โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด

สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม

เป็นสถาบันส่งเสริม สนับสนุน และให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรมในด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่อยู่: ชั้น 7 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ เลขที่ 2 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ (มทรก.) เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.00-17.30

เบอร์ติดต่อ: 0-2345-1245-56

Email:

Social Connect

สมัครลง Banner บนเว็บไซต์

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์

โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด

โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
Who's Online : 1

โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
Your IP Address : 168.235.74.120

โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
  
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด
  
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด

16 กุมภาพันธ์ 2556

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประกอบพิธีเปิดโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม “เวสต์ ห้วยบง 2” และ “เวสต์ ห้วยบง 3” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอด่านขุนทด และอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเริ่มเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) แล้ว โครงการดังกล่าวจะช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศมั่นคงให้ดียิ่งขึ้น ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า และกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลผลิตไฟฟ้ากว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้า ให้ได้ 9,201เมกะวัตต์ ในปี 2564 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพลังงานลม 1,200 เมกะวัตต์ และความสำเร็จของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม “เวสต์ ห้วยบง 2” และ “เวสต์ ห้วยบง 3 ได้สะท้อนถึงผลสัมฤทธิของนโยบายดังกล่าวเป็นอย่างดี

โครงการ “เวสต์ ห้วยบง 2” และ“เวสต์ ห้วยบง 3” เป็นการนำพลังงานจากลม ซึ่งไม่มีวันหมดและเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลที่นับวันจะหมดไป ทั้งสองโครงการจะผลิตพลังงานไฟฟ้าป้อนระบบสายส่งของ กฟผ. ปีละ 350 ล้านหน่วย ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพราะสามารถลดการนำเข้าน้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ 96.4 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นเงินประมาณ 2,040 ล้านบาทต่อปี และลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อนเพราะการเผาไหม้ เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ถึง 270,176 ตันต่อปี

โครงการ “เวสต์ ห้วยบง 2” ดำเนินการโดยบริษัท เค.อาร์.ทู จำกัด ส่วนโครงการ “เวสต์ ห้วยบง 3”  ดำเนินการโดย บริษัท เฟิร์ส โคราช วินด์ จำกัด ซึ่งทั้งสองโครงการมีบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 20 บริษัท อีโอลัส พาวเวอร์ จำกัด ในเครือบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด และ บริษัท จูบุ อิเล็คทริค เพาเวอร์ โคราช บีวี ร่วมลงทุนในอัตราส่วนร้อยละ 60 และ 20 ตามลำดับ มูลค่าการลงทุนสองโครงการรวมกันทั้งสิ้น 13,053 ล้านบาท

แต่ละโครงการประกอบด้วยกังหันลมผลิตไฟฟ้าจำนวน 45 ต้น กำลังการผลิตต้นละ 2.3 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตติดตั้งโครงการละ 103.5 เมกะวัตต์ ทั้งสองโครงการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าประเภท Non-firm สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) กับ กฟผ. ระยะเวลา 25 ปี และยังได้รับเงินสนับสนุนค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม (Adder) จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) จำนวน 3.50 บาทต่อหน่วยเป็นระยะเวลา 10 ปี

นอกจากนี้ การพัฒนาโครงการฯ ยังนำความเจริญเข้าสู่พื้นที่ ทั้งในด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภค เช่น ถนน ซึ่งทำให้การสัญจรคมนาคมในพื้นที่ดีขึ้น อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ทำการเกษตร ช่วยให้สามารถขนส่งพืชผลทางการเกษตรได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน เจริญเติบโตขึ้น และสร้างรายได้เพิ่มอันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชนอีกด้วย  


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

ส่วนประชาสัมพันธ์

วิวรรณ พยัฆวิเชียร, นวลนาง ชงัดเวช

โทร. 0 2794 9941, 0 2794 9944

อีเมล์:

ย้อนกลับหน้ารวมข่าว
โรงไฟฟ้าพลังงานลมด่านขุนทด


ชาวบ้านโคราช จาก อ.ด่านขุนทด-อ.เทพารักษ์ 957 ราย ยื่นร้องศาล ปค. สั่งปิดโรงไฟฟ้าพลังงานลม “สราญรมย์วินด์ฟาร์ม” อ้าง กกพ.ออกใบอนุญาตไม่ชอบ ไม่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม-ไม่รับฟังความเห็น ปชช.

วันนี้ (17 ก.ย.) นายธีระศักดิ์ ชึขุนทด นายกสมาคมนักกฎหมายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ตัวแทนชาวบ้านจาก ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด และ ต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ จ.นครราชสีมา จำนวน 98 ราย ที่อาศัยติดกับโครงการโรงไฟฟ้าสราญรมย์วินด์ฟาร์ม เดินทางเข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และ บริษัท กรีโนเวชั่น เพาเวอร์ จำกัด (จีเอ็นพี) ต่อศาลปกครองกลาง แผนกคดีสิ่งแวดล้อม ว่า กกพ.ออกใบอนุญาตให้ บริษัท จีเอ็นพี ประกอบกิจการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม โครงการโรงไฟฟ้าสราญรมย์วินด์ฟาร์ม กำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด และ ต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ จ.นครราชสีมา เพื่อจำหน่ายให้แก่หน่วยงานเอกชนและหน่วยงานของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้ชาวบ้านในพื้นที่ จำนวน 957 ราย ไม่สามารถดำรงชีพได้ตามปกติสุข จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ กกพ.และบริษัท จีพีเอ็น รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า

นายธีระศักดิ์ กล่าวว่า เหตุที่ต้องมาฟ้องคดีเนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวไม่มีการดำเนินการศึกษาประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมนุม ไม่มีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายการประกอบกิจการพลังงงาน พ.ศ.2550 รวมทั้งการอนุมัติการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว ยังไม่เป็นไปตามประกาศ กกพ. ที่กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ว่า ผลกระทบด้านความปลอดภัย ให้กำหนดระยะห่างจากโคนเสากังหันลมไม่น้อยกว่า 3 เท่าของผลรวมของความสูงเสากังหันลมบวกรัศมีใบพัด ถึงเขตที่ดินของบ้าน หรือที่อยู่อาศัยหลังที่ใกล้ที่สุดของชุมชนของเขตชุมชน ซึ่งตามกฎหมายโครงการดังกล่าวต้องอยู่ห่างจากเขตชุมชนไม่น้อยกว่า 630 เมตร แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ตั้งเสากังหันลมห่างจากเขตที่ดินของชาวบ้านที่ชุมนุมไม่ถึง 200 เมตร และเมื่อโรงไฟฟ้าแห่งนี้เปิดดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้ามาตั้งแต่เดือน มี.ค.2561 ได้สร้างมลภาวะเสียงดังรบกวนชาวบ้านในชุมชนโดยรอบโครงการโรงไฟฟ้า ทั้งกลางวัน กลางคืน สร้างเดือดร้อนรำคาญให้กับชาวบ้าน 2 อำเภอ ทั้ง 957 คน จึงต้องมาร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง และขอให้ศาลเปิดไต่สวนฉุกเฉินเพื่อพิจารณาสั่งปิดโรงไฟฟ้าสราญรมย์วินด์ฟาร์มเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา