ความแตกต่างของวัฒนธรรมแต่ละประเทศ

������Ѳ����������ѧ���֧ᵡ��ҧ�ѹ �Ҵ٤������¢ͧ�Ѳ�����ѹ��͹
�Ѳ����� �������
Ẻ�ĵԡ����ҧ�ѧ�� �繾ĵԡ���������㹪��Ե��Ш��ѹ����
���к��س��������ͧ�ѧ�����١���¹��� �觼�ҹ ���·ʹ
���繷����дѺ��������� �к������Դ �������� ����繷����дѺ�ٻ����
�� ��Ż� ��觡�����ҧ ���͡�á�з� ���ླյ�ҧ�
�ѧ�����觷�������ѧ�����Ѳ���������ҧ�ѹ�Դ�ҡ ���Ի���� ��ʹ�
�����ҵ���ʹ�ͧ������ �觼ŵ�͡�ô��Թ���Ե �֧��������Ѳ���������ҧ�ѹ仴���

������ͧ�ҡ���л���ȹ������Ҿ�Ǵ�����ҧ����Ҿ ���ɰ�Ԩ
����֧�Է�ҡ�����෤����շ��ᵡ��ҧ�ѹ ��ʹ��������������ѹ�ҧ�ѧ��
����Ҩ������Դ�����Ѵ��� �����Դʧ���� ������ô�ç������� �Ѳ������դ���ᵡ��ҧ�ѹ��

1.วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นสังคมที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ลักษณะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จึงมีความคล้ายคลึงกัน นั่นคือใช้วัสดุที่เป็นไม้สร้างบ้านยกพื้นให้สูงขึ้นจากพื้นดิน พื้นบ้านปูด้วยไม้กระดาน ฝาบ้านใช้ไม้กระดานตีสูงขึ้น และมีช่องลมเพื่อระบายอากาศในบ้าน ส่วนหลังคามีความลาดชัน และมีชายคายาวยื่นออกมาเพื่อป้องกันแดดและฝนได้ดี มีการกั้นเป็นห้องๆโดยการต่อเรือนออกไป บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงมีลักษณะสูงโปร่ง มีหน้าต่างหลายบาน ส่วนใต้ถุนบ้านก็จะใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ หรือเลี้ยงสัตว์

 

2.วัฒนธรรมด้านการนับถือศาสนา ศาสนาสำคัญที่เผยแพร่เข้ามาและได้รับการยอมรับนับถือจากชนชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไ ด้แก่ พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทย ลาว กัมพูชานับถือ ดังนั้น ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของเมียนมา ลาว กัมพูชา ก็จะคล้ายคลึงกับไทย เช่น ทำบุญตักบาตร เป็นต้น
สำหรับประเทศมาเลซีย บรูไน อินโดนีเซีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีวัฒนธรรมแบบอิสลาม ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์ ประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม นับถือหลายศาสนาแต่นับถือลัทธิธรรมเนียมตามแบบจีนเป็นหลัก

 

3.วัฒนธรรมด้านประเพณีและพิธีกรรม หากชาติใดมีการนับถือศาสนาเป็นพระพุทธศาสนา ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ก็จะคล้ายคลึงกับไทย เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นต้น สำหรับประเพณีอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาพบว่าหากเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย เช่น เมียนมา ลาว กัมพูชา ก็จะมีประเพณีหลายอย่างคล้ายคลึงกับไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เพียงแต่รายละเอีดของการจัดพิธีอาจจะแตกต่างกันออกไป ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมการแสดงความเคารพด้วยการไหว้ของคนไทย ชาติเหล่านี้ก็จะมีธรรมเนียมการไหว้เช่นเดียวกัน
สำหรับชาติอื่นๆ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบอิสลาม เวียดนามกับสิงคโปร์จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบจีนและมีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสาน ส่วนชาติที่มีแบบแผนประเพณี พิธีกรรมเหมือนอย่างตะวันตก คือ ฟิลิปปินส์

 

4.วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การแต่งกายของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากไม่นับชุดพื้นเมืองและชุดประจำชาติก็จะแต่งกายไม่แตกต่างกัน คือ ในสังคมเมืองผู้ชายนิยมสวมเสื้อกับกางเกง ผู้หญิงสวมเสื้อกับกางเกงหรือกระโปรง แต่ในชนบทผู้หญิงจำนวนมากก้ยังสวมเสื้อกับผ้าซิ่นกันอยู่
ทั้งนี้ชุดประจำชาติของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เมื่อดูแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าชุดแต่งกายนั้นๆเป็นของชนชาติใด

 

5.วัฒนธรรมด้านภาษา ประเทศเพื่อนบ้านที่มีภาษาพูดและเขียนคล้ายคลึงกับไทยก็คือลาวเพียงชาติเดียว ส่วนชาติอื่นใช้ภาษาของตน ไม่ว่าจะเป็นเมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยที่ภาษาอังกฤษและภาษาจีนจะเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันได้ทั่วทั้งภูมิภาค

�Ҿ�ҡ Web Site
http://www.timmyflowers.com/images/1191903039/IMGA0657.JPG
http://www.silpathai.net/wp-content/uploads/2014/07/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5
%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9
%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.jpg
�������Ҿ � �ѹ��� 9-11-59

การใช้ชีวิตและการเรียนในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นการผจญภัยอย่างหนึ่งที่น่าตื่นเต้นและตื่นตาตื่นใจ อย่างไรก็ตามการเตรียมตัวคุณให้พร้อมเพื่อรับมือกับความเหงาคิดถึงบ้าน คนในครอบครัวและเพื่อนจากที่ที่คุณจากมาถือเป็นเรื่องที่ควรทำ Cansu Alemdar บรรณาธิการของ Hotcourses จากประเทศตุรกี ผู้ที่เคยเรียนในประเทศตุรกี อเมริกาเหนือและสหราชอาณาจักร มีคำแนะนำเกี่ยวกับการรับมือกันวัฒนธรรมที่แตกต่างสำหรับนักเรียนต่างชาติมาให้อ่านกัน


เมื่อคุณเริ่มใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างมากด้วยตัวคุณเอง ความคิดและความเชื่อของคุณจะถูกท้าทาย คุณจำเป็นต้องหนักแน่นและระลึกอยู่ตลอดว่าคุณจะได้รับประสบการณ์อันมีค่า

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อคุณพยายามปรับตัวเข้าสู่สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคมใหม่ คุณควรตระหนักว่าประสบการณ์ที่คุณได้รับจะเป็นบทเรียนหน้าใหม่ในชีวิตของคุณซึ่งจะช่วยให้คุณปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น ในตอนแรกคุณอาจจะรู้สึกเขินอาย ไม่ปลอดภัยและเป็นทุกข์อยู่บ้าง ทุกสิ่งรอบตัวดูเหมือนเป็นสิ่งใหม่แปลกตาเนื่องจากมันแตกต่างจากสิ่งที่คุณคุ้นเคยและเติบโตมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน นิสัยใจคอของผู้คน สภาพอากาศ เป็นต้น แล้วยิ่งถ้าภาษาอังกฤษของคุณไม่แข็งแรงพอด้วยแล้วคุณก็จะรู้สึกเครียดมากขึ้นไปอีก สิ่งแรกที่คุณควรทำคือยอมรับความจริงที่ว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นกับทุกคนที่ย้ายเข้าไปอยู่ในต่างประเทศ เมื่อคุณเริ่มคุ้นเคยกับบ้านใหม่แล้วคุณก็จะเริ่มปรับตัวรู้สึกเป็นตัวของตัวเองเช่นเดิม

ลองอ่านคำแนะนำจากผู้ที่ผ่านประสบการณ์วัฒนธรรมที่แตกต่างมามากว่าหนึ่งครั้ง ซึ่งอาจจะช่วยให้คุณก้าวผ่านประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายขึ้น

• รู้จุดมุ่งหมายของตัวเอง คุณต้องเตือนคุณเองอยู่เสมอว่าเหตุผลที่คุณมาเรียนที่ต่างประเทศ เรียนในสถาบันการศึกษาชั้นสูงก็เพื่อเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอนาคตของคุณ

• เปิดใจและรับกับความเป็นจริง ผู้คนในประเทศใหม่จะมีความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมที่แตกต่างจากคุณและผู้คนในประเทศของคุณ คุณควรคิดในมุมมองที่กว้างและเข้าใจถึงวัฒนธรรมที่มีผลกระทบอย่างมากต่อพฤติกรรมมนุษย์

• อย่าล้มเลิกความตั้งใจที่ว่างไว้ง่ายๆ หากคุณต้องการความช่วยเหลือ คุณควรถามหาความช่วยเหลือ มันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรม ผู้คน บรรทัดฐานและสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้คุณได้เติบโตขึ้นและพิสูจน์ให้คุณและคนรอบข้างคุณได้เห็นว่าคุณเป็นคนที่มีความอดทน อดกลั้น หากคุณพบว่ามันเป็นเรื่องที่ใหญ่เกินไป มากเกินกว่าที่คุณจะรับมือได้ คุณควรปรึกษากับผู้ให้คำปรึกษาในสถาบันการศึกษาของคุณ ผู้ที่รอให้ความช่วยเหลือกับนักเรียนนักศึกษาเช่นคุณ

ถือเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตใหม่ๆ คุณจะต้องมีความเชื่อมั่น เปิดใจยอมรับและกล้าขอความช่วยเหลือ แล้วคุณจะพบว่าการใช้ชีวิตในต่างประเทศถือเป็นประสบการณ์อันมีค่าและเป็นรางวัลให้กับชีวิตของคุณ

วัฒนธรรมแต่ละภาคของประเทศไทยแตกต่างกันเพราะเหตุใด

ความแตกต่างของวัฒนธรรม ของแต่ละภาค มีสาเหตุมาจาก ความหลากหลายทาง เชื้อชาติศาสนา สภาพทางภูมิศาสตร์ วิถีการดาเนินชีวิต

วัฒนธรรมของแต่ละประเทศมีความสําคัญอย่างไร

1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ 2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย 3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข 4. เป็นเครื่องช่วยให้คนไทยภูมิใจในชาติไทย

วัฒนธรรมเเละประเพณีมีความเเตกต่างกันอย่างไร

วัฒนธรรม Culture คือ สิ่งต่างๆ ที่คนทั่วไปในสังคมปฎิบัติ สืบต่อกันมา แต่ไม่ได้ยึดถือเป๊ะๆ ในทุกรายละเอียด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ไปตามกาลเวลา ประเพณี Tradition คือ สิ่งดีงาม ความถูกต้องที่เรายึดถือปฎิบัติสืบต่อกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน ข้อมูลเพิ่มเติม วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมไทย แตกต่างกันอย่างไร

ข้อใดเป็นความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล

1. วัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญกับจิตใจเป็นสำคัญโดยมุ่งจุดหมายสำคัญ เพื่อขัดเกลาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้เป็นคนดีประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีแต่วัฒนธรรมสากลให้ความสำคัญกับการสะสมทางด้านวัตถุหรือความร่ำรวยเป็นสำคัญโดยไม่สนใจว่าจะสามารถหาทรัพย์มาได้โดยวิธีใดหากบุคคลใดมีทรัพย์สินมากก็จะได้รับการยอมรับจากคนในสังคม