมีเรื่อง (Story) ผู้ชมการแสดงจะรู้เรื่องได้โดยวิธีการฟังบทเจรจาของตัวละคร ละครจะมีคุณค่าหรือไม่อยู่ที่ผู้ประพันธ์บทจะต้องมีความสามารถในเชิงกวีโวหาร แสดงออกซึ่งลักษณะนิสัยของตัวละครในวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ
2) ต้องมีเนื้อหาสรุป (Subject) หรือ แนวคิด (Theme) เช่น ต้องการให้เกิดความ รักชาติ ความเสียสละ ความสามัคคี ก่อให้เกิดสติปัญญา สอนคติธรรม ความกตัญญูกตเวที
3) นิสัยตัวละคร (Characterization) บุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทาง ต้องตรงกับนิสัย ตัวละครในเรื่อง
4) บรรยากาศ (Atmostphere) หมายถึง การสร้างบรรยากาศรอบ ๆ ที่เกี่ยวกับตัวละคร จะต้องกลมกลืนกับการแสดงของตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับเรื่องได้ เช่น บรรยากาศสดชื่น รื่นเริง แจ่มใส โศกเศร้า ดุเดือด ตื่นเต้น หวาดเสียว น่ากลัว วังเวง

2.1 ประวัติความเป็นมาของละครไทย ละครไทยมีประวัติความเป็นมาแต่ละสมัย ดังนี้
1) สมัยน่านเจ้า ในสมัยนี้พบว่ามีนิยายเรื่องหนึ่งคือ “ มโนห์รา ” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ในอาณาจักรน่านเจ้าเดิมนั่นเอง
2) สมัยสุโขทัย เป็นสมัยที่ริเริ่มมีความสัมพันธ์กับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมที่ดีของชาติที่สมาคมด้วย ไทยได้รับ วัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้ามาพัฒนาและกำหนดแบบแผนศิลปะการแสดงเป็นของไทย เรียกการแสดงนี้ว่า “ โขน ละคร ฟ้อนรำ ”
3) สมัยอยุธยา การละครของไทยมีแบบแผนมากขึ้น มีการแสดงที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และโขน
4) สมัยธนบุรี เป็นช่วงหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ รวบรวมศิลปินตลอดจนบทละครเก่า ๆ ที่กระจัดกระจายไปเข้ามาอยู่รวมกัน และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ หนุมานเกี้ยวนางวานริน ท้าวมาลีวราชว่าความ ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด ( เผารูปเทวดา ) พระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท และปล่อยม้าอุปการ ในสมัยนี้มี คณะละครหลวงและเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง
5) สมัยรัตนโกสินทร์ การละครไทยได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ตามลำดับดังนี้
สมัยรัชกาลที่ 1 มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำไว้เป็นหลักฐานสำคัญ มีบทละครที่ปรากฏตามหลักฐาน 4 เรื่อง คือ อุณรุท รามเกียรติ์ ดาหลัง และอิเหนา สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นสมัยที่วรรณคดีรุ่งเรืองมากที่สุด เป็นยุคทองแห่งศิลปะการละคร มีนักปราชญ์ราชกวี 3 ท่าน คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี และสุนทรภู่ มีบทละครในและละครนอกเกิดขึ้นหลายเรื่อง คือ บทละครใน เรื่อง อิเหนาและรามเกียรติ์ บทละครนอก เรื่อง ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิชัย

สมัยรัชกาลที่ 3 ทรงให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้เกิดละครของเจ้านายและขุนนางหลายคณะ หลายโรง มีบทละครเกิดขึ้นมากมาย
สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงฟื้นฟูละครหลวงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สมัยรัชกาลที่ 5 การละครเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการละครตะวันตกได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดละครประเภทต่าง ๆ เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครพูด และ ลิเก
สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นสมัยที่การละครได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด นับได้ว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปะการแสดงละครยุคที่ 2 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น และทรง พระราชนิพนธ์บท โขน ละคร ฟ้อนรำ ไว้เป็นจำนวนมาก
สมัยรัชกาลที่ 7 มีละครแนวใหม่เกิดขึ้นคือละครเพลงหรือเป็นที่รู้จักกันว่า ละครจันทโรภาส ตลอดทั้งมีละครหลวงวิจิตรวาทการเกิดขึ้น
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 การแสดง ละครได้แสดงกันอย่างแพร่หลาย เพราะเหตุว่าภาพยนตร์ฉายไม่ได้ ละครอาชีพจึงเกิดขึ้นมากมายเรียกว่า “ ละครย่อย ” ส่วนใหญ่จะแสดงประเภทตลก ๆ พอหลังสงครามละครย่อยก็หายไป ต่อมาก็มีละครแบบใหม่เกิดขึ้นอีก คือ ละครวิทยุ ละครเวที และละครโทรทัศน์ ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
2.2 ประวัติความเป็นมาของละครสากล ต้นกำเนิดของละครสากลทั้งตะวันตกและตะวันออกเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกันประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยอียิปต์เป็นชาติแรกที่มีการแสดงที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก อียิปต์เป็นต้นกำเนิดของศิลปะหลายแขนง มีศิลาจารึกมากกว่า 4,000 ปี
1) สมัยอียิปต์ ก่อน คศ . 4 , 000 – 3 , 000 ปี จากศิลาจารึก ภาพเขียน และภาพจารึกในหลุมฝังศพของกษัตริย์อียิปต์โบราณในพีระมิดจะพบหลักฐานการแสดงละครสมัยแรกเป็นการแสดงกลางแจ้ง เพื่อประกอบพิธีบูชาเทพเจ้าโอซิริส (Osiris) โดยมีกษัตริย์อีเธอร์โนเฟรด (Ithernofret) ทรงแสดงเป็นตัวนำเอง มีขบวนเรือ จัดแสดงฉากรบที่เห็นจริงเห็นจังกลางแจ้งติดต่อกัน 3 วัน
2) สมัยกรีก – โรมัน ก่อน คศ . 535 – 200 ปี จุดเริ่มต้นการละครของกรีกเหมือนกับอียิปต์ คือเริ่มด้วยการขับร้องและเต้นรำ เพื่อบูชาเทพเจ้า ไดโอนิซัส (Dionysus) อันเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นและความอุดมสมบูรณ์ (God of Vine & Fertility) จะทำกลางแจ้ง สร้างแท่นบูชาที่เชิงเขา ประชาชนจะมาร้องเพลงและเต้นไปรอบ ๆ แท่นบูชานี้ และมีการฆ่าแพะบวงสรวงด้วย ต่อมาการเต้นและการร้องเพลงสดุดีเทพเจ้านี้ได้กลายเป็นละคร โดยละครกรีกรุ่นแรกจะเป็นแบบโศกนาฏกรรม (Tragedy) เมื่อผู้ชมเริ่มเบื่อหน่ายจึงเกิดการแสดงละครแบบสุขนาฏกรรม (Comedy) ครั้นกรีกเสื่อมอำนาจพวกโรมันก็นำการแสดงของกรีกมาปรับปรุง เพิ่มฉากหวาดเสียว มีฉากรบ ฆ่าสัตว์ และการต่อสู้
3) สมัยยุโรปสมัยกลาง คศ . 506 – 1500 ปี เอาแบบอย่างมาจากกรีก แต่นิยมเต้นรำทำท่า ทำให้เกิดความนิยมละครใบ้ หรือ แพนโทไมม์ ( Pantomime ) ไม่มีเสียงร้อง มีแต่ท่าทาง ละครในสมัยกลางเกิดจากวัดและโบสถ์ แสดงในวันอีสเตอร์และวันคริสต์มาส พระได้ใช้การแสดงละครประกอบในการสอนศาสนา
4) สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา หรือ สมัยเรอเนซองส์ คศ . 1500 – 1700 ปี ละครยุดนี้ไม่เกี่ยวกับศาสนา แสดงเหตุการณ์ที่ร้าย ๆ น่ากลัว มีทั้งเรื่องโศกเศร้าและสมหวังอยู่ในเรื่องเดียวกัน
5) สมัยโรแมนติก คศ . 1700 – 1850 ปี เป็นละครที่เกี่ยวกับเลือดเนื้อ มีเรื่องเกี่ยวกับผี ปีศาจ
6) สมัยสัจจนิยม คศ . 1900 – 1950 ปี เริ่มเป็นละครสมจริงสมจัง เนื้อเรื่องสะท้อนความเป็นจริง
7) สมัยปัจจุบัน คศ . 1950 ปี ละครสมัยนี้เจริญขึ้นทุกด้าน มีการเอาศิลปะต่าง ๆ เข้ามาผสม เช่น ศิลปะการแต่งกาย การวาดภาพ การใช้แสง สี เสียง หรือแม้แต่การนำเอาเครื่องอีเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการแสดง นอกจากนี้ยังมีการนำเอา ระบำพื้นเมือง ( Folk Dance ) และ ระบำสมัยใหม่ ( Modern Dance ) เข้ามาประกอบในละคร เพื่อให้สมจริงสมจังยิ่งขึ้น
3.1 รูปแบบของละครไทย ละครไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1) ละครรำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ละครรำแบบดั้งเดิม ( ละครรำโบราณ ) ได้แก่ ละครโนห์รา - ชาตรี ละครนอก และละครใน
1.2 ละครรำที่ปรับปรุงขึ้น ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง และละครเสภา
• ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ( ไม่ใช่ละครรำ ) ได้แก่ ละครร้อง ละครสังคีต และละครพูด

1) ละครรำ เป็นละครประเภทที่ใช้ศิลปะการร่ายรำดำเนินเรื่อง มีการขับร้องและเจรจา เป็นกลอนบทละคร ละครรำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ละครรำแบบดั้งเดิม ( ละครรำโบราณ ) ได้แก่
ละครโนห์รา - ชาตรี ถือว่าเป็นต้นแบบของละครรำ นิยมใช้ ผู้ชายแสดง มีตัวละคอน 3 ตัว คือ ตัวพระ ตัวนาง และเบ็ดเตล็ด ( เป็นตลก , ฤษี ฯลฯ ) เรื่องที่เล่นคือ “ มโนห์รา ” ตอน จับนางมโนห์รามาถวายพระสุธน การแสดงเริ่มด้วยการบูชาครูเบิกโรง ผู้แสดงออกมารำซัดไหว้ครู โดยร้องเอง รำเอง ตัวตลกที่นั่งอยู่เป็นลูกคู่เมื่อร้องจบจะมีบทเจรจาต่อ
ละครนอก ดัดแปลงมาจากละครโนห์รา - ชาตรี เป็นละครที่เกิดขึ้นนอกพระราชฐาน เป็นละครที่คนธรรมดาสามัญนิยมเล่นกัน ผู้แสดงเป็นชายล้วน ไม่มีฉากประกอบ นิยมเล่นกันตามชนบทท่ารำและเครื่องแต่งกายไม่ค่อยพิถีพิถัน เรื่องที่ใช้แสดงละครนอกเป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เช่น สังข์ทอง มณีพิชัย ไกรทอง สังข์ศิลป์ชัย โม่งป่า พิกุลทอง การะเกด เงาะป่า ฯลฯ การแสดงดำเนินเรื่องรวดเร็ว โลดโผน ในบางครั้งจะพูดหยาบโลน มุ่งแสดงตลก ใช้ภาษาตลาด และไม่คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี
ละครใน เป็นละครที่พระมหากษัตริย์ทรงดัดแปลงมาจากละครนอก ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน และแสดงในพระราชฐานเท่านั้น การแสดงละครในมีความประณีตวิจิตรงดงาม ท่ารำต้องพิถีพิถันให้มีความอ่อนช้อย เครื่องแต่งกายสวยงาม บทกลอนไหเราะ สำนวนสละสลวยเหมาะสมกับท่ารำ เพลงที่ใช้ขับร้องและบรรเลงต้องไพเราะ ช้า ไม่ลุกลน เรื่องที่ใช้แสดงมี 3 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ และอุณรุท
1.2 ละครรำที่ปรับปรุงขึ้น ได้แก่
ละครดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นำแบบอย่างมาจากละครโอเปร่า (Opera) ของยุโรป ลักษณะการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ ผู้แสดงร้องและรำเอง ไม่มีการบรรยายเนื้อร้อง ผู้ชมต้องติดตามฟังจากการร้องและบทเจรจาของผู้แสดง
ละครพันทาง เกิดหลังละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครรำแบบละครนอกผสมละครในมีศิลปะของชาติต่าง ๆ เข้ามาปะปนตามท้องเรื่อง ทั้งศิลปะการร้อง การรำ และการแต่งกาย ผสมกับศิลปะไทย โดยยึดท่ารำไทยเป็นหลัก นิยมแสดงเรื่อง ราชาธิราช พระลอ สามก๊ก พญาน้อย ฯลฯ
ละครเสภา เป็นละครที่ดำเนินเรื่องด้วยการรำประกอบบทร้องและบทขับเสภา มีเครื่องประกอบจังหวะพิเศษคือ “ กรับเสภา ” เรื่องที่นิยมแสดงคือ ขุนช้าง - ขุนแผน ไกรทอง


2) ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ( ไม่ใช่ละครรำ ) ได้แก่
2.1 ละครร้อง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีท่ารำ ผู้แสดงจะต้องร้องเอง เรื่องที่นิยมแสดงคือ ตุ๊กตายอดรัก สาวเครือฟ้า ขวดแก้วเจียระไน
2.2 ละครสังคีต คล้ายละครร้อง ต่างกันที่ละครสังคีตถือบทร้องและบทเจรจาเป็นสำคัญ เท่ากัน จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้
2.3 ละครพูด ดำเนินเรื่องด้วยการพูด ไม่มีการร้อง ผู้แสดงพูดเอง เป็นต้นแบบของละครวิทยุ ละครเวที และละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน

3.2 รูปแบบละครสากล แบ่งออกได้ดังนี้
1) ละครโศกนาฏกรรม (Tragedy)
2) ละครสุขนาฏกรรม (Comedy)
3) ละครอื่น ๆ เช่น ละครครึ่งโศกครึ่งขบขัน (Tragic-Comedy) , ละครชนิดหยาบโลน (Farce) , ละครพูด (Melo-Drama) , ละครใบ้ (Pantomime) , บัลเล่ต์ (Ballet) และละครอุปรากร (Opera)
1) ละครโศกนาฏกรรม (Tragedy) เริ่มจากเรื่องของศาสนาเพื่อสรรเสริญเทพเจ้า ละครชนิดนี้มักลงท้ายด้วยความทรมาน ขมขื่น น่าสงสาร การดำเนินเรื่องประกอบด้วยความเสียใจ ระทม และผิดหวังของตัวละครในเรื่อง บางทีตอนแรกไม่โศกแต่ลงท้ายด้วยความขมขื่นน่าสลดใจ
2) ละครสุขนาฏกรรม (Comedy) ตรงข้ามกับละครโศกนาฏกรรม เนื้อเรื่องเป็นไปในทำนองล้อเลียนสังคม และบุคคลบางประเภท หรือล้อเลียนขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่นิยมเอาเรื่องประวัติศาสตร์มาแต่ง ไม่มีการตาย ไม่มีภัยพิบัติ นอกจากความสนุกสนาน ตัวตลกมักเป็นบุคคลชั้นกลางหรือชั้นต่ำ
3) ละครอื่น ๆ
3.1 ละครครึ่งโศกครึ่งขบขัน (Tragic-Comedy) เป็นละครเบาสมองจบลงด้วยตัวเอกของเรื่องผิดหวัง
3.2 ละครชนิดหยาบโลน (Farce) เนื้อเรื่องตลกขบขัน มีการด่าทอตบตีกัน เนื้อเรื่องดำเนินรวดเร็วจบลงอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ตัวละครตลกขบขัน
3.3 ละครพูด (Melo-Drama) ตัวละครต้องใช้ท่าทางที่ผิดไปกว่าคนธรรมดา มีดนตรีประกอบ มีแต่พูดไม่มีร้อง
3.4 ละครใบ้ (Pantomime) การแสดงของตัวละครเกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย แสดงกิริยาท่าทางประกอบเรื่อง ไม่มีการเจรจา
3.5 บัลเล่ต์ (Ballet) ใช้ดนตรีประกอบการเต้นด้วยลีลาท่าทางต่าง ๆ เป็นการแสดงระบำปลายเท้าประกอบดนตรี มีฉาก แสง สี และเครื่องแต่งกายที่วิจิตรงดงามตระการตา
3.6 ละครอุปรากร (Opera) ใช้ดนตรีเป็นหลักในการแสดง มีการร้องไม่มีการเจรจา ตัวละครร้องโต้ตอบกัน บทร้องเป็นบทร้อยกรอง ประเภทกลอน หรือร่ายตามเนื้อเรื่อง ตัวละครในอุปรากรรูปร่างหน้าตาสำคัญน้อยกว่าคุณภาพของเสียง

ละครใน เรื่อง อิเหนา

ละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช ตอน สมิงพระราม

ละครเป็นทั้งอาหารตาและอาหารใจ เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์มาก ละครตะวันตกจะเกิดขึ้นจากศาสนา คือยึดถือเทพเจ้า การสอนสิ่งที่มีสาระแก่นสารในเรื่องคุณธรรมที่ควรยึดถือในสมัยนั้น แต่ละครของไทยเกิดขึ้นเพื่อต้องการผ่อนคลายความเครียดจากการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ประจำวัน ต่อมาการละครได้เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการแสดงความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง แล้วแต่ว่ามนุษย์เหล่านั้นจะหาทางออกหรือหาทางแก้ไขอย่างไร นับเป็นสิ่งที่ให้ประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ทุกวัน บางเรื่องอาจแสดงความเพ้อฝัน ความหวังของมนุษย์ที่ไม่อาจเป็นไปได้แต่ก็มีส่วนช่วยให้เกิดความบันเทิง เช่น ละครเทพนิยาย หนังการ์ตูน การเรียนนาฏศิลป์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับละคร จะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชีวิตผู้คนในสังคม ให้แนวคิดและหลักการมากมายที่นักเรียนจะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี การแสดงละครแต่ละเรื่องจะเป็นการจำลองชีวิตจริงของมนุษย์มาแสดงให้เห็นบนเวที บทบาทของตัวละครจะสะท้อนบทบาทของผู้คนในสังคม ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไปตามสภาพของคนในสังคมนั้น ๆ การศึกษาทางด้านละครเท่ากับเป็นการศึกษาแง่มุมของชีวิตมนุษย์ในทุกรูปแบบ ทำให้สามารถเข้าใจปัญหา เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม ภาษาและวรรณคดีมากขึ้น ทำให้เป็นคนมีความรู้กว้างไกล มีความรับผิดชอบต่อตนเองและหมู่คณะได้ดี การที่นักเรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ทั้งในด้านทฤษฎี หลักการ วิธีการ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

นาฏศิลป์สากลหมายถึงอะไร

สำหรับนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตกที่มีการนำไปเผยแพร่และเป็น ที่รู้จักไปทั่วโลกนั้นมีทั้งการฟ้อนรำและละคร ซึ่งจะมีลีลาทางนาฏศิลป์ที่เป็น ลักษณะเฉพาะที่ทุกชาติทุกภาษาเข้าใจ และยอมรับได้ โดยมีกานนำนาฏศิลป์ ด้านนั้น ๆ มาเผยแพร่ในประเทศของตน จนกลายเป็นนาฏศิลป์สากลประจำชาติ

ตัวละครตัวแรกของละครสากลคือใคร

เอสคีลัส.

การละครสากลแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

Tu-eveningการละครตะว ....
ละครตะวันตก 4 ยุค ละครตะวันตกแบ่งได้เป็น 4 ยุคคือ 1 ละครยุคแรก 2 ละครยุคสมัยกลาง ... .
ยุคแรก ละครยุคแรก ถือเป็นรากฐานของตะวันละครตะวันตกคือ ... .
ยุคกลาง ละครสมัยกลาง ถือเป็นยุคมืด ประเภทของละคร ... .
ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา ละครยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาละครที่เด่นในสมัยนี้คือ 1) ละครในอิตาลี ละครในอิตาลีมี 3 ประเภทคือ.

นาฏศิลป์ที่จัดว่าเป็นนาฏศิลป์สากลนั้นจะต้องมีลักษณะอย่างไร

19.นาฏศิลป์ที่จัดว่าเป็นนาฏศิลป์สากลนั้นจะต้องมีคุณลักษณะอย่างไร? เป็นการแสดงเอกลักษณ์ประจำชาติต่างๆ มีลักษณะเฉพาะที่ทุกชาติเข้าใจ ยอมรับ ฝึกหัดและเผยแพร่ไปทั่วโลก เป็นการแสดงที่รู้จักกันดีเปิดแสดงไปทั่วโลก