การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

/18

821

จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถ

1 / 18

การปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนควรกระทำที่บุคคลในข้อใดมากที่สุด

บุคคลทุกคน

คนขับรถเท่านั้น

คนเดินเท้าเท่านั้น

ผู้โดยสารเท่านั้น

2 / 18

การขับรถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้ามากเกินไป จะมีผลอย่างไร

เกิดปัญหาการจราจรติดขัด

ลดอุบัติเหตุ

การจราจรคล่องตัวมากขึ้น

จะขับรถด้วยความปลอดภัยมากขึ้น

3 / 18

การใช้ไฟสูงเพื่อไล่รถคันหน้าแสดงว่าผู้ขับขี่ขาดสิ่งใด

การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง

มารยาทในการขับขี่

ความรู้กฎหมายจราจร

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์

4 / 18

เมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ  ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นอันดับแรก

การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

รอประกันภัย

การเคลื่อนย้ายรถที่เกิดเหตุ

รอพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ

5 / 18

การกระทำของผู้ขับขี่ข้อใด ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด

พูดคุยกับคนที่อยู่ข้างๆ

เปิดวิทยุฟังเพลง

โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถ 

ร้องเพลง

6 / 18

พฤติกรรมใดเป็นการใช้สัญญาณไฟสูงที่ถูกต้อง

เปิดไฟสูงขณะขับรถตามหลังรถคันอื่น

เปิดไฟสูงเพื่อไล่รถคันหน้า

เปิดไฟสูงขณะรถสวนกัน

เปิดไฟสูงขณะที่ไม่มีรถสวนทาง

7 / 18

มารยาทที่ดีในการจอดรถ ควรปฏิบัติอย่างไร

จอดบริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอด

จอดรถขวางทางเข้า-ออก

จอดรถซ้อนคัน

จอดไม่กีดขวางผู้อื่นและไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร

8 / 18

ข้อใดที่ผู้ขับขี่ไม่ควรปฏิบัติ

ขับรถด้วยความระมัดระวังขณะฝนตก ถนนลื่น

ให้สัญญาณไฟเพื่อขอแซง

ขับรถด้วยความเร็วสูงในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน

ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

9 / 18

การเปลี่ยนช่องทางจราจร ควรปฏิบัติอย่างไร

เปลี่ยนช่องทางโดยเร็วเพื่อหลบรถคันอื่น

เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางได้เลย

เปลี่ยนช่องทางทันที เมื่อความเร็วเหมาะสม

ดูกระจกมองข้าง เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางเมื่อเห็นว่าปลอดภัย

10 / 18

ข้อใดไม่ใช่การเตรียมความพร้อมเพื่อความปลอดภัยก่อนออกเดินทาง

จัดกระเป๋าก่อนออกเดินทาง

มีสภาพร่างกายจิตใจที่พร้อม

ตรวจสภาพรถก่อนออกเดินทาง

ศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง

11 / 18

ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

รถทุกคัน ต้องวิ่งตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด

รถวิ่งเร็วต้องเปิดไฟสูงตลอดเวลาเพื่อให้มองเห็นทาง

รถเก่า แรงน้อย ต้องหลบซ้าย

รถใหม่ราคาแพง ต้องวิ่งขวา

12 / 18

เมื่อคนกำลังข้ามถนนบริเวณทางข้าม ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร

ถ่มน้ำลายหรือเสมหะลงบนถนน

สูบบุหรี่และเขี่ยทิ้งก้นบุหรี่ลงบนถนน

ตะโกนด่าผู้ขับขี่คันอื่นที่ทำให้ไม่พอใจ

หยุดรถให้คนข้ามถนนบริเวณทางข้าม  

13 / 18

สาเหตุใดที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด

แซงในที่ห้ามแซง

ขับรถตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด

ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

ขับรถจี้ท้ายรถคันหน้า

14 / 18

อุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากอะไร

ผู้ขับขี่

รถ

ถนน

สิ่งแวดล้อม

15 / 18

ข้อใดเป็นการขับรถที่ถูกต้องทั้งกฎจราจรและมารยาทในการขับรถ

การขับรถปาดหน้ารถคันอื่นอย่างกระชั้นชิด

ขับรถช้าๆ ในช่องทางเดินรถทางขวา

ขับรถโดยใช้ความเร็ว 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในกรณีที่ถนนว่าง

เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งก่อนเปลี่ยนช่องทางเดินรถไม่น้อยกว่า 30 เมตร

16 / 18

ข้อความใดที่เตือนใจผู้ขับขี่เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

กล้าได้กล้าเสีย

ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตาย

กระต่ายตื่นตูม

ฆ่าได้แต่หยามไม่ได้

17 / 18

เมื่อเห็นคนเดินเท้าข้ามถนนผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร

ขับผ่านไปได้โดยไม่ต้องหยุดรถ

ต้องหยุดรถให้คนเดินเท้าผ่านไปก่อน 

ใช้การวัดใจ

บีบแตรไล่

18 / 18

ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ขับรถที่ดี

การให้อภัยผู้อื่น

ความรับผิดชอบ

ความอดทนอดกลั้น

ใจร้อน วู่วาม

Your score is

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

สอนขับรถยนต์ facebook    ครูอ๊อต

 มารยาทและจิตสำนึก

การขับรถเข้าวงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรควรปฏิบัติอย่างไร 
    ก ให้รถทางขวามือของเราที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน
    ข ให้รถทางซ้ายมือของเราที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน
    ค ให้รถที่เข้าวงเวียนและจะเลี้ยวซ้ายไปก่อน
    ง ให้รถที่เข้าวงเวียนและจะตรงไปให้ไปก่อน

  การขับรถเลี้ยวบริเวณทางแยกที่มีช่องจราจรมากกว่า 2 ช่องทาง ข้อใดถูกต้อง 
    ก เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้ายหรือขวาขณะอยู่ในทางเลี้ยว
    ข ขับคร่อมช่องจราจรเพื่อตีวงได้กว้างขึ้น
    ค ขับอยู่ในช่องจราจรเดิมตั้งแต่เริ่มเข้าทางแยกจนเลี้ยวเสร็จสิ้น
    ง ขับในช่องจราจรซ้ายสุดแล้วเปลี่ยนไปช่องจราจรด้านขวาในขณะเลี้ยว

  ในกรณีที่ท่านขับรถผ่านซอยที่มีรถรอออกเป็นจำนวนมากควรปฏิบัติอย่างไร 
    ก บีบแตรหรือให้สัญญาณไฟเตือนรถที่จะออกจากซอยก่อนขับผ่านไป
    ข เปิดทางให้รถออกจากซอยได้บ้างสลับกับรถทางตรง
    ค พยายามขับให้ชิดคันหน้าเพื่อไม่ให้รถในซอยแทรกออกมา
    ง ขับรถผ่านซอยด้วยความเร็วเพื่อส่งสัญญาณว่าขอไปก่อน

  ทัศนคติและจิตสำนึกในการขับรถอย่างปลอดภัยของผู้ขับรถคืออะไร 
    ก ขับรถช้า ใจเย็น
    ข ขับรถเก่งคล่องแคล่ว 
    ค ขับรถอย่างมีสติเคร่งครัดวินัยจราจรแสดงออกถึงมารยาทและน้ำใจ
    ง ขับรถดีไม่เกิดอุบัติเหตุ

  สิ่งใดที่ผู้ขับรถไม่ควรทำเมื่อได้รับสัญญาณไฟเขียวให้ขับเคลื่อนรถไปได้ 
    ก ค่อยๆ เคลื่อนรถออกโดยทิ้งช่วงห่างกับคันหน้าพอสมควร
    ข ชะลอให้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่อยู่ด้านหน้าเคลื่อนออกไปก่อน
    ค ตรวจสอบรถในทางแยกอื่นที่อาจวิ่งออกมาก่อนที่จะขับเข้าสู่ทางแยกด้านหน้า
    ง บีบแตรเร่งรถคันหน้าให้เคลื่อนตัวออกโดยเร็ว

   สิ่งใดที่ผู้ขับรถควรทำเมื่อได้รับสัญญาณไฟเหลือง 
    ก ชะลอรถและหยุดรถที่เส้นขาวให้หยุดรถเพื่อป้องกันการขับฝ่าสัญญาณไฟแดง
    ข บีบแตรเร่งรถคันหน้าให้ขับเร็วขึ้นเพื่อให้รถเราไม่ติดสัญญาณไฟแดง
    ค ขับเปลี่ยนเลนเพื่อแซงรถขึ้นไปให้พ้นสัญญาณไฟแดง
    ง ขับตามคันหน้าไปโดยฝ่าสัญญาณไฟแดง

  สิ่งที่ผู้ขับรถควรทำเมื่อเห็นคนยืนบนฟุตบาทและแสดงท่าที่จะข้ามถนนตรงทางม้าลาย 
    ก บีบแตรเตือนคนที่จะข้ามถนนและเร่งความเร็วผ่านไป
    ข แตะเบรกเตือนให้รถหลังรู้ว่าท่านกำลังจะหยุดรถ และหยุดรถตรงทางม้าลาย
    ค ขับรถตามหลังท้ายคันหน้าอย่างกระชั้นชิดโดยไม่หยุดให้คนข้ามถนน
    ง ขับรถแซงคันที่จอดรถให้คนข้ามและขับผ่านไปโดยเร็ว

  การให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องเมื่อขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยก 
    ก ให้สัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อต้องการขับรถตรงไป
    ข ให้สัญญาณไฟเฉพาะเลี้ยวขวาเท่านั้น
    ค ให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อต้องการเลี้ยวซ้ายหรือขวา
    ง ไม่จำเป็นต้องให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวาหรือซ้าย เมื่อขับตามรถคันหน้าที่ให้สัญญาณไฟเลี้ยวไปทางเดียวกัน

  ใครบ้างที่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารไปในรถยนต์เพื่อความปลอดภัยของชีวิต 
    ก คนขับรถและผู้โดยสารทุกคนทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่นั่งตอนหน้าและตอนหลังรถ 
    ข คนขับรถและผู้โดยสารที่นั่งตอนหน้ารถเท่านั้น
    ค คนขับรถและผู้โดยสารที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป เพราะสามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้
    ง คนขับรถและผู้โดยสาร ยกเว้นคนแก่กับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 12 ปีลงมา

   ผู้ขับรถควรทำอย่างไรให้แซงรถได้อย่างปลอดภัยและไม่เสียมารยาท 
     ก บีบแตรให้สัญญาณก่อนแซง เร่งความเร็วแซงซ้ายหรือขวาขึ้นไปตลอดเส้นทางที่รถวิ่ง
     ข ให้สัญญาณไฟก่อนแซงเร่งความเร็วแซงขึ้นไปแซงแล้วรีบหักกลับเข้าช่องทางเดิมในระยะกระชั้นชิดลดความเร็วลงให้เท่ากับรถที่แซงขึ้นไป
     ค บีบแตรให้สัญญาณก่อนแซงเร่งความเร็วแซงขึ้นไปแซงแล้ววิ่งรถคู่ขนานไปกับรถที่แซงขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง
     ง ให้สัญญาณไฟก่อนแซง เร่งความเร็วแซงขึ้นไป เว้นระยะห่างก่อนให้สัญญาณไฟขอกลับเข้าช่องจราจรเดิม เร่งความเร็วรถให้เหมาะสมกับรถที่อยู่ด้านหน้า

  ท่านควรทำอย่างไรเมื่อผู้ขับรถคันอื่นให้สัญญาณไฟขอเข้าใช้ช่องจราจรร่วมกับท่าน 
     ก ให้สัญญาณตอบรับโดยชะลอความเร็ว เว้นระยะให้รถคันนั้นสามารถเปลี่ยนช่องจราจรเบี่ยงเข้ามาได้อย่างปลอดภัย
     ข บีบแตรเตือน รีบขับชิดรถคันหน้า กันไม่ให้เบี่ยงแทรกเข้ามา
     ค ขับชิดรถคันหน้า พยายามเบียดไม่ให้รถคันหน้าแทรกเข้ามาด้านหน้ารถได้
     ง เร่งความเร็วรถเป็นระยะ ไม่เปิดช่องว่างให้แทรกเข้ามาในช่องจราจรของเราได้

  เมื่อขับรถในช่องจราจรขวาสุด และมีรถด้านหลังขับขึ้นมาด้วยความเร็วสูง ท่านควรทำอย่างไร 
     ก ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย และเปลี่ยนไปยังช่องจราจรด้านซ้าย เพื่อให้รถที่มีความเร็วสูงกว่ารถของท่านแซงขึ้นไปอย่างปลอดภัย
     ข เร่งความเร็วหนีรถด้านหลัง พยายามขับทิ้งระยะให้ห่างจากรถคันหลัง
     ค ขับด้วยความเร็วเดิม เพื่อให้รถด้านหลังเปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย
     ง ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย หักหลบไปยังช่องจราจรซ้าย เร่งความเร็วแข่งกับรถในช่องจราจรขวา

  ท่านควรทำอย่างไรเมื่อผู้ขับรถคันอื่นเปิดทางให้ท่านไปก่อนหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรด้วย 
     ก เร่งรถออกไปโดยตัดข้ามไปยังช่องจราจรถัดไปด้วย
     ข ก้มหัวหรือยกมือขอบคุณ พร้อมกับเคลื่อนรถออกไปหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรในลักษณะเร่งร้อน
     ค ก้มหัวขอบคุณ พร้อมกับเคลื่อนรถออกไปหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรที่ขอเข้าร่วมด้วยความระมัดระวัง
     ง ขับรถออกไปหรือเข้าร่วมช่องจราจรแบบช้าๆ และพยายามเบียดข้ามไปยังช่องจราจรถัดไป

  การกระทำใดของผู้ขับรถซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไร้มารยาทและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ 
     ก ขับรถตามรถด้านหน้าโดยเว้นระยะห่างที่เหมาะสม
     ข ขับรถจี้ท้ายรถด้านหน้าที่ขับช้า พร้อมกับบีบแตรไล่
     ค บีบแตรเตือนรถที่กำลังถอยหลังมาชนรถของท่านซึ่งจอดติดไฟแดงอยู่
     ง เปิดไฟตัดหมอกเมื่อฝนตกหนัก

  การใช้ไฟสูงที่ถูกต้องและไม่เสียมารยาท 
     ก เปิดไฟสูงเพื่อตรวจสอบสภาพถนนและริมถนน เฉพาะเส้นทางที่มืดมากและไม่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา และปิดไฟสูงทันทีที่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา
     ข เปิดไฟสูงแทนไฟส่องสว่างเมื่อวิ่งบนถนนต่างจังหวัดที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างสองข้างทางและสามารถมองเห็นไฟท้ายรถคันหน้า
     ค เปิดไฟสูงทุกครั้งเมื่อวิ่งเข้าทางโค้งที่มืดมากและมีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา
     ง เปิดไฟสูงทุกครั้งเมื่อวิ่งบนถนนซึ่งเป็นทางขึ้นเนินหรือลงเนินที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างข้างทางและสามารถ มองเห็นไฟหน้ารถที่วิ่งสวนทางมา

  การกระทำใดของผู้ขับรถซึ่งเป็นการกระทำที่แสดงถึงความมีมารยาทและน้ำใจให้แก่ผู้ใช้ถนนร่วมกัน 
     ก ขับรถแซงคิวแทรกเข้าตรงเชิงสะพานหรือก่อนเข้าซอย
     ข ขับรถบนไหล่ทางเพื่อไปแทรกเข้าด้านหน้าในช่องจราจรปกติ
     ค กลับรถบนถนนที่มีช่องจราจรสวนทางกันในลักษณะกีดขวางการจราจร
     ง ไม่หยุดรถบนเส้นทแยงสีเหลืองหรือบริเวณปากซอยและเปิดทางให้รถในเส้นทางอื่นสามารถขับผ่านไปได้ในขณะที่รถท่านติดการจราจร

  ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องและแสดงมารยาทที่ดีของผู้ขับรถยนต์ 
     ก ไม่ใช่ผู้พิการแต่จอดรถในพื้นที่จอดรถของผู้พิการ
     ข ต้องการไปทางตรงแต่ขับรถในช่องจราจรเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาหรือกลับรถ
     ค กลับรถที่จุดกลับรถทุกครั้งแม้จะอยู่ไกล 
     ง จอดรถขวางรถคันอื่นโดยเข้าเกียร์และเบรกมือ

   เมื่อขับรถเข้าเขตชุมชนที่มีการจราจรติดขัด ผู้ขับรถควรทำอย่างไร 
     ก บีบแตรเพื่อเร่งรถคันหน้าและเตือนคนเดินถนนให้หลีกทางไป
     ข ขับช้าๆ โดยระมัดระวังคนเดิน ใช้แตรเมื่อจำเป็นเพื่อเตือนคนเดินถนนหรือรถคันอื่นเท่านั้น
     ค ขับเบียดรถที่จอดหรือคนเดินถนนโดยล้ำไปยังช่องจราจรที่สวนมา
     ง ขับย้อนศรเพื่อหนีการจราจรติดขัดไปยังเส้นทางอื่น

  ในขณะที่ท่านขับรถและสังเกตเห็นว่าด้านหน้ามีผู้กำลังจะข้ามถนน ท่านจะทำอย่างไร 
     ก พยายามขับรถผ่านไปอย่างรวดเร็ว
     ข บีบแตรเสียงดัง และขับรถผ่านไปอย่างรวดเร็ว
     ค ลดความเร็วและหยุดรถด้วยความปลอดภัย เพื่อให้คนข้ามถนน
     ง เบรกหยุดรถอย่างรวดเร็ว เพื่อให้คนข้ามถนน

  หากมีผู้ขับรถกำลังกลับรถเข้ามาในช่องทางที่ท่านขับรถอยู่ ท่านจะตัดสินใจทำอย่างไร 
     ก มีใจกรุณาโอบอ้อมอารีให้ทางแก่ผู้กลับรถ
     ข หงุดหงิด บีบแตรไล่ แต่หยุดรถให้
     ค เร่งความเร็วเพื่อขอทางไม่ให้กลับรถ
     ง หลบรถโดยแซงไปอีกช่องทางหนึ่ง

  ในการขับรถช่วงเวลากลางคืน ควรที่จะมีการใช้ไฟหน้ารถอย่างไร 
     ก เปิดไฟสูง ตลอดเวลาที่ขับขี่
     ข เปิดทั้งไฟหน้า และไฟตัดหมอก
     ค เปิดไฟหน้า ไฟตัดหมอก และไฟกระพริบฉุกเฉิน
     ง เปิดไฟต่ำเมื่อมีรถอยู่ด้านหน้าและรถสวนทางมา

  การขับรถผ่านช่วงทางโค้ง ทางร่วม ทางแยก ในช่วงเวลากลางคืนควรจะมีวิธีการใช้ไฟหน้ารถที่เหมาะสมอย่างไร  
     ก ชะลอความเร็วก่อนเข้าทางแยก แล้วกระพริบไฟและเปิดไฟฉุกเฉิน
     ข ก่อนเข้าโค้ง ให้กระพริบไฟ และลดเป็นไฟต่ำเมื่อมีรถสวนทาง 
     ค ชะลอความเร็วก่อนเปิดไฟสูง
     ง ชะลอความเร็วก่อนเปิดไฟต่ำ

  การขับรถผ่านชุมชน โรงเรียน หรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ควรปฏิบัติอย่างไร 
     ก ชะลอความเร็ว บีบแตรเสียงดัง และใช้ความระมัดระวัง
     ข ชะลอความเร็ว และใช้ความระมัดระวังในการขับขี่
     ค บีบแตรและชะลอความเร็ว
     ง บีบแตร และเร่งความเร็วเพื่อให้พ้นไปโดยเร็ว

  หากในขณะขับรถ ท่านสังเกตเห็นรถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุกหรือรถอื่นๆ ที่ผู้ขับรถมีพฤติกรรมขับรถประมาท น่าหวาดเสียวและอาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ท่านจะจัดการอย่างไร 
     ก เปิดไฟฉุกเฉินแจ้งเตือนรถคันหลัง
     ข ขับรถขึ้นแซงให้พ้นไปอย่างรวดเร็ว
     ค ขับรถไล่ตาม และบีบแตรเพื่อให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว
     ง ควรชะลอรถให้ห่างจากรถคันดังกล่าว และแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยด่วน

  ท่านคิดว่าข้อใดเป็นการขับขี่ที่ไร้ซึ่งมารยาทอย่างมาก 
     ก ใช้ความเร็วรถปกติ เมื่อมีรถคันอื่นกระพริบไฟขอทาง
     ข ขับรถชิดซ้าย หรือให้ทางแก่รถฉุกเฉิน
     ค ขับรถจี้ท้าย และบีบแตรไล่บนทางด่วน
     ง ชะลอความเร็วให้รถคันอื่นแซง

  ท่านคิดว่าข้อใดเป็นการขับขี่รถที่ไร้ซึ่งจิตสำนึก   
     ก ขับรถในขณะที่อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือดื่มสุรา
     ข ชะลอความเร็วและระมัดระวังเมื่อขับรถผ่านสถานศึกษาที่มีนักเรียนพลุกพล่าน
     ค เมื่อรู้สึกว่าอ่อนเพลีย ง่วงนอน ให้หยุดรถพักผ่อนทันที
     ง ไม่มีข้อใดถูกเลย

  ท่านคิดว่าผู้ขับขี่ ควรปฏิบัติตนอย่างไรในการขับขี่รถให้เกิดความปลอดภัย 
     ก พูดคุยหยอกล้อกับแฟนสาวในขณะขับรถ
     ข ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับรถ
     ค ดื่มสุรา เที่ยวดึก นอนดึกเพื่อตื่นแต่เข้ามาขับรถ
      ง ไม่ประมาท มีวินัย และเคารพในกฎจราจร

  การขับรถบนทางด่วนที่ถูกต้อง เหมาะสม ควรปฏิบัติอย่างไร 
     ก ขับรถช้าในช่องทางด้านขวา
     ข ขับรถอย่างรวดเร็วในช่องทางด้านขวา
     ค ไม่ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
     ง ไม่ให้ขับรถแซงทางด้านซ้าย

  ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด 
     ก ขับรถโดยมีใบขับขี่ที่ถูกต้อง และปฏิบัติตามกฎจราจร
     ข ศึกษาเรียนรู้ในกฎจราจร
     ค ศึกษาเรียนรู้ในกฎจราจรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
     ง ตั้งใจฟังการถ่ายทอดอบรมเพื่อสอบใบขับขี่

  ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง  
      ก ตรวจเช็กบ้าง ไม่ตรวจเช็กบ้าง
      ข ไม่เคยตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษารถ
      ค ตรวจสอบรถปีละ 1 ครั้ง
      ง ตรวจเช็กรถตามคู่มือประจำรถ

  ข้อใด ถือได้ว่าเป็นผู้ขับขี่ที่มีจิตสำนึก 
     ก เตรียมความพร้อมทั้งรถและคนก่อนออกเดินทาง
     ข ตรวจสอบดูแลรักษารถอย่างสม่ำเสมอ
     ค ขับรถเร่งแซงเพื่อให้ถึงที่หมายอย่างรวดเร็วและทันเวลา
     ง ขับรถช้าชิดขวาตลอดเส้นทาง

  การขับรถในช่วงเวลาที่ฝนตกหนักท่านควรขับขี่อย่างไร 
     ก ค่อยๆ ขับ และเปิดไฟสูงหน้ารถ
     ข ลดความเร็ว ขับอย่างระมัดระวัง เปิดไฟหน้ารถและที่ปัดน้ำฝน
     ค ขับอย่างระมัดระวังและเปิดไฟหน้ารถและไฟตัดหมอก
     ง หยุดรถบนถนน และรอจนกว่าฝนจะหยุดตกแล้วค่อยขับต่อไป

  การขับรถในทางขึ้นเขา ลงเขา และมีโค้งอันตรายอยู่ตลอดทาง ท่านควรขับขี่อย่างไร 
     ก เหยียบเบรกตลอดการลงเขาและใช้เกียร์สูง
     ข ต้องเร่งความเร็วของรถเพื่อขึ้นเขาและลงเขา
     ค ต้องใช้ความเร็ว และเกียร์ ให้ถูกต้องเหมาะสม
     ง ใช้เกียร์สูงขณะขึ้นเขา ลงเขา และเข้าโค้ง

  ก่อนใช้รถท่องเที่ยวในระยะทางไกลๆ ท่านควรเตรียมความพร้อมอย่างไร 
     ก ศึกษาเส้นทาง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
     ข ศึกษาเส้นทาง อ่านหนังสือคู่มือท่องเที่ยวจนดึก
     ค เติมน้ำมันหล่อลื่นให้มากกว่าค่าที่กำหนดเผื่อรั่ว
     ง ลดความดันลมยางเพื่อให้เกาะถนนมากขึ้น

  หากมีผู้ขับรถจี้ท้ายรถท่านในช่องทางขวาสุดและบีบแตรไล่หลังทั้งที่ช่องทางด้านซ้ายก็ว่างอยู่ ท่านควรปฏิบัติตนอย่างไร   
     ก แซงไปก่อน แล้วขับรถไล่ตลอดทาง
     ข เร่งความเร็ว ไม่ให้แซงอย่างเด็ดขาด
     ค ขับรถหลีกทาง ทางช่องทางด้านซ้ายอย่างระมัดระวัง
     ง กระพริบไฟด้านซ้ายเป็นสัญญาณให้แซงด้านซ้าย

  ขณะที่รถติด และรถด้านหน้ารถท่านได้ตัดสินใจใช้ช่องทางไหล่ทางด้านซ้าย และมีรถอื่นแล่นตาม ท่านจะทำอย่างไร 
     ก ขับรถในช่องทางเดิม
     ข รีบกระพริบไฟด้านซ้ายให้สัญญาณ และขับตามในทันที
     ค ให้สัญญาณไฟ และแซงซ้ายตามไปอย่างระมัดระวัง
     ง ให้สัญญาณไฟ และแซงขวา ไปในช่องทางที่รถสวนมา

  ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติเมื่ออยู่บนถนน 
     ก ขับรถจี้ท้ายรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันรถอื่นวิ่งสวนทางเข้ามาชน
     ข ขับรถแล้วเจอแสงแดด ยกมือขึ้นมาป้องเพื่อป้องกันแสงเข้าตา
     ค ขับรถย้อนศรเพื่อประหยัดน้ำมัน
     ง ขับรถด้วยความเร็วไม่เกินที่กำหนด และแซงในกรณีที่จำเป็นต้องแซงเท่านั้น

  ในขณะที่ท่านขับรถบนทางหลวง ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด อยู่ในเลนขวาสุด มีรถวิ่งตามมาด้วยความเร็วสูง หรือกระพริบไฟสูงจากทางด้านหลังของท่านเพื่อขอทางสิ่งที่ท่านควรปฏิบัติคือ 
     ก ขับต่อไปตามปกติ เพราะปฏิบัติตามกฎจราจรอยู่แล้ว ไม่ได้ขับรถเร็ว ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย
     ข เปิดทางหลบให้รถดังกล่าวแซงขึ้นไป โดยเปิดไฟเลี้ยวซ้าย แล้วค่อยๆ เบนรถเข้าเลนซ้ายหรือเลนกลาง
     ค ขับรถให้ช้ากว่าเดิม เพื่อกักหรือสกัดให้รถคันหลังขับด้วยความเร็วตามกฎจราจร เช่นเดียวกันกับท่าน
     ง ขับรถเร่งหนีไปด้านหน้าด้วยความเร็วที่สูงกว่ารถคันดังกล่าว

  ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการขับรถให้ถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย 
     ก เร่งรีบขับขี่ เพื่อให้ถึงปลายทางก่อนที่จะมืด
     ข ทำความคุ้นเคยกับรถที่จะขับขี่ ในกรณีที่เป็นรถที่ไม่เคยขับขี่มาก่อน
     ค พักผ่อนให้เพียงพอและไม่ดื่มสุรา
     ง มีจิตสำนึกในการขับขี่อย่างรับผิดชอบ

   ในขณะที่ท่านขับรถอยู่บนถนนและมีผู้อื่นแบ่งปันน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนให้ท่าน ข้อใดไม่ใช่วิธีที่ควรปฏิบัติ 
     ก ส่งยิ้มแสดงการขอบคุณ
     ข โค้งศีรษะแสดงความขอบคุณ
     ค ยกมือขวาขึ้นระดับคิ้วแสดงการขอบคุณ
     ง เปิดไฟสูงแสดงการขอบคุณ

  ในกรณีที่ท่านขับรถผิดกฎหมาย ผิดกฎจราจร หรือก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นเมื่อเจ้าของรถคู่กรณีกำลังเผชิญหน้ากับท่าน สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ 
     ก ขอให้มีการดำเนินตามกฎหมายว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด
     ข จอดรถลงมาถามว่าได้ทำความเดือนร้อนอะไรให้อย่างไร
     ค ยกมือขวาขึ้นระดับคิ้วพร้อมโค้งศีรษะ เพื่อสื่อให้รู้ว่าทำผิดและขอโทษ
     ง รีบขับรถไปจากที่นั้นโดยเร็วที่สุด

  ข้อใดแสดงถึงการมีจิตสำนึกในการขับขี่อย่างปลอดภัย โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย 
      ก บังคับตัวเองให้ปฏิบัติตามกฎจราจรตลอดเวลาที่ขับขี่ โดยไม่ต้องรอให้ตำรวจจราจรบังคับ
      ข ปรับแต่งอุปกรณ์ส่วนควบ และระบบต่างๆ ของรถให้แตกต่างไปจากสภาพที่ออกมาจากโรงงาน
      ค เมื่อถึงทางร่วมทางแยก หากอยู่ในทางเอกต้องไปก่อนเสมอ ไม่จำเป็นต้องให้รถในทางโทเข้ามาร่วมใช้ทาง
      ง เปิดไฟฉุกเฉิน เมื่อจอดรถในที่ห้ามจอด

  ในขณะที่ท่านขับรถอยู่บนถนน มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นด้านหน้าข้อใดไม่ใช่วิธีที่ควรปฏิบัติเพื่อให้รถที่ตามมาด้านหลังทราบว่าท่านมีความจำเป็นต้องชะลอรถหรือหยุดรถ และหยุดรถตามโดยไม่ชนท้ายรถของท่าน 
      ก ประเมินสถานการณ์ด้านหน้ารถและหลังรถ เพื่อให้น้ำหนักในการเบรกเป็นไปอย่างเหมาะสม
      ข ขับรถเข้าไปใกล้รถที่เกิดเหตุแล้วเหยียบเบรกอย่างแรงเพื่อหยุดรถในทันที
      ค ให้สัญญาณไฟเบรกล่วงหน้า โดยใช้เท้าแตะที่แป้นเบรกเป็นจังหวะ 1-2 ครั้ง แล้วจังหวะหยุด
      ง เหยียบเบรกค้างไว้เพื่อให้สัญญาณไฟเบรกติดอยู่จนกระทั่งรถคันหลังที่ขับตามมาทราบล่วงหน้าและเมื่อมาหยุดอยู่ท้ายรถแล้ว จึงค่อยปล่อยเท้าจากแป้นเบรก

  ในการแซงหรือเปลี่ยนเลนต้องปลอดภัยและมีมารยาท ข้อใดไม่ใช่มารยาทที่ดีในการขับรถ 
      ก เมื่อแซงรถคันหน้าได้แล้วปาดหน้าชิดซ้ายทันที
      ข ให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวา ก่อนแซงทุกครั้งเพื่อให้รถคันหน้ารู้ตัวและระมัดระวังหรือให้ทาง
      ค ไม่แซงในที่คับขันหรือห้ามแซง
      ง ถนนยิ่งแคบยิ่งต้องขับช้าๆ และแซงด้วยความระมัดระวัง

  เมื่อรถที่ขับตามหลังมาให้สัญญาณขอแซง มารยาทที่ดีเพื่อแสดงการตอบรับว่ายินยอมให้แซง คือ 
      ก ให้สัญญาณไฟฉุกเฉิน
      ข ให้สัญญาณแตร
      ค ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย
      ง ให้สัญญาณไฟสูง

   ข้อใดเป็นพฤติกรรมในการขับรถที่แสดงให้เห็นว่าผู้ขับมีจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน 
      ก เมื่อขับรถมาถึงทางร่วมทางแยกชะลอความเร็วทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีสัญญาณไฟจราจรหรือไม่
      ข ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรหรือเครื่องหมายจราจร หากไม่ปฏิบัติตำรวจจับเสียค่าปรับ
      ค เมื่อจะเปลี่ยนเลนก็เบียดเข้าไปโดยไม่ให้สัญญาณไฟเพราะหากให้สัญญาณไฟคันข้างๆ จะไม่เปิดช่องให้เปลี่ยนเลนเข้าไป
      ง กรณีที่เป็นทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร ปฏิบัติตามสัญญาณไฟเท่านั้นไม่จำเป็นต้องมองด้านซ้ายและด้านขวา

  ในขณะที่ท่านกำลังขับรถอยู่บนถนน และสังเกตเห็นว่าเบื้องหน้ามีคนกำลังข้ามถนน โดยไม่มีทางม้าลาย ข้อใดถือเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง 
      ก ขับรถผ่านไปตามปกติ เนื่องจากการข้ามถนนที่ปลอดภัยต้องข้ามทางม้าลายเท่านั้น
      ข กระพริบไฟสูงเพื่อเตือนว่าอย่าข้าม แล้วขับผ่านโดยเร็วที่สุด
      ค กดแตรรัวถี่ๆ เตือนว่าอย่าข้ามเพราะอาจถูกรถชนได้
      ง ชะลอความเร็วแล้วหยุดให้ข้าม

  หลังจากประสบอุบัติเหตุและรอดชีวิตมาได้ข้อใดเป็นแนวคิดที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้ขับรถมีจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน 
      ก นายดี  กล่าวว่า  เมื่อวานเพิ่งไปสะเดาะเคราะห์มาไม่งั้นคงไม่รอดแน่
      ข นายเอ  กล่าวว่า  เพราะพระเครื่องที่แขวนคออยู่คุ้มครองปกป้องรักษา
      ค นางบี  กล่าวว่า  ปีนี้หมอดูทายทักไว้ว่าดวงจะดีทำอะไรก็ไม่มีปัญหา
      ง น.ส.ซี  กล่าวว่า  ได้ศึกษาหาความรู้หลักการขับขี่ปลอดภัยอยู่เสมอ

  มารยาทที่ดีในการขับขี่ทำให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปอย่างปลอดภัย ข้อใดเป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติ 
     ก เมื่อขับรถในทางเลี้ยวไม่ว่าจะอยู่เลนไหน โดยมารยาทเลี้ยวแล้วต้องรักษาแนวให้อยู่ในเลนนั้นก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะเปลี่ยนเลนได้
     ข ขณะขับรถในช่องทางขวาแต่ขับตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด หากมีรถมาจ่อท้ายแสดงว่ารถคันนั้นวิ่งเร็วไปไม่ต้องหลบให้ทาง
     ค เมื่อรถ 2 คัน วิ่งมาถึงทางแยกหรือวงเวียนพร้อมกันรถคันไหนเร็วกว่าไปก่อนเสมอ
     ง ไฟตัดหมอกเป็นไฟตกแต่งรถให้สวยงามสามารถเปิดได้ในขณะที่ไม่มีหมอกลง

  ผู้ขับขี่ควรใช้แตรเมื่อใด 
     ก ไล่คนเดินเท้าที่กำลังข้ามทางม้าลาย 
     ข เร่งรถคันหน้าให้ขับเร็วขึ้น
     ค ป้องกันอันตรายหรืออุบัติที่อาจเกิดขึ้นจากรถ 
     ง ทักทายผู้ขับขี่คันอื่นที่รู้จักกัน

  การกระทำของผู้ขับขี่ข้อใด ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด 
     ก พูดคุยกับคนที่อยู่ข้างๆ
     ข เปิดวิทยุฟังเพลง
     ค  ร้องเพลง
     ง โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถ

  มารยาทในการขับขี่ที่ผู้ขับรถควรกระทำคือข้อใด 
      ก ถ่มน้ำลายหรือเสมหะลงบนถนน
      ข สูบบุหรี่และเขี่ยทิ้งก้นบุหรี่ลงบนถนน
      ค หยุดรถให้คนข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย  
      ง ตะโกนด่าผู้ขับขี่คันอื่นที่ทำให้ไม่พอใจ

  สำนวนใดที่เตือนใจผู้ขับขี่เพื่อให้เกิดความปลอดภัย 
      ก ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตาย
      ข กล้าได้กล้าเสีย
      ค ฆ่าได้แต่หยามไม่ได้
      ง กระต่ายตื่นตูม

  การปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนควรกระทำที่บุคคลในข้อใดมากที่สุด 
     ก บุคคลทุกคน
     ข คนขับรถเท่านั้น
     ค คนเดินเท้าเท่านั้น
     ง ผู้โดยสารเท่านั้น

  เมื่อเห็นคนเดินเท้าข้ามถนนผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร 
     ก บีบแตรไล่
     ข ขับผ่านไปได้โดยไม่ต้องหยุดรถ
     ค ใช้การวัดใจ
     ง รถต้องหยุดให้คนเดินเท้าผ่านไปก่อน

  เมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ  ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นอันดับแรก 
      ก การเคลื่อนย้ายรถที่เกิดเหตุ
      ข การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
      ค รอประกันภัย
      ง รอพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ

  การขับรถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้ามากเกินไป จะมีผลอย่างไร 
      ก ลดอุบัติเหตุ
      ข จะขับรถด้วยความปลอดภัยมากขึ้น
      ค เกิดปัญหาการจราจรติดขัด
      ง การจราจรคล่องตัวมากขึ้น

  ข้อใดเป็นการขับรถที่ถูกต้องทั้งกฎจราจรและมารยาทในการขับรถ 
      ก การขับรถปาดหน้ารถคันอื่นอย่างกระชั้นชิด
      ข ขับรถช้าๆ ในช่องทางเดินรถทางขวา
      ค ขับรถโดยใช้ความเร็ว 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในกรณีที่ถนนว่าง
      ง หยุดรถให้คนข้ามถนนในบริเวณที่มีคนข้าม

  ข้อใดที่ผู้ขับขี่ไม่ควรปฏิบัติ 
      ก ขับรถด้วยความระมัดระวังขณะฝนตก ถนนลื่น
      ข ขับรถด้วยความเร็วสูงในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน
      ค ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
      ง ให้สัญญาณไฟเพื่อขอแซง

  การเปลี่ยนช่องทางจราจร ควรปฏิบัติอย่างไร 
      ก เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางได้เลย
      ข เปลี่ยนช่องทางโดยเร็วเพื่อหลบรถคันอื่น
      ค ดูกระจกมองข้าง เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางเมื่อเห็นว่าปลอดภัย 
      ง เปลี่ยนช่องทางทันที   เมื่อความเร็วเหมาะสม

  ข้อใดผิด 
      ก ห้ามแซงซ้ายในที่ห้ามแซงซ้าย
      ข ห้ามพูดโทรศัพท์ขณะขับรถ
      ค ห้ามหยุดหรือจอดรถคุยกันกลางถนน
      ง ห้ามหยุดรถให้คนข้ามทาง

  สาเหตุอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด 
      ก ผู้ขับขี่รถ
      ข สภาพถนน
      ค สภาพรถ
      ง สิ่งแวดล้อม

  สาเหตุใดที่ทำให้การเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด 
      ก ขับรถชิดคันหน้า
      ข ขับรถแซงอย่างผิดกฎหมาย
      ค ขับรถตัดหน้าอย่ากระชั้นชิด
      ง ขับรถเร็วเกิดอัตราที่กำหนด

  ข้อใดเป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ควรกระทำ 
      ก ขับช้าชิดขวา
      ข ขับเร็วชิดขวา
      ค ขับช้าชิดซ้าย
      ง ถูกทุกข้อ

  ข้อใดเป็นมารยาทที่ดีในการขับรถ 
      ก ขับย้อนศรบนไหล่ทาง
      ข เบียดแซงคิวบริเวณคอสะพาน
      ค หยุดรถให้คนข้ามถนน
      ง เปลี่ยนเลนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ

  การจอดรถขวางหน้าประตูบ้านผู้อื่นโดยปลดเกียร์ว่างและไม่ดึงเบรกมือ 
      ก ทำได้เพราะจอดบนถนนสาธารณะ
      ข ไม่ควรทำเพราะสร้างความยากลำบากให้ผู้อื่น
      ค ทำได้เพราะเจ้าของบ้านสามารถเข็นรถให้พ้นทางได้
      ง ไม่ควรทำเพราะรถอาจถูกเข็นไปชนกับวัตถุอื่นจนเสียหาย

  ข้อใดเป็นมารยาทที่ไม่ดีในการขับรถยนต์ 
      ก หยุดรถให้คนข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย
      ข ก้มศีรษะให้เมื่อมีคนให้ทาง
      ค ขับรถแซงคันหน้าในระยะกระชั้นชิด
      ง ไม่เปิดไฟสูงเมื่อมีรถขับสวนทางมา

  สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ 
      ก  คน 
      ข  คน  รถ
      ค  คน  รถ  ถนน
      ง  คน  รถ  ถนน  สิ่งแวดล้อม

   ข้อใด ไม่ใช่การขับรถอย่างปลอดภัยและประหยัดพลังงาน 
      ก เร่งเครื่องก่อนออกรถ
      ข ไม่ควรติดเครื่องยนต์ระหว่างจอดรถคอย
      ค ขับรถด้วยความเร็วที่เหมาะสม
      ง ไม่บรรทุกของเกิดพิกัด

  สาเหตุสำคัญที่ทำให้การขับรถในเวลากลางคืนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าในเวลากลางวันคือข้อใด 
      ก ทัศนวิสัยในการมองเห็น
      ข สภาพร่างกายของผู้ขับขี่และสภาพรถไม่พร้อม
      ค คนขับหลับในเนื่องจากเหนื่อยล้า
      ง ขับรถในขณะมึนเมา

  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง 
       ก เมื่อมีรถวิ่งสวนมา ควรใช้ไฟต่ำ
       ข เมื่อวิ่งตามหลังรถคันหน้าสามารถเปิดไฟสูงได้ เพราะไม่มีผลต่อการขับขี่ของรถคันหน้า
       ค ช่วงเวลาเย็นใกล้มืด จะต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าปกติเพราะเป็นช่วงที่ตาต้องปรับสภาพจากกลางวันไปสู่กลางคืน
       ง การขับรถในเวลากลางคืนควรใช้ความเร็วให้น้อยกว่ากลางวัน

  เมื่อมีปริมาณรถสะสมจำนวนมากบริเวณเชิงสะพานข้ามแยกที่จะต้องขับรถผ่านควรปฏิบัติอย่างไร 
       ก บีบแตรขอทางเพื่อแทรกเข้าใกล้เชิงสะพาน
       ข เปิดไฟเลี้ยวขอแทรกเข้าใกล้เชิงสะพาน
       ค เปิดไฟสูงเพื่อขอแทรกเข้าใกล้เชิงสะพาน
       ง ขับไปต่อท้ายแถวรถที่ติดสะสมอยู่

  ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่สามารถกระทำได้ในกรณีการใช้ไฟสูง 
       ก ใช้ไฟสูงเพื่อส่องดูป้ายบอกทางหรือทางข้างหน้าเป็นครั้งคราว
       ข ใช้ไฟสูงขณะทีมีรถอยู่ข้างหน้า หรือมีรถสวนมา
       ค ไม่พอใจพฤติกรรมการขับรถของรถคันหน้าจึงใช้ไฟสูง เพื่อให้คนขับรถคันหน้ารู้ตัว
       ง ใช้ไฟสูงเพื่อให้คนขับรถคันอื่นทราบว่า ต้องใช้ความเร็วสูง โปรดอย่างขวางทาง

  การจอดรถขวางทางคันอื่น  ควรปฏิบัติอย่างไร 
       ก ใส่เบรกมือไว้
       ข ปลดเกียร์ว่าง ไม่ใช้เบรกมือ
       ค ใส่เกียร์เดินหน้า
       ง ใส่เกียร์ถอยหลัง

  ข้อใดไร้จิตสำนึก และอาจก่อให้เกิดอันตรายมากที่สุด 
       ก ติดไฟสีน้ำเงินส่องสว่างบริเวณป้ายทะเบียนรถ
       ข เปิดเพลงเสียงดังแล้วเปิดกระจกรถ
       ค ถ่มน้ำลายออกนอกตัวรถ
       ง ขว้างกระป๋องเครื่องดื่มออกนอกตัวรถขณะรถแล่น

  หากพบรถฉุกเฉินเปิดสัญญาณเสียงไซเรนกำลังวิ่งตามหลัง ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร 
       ก เปิดไฟฉุกเฉินและเร่งความเร็วทันที
       ข เปลี่ยนช่องจราจรไปทางด้านขวาทันที
       ค เปลี่ยนช่องจราจรไปทางด้านซ้ายทันทีเมื่อปลอดภัย
       ง เปิดไฟเลี้ยวขวาและขับรถต่อไป

  ข้อใดต่อไปนี้เป็นการใช้สัญญาณแตรที่ถูกต้อง 
       ก เตือนผู้อื่นให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากรถ
       ข ใช้เพื่อเร่งรถข้างหน้าให้ขับเร็วขึ้น
       ค ไล่คนเดินเท้าที่กำลังข้ามถนน
       ง ใช้เพื่อทักทายคนรู้จัก

  จากรูป หากท่านกำลังขับขี่เข้าสู่บริเวณทางม้าลายท่านควรปฏิบัติอย่างไร 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก ขับด้วยความเร็วเท่าเดิม
       ข ลดความเร็วลง
       ค บีบแตร
       ง เพิ่มความเร็ว

  จากรูป รถคันสีแดงควรปฏิบัติอย่างไร 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก รอจนกว่าคนเดินเท้าจะเดินผ่านไปแล้วจึงเลี้ยว
       ข โบกมือและตะโกนต่อว่าเพื่อเร่งให้ผู้คนเดินผ่านไป
       ค บีบแตรไล่เพื่อไม่ให้ผู้คนเดินผ่าน
       ง ขับเข้าไปใกล้คนเดินเท้าในระยะกระชั้นชิด

  จากรูป รถคันสีเหลืองควรปฏิบัติอย่างไร

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก ใช้สัญญาณแตรเพื่อให้รถคันอื่นหยุดให้ท่าน
       ข ขับออกไปทันที
       ค ค่อยๆ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าทีละน้อย
       ง เลี้ยวซ้ายแล้วกลับรถที่จุดกลับรถ

  จากรูป เมื่อท่านต้องการที่จะเลี้ยวซ้ายเข้าซอย ท่านควรปฏิบัติอย่างไร 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก หยุดรอ
       ข ใช้สัญญาณแตรไล่ผู้เดินเท้า
       ค ขับเข้าไปใกล้ผู้เดินเท้าในระยะกระชั้นชิด
       ง โบกมือไล่ผู้เดินเท้าให้รีบเดินข้ามถนน

  จากรูป รถที่อยู่บริเวณทางม้าลาย ควรปฏิบัติอย่างไร  

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก ใช้สัญญาณแตรเพื่อไล่ผู้เดินเท้า
       ข ขับเข้าไปต่อท้ายรถคันหน้า
       ค ขับเข้าไปทับทางม้าลาย
       ง หยุดรถก่อนถึงทางม้าลาย

  จากรูป เมื่อรถคันสีเหลืองต้องการที่จะขับตรงไป ควรปฏิบัติอย่างไร 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก บีบแตรอย่างต่อเนื่อง
       ข หยุดรอจนกว่ารถข้างหน้าจะผ่านไป
       ค เปิดไฟสูงค้าง
       ง พยายามขับมุดผ่านช่องว่าง

  ข้อใดปฏิบัติได้ถูกต้องในการขับขี่ออกจากซอยไปสู่ถนนใหญ่  
       ก บีบแตรเพื่อขอทางจากรถคันอื่น
       ข ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเลี้ยวก็ได้
       ค หยุดรอให้รถในทางหลักและคนเดินเท้าไปก่อน
       ง ขับออกไปให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลา

  จากรูป ในขณะสัญญาณไฟเขียว หากท่านต้องการจะเลี้ยวขวา แต่ท่านได้ยินสัญญาณรถดับเพลิงมาทางขวามือของท่าน ท่านควร 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก เปิดไฟเลี้ยวขวาเพื่อให้รถดับเพลิงรู้ว่าท่านจะไปก่อน
       ข เลี้ยวขวาไปก่อนรถดับเพลิงจะมาถึง
       ค เลี้ยวไปได้เลยโดยไม่ต้องสนใจรถดับเพลิง
       ง รอให้รถดับเพลิงไปก่อนแล้วจึงเลี้ยว

  จากรูป ในขณะสัญญาณไฟเขียว หากท่านต้องการจะขับตรงไป แต่ท่านได้ยินสัญญาณรถพยาบาลมาทางขวามือของท่าน ท่านควร 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก หยุดรอรถพยาบาลไปก่อน
       ข รีบๆ ขับผ่านไปจะได้ไม่ขวางทางรถพยาบาล
       ค ใช้สัญญาณแตรเพื่อเตือนรถพยาบาลให้รู้ว่าท่านจะไปก่อน
       ง ขับผ่านไปตามปกติ

  หากท่านต้องการที่จะจอดรถดังรูป เพียงชั่วคราวท่านสามารถจอดได้หรือไม่ 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก จอดไม่ได้ทุกกรณี
       ข จอดได้หากท่านอยู่ในรถ
       ค จอดได้หากท่านเปิดไฟฉุกเฉิน
       ง จอดไม่ได้ ถ้าไม่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ดูแลรถ

  เมื่อท่านได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนของรถฉุกเฉิน ท่านต้องปฏิบัติอย่างไร  
       ก ทำเป็นไม่ได้ยิน
       ข ใช้สัญญาณแตรเพื่อเตือนผู้ขับขี่ท่านอื่น
       ค กระพริบไฟสูงเพื่อเตือนผู้ขับขี่ท่านอื่น
       ง พยายามเบี่ยงรถของท่านมิให้ขวางทางรถฉุกเฉิน

  เมื่อรถที่กำลังทำการแซงเปิดไฟเลี้ยวเพื่อเข้าสู่ช่องจราจรของท่าน ท่านควรปฏิบัติอย่างไร 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก ใช้สัญญาณแตรเตือน
       ข เร่งความเร็วขึ้น
       ค ลดความเร็วลง
       ง เปิดไฟสูงเตือน

  จากสถานการณ์ดังรูป ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก ขับไปจอดต่อท้ายให้ชิดกับรถคันหน้ามากที่สุด
       ข หยุดรถให้รถที่เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาไปก่อน
       ค ให้สัญญาณแตรเสียงยาว
       ง ขับไปจอดต่อท้ายรถคันหน้าพร้อมกับเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน

  การปฏิบัติในข้อใดถูกต้องตามหลักมารยาทในการขับรถ  
       ก ขับรถด้วยความเร็วสูงและเปลี่ยนช่องจราจรบ่อย
       ข ขับรถตามหลังรถคันหน้าในระยะกระชั้นชิดเพื่อให้หลบทางให้
       ค ใช้สัญญาณแตรไล่คนข้ามถนน
       ง ให้สัญญาณไฟทุกครั้งที่เปลี่ยนช่องจราจร

  หากเห็นคนพิการกำลังข้ามถนน ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร 
       ก ลดความเร็วและกระพริบไฟสูงใส่คนพิการ
       ข หยุดรอให้คนพิการข้ามผ่านทางไปก่อน
       ค เร่งความเร็วและขับอ้อมไปทางด้านขวาของคนพิการ
       ง หยุดและให้สัญญาณแตรจนกว่าคนพิการข้ามจนพ้นทาง

  ข้อใดต่อไปนี้เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง  
       ก ไม่เปิดไฟสูงในกรณีที่ขับรถสวนทางกัน
       ข ให้สัญญาณไฟเลี้ยวล่วงหน้าก่อนเลี้ยวรถ
       ค เร่งความเร็วเมื่อมีรถแซงมาขนาบข้าง
       ง ขับชิดซ้ายและให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้ายเมื่อรถคันหลังให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวาเพื่อต้องการแซง

  ข้อใดคือมารยาทที่ดีในการจอดรถ  
       ก จอดรถซ้อนคัน
       ข จอดโดยไม่กีดขวางผู้อื่นและไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร
       ค จอดรถขวางทางเข้า-ออก
       ง จอดบริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอด

  ข้อใดต่อไปนี้ไม่ควรปฏิบัติ เมื่อมีรถคันหลังกำลังแซงรถของท่าน  
       ก อยู่ในช่องจราจรของตัวเอง
       ข ขับด้วยความเร็วคงที่
       ค ลดความเร็วลง
       ง เร่งความเร็วเพื่อไม่ให้แซง

  ข้อใดต่อไปนี้ทำให้สมาธิในการขับรถลดลง  
       ก การคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า
       ข การล้างหน้าก่อนขับรถ
       ค โทรศัพท์ขณะขับรถ
       ง การมองทางข้างหน้าไกลๆ

  รูปใดต่อไปนี้ เป็นการรัดเข็มขัดนิรภัยที่ไม่ถูกต้อง 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

       ก รูปที่ 2. และ 3. 
       ข รูปที่ 2. เท่านั้น
       ค รูปที่ 3. เท่านั้น
       ง รูปที่ 1. 2. และ 3.

  ผู้ขับขี่ที่ดีควรมีความพร้อมอย่างไร 
       ก ศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง
       ข ทุกข้อที่กล่าวจะเป็นตัวเลือกที่ถูกทั้งหมด
       ค มีสภาพร่างกายจิตใจที่พร้อม
       ง มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

  พฤติกรรมใดที่ผู้ขับขี่ไม่ควรกระทำ 
       ก ทุกข้อที่กล่าวจะเป็นตัวเลือกที่ถูกทั้งหมด
       ข เปิดไฟสูงขณะรถสวนกัน
       ค เปิดไฟสูงเพื่อไล่รถคันหน้า
       ง เปิดไฟสูงขณะขับรถตามหลังรถคันอื่น

  ข้อใดเป็นการขับรถที่ถูกต้องทั้งกฎจราจรและมารยาทในการขับรถ 
       ก ขับรถโดยใช้ความเร็ว 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในกรณีที่ถนนว่าง
       ข การขับรถปาดหน้ารถคันอื่นอย่างกระชั้นชิด
       ค หยุดรถให้คนข้ามถนนในบริเวณที่มีคนข้าม
       ง ขับรถช้าๆ ในช่องทางเดินรถทางขวา

  ข้อใดที่ผู้ขับขี่ไม่ควรปฏิบัติ 
       ก ขับรถด้วยความระมัดระวังขณะฝนตก ถนนลื่น
       ข ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
       ค ให้สัญญาณไฟเพื่อขอแซง
       ง ขับรถด้วยความเร็วสูงในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน

  การเปลี่ยนช่องทางจราจร ควรปฏิบัติอย่างไร 
       ก เปลี่ยนช่องทางทันที เมื่อความเร็วเหมาะสม
       ข เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางได้เลย
       ค เปลี่ยนช่องทางโดยเร็วเพื่อหลบรถคันอื่น
       ง ดูกระจกมองข้าง เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางเมื่อเห็นว่าปลอดภัย

  มารยาทที่ดีในการจอดรถ ควรปฏิบัติอย่างไร 
       ก จอดรถซ้อนคัน
       ข จอดบริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอด
       ค จอดโดยไม่กีดขวางผู้อื่นและไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร
       ง จอดรถขวางทางเข้า-ออก

  การใช้ไฟสูงหรือไฟขอทาง เพื่อไล่รถคันหน้าแสดงว่าผู้ขับขี่ขาดสิ่งใด 
       ก มารยาทในการขับขี่
       ข เทคนิคการขับขี่ที่ดี
       ค จิตสำนึกในการขับขี่อย่างปลอดภัย
       ง การบำรุงรักษาเครื่องยนต์

  ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง 
       ก รถทุกคัน ต้องวิ่งตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด
       ข รถวิ่งเร็วต้องเปิดไฟสูงตลอดเวลาเพื่อให้มองเห็นทาง
       ค รถเก่า แรงน้อย ต้องหลบซ้าย
       ง รถใหม่ราคาแพง ต้องวิ่งขวา

  ผู้ขับรถที่ดีควรมีคุณสมบัติ อย่างไร 
       ก ความอดทนอดกลั้น
       ข การให้อภัยผู้อื่น มองโลกในแง่ดี
       ค ความรับผิดชอบ
       ง ถูกทุกข้อ

  อุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากอะไร 
       ก รถ
       ข ผู้ขับขี่
       ค ถนน
       ง สิ่งแวดล้อม

  สาเหตุใดที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด 
       ก แซงในที่ห้ามแซง
       ข ขับรถจี้ท้ายรถคันหน้า
       ค ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
       ง ขับรถตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด

 คำตอบ   มารยาทและจิตสำนึก

    การขับรถเข้าวงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรควรให้รถทางขวามือของเราที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน

  • การขับรถเลี้ยวบริเวณทางแยกที่มีช่องจราจรมากกว่า 2 ช่องทาง ท่านต้องขับอยู่ในช่องจราจรเดิมตั้งแต่เริ่มเข้าทางแยกจนเลี้ยวเสร็จสิ้น
  • นกรณีที่ท่านขับรถผ่านซอยที่มีรถรอออกจากซอยเป็นจำนวนมาก  ท่านควรเปิดทางให้รถออกจากซอยโดยสลับกับรถทางตรง
  • ทัศนคติและจิตสำนึกในการขับรถอย่างปลอดภัยคือ  ขับรถอย่างมีสติเคร่งครัดวินัยจราจรแสดงออกถึงมารยาทและน้ำใจ
  • เมื่อได้รับสัญญาณไฟเขียวให้ขับเคลื่อนรถไปได้ ผู้ขับรถไม่ควรบีบแตรเร่งรถคันหน้าให้เคลื่อนตัวออกโดยเร็ว
  • เมื่อได้รับสัญญาณไฟเหลือง ผู้ขับรถควรชะลอรถและหยุดรถที่เส้นขาวให้หยุดรถ เพื่อป้องกันการขับฝ่าสัญญาณไฟแดง
  •  เมื่อเห็นคนยืนบนฟุตบาทและแสดงท่าที่จะข้ามถนนตรงทางม้าลาย ผู้ขับรถควรแตะเบรกเตือนให้รถหลังรู้ว่าท่านกำลังจะหยุดรถ และหยุดรถตรงทางม้าลาย
  • เมื่อขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยก ท่านต้องให้สัญญาณไฟทุกครั้งที่ต้องการเลี้ยวซ้ายหรือขวา
  • เพื่อความปลอดภัยของชีวิต คนขับรถและผู้โดยสารทุกคน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่นั่งตอนหน้าและตอนหลังรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ขณะโดยสารไปในรถยนต์ตลอดเวลา
  • การแซงรถอย่างปลอดภัยและไม่เสียมารยาท ผู้ขับรถควรให้สัญญาณไฟก่อนแซง เร่งความเร็วแซงขึ้นไป เว้นระยะห่างก่อนให้สัญญาณไฟขอกลับเข้าช่องจราจรเดิม เร่งความเร็วให้เหมาะสมกับรถที่อยู่ด้านหน้า
  • เมื่อผู้ขับรถคันอื่นให้สัญญาณไฟขอเข้าใช้ช่องจราจรร่วมกับท่าน ท่านควรให้สัญญาณตอบรับโดยชะลอความเร็ว เว้นระยะให้รถคันนั้นสามารถเปลี่ยนช่องจราจรเข้ามาได้อย่างปลอดภัย
  • เมื่อขับรถในช่องจราจรขวาสุด และมีรถด้านหลังขับขึ้นมาด้วยความเร็วสูง ท่านควรให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้ายและเปลี่ยนไปยังช่องจราจรด้านซ้าย เพื่อให้รถที่มีความเร็วสูงกว่ารถของท่านแซงขึ้นไปอย่างปลอดภัย
  •  เมื่อผู้ขับรถคันอื่นเปิดทางให้ท่านไปก่อนหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรด้วย ท่านควรก้มหัวขอบคุณ พร้อมกับเคลื่อนรถออกไปหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรที่ขอเข้าร่วมด้วยความระมัดระวัง
  • การขับรถจี้ท้ายรถด้านหน้าที่ขับช้า พร้อมกับบีบแตรไล่เป็นพฤติกรรมที่ไร้มารยาทและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • การใช้ไฟสูงที่ถูกต้องและไม่เสียมารยาท ท่านควรเปิดไฟสูงเพื่อตรวจสอบสภาพถนนและริมถนน เฉพาะเส้นทางที่มืดมากและไม่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา และปิดไฟสูงทันทีที่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา 
  • การกระทำที่แสดงถึงความมีมารยาทและน้ำใจให้แก่ผู้ใช้ถนนร่วมกัน คือ ไม่หยุดรถบนเส้นทแยงสีเหลืองหรือบริเวณปากซอยและเปิดทางให้รถในเส้นทางอื่นสามารถขับรถผ่านไปได้ในขณะที่รถท่านติดการจราจร
  • เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ผู้ขับขี่ที่มีจิตสำนึกความปลอดภัยและมีมารยาทที่ดี ควรกลับรถที่จุดกลับรถทุกครั้งแม้จะอยู่ไกล  การกลับรถที่จุดกลับรถทุกครั้งแม้จะอยู่ไกล เป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องและแสดงมารยาทที่ดีของผู้ขับรถยนต์
  • เมื่อขับรถเข้าเขตชุมชนที่มีการจราจรติดขัด ผู้ขับรถควรขับช้าๆ โดยระมัดระวังคนเดิน ใช้แตรเมื่อจำเป็นเพื่อเตือนคนเดินถนนหรือรถคันอื่นเท่านั้น
  • ในขณะที่ท่านขับรถและสังเกตเห็นว่าด้านหน้ามีผู้กำลังจะข้ามถนน ท่านต้องลดความเร็วและหยุดรถด้วยความปลอดภัย เพื่อให้คนข้ามถนน
  •  หากมีผู้ขับรถกำลังกลับรถเข้ามาในช่องทางที่ท่านขับรถอยู่ ท่านควรมีใจกรุณาโอบอ้อมอารีให้ทางแก่ผู้กลับรถ
  • ในการขับรถช่วงเวลากลางคืน ท่านควรเปิดไฟต่ำเมื่อมีรถอยู่ด้านหน้าและรถสวนทางมา
  • เมื่อขับรถผ่านช่วงทางโค้ง ทางร่วม ทางแยก ในช่วงเวลากลางคืน ก่อนเข้าโค้งท่านควรกะพริบไฟ และลดเป็นไฟต่ำเมื่อมีรถสวนทาง
  • เมื่อขับขี่รถผ่านชุมชน โรงเรียน หรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ท่านควรชะลอความเร็ว และใช้ความระมัดระวังในการขับขี่
  •  หากในขณะขับรถ ท่านสังเกตเห็นรถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุกหรือรถอื่นๆ ที่ผู้ขับรถมีพฤติกรรมขับรถประมาท น่าหวาดเสียวและอาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ท่านควรชะลอรถให้ห่างจากรถคันดังกล่าว และแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยด่วน
  • การขับรถจี้ท้าย และบีบแตรไล่บนทางด่วนเป็นการขับขี่ที่ไร้ซึ่งมารยาทอย่างมาก
  •  การขับรถในขณะที่อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือดื่มสุรา เป็นการขับขี่รถที่ไร้ซึ่งจิตสำนึก  
  •  การขับขี่รถให้เกิดความปลอดภัย ท่านต้องไม่ประมาท มีวินัย และเคารพในกฎจราจร
  •  การขับรถบนทางด่วนที่ถูกต้อง เหมาะสม ท่านไม่ควรขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
  •  ผู้ขับขี่รถที่ดี ต้องขับขี่รถโดยมีใบขับขี่ที่ถูกต้อง และปฏิบัติตามกฎจราจร
  •  เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากสภาพรถชำรุด ท่านต้องให้ความสำคัญกับการตรวจเช็กรถตามคู่มือประจำรถ
  •  ผู้ขับขี่ที่มีจิตสำนึกความปลอดภัยควรเตรียมความพร้อมทั้งรถและคนก่อนออกเดินทาง 
  •  การขับรถในช่วงเวลาที่ฝนตกหนักท่านควรลดความเร็ว ขับอย่างระมัดระวัง เปิดไฟหน้ารถและที่ปัดน้ำฝน
  •  การขับรถในทางขึ้นเขา ลงเขา และมีโค้งอันตรายอยู่ตลอดทาง ท่านต้องใช้ความเร็ว และเกียร์ ให้ถูกต้องและเหมาะสม
  •  ก่อนใช้รถท่องเที่ยวในระยะทางไกลๆ ท่านควรศึกษาเส้นทาง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  •  หากมีผู้ขับรถจี้ท้ายรถท่านในช่องทางขวาสุดและบีบแตรไล่หลังทั้งที่ช่องทางด้านซ้ายก็ว่างอยู่ ท่านควรขับรถหลีกทาง โดยเบี่ยงไปทางช่องทางด้านซ้ายอย่างระมัดระวัง
  •  ขณะที่รถติด และรถด้านหน้ารถท่านได้ตัดสินใจใช้ช่องทางไหล่ทางด้านซ้าย และมีรถอื่นแล่นตาม ท่านควรขับรถในช่องทางเดิม
  •  การขับรถด้วยความเร็วไม่เกินที่กำหนด และแซงในกรณีที่จำเป็นต้องแซงเท่านั้น ถือเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติเมื่ออยู่บนถนน
  •  ในขณะที่ท่านขับรถบนทางหลวง ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด อยู่ในเลนขวาสุด มีรถวิ่งตามมาด้วยความเร็วสูง หรือกะพริบไฟสูงจากทางด้านหลังของท่านเพื่อขอทาง ท่านควรเปิดทางหลบให้รถดังกล่าวแซงขึ้นไป โดยเปิดไฟเลี้ยวซ้าย แล้วค่อยๆเบนรถเข้าเลนซ้ายหรือเลนกลาง
  • การเร่งรีบขับขี่ เพื่อให้ถึงปลายทางก่อนที่จะมืด เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูง
  •  เมื่อมีผู้อื่นแบ่งปันน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนให้ ท่านไม่ควรเปิดไฟสูงแสดงการขอบคุณ ท่านสามารถแสดงความขอบคุณได้โดยโค้งศรีษะ ยกมือขวาขึ้นระดับคิ้ว หรือส่งยิ้มให้
  • ในกรณีที่ท่านขับรถผิดกฎหมาย ผิดกฎจราจร หรือก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้ขับขี่รถอื่น ท่านควรยกมือขวาขึ้นระดับคิ้วพร้อมโค้งศรีษะ เพื่อสื่อให้รู้ว่าทำผิดและขอโทษ
  • การบังคับตัวเองให้ปฏิบัติตามกฎจราจรตลอดเวลาที่ขับขี่ โดยไม่ต้องรอให้ตำรวจจราจรบังคับ เป็นการแสดงถึงจิตสำนึกความปลอดภัยของผู้ขับขี่
  •  ในขณะที่ท่านขับรถอยู่บนถนนและมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นด้านหน้า ท่านไม่ควรขับรถเข้าไปใกล้ที่เกิดเหตุแล้วเหยียบเบรกอย่างรุนแรงเพื่อหยุดรถในทันที แต่ควรให้สัญญาณไฟเบรก ชะลอเบรกให้เหมาะสม เหยียบเบรกค้างให้รถด้านหลังทราบ  
  • การแซงรถคันหน้าได้แล้วปาดหน้าชิดซ้ายทันที เป็นการแซงที่ไม่ปลอดภัยและแสดงถึงความไร้มารยาทของผู้ขับขี่รถ
  • เมื่อรถที่ขับตามหลังมาให้สัญญาณขอแซง มารยาทที่ดีเพื่อแสดงการตอบรับว่ายินยอมให้แซง คือ ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย
  • ผู้ขับรถที่มีจิตสำนึกความปลอดภัย เมื่อขับรถถึงทางร่วมทางแยก จะชะลอความเร็วทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีสัญญาณไฟจราจรหรือไม่
  • ในขณะที่ท่านกำลังขับรถอยู่บนถนน และสังเกตเห็นว่าเบื้องหน้ามีคนกำลังข้ามถนน โดยไม่มีทางม้าลาย ท่านควรชะลอความเร็วแล้วหยุดให้ข้าม
  • หลังจากประสบอุบัติเหตุและรอดชีวิตมาได้ น.ส.ชี เกิดจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและได้ศึกษาหาความรู้หลักการขับขี่ปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เมื่อขับรถในทางเลี้ยวไม่ว่าจะอยู่เลนไหน โดยมารยาทเลี้ยวแล้วต้องรักษาแนวให้อยู่ในเลนนั้นก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะเปลี่ยนเลนได้
  • ผู้ขับขี่ควรใช้แตรเพื่อป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากรถ
  •  การใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถ จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการเปิดวิทยุฟังเพลงหรือพูดคุยกับคนที่อยู่ในรถ
  •  มารยาทในการขับขี่ที่ผู้ขับรถควรกระทำคือหยุดรถให้คนข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย
  • ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตาย เป็นสำนวนที่ใช้เตือนใจผู้ขับขี่เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
  • ผู้ใช้รถใช้ถนน ทั้งคนขับ ผู้โดยสารและคนเดินเท้าควรได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทุกคน
  • เมื่อเห็นคนเดินเท้าข้ามถนนผู้ขับขี่ควรหยุดรถให้คนเดินเท้าผ่านไปก่อน
  •  เมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ  ผู้ขับขี่ควรให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นอันดับแรก
  • การขับรถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้ามากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดได้
  • การหยุดรถให้คนข้ามถนนในบริเวณที่มีคนข้ามเป็นการขับรถที่ถูกต้องทั้งกฎจราจรและมารยาทในการขับรถ
  • การขับรถด้วยความเร็วสูงในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ไม่ควรปฎิบัติ
  •  การเปลี่ยนช่องทางจราจรที่ถูกต้องปลอดภัย ผู้ขับขี่ต้องดูกระจกมองข้าง เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางเมื่อเห็นว่าปลอดภัย
  • การไม่หยุดรถให้คนข้ามทางเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายจราจรและแสดงถึงความไร้น้ำใจ
  • ผู้ขับขี่รถเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด รองลงมาคือสภาพรถ สภาพถนนและสิ่งแวดล้อม 
  • การขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
  • การขับช้าชิดขวา เป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ควรกระทำ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุและการจราจรติดขัด
  • การหยุดรถให้คนข้ามถนนเป็นมารยาทที่ดีในการขับรถ
  • การจอดรถขวางหน้าประตูบ้านผู้อื่นโดยปลดเกียร์ว่างและไม่ดึงเบรกมือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นได้
  • การขับรถแซงคันหน้าในระยะกระชั้นชิด เป็นมารยาทที่ไม่ดีในการขับรถยนต์
  •  คน  รถ  ถนน  สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
  • การเร่งเครื่องก่อนออกรถเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและปลอดภัย นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น
  •  การขับรถในเวลากลางคืนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าในเวลากลางวัน เพราะมีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ไม่ดี
  • การวิ่งตามหลังรถคันหน้าโดยคิดว่าสามารถเปิดไฟสูงได้ เพราะไม่มีผลต่อการขับขี่ของรถคันหน้าเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง  โดยข้อเท็จจริงแล้ว ไฟสูงจากรถคันหลังจะแยงตาคนขับคันหน้าจนไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา 
  •  เมื่อมีปริมาณรถสะสมจำนวนมากบริเวณเชิงสะพานข้ามแยกที่จะต้องขับรถผ่าน ท่านควรขับไปต่อท้ายแถวรถที่ติดสะสมอยู่ ไม่ควรแทรกเข้าใกล้เชิงสะพาน
  • เมื่อขับรถในเส้นทางที่มืดมาก ท่านสามารถใช้ไฟสูงเพื่อส่องดูป้ายบอกทางหรือทางข้างหน้าได้เป็นครั้งคราว
  •  เมื่อจำเป็นต้องจอดรถขวางทางคันอื่น ท่านควรปลดเกียร์ว่าง ไม่ใช้เบรกมือ
  •  การขว้างกระป๋องเครื่องดื่มออกนอกตัวรถขณะรถแล่น เป็นพฤติกรรมที่ไร้จิตสำนึกและอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างมาก
  • หากพบรถฉุกเฉินเปิดสัญญาณเสียงไซเรนกำลังวิ่งตามหลัง ผู้ขับขี่ควรเปลี่ยนช่องจราจรไปทางด้านซ้ายทันทีเมื่อปลอดภัย
  • การใช้สัญญาณแตรเตือนผู้อื่นให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากรถ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
  • จากรูปข้างล่าง หากท่านกำลังขับขี่เข้าสู่บริเวณทางม้าลายท่านควรลดความเร็วลง

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • จากรูปข้างล่าง รถคันสีแดงควรรอจนกว่าคนเดินเท้าจะเดินผ่านไปแล้วจึงเลี้ยว

 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • จากรูปข้างล่าง รถคันสีเหลืองควรเลี้ยวซ้ายแล้วกลับรถที่จุดกลับรถ

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • จากรูปข้างล่าง เมื่อท่านต้องการที่จะเลี้ยวซ้ายเข้าซอย ท่านควรหยุดรอ

 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • จากรูปข้างล่าง รถที่อยู่บริเวณทางม้าลาย ควรหยุดรถก่อนถึงทางม้าลาย

 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • จากรูปข้างล่าง เมื่อรถคันสีเหลืองต้องการที่จะขับตรงไป ควรหยุดรอจนกว่ารถข้างหน้าจะผ่านไป

 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • การขับขี่ออกจากซอยไปสู่ถนนใหญ่ ท่านควรหยุดรอให้รถในทางหลักและคนเดินเท้าไปก่อน 
  •  จากรูปข้างล่าง ในขณะสัญญาณไฟเขียว หากท่านต้องการจะเลี้ยวขวา แต่ท่านได้ยินสัญญาณรถดับเพลิงมาทางขวามือของท่าน ท่านควรรอให้รถดับเพลิงไปก่อนจึงเลี้ยว

 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  •  จากรูปข้างล่าง ในขณะสัญญาณไฟเขียว หากท่านต้องการจะขับตรงไป แต่ท่านได้ยินสัญญาณรถพยาบาลมาทางขวามือของท่าน ท่านควรหยุดรอรถพยาบาลไปก่อน

 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  •  การจอดรถซ้อนสองดังรูปข้างล่าง แม้เป็นเพียงการจอดชั่วคราว ก็ไม่สามารถจอดได้ เป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายจราจร สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ขับขี่อื่น ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการจราจรติดขัด 

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • เมื่อท่านได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนของรถฉุกเฉิน ท่านต้องพยายามเบี่ยงรถของท่านอย่าให้ขวางทางรถฉุกเฉิน 
  •  เมื่อรถที่กำลังทำการแซงเปิดไฟเลี้ยวเพื่อเข้าสู่ช่องจราจรของท่าน ท่านควรลดความเร็วลง

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • จากสถานการณ์ดังรูปข้างล่าง ผู้ขับขี่ควรหยุดรถให้รถที่เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาไปก่อน

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  •  นักขับขี่รถที่มีวินัยจราจรและมีมารยาทที่ดีจะให้สัญญาณไฟทุกครั้งที่เปลี่ยนช่องจราจร 
  •  หากเห็นคนพิการกำลังข้ามถนน ผู้ขับขี่ควรหยุดรอให้คนพิการข้ามผ่านทางไปก่อน
  •  การเร่งความเร็วเมื่อมีรถแซงมาขนาบข้าง เป็นพฤติกรรมที่ไร้น้ำใจ เสียมารยาทและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงขึ้นได้ 
  •  นักขับขี่รถที่มีวินัยจราจรและมีมารยาทที่ดีจะพยายามจอดรถโดยไม่กีดขวางผู้อื่นและไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร
  •  เมื่อมีรถคันหลังกำลังแซงรถของท่าน ท่านไม่ควรเร่งความเร็วเพื่อไม่ให้แซง
  •  การโทรศัพท์ขณะขับรถ จะทำให้สมาธิในการขับรถลดลง
  •  รูปที่ 2 และ 3 ด้านล่าง เป็นการรัดเข็มขัดนิรภัยที่ไม่ถูกต้อง

การสร้างจิตสำนึกและมารยาทในการขับรถผู้ขับขี่ควรปฎิบัติอย่างไร

  • ผู้ขับขี่ที่ดีควรศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง เตรียมสภาพรถและร่างกายให้พร้อม มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ขับขี่ไม่ควรเปิดไฟสูงขณะรถสวนกัน หรือขับตามหลังรถคันอื่นหรือเพื่อไล่รถคันหน้า เพราะไฟจะส่องไปเข้าตาผู้ขับคันนั้นทำให้มองไม่เห็นถนน หรืออาจตกใจขับเปลี่ยนเลนหรือเร่งเครื่องหนี ซึ่งอาจก่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
  • การหยุดรถให้คนข้ามถนนในบริเวณที่มีคนข้ามเป็นการขับรถที่ถูกต้องทั้งกฎจราจรและมารยาทในการขับรถ
  • ผู้ขับขี่ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วสูงในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน
  • ก่อนเปลี่ยนช่องทางจราจร ผู้ขับขี่ควรดูกระจกมองข้าง เปิดสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องทางเมื่อเห็นว่าปลอดภัย
  • ผู้ขับขี่รถควรมีมารยาทในการจอดรถ โดยไม่จอดกีดขวางผู้อื่นและไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร
  • การใช้ไฟสูงหรือไฟขอทางเพื่อไล่รถคันหน้าเป็นการขับรถที่ไร้มารยาท อาจก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทและอุบัติเหตุขึ้นได้
  • รถทุกคันต้องวิ่งตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด
  • ขับรถที่ดีควรมีความรับผิดชอบ มองโลกในแง่ดี มีความอดทนอดกลั้นและให้อภัยผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นเสมอ
  • อุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับขี่ รองลงมาคือรถ ถนนและสิ่งแวดล้อม
  • การขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด

    พรบ.จราจรทางบก ม. 1-27 ว่าด้วย ทาง, การเดินรถ, ประเภทของรถชนิดต่างๆ

     

    พระราชบัญญัติจราจรทางบก

    พ.ศ. 2522

    ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

    ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2522

    เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการ

    สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำ

    แนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

    มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

    มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    มาตรา 3 ให้ยกเลิก

    (1) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2477

    (2) พระราชบัญญัติจราจรทางบก แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478

    (3) พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2481

    (4) พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508

    (5) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515

    มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

    (1) การจราจร หมายความว่า การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์

    (2) ทาง หมายความว่า ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทางแยก 

    ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของ

    ยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่เจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

    แต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ

    (3) ทางเดินรถ หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับการเดินรถไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน

    (4) ช่องเดินรถ หมายความว่า ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสำหรับการเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่ง

    เป็นช่องไว้

    (5) ช่องเดินรถประจำทาง หมายความว่า ช่องเดินรถที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถสำหรับรถโดยสารประจำทางหรือ

    รถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดีกำหนด

    (6) ทางเดินรถทางเดียว หมายความว่า ทางเดินรถใดที่กำหนดให้ผู้ขับรถขับไปในทิศทางเดียวกันตามเวลาที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

    (7) ขอบทาง หมายความว่า แนวริมของทางเดินรถ

    (8) ไหล่ทาง หมายความว่า พื้นที่ที่ต่อจากขอบทางออกไปทางด้านข้างซึ่งยังมิได้จัดทำเป็นทางเท้า

    (9) ทางร่วมทางแยก หมายความว่า พื้นที่ที่ทางเดินรถตั้งแต่สองสายตัดผ่านกัน รวมบรรจบกัน หรือติดกัน

    (10) วงเวียน หมายความว่า ทางเดินรถที่กำหนดให้รถเดินรอบเครื่องหมายจราจรหรือสิ่งที่สร้างขึ้นในทางร่วม

    ทางแยก

    (11) ทางเท้า หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทาง หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดิน

    (12) ทางข้าม หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทางโดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้

    บนทาง และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่ทำให้คนเดินเท้าข้ามไม่ว่าในระดับใต้หรือเหนือพื้นดินด้วย

    (13) เขตปลอดภัย หมายความว่า พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับ

    ให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป

    (14) ที่คับขัน หมายความว่า ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวาง หรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบ

    ได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย

    (15) รถ หมายความว่า ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง

    (16) รถยนตร์ หมายความว่า รถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อและเดินด้วยกำลังเครื่องยนตร์ กำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น 

    ยกเว้นรถที่เดินบนราง

    (17) รถจักรยานยนตร์ หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนตร์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน

    สองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ

    (18) รถจักรยาน หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่เป็นการลากเข็น

    (19) รถฉุกเฉิน หมายความว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค

    และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบหรือให้ใช้เสียง

    สัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้

    (20) รถบรรทุก หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของหรือสัตว์

    (21) รถบรรทุกคนโดยสาร หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน

    (22) รถโรงเรียน หมายความว่า รถบรรทุกคนโดยสารที่โรงเรียนใช้รับส่งนักเรียน

    (23) รถโดยสารประจำทาง หมายความว่า รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่กำหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสาร

    เป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็นระยะทางหรือตลอดทาง

    (24) รถแท็กซี่ หมายความว่า รถยนตร์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน

    (25) รถลากจูง หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับลากจูงรถหรือเครื่องมือการเกษตรหรือเครื่องมือ

    การก่อสร้าง โดยตัวรถนั้นเองมิได้ใช้สำหรับบรรทุกคนหรือสิ่งของ

    (26) รถพ่วง หมายความว่า รถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง

    (27) มาตรแท็กซี่ หมายความว่า เครื่องแสดงอัตราและค่าโดยสารของรถแท็กซี่ โดยอาศัยเกณฑ์ระยะทางหรือเวลา

    การใช้รถแท็กซี่หรือโดยอาศัยทั้งระยะทางและเวลาการใช้รถแท็กซี่

    พรบ.จราจรทางบก ม.28-40 ว่าด้วยผู้ขับขี่ ใบขับขี่ คนเดินเท้า

    (28) ผู้ขับขี่ หมายความว่า ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ผู้ลากเข็น

    ยานพาหนะ

    (29) คนเดินเท้า หมายความว่า คนเดินและให้รวมตลอดถึงผู้ใช้เก้าอี้ล้อสำหรับคนพิการหรือรถสำหรับเด็กด้วย

    (30) เจ้าของรถ หมายความรวมถึงผู้มีรถไว้ในครอบครองด้วย

    (31) ผู้เก็บค่าโดยสาร หมายความว่า ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการเก็บค่าโดยสาร และผู้ดูแลคนโดยสารที่อยู่ประจำรถบรรทุกคนโดยสาร

    (32) ใบอนุญาตขับขี่ หมายความว่า ใบอนุญาตขับรถยนตร์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ ใบอนุญาตสำหรับ

    คนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้างใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง

    (33) สัญญาณจราจร หมายความว่า สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือ

    ด้วยวิธีอื่นใด สำหรับให้ผู้ขับขี่คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น

    (34) เครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใด ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้ หรือทำให้ปรากฏในทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น

    (35) รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

    (36) อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมตำรวจ

    (37) เจ้าพนักงานจราจร หมายความว่า ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานจราจร

    (38) พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร

    (39) อาสาจราจร หมายความว่า ผู้ซึ่งผ่านการอบรมตามหลักสูตรอาสาจราจร และได้รับแต่งตั้งจากอธิบดีให้ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

    (1)(40) "ผู้ตรวจการ" หมายความว่า ผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและผู้ตรวจการตามกฎหมายว่า

    ด้วยรถยนตร์มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้ง

    เจ้าพนักงานจราจร กับออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้

    ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 1 การใช้รถ หมวด 1 ลักษณะของรถที่ใช้ทาง

    ลักษณะ 1

    การใช้รถ

    หมวด 1

    ลักษณะของรถที่ใช้ในทาง

    มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ

    อนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสารหรือประชาชนมาใช้ในทางเดินรถ

    รถที่ใช้ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจัดให้มีเครื่องยนต์ เครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบที่ครบถ้วนตามกฎหมายว่า

    ด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง 

    และใช้การได้ดี

    สภาพของรถที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยตามวรรคหนึ่งและวิธีการทดสอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ

    วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผ่นป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมาย

    ว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ

    มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจแลเห็นทางพอแก่ความปลอดภัยมาใช้ในทางเดินรถเพื่อประโยชน์แห่ง

    มาตรานี้ ให้อธิบดีมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถได้ โดยประกาศ

    ในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่เกิดเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถมาใช้ในทางเดินรถ

    มาตรา 10 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยางมาใช้ในทางเดินรถ เว้นแต่เป็นรถที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นรถที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร

    มาตรา 10 ทวิ(1) ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน ละอองเคมี หรือเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้ในทางเดินรถ

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 1 หมวด 2 การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณของรถ หมวด 3 การบรรทุก

    หมวด 2

    การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณของรถ

    มาตรา 11 ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายใน

    ระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางต้องเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ 

    และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา 12 รถแต่ละชนิดที่ใช้ในทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณโดย

    เฉพาะดังต่อไปนี้

    (1) เสียงแตร สำหรับรถยนตร์หรือรถจักรยานยนตร์ และให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าหกสิบเมตร

    (2) เสียงระฆัง สำหรับรถม้า และให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร

    (3) เสียงกระดิ่ง สำหรับรถจักรยาน และให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร

    ส่วนรถอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น ผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราช

    กิจจานุเบกษา

    มาตรา 13 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถทุกชนิดในทางเดินรถใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน 

    เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีดเสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร หรือเสียงสัญญาณอย่าง

    อื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้รถฉุกเฉิน รถในราชการทหารหรือตำรวจหรือรถอื่นใช้ไฟสัญญาณวับวาบหรือใช้

    เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นได้ ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณหรือ

    เสียงสัญญาณรวมทั้งกำหนดเครื่องหมายที่แสดงถึง

    ลักษณะของรถดังกล่าวด้วยก็ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา 14 การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาว

    หรือซ้ำเกินควรไม่ได้

    การใช้เสียงสัญญาณของรถหรือการกำหนดเงื่อนไขในการใช้เสียงสัญญาณในเขตหรือท้องที่ใด ให้อธิบดีกำหนด

    โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา 15 รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ขณะที่อยู่ในทางเดินรถ และในเวลาต้องเปิดไฟตามมาตรา 

    11 หรือมาตรา 61 ผู้ขับขี่ต้องจุดไฟสัญญาณแสงแดง หรือในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดงไว้ที่ตอนปลายสุด

    ของสิ่งที่บรรทุกนั้น โดยจุดไฟสัญญาณหรือติดธงไว้ให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร

    ไฟสัญญาณแสงแดงหรือธงสีแดงตามวรรคหนึ่ง จะใช้ชนิด ลักษณะหรือจำนวนเท่าใด ให้อธิบดีกำหนดโดย

    ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา 16 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟในอุณหภูมิยี่สิบเอ็ดองศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้น 

    หรือที่บรรทุกก๊าซไวไฟต้องปฏิบัติตามมาตรา 15 และมาตรา 56 แต่ไฟสัญญาณที่ใช้นั้นต้องมิใช่เป็นชนิดที่

    ใช้เชื้อเพลิง

    มาตรา 17 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถที่ใช้บรรทุกวัตถุระเบิด หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่นใด ต้องจัดให้มีป้ายแสดงถึงวัตถุ

    ที่บรรทุกและเครื่องดับเพลิง และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการป้องกันอันตราย

    ลักษณะและวิธีการติดป้ายแสดงถึงวัตถุที่บรรทุกและเครื่องดับเพลิงตลอดจนเงื่อนไขในการป้องกันอันตราย ให้

    เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    หมวด 3

    การบรรทุก

    มาตรา 18 รถโรงเรียน รถบรรทุก หรือรถบรรทุกคนโดยสารจะใช้บรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของชนิดหรือ

    ประเภทใด ในลักษณะใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 19 ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของนอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์และวิธีการที่

    กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อเจ้าของรถร้องขอเจ้าพนักงานจราจรจะผ่อนผันโดยอนุญาตเป็นหนังสือเป็นการ

    ชั่วคราวเฉพาะรายก็ได้

    มาตรา 20 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่

    บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้

    ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 2 สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร

    ลักษณะ 2

    สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร

    มาตรา 21 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏ

    ในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ

    สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจรและความหมายของสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร ให้อธิบดีกำหนด

    โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีรูปตัวอย่างแสดงไว้ในประกาศด้วย

    มาตรา 22 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้

    (1) สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุดเพื่อเตรียมปฏิบัติตาม สัญญาณที่จะปรากฏต่อไปดังกล่าวใน (2) เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้เลยเส้นให้รถหยุดไปแล้วให้เลยไปได้

    (2) สัญญาณจราจรไฟสีแดงหรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่าหยุด ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด

    (3) สัญญาณจราจรไฟสีเขียวหรือเครื่องหมายจราจรสีเขียวที่มีคำว่า ไป ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่จะมี เครื่องหมายจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

    (4)(1) สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป หรือสัญญาณจราจรไฟสีแดงแสดงพร้อมกับ สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับรถตรงไปได้ตามทิศทาง

    ที่ลูกศรชี้และต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามหรือรถที่มาทางขวาก่อน

    (5) สัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดง ถ้าติดตั้งอยู่ที่ทางร่วมทางแยกใดเปิดทางด้านใดให้ผู้ขับขี่ที่มาทางด้าน นั้นหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไปได้ด้วย ความระมัดระวัง

    (6) สัญญาณจราจรไฟกระพริบสีเหลืองอำพัน ถ้าติดตั้งอยู่ ณ ที่ใดให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดิน รถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง

    ผู้ขับขี่ซึ่งจะขับรถตรงไปต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้ตรงไป ส่วนผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ

    ต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้เลี้ยว การเข้าอยู่ในช่องเดินรถดังกล่าวจะต้องเข้าตั้งแต่เริ่ม

    มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้ปฏิบัติเช่นนั้น

    มาตรา 23 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวหรือไฟสีแดงติดตั้งไว้เหนือช่องเดินรถ มาก กว่าสองช่องขึ้นไปต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

    (1) สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถใดห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถในช่องเดินรถนั้น

    (2) สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปลูกศรอยู่เหนือช่องเดินรถใดให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในช่องเดินรถนั้นขับรถ ผ่านไปได้

    มาตรา 24 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้

    (1) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังของพนัก งานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถแต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและโบกมือไปข้างหน้าให้ผู้ ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหลังขับรถผ่านไปได้

    (2) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับ

    รถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่

    นั้น แล้วโบกผ่านศีรษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับรถผ่านไปได้

    (3) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมา ทางด้านที่เหยียดแขนทั้งสองข้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ

    (4) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมา ทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้นโบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ขับรถผ่านไปได้

    (5) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียด ออกไปเสมอระดับไหล่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ

    การหยุดรถตามมาตรานี้ ให้หยุดหลังเส้นให้รถหยุด ในกรณีที่ทางเดินรถใดไม่มีเส้นให้รถหยุด ให้ผู้ขับขี่หยุด

    รถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะไม่น้อยกว่าสามเมตร

    มาตรา 25 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณี

    ต่อไปนี้

    (1) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที

    (2) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกันให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้

    มาตรา 26 ในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามมาตรา 22 หรือสัญญาณจราจรตาม

    มาตรา 23 ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการจราจรในทางเดินรถนั้น เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือ ความสะดวกในการจราจร จะให้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติการเดินรถ

    ตามสัญญาณที่พนักงาน-เจ้าหน้าที่กำหนดให้

    มาตรา 27 สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีเหตุอันสมควร ให้อธิบดีมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณ จราจร หรือเครื่องหมายจราจรในทางที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 21

    มาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้าย ขีดเขียน หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานติด

    ตั้งไว้ หรือทำให้ปรากฏในทาง

    มาตรา 30 สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ทำ ติดตั้งหรือทำให้ปรากฏในทางโดยฝ่าฝืนมาตรา 28 หรือ

    มาตรา 29 เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจยึด รื้อถอน ทำลาย หรือทำให้สิ้นไปซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย จราจรนั้นได้

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 3 การใช้ทางเดินรถ หมวด 1 การขับรถ

    ลักษณะ 3
    การใช้ทางเดินรถ

    หมวด 1
    การขับรถ

    มาตรา 31 นอกจากที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในลักษณะ 4 ว่าด้วยการใช้ทางเดินรถที่จัดเป็นช่องเดินรถประจำทาง การใช้ทางเดินรถให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้

    มาตรา 32 ในการใช้ทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วน ใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชราหรือคนพิการที่ กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมรถของตน

    มาตรา 33 ในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่ในกรณี ต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาหรือล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
    (1) ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
    (2) ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
    (3) ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึงหกเมตร


    มาตรา 34 ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่อง เดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุดผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุดหรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทางเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาของทางเดินรถได้
    (1) ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
    (2) ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
    (3) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก
    (4) เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
    (5)(1) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย

    มาตรา 35(2) รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
    ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนตร์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด หรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่รถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม และรถยนต์
    นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

    มาตรา 36 ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้าเปลี่ยนช่องเดินรถ ลดความเร็วของรถ จอดรถ หรือ หยุดรถ ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา 37 หรือไฟสัญญาณตามมาตรา 38 หรือสัญญาณอย่างอื่นตาม ข้อบังคับของเจ้าพนักงานจราจรถ้าโดยสภาพของรถ สภาพของการบรรทุก หรือสภาพของทัศนวิสัยการให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามวรรคหนึ่ง
    ไม่อาจทำให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมาหรือตามมาข้างหลังมองเห็นได้ ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน ไฟสัญญาณหรือสัญญาณอย่างอื่นตามวรรคหนึ่งก่อนที่จะเลี้ยวรถ เปลี่ยนช่อง
    เดินรถ จอดรถหรือหยุดรถเป็นระยะทางไม่น้อยกว่าสามสิบเมตรผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน ไฟสัญญาณหรือสัญญาณอย่างอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหกสิบเมตร

    มาตรา 37 การให้สัญญาณด้วยมือและแขน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
    (1) เมื่อจะลดความเร็วของรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
    (2) เมื่อจะหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขน ท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
    (3) เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือ ไปทางข้างหน้าหลายครั้ง
    (4) เมื่อจะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
    (5) เมื่อจะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และ งอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง
    เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ในกรณีที่รถยนต์นั้นมีเครื่องขับอยู่ทางด้านซ้าย ให้ผู้ขับขี่ใช้ไฟสัญญาณแทนการใช้ สัญญาณด้วยมือและแขน

    มาตรา 38 การให้ไฟสัญญาณของผู้ขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนตร์ให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
    (1) เมื่อจะหยุดรถ ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณสีแดงที่ท้ายรถ
    (2)(1) เมื่อจะเลี้ยวรถ เปลี่ยนช่องเดินรถ หรือแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณยกเลี้ยวสีเหลืองอำพัน หรือให้ไฟสัญญาณกระพริบสีขาวหรือสีเหลืองอำพันที่ติดอยู่หน้ารถหรือข้างรถ และไฟสัญญาณกระพริบสีแดง หรือสีเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถไปในทิศทางที่จะเลี้ยว เปลี่ยนช่องเดินรถ หรือ แซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
    (3) เมื่อจะให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้า ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวสีเหลืองอำพันหรือให้ไฟสัญญาณกระพริบ สีแดงหรือสีเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถทางด้านซ้ายของรถ

    มาตรา 39 เมื่อขับรถสวนกัน ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ โดยให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถเป็นหลัก แต่ถ้าทางเดินรถใดได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถไว้ ให้ถือเส้นหรือแนวที่แบ่งนั้นเป็นหลัก
    ในทางเดินรถที่แคบ เมื่อขับรถสวนกัน ผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายต้องลดความเร็วของรถเพื่อให้รถสวนกันได้โดยปลอดภัย ในทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนกันได้โดยปลอดภัย เมื่อขับรถสวนกัน ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่ใหญ่กว่าต้องหยุด รถให้ชิดขอบทางเดินรถด้านซ้ายเพื่อให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่เล็กกว่าผ่านไปได้ในทางเดินรถที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถหรือหยุดรถเพื่อให้รถคันที่สวนมาผ่านไปได้

    มาตรา 40 ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้อง หยุดรถ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถขึ้นสะพานหรือทางลาดชันต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถถอยหลังไปโดนรถคันอื่น

    มาตรา 41 ทางเดินรถใดที่มีเครื่องหมายจราจรให้เป็นทางเดินรถทางเดียว ให้ผู้ขับขี่ขับรถไปตามทิศทางที่ได้ กำหนดไว้

    มาตรา 42 ทางเดินรถใดที่มีเครื่องหมายจราจรแบ่งทางเดินรถออกเป็นสองทางสำหรับรถเดินขึ้นทางหนึ่ง ล่อง ทางหนึ่ง โดยมีช่องว่างคั่นกลางหรือทำเครื่องหมายจราจรกีดกั้นแสดงว่าทางเดินรถนั้นมีการแบ่งออกเป็นสองทางดังกล่าว ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ

    มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
    (1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
    (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
    (3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
    (4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
    (5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใด ด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
    (6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
    (7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
    (8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น

    มาตรา 43 ทวิ(1) ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการมีอำนาจจัดให้มีการตรวจสอบผู้ขับขี่
    รถบางประเภทตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาว่าได้เสพยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามวรรคหนึ่งหรือไม่ และ
    หากผลการตรวจสอบในเบื้องต้นปรากฏว่าผู้ขับขี่นั้นไม่ได้เสพก็ให้ผู้ขับขี่นั้นขับรถต่อไปได้ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ตรวจสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ 
    หรือผู้ตรวจการมีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ เพื่อดำเนินการตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การตรวจสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและเมื่อ
    ผู้นั้นยอมรับการตรวจสอบแล้วหากผลการตรวจสอบในเบื้องต้นปรากฏว่าไม่ได้เสพ ก็ให้ปล่อยตัวไปทันทีการตรวจสอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 43 ตรี(2) ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งให้ ผู้นั้นหยุดรถและสั่งให้มีการทดสอบตามมาตรา 142 ด้วย

    มาตรา 43 จัตวา(3) ในกรณีที่ผู้ตรวจการพบว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) หรือ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้ผู้ตรวจการส่งตัวผู้นั้นพร้อมพยานหลักฐานในเบื้องต้นแก่พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจโดยเร็ว แต่ต้อง ไม่เกินหกชั่วโมงนับแต่เวลาที่พบการกระทำความผิดดังกล่าว เพื่อดำเนินคดีต่อไป

    มาตรา 43 เบญจ(4) ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 43 ทวิ และมาตรา 43 ตรี ให้ผู้ตรวจการแสดงบัตรประจำ-ตัว ของตนซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 3 หมวดที่ 2 การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า

    หมวด 2
    การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า

    มาตรา 44(5) ผู้ขับขี่ซึ่งประสงค์จะขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถ ซึ่งไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ ต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายครั้ง หรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวขวา หรือให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะ ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันหน้าให้สัญญาณตอบตามมาตรา 37 (3) หรือมาตรา 38 (3) และเมื่อเห็นว่าไม่เป็นการกีด ขวางรถอื่นที่กำลังแซงแล้ว จึงจะแซงขึ้นหน้าได้

    การแซงต้องแซงด้านขวาโดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควร เมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไป ในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วจึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้

    มาตรา 45 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นด้านซ้ายเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
    (1) รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
    (2) ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป การขับรถแซงด้านซ้ายตาม (1) หรือ (2) จะกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะกระชั้นชิดและมีความปลอด ภัยพอ

    มาตรา 46 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้
    (1) เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
    (2) ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยกวงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัด ข้ามทางรถไฟ
    (3) เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะหกสิบเมตร
    (4) เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย

    มาตรา 47 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงหรือผ่านขึ้นหน้ารถอื่นล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถที่กำหนดไว้ หรือที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงเขตอันตราย หรือเขตให้ใช้ความระมัดระวังบนทางเดินรถ
    ในกรณีที่ทางเดินรถด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคแก่การจราจรและทางเดินรถด้านขวามีความกว้างเพียงพอผู้ขับขี่จะขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ก็ได้ในเมื่อ
    ไม่กีดขวางการจราจรของรถที่สวนทางมา

    มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงหรือผ่านขึ้นหน้ารถคันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีที่มีสิ่งกีดขวางการจราจรในทางเดินรถข้างหน้าหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
    จราจรแต่ทั้งนี้จะขับรถอยู่ในช่องเดินรถประจำทางได้เพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

    มาตรา 49 เมื่อได้รับสัญญาณขอแซงขึ้นหน้าจากรถคันที่อยู่ข้างหลังผู้ขับขี่ซึ่งขับรถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่ ใช้ความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถอื่นที่ขับไปในทิศทางเดียวกัน ต้องยอมให้รถที่ใช้ความเร็วสูงกว่าผ่านขึ้นหน้า
    ผู้ขับขี่ที่ถูกขอทางต้องให้สัญญาณตอบตามมาตรา 37 (3) หรือมาตรา 38 (3) เมื่อเห็นว่าทางเดินรถข้างหน้า ปลอดภัยและไม่มีรถอื่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิด และต้องลดความเร็วของรถและขับรถชิดด้านซ้ายของทาง
    เดินรถเพื่อให้รถที่จะแซงผ่านขึ้นหน้าได้โดยปลอดภัย

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 3 หมวด 3 การออกรถ การเลี้ยวรถและการกลับรถ

    หมวด 3
    การออกรถ การเลี้ยวรถและการกลับรถ

    มาตรา 50 การขับรถออกจากที่จอด ถ้ามีรถจอดหรือมีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและ แขนตามมาตรา 37 หรือไฟสัญญาณตามมาตรา 38 และจะขับรถไปได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวาง
    การจราจรของรถอื่น

    มาตรา 51 การเลี้ยวรถ ให้ปฏิบัติดังนี้
    (1) ถ้าจะเลี้ยวซ้าย
    (ก) ในกรณีที่ไม่ได้แบ่งช่องเดินรถไว้ ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางเดินรถด้านซ้าย
    (ข) ในกรณีที่มีการแบ่งช่องเดินรถไว้ และมีเครื่องหมายจราจรแสดงให้เลี้ยวซ้ายได้ ให้ผู้ขับขี่ขับรถในช่องเดินรถสำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้าย ทั้งนี้ ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร (ค) ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางเดินรถด้านซ้ายสุด ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดช่องเดินรถประจำทางก่อนถึง ทางเลี้ยวไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะเลี้ยวรถผ่านเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้เฉพาะในบริเวณที่มีเครื่อง
    หมายจราจรให้เลี้ยวรถผ่านได้เท่านั้น

    (2) ถ้าจะเลี้ยวขวา
    (ก) สำหรับทางเดินรถที่ไม่ได้แบ่งช่องเดินรถไว้ ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านขวาของแนวกึ่งกลางของทางเดินรถก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
    (ข) สำหรับทางเดินรถที่ได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านขวาสุดของทางเดินรถหรือในช่องที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้เลี้ยวขวาได้ ทั้งนี้ ่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
    (ค) ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางเดินรถด้านขวาสุด ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดช่องเดินรถประจำทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่าสามสิบเมตรและจะเลี้ยวรถผ่านเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้เฉพาะในบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยวรถผ่านได้เท่านั้น
    (ง) สำหรับทางเดินรถที่มีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงสัญญาณจราจรด้วยมือและแขน ให้ผู้ขับขี่ขับรถเลี้ยวขวาผ่านไปได้โดยไม่ต้องอ้อมเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
    (จ) เมื่อรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่สวนมาในทางเดินรถทางเดียวกันผ่านทางร่วมทางแยก ไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้

    (3) ถ้าจะเลี้ยวอ้อมวงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ ให้ผู้ขับขี่ขับรถอ้อมไปทางซ้ายของวงเวียนหรือเกาะนั้น ในกรณีตาม (1) และ (2) ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังและต้องหยุดให้ทางแก่ผู้ที่กำลังข้ามทางและรถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านอื่นก่อน เว้นแต่ในกรณีที่มีรถเลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวาพร้อมกัน ให้รถเลี้ยวซ้ายให้ทางแก่รถเลี้ยวขวาก่อน

    มาตรา 52(1) ในทางเดินรถที่สวนกันได้ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่กลับรถหรือเลี้ยวรถทางขวาในเมื่อมีรถอื่นสวนหรือตามมา ในระยะน้อยกว่าหนึ่งร้อยเมตรเว้นแต่เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถอื่น

    มาตรา 53 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่
    (1) เลี้ยวรถหรือกลับรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวาห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามกลับรถ
    (2) กลับรถที่เขตปลอดภัย ที่คับขัน บนสะพาน หรือในระยะหนึ่งร้อยเมตรจากทางราบของเชิงสะพาน
    (3) กลับรถที่ทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถในบริเวณดังกล่าวได้

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 3 หมวด 4 การหยุดรถและจอดรถ

    หมวด 4
    การหยุดรถและจอดรถ

    มาตรา 54 การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา 37 หรือไฟ สัญญาณตามมาตรา 38 ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถ ได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรหรือจอด
    รถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถ ประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่อง
    เดินรถประจำทางนั้น

    มาตรา 55 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
    (1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
    (2) บนทางเท้า
    (3) บนสะพานหรือในอุโมงค์
    (4) ในทางร่วมทางแยก
    (5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
    (6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
    (7) ในเขตปลอดภัย
    (8)(1) ในลักษณะกีดขวางการจราจร ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ซึ่งจำเป็นต้องหยุดรถเพราะมีสิ่งกีดขวางอยู่ในทางเดินรถ หรือเครื่องยนตร์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องหรือในกรณีที่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร

    มาตรา 56 ในกรณีที่เครื่องยนตร์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถ ให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุดในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถใน
    ลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง

    มาตรา 57 เว้นแต่จะได้มีบทบัญญัติ กฎ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ผู้ ขับขี่อดรถ
    (1) บนทางเท้า
    (2) บนสะพานหรือในอุโมงค์
    (3) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก
    (4) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม
    (5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
    (6) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
    (7) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
    (8) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
    (9) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
    (10) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ
    (11) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
    (12) ในที่คับขัน
    (13) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร
    (14) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์
    (15) ในลักษณะกีดขวางการจราจร

    มาตรา 58 การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถนั้นผู้ขับขี่ต้องหยุดเครื่องยนตร์และห้ามล้อรถ นั้นไว้การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง

    มาตรา 59(1) เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อัน เป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้ 
    เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายรถดังกล่าวได้ 
    การเคลื่อนย้ายรถหรือใช้เครื่องมือบังคับให้รถที่หยุดหรือจอดอยู่ไม่ให้เคลื่อนย้ายได้ตามวรรคสอง เจ้า พนักงาน-จราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตาม
    มาตรานี้ เว้นแต่ความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ 
    เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการที่รถถูกเคลื่อนย้ายหรือถูกใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้
    ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่าคันละห้าร้อยบาทและค่าดูแลรักษา ไม่น้อยกว่าวันละสองร้อยบาท 
    เงินที่ได้จากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ซึ่งชำระตามวรรคสี่ เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้นำมา เป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ไม่ชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาตามวรรคสี่ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหน่วงรถนั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว โดยในระหว่าง
    ที่ยึดหน่วงนั้นให้คำนวณค่าดูแลรักษาเป็นรายวัน ถ้าพ้นกำหนดสามเดือนแล้วเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ยังไม่ชำระ ค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำรถนั้นออกขายทอด
    ตลาดได้ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด ค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาที่ค้าง ชำระแล้ว เหลือเงินเท่าใดให้คืนแก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิที่แท้จริงต่อไป

    มาตรา 60 การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาลผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่ ซึ่งขับรถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร

    มาตรา 61 ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะ ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตาม
    ประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 62 ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่าน ถ้าปรากฏว่า
    (1) มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
    (2) มีสิ่งปิดกั้นหรือมีเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
    (3) มีเสียงสัญญาณของรถไฟหรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไปผู้ขับขี่ ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อรถไฟผ่านไปแล้วและมีเครื่อง
    หมายหรือสัญญาณให้รถผ่านได้ ผู้ขับขี่จึงจะขับรถผ่านไปได้

    มาตรา 63 ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มี สัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟในระยะไม่
    น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้

    มาตรา 64 ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถเพื่อรับส่งนักเรียนขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่น ตามมาในทิศทางเดียวกันหรือสวนกันกับรถโรงเรียนใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงให้ขับรถผ่านไปได้

    พรบ. จราจรทางบก ลักษณะที่ 4 การใช้ทางเดินรถประจำทาง ลักษณะ 5 ข้อกำหนดความเร็วรถ

    ลักษณะ 4
    การใช้ทางเดินรถที่จัดเป็นช่องเดินรถประจำทาง

    มาตรา 65 เมื่อเจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศกำหนดให้ช่องเดินรถใดเป็นช่องเดินรถประจำทาง ผู้ขับขี่รถโดย สารประจำทางและรถบรรทุกคนโดยสารตามประเภทที่อธิบดีกำหนด ซึ่งอยู่ในระหว่างรับส่งหรือบรรทุกคน
    โดยสาร ต้องขับขี่รถภายในช่องเดินรถประจำทาง และจะขับขี่รถออกนอกช่องเดินรถประจำทางได้เมื่อมีสิ่งกีด ขวางอยู่ในช่องเดินรถประจำทางนั้น หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ 
    รถบรรทุกคนโดยสารประเภทใดจะต้องเดินในช่องเดินรถประจำทางให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาในการประกาศกำหนดให้ช่องเดินรถใดเป็นช่องเดินรถประจำทางตามวรรคหนึ่ง จะกำหนด เวลาการใช้ช่องเดินรถประจำทางไว้ด้วยก็ได้ กรณีจำเป็นเกี่ยวกับการจราจร เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจประกาศให้รถบรรทุกคนโดยสารประเภทหนึ่งประเภทใดที่อธิบดีกำหนดตามวรรคสองจะต้องเดินในช่องเดินรถประจำ ทางในทางสายใดตอนใดก็ได้

    มาตรา 66 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถอื่นนอกจากรถโดยสารประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดีกำหนด ขับรถในช่องเดินรถประจำทางเว้นแต่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

    ลักษณะ 5 ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ

    มาตรา 67 ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ ได้ติดตั้งไว้ในทางเครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งไว้ตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดอัตราความเร็วขั้นสูงหรือขั้นต่ำก็ได้ 
    แต่ต้องไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 68 ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ ให้รถอื่นแซงหรือผ่านขึ้นหน้าจอดรถ หยุดรถ หรือกลับรถ ต้องลดความเร็ว ของรถ

    มาตรา 69 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเดินรถบนเนินเขา บนสะพาน ที่เชิงสะพาน ที่แคบ ทางโค้ง ทางลาด ที่คับขัน หรือที่มีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะหกสิบเมตร ต้องลดความเร็วของ รถในลักษณะที่จะให้เกิดความปลอดภัย

    มาตรา 70 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้าม เส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องลดความเร็วของรถ

    พรบ.จราจร ลักษณะที่ 6 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน ลักษณะ 7 รถฉุกเฉิน

    ลักษณะ 6
    การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน

    มาตรา 71 ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 26 เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยก ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
    (1) ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน
    (2) ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของ ตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถ ในทางเอกมีสิทธิขับผ่านไปก่อน

    (3)(1) ถ้าสัญญาณจราจรไฟสีเขียวปรากฏข้างหน้า แต่ในทางร่วมทางแยกมีรถอื่นหยุดขวางอยู่จนไม่สามารถ ผ่านพ้นทางร่วมทางแยกไปได้ ผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถที่หลังเส้นให้รถหยุดจนกว่าจะสามารถเคลื่อนรถผ่านพ้น
    ทางร่วมทางแยกไปได้

    มาตรา 72(2) ทางเดินรถทางเอกได้แก่ทางเดินรถดังต่อไปนี้
    (1) ทางเดินรถที่ได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
    (2) ทางเดินรถที่มีป้ายหยุดหรือป้ายที่มีคำว่า ให้ทาง ติดตั้งไว้ หรือทางเดินรถที่มีคำว่าหยุดหรือเส้นหยุดซึ่งเป็น เส้นขาวทึบหรือเส้นให้ทางซึ่งเป็นเส้นขาวประบนผิวทาง ให้ทางเดินรถที่ขวางข้างหน้าเป็นทางเดินรถทางเอก
    (3) ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายจราจรตาม (1) หรือไม่มีป้ายหรือเส้นหรือข้อความบนผิวทางตาม (2) ให้ทางเดิน รถที่มีช่องเดินรถมากกว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
    (4) ถนนที่ตัดหรือบรรจบกับตรอกหรือซอย ให้ทางเดินรถที่เป็นถนนเป็นทางเดินรถทางเอก ทางเดินรถอื่นที่มิใช่ทางเดินรถทางเอกตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นทางเดินรถทางโท

    มาตรา 73 ในกรณีที่วงเวียนใดได้ติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม สัญญาณ-จราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้นถ้าไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้
    ขับขี่ขับรถมาถึงวงเวียน ต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรจะให้สัญญาณจราจร
    เป็นอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณ จราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้

    มาตรา 74 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถออกจากทางส่วนบุคคลหรือทางเดินรถในบริเวณอาคาร เมื่อจะขับรถผ่านหรือเลี้ยวสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่านต้องหยุดรถเพื่อให้รถที่กำลังผ่านทางหรือรถที่กำลังแล่นอยู่ในทางเดินรถผ่านไปก่อนเมื่อ
    เห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้

    ลักษณะ 7
    รถฉุกเฉิน

    มาตรา 75 ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
    (1) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้
    (2) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด
    (3) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
    (4) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลง ตามสมควร
    (5) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับ รถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

    มาตรา 76 เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณ แสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
    (1) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
    (2) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายหรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถใน ทางร่วมทางแยก
    (3) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก ในการปฏิบัติตาม (2) และ (3) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และ
    ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะ 8 การลากรถหรือการจูงรถ ลักษณะ 9 อุบัติเหต

    ลักษณะ 8
    การลากรถหรือการจูงรถ

    มาตรา 77 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถทุกชนิดลากรถหรือจูงรถอื่นไปในทางเกินหนึ่งคัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก อธิบดีวิธีลากรถหรือจูงรถ และการมีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในการลากรถหรือจูงรถให้กำหนดในกฎกระทรวง

    ลักษณะ 9
    อุบัติเหตุ

    มาตรา 78 ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะ เป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตาม สมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่ อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วยในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนีไป หรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดและให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้น
    เป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะ 10 รถจักรยาน ลักษณะที่ 11 รถบรรทุกคนโดยสาร

    ลักษณะ 10
    รถจักรยาน

    มาตรา 79 ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น
    มาตรา 80 รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องจัดให้มี
    (1) กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
    (2) เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดี เมื่อใช้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที
    (3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้าเห็นพื้นทางได้ชัดเจน ในระยะไม่น้อยกว่าสิบห้าเมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
    (4) โคมไฟติดท้ายรถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงสว่างตรงไปข้างหลังหรือติดวัตถุสะท้อนแสง สีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกไฟส่องให้มีแสงสะท้อน

    มาตรา 81 ในเวลาต้องเปิดไฟตามมาตรา 11 หรือมาตรา 61 ผู้ขับขี่รถจักรยานอยู่ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานต้องจุดโคมไฟแสงขาวหน้ารถเพื่อให้ผู้ขับขี่หรือคนเดินเท้า ซึ่งขับรถหรือ
    เดินสวนมาสามารถมองเห็นรถ

    มาตรา 82 ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับ รถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้อง
    ขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น

    มาตรา 83 ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยาน
    (1) ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
    (2) ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
    (3) ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
    (4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
    (5) ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่นเว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคนทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
    (6) บรรทุก หรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถหรืออันอาจ จะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
    (7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะ 12 รถแท็กซี่
    ลักษณะ 12
    รถแท็กซี่

    มาตรา 93 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสารเว้นแต่การบรรทุกนั้นน่าจะก่อให้เกิด อันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสารในกรณีที่ผู้ขับขี่รถแท็กซี่มีความประสงค์จะไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสารให้แสดง ป้ายงดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารวิธีการแสดงป้ายและลักษณะของป้ายงดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยรถยนตร์

    มาตรา 94 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่รับบรรทุกคนโดยสารเกินจำนวนที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนตร์ในการนับจำนวนคนโดยสารให้ถือว่าเด็กอายุไม่เกินสิบปีจำนวนสองคนเท่ากับคนโดยสารหนึ่งคน


    มาตรา 95 ห้ามมิให้ผู้ใด
    (1) เรียกให้คนขึ้นรถแท็กซี่โดยส่งเสียงอื้ออึงหรือในลักษณะที่ก่อความรำคาญให้แก่คนโดยสารหรือผู้อื่น
    (2) ต้อน ดึง เหนี่ยว หรือยึดยื้อคนหรือสิ่งของของคนนั้น เพื่อให้คนขึ้นรถแท็กซี่คันใดคันหนึ่ง 

    มาตรา 96 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่เรียกเก็บค่าโดยสารเกินอัตราที่ปรากฏจากมาตรแท็กซี่ลักษณะและวิธีการใช้ มาตรแท็กซี่ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 97 คนโดยสารต้องชำระค่าโดยสารตามอัตราที่ปรากฏจากมาตรแท็กซี่

    มาตรา 98 บทบัญญัติมาตรา 96 และมาตรา 97 จะใช้บังคับในท้องที่ใด และจะใช้บังคับกับรถแท็กซี่ทุกประเภท หรือบางประเภทโดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาในท้องที่ใดที่มิได้มี
    พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในท้องที่นั้นเรียกเก็บค่าโดยสารเกินราคาที่ตกลง กันไว้กับคนโดยสารและคนโดยสารต้องชำระค่าโดยสารตามที่ตกลงไว้นั้นบทบัญญัติในวรรคสองให้ใช้บังคับแก่
    กรณีของรถแท็กซี่ประเภทที่มิได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย

    มาตรา 99 ในขณะขับรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่
    (1) สูบบุหรี่ เปิดวิทยุ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่ก่อความรำคาญให้แก่คนโดยสาร
    (2) ยื่นมือ แขน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกรถ เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อให้สัญญาณตามมาตรา 37
    (3) จับคันบังคับรถด้วยมือเพียงข้างเดียว เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
    (4) ใช้เสียงสัญญาณเมื่อเข้าไปในบริเวณโรงพยาบาล สถานที่ทำงานหรือสถานศึกษา
    (5) ใช้เสียงสัญญาณแตรเพื่อเร่งรถอื่น
    (6) แซงหรือตัดหน้ารถอื่นในลักษณะฉวัดเฉวียนเป็นที่น่าหวาดเกรงว่าจะเกิดอันตราย
    (7) ขับรถเข้าในบริเวณบ้านของผู้อื่น
    (8) รับคนโดยสารภายในบริเวณที่เจ้าพนักงานจราจรได้กำหนดเครื่องหมายจราจรห้ามรับคนโดยสาร
    (9) กล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว หรือแสดงกิริยาในลักษณะดังกล่าวต่อคนโดยสารหรือผู้อื่น

    มาตรา 100 ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต้องพาคนโดยสารไปยังสถานที่ที่ว่าจ้างตามเส้นทางที่สั้นที่สุดหรือเส้นทางที่ไม่อ้อม เกินควร และต้องส่งคนโดยสาร ณ สถานที่ตามที่ตกลงกันไว้ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่พาคนโดยสารไปทอดทิ้ง ระหว่างทางไม่ว่าด้วยประการใด ๆ

    มาตรา 101 ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต้องแต่งกายและมีเครื่องหมายเย็บติดหรือปักไว้ที่เครื่องแต่งกายลักษณะเครื่อง แต่งกายและเครื่องหมายให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาความในวรรคหนึ่งให้ใช้
    บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศของอธิบดีใช้บังคับ

    มาตรา 102 เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ผู้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถแท็กซี่ในท้องที่ใดต้อง จอดพักรถ ณ สถานที่ที่ใดเป็นการเฉพาะก็ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้ระบุท้องที่ และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีที่จอดพักรถด้วย

    พรบ. จราจรทางบก ลักษณะ 13 คนเดินเท้า ลักษณะ 14 สัตว์และสิ่งของในทาง

    ลักษณะ 13
    คนเดินเท้า

    มาตรา 103 ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน

    มาตรา 104 ภายในระยะไม่เกินหนึ่งร้อยเมตรนับจากทางข้ามห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางนอกทางข้าม

    มาตรา 105 คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้ามที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฏต่อหน้า ดังต่อไปนี้

    (1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือ ไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้า ให้หยุดรอบนไหล่ทางหรือขอบทาง
    (2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียว ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือ ไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถได้
    (3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวกระพริบทางด้านใดของทางให้คนเดินเท้าที่ยังมิได้ข้ามทางเดินรถหยุดรอบน ทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว

    มาตรา 106 คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้ามหรือทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรควบคุมการ ใช้ทางให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
    (1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดงให้รถหยุดทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถตามที่รถหยุดนั้น และต้องข้ามทางเดินรถภายในทางข้าม
    (2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้รถผ่านทางด้านใดของทางห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้านนั้น
    (3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันหรือไฟสีเขียวกระพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังมิได้ข้าม ทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถ หรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถอยู่ในทางข้าม ให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว

    มาตรา 107 คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางที่มีพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงสัญญาณจราจร ให้ปรากฏไม่ว่าจะเป็นสัญญาณด้วยมือและแขน หรือเสียงสัญญาณนกหวีด ให้ปฏิบัติตามมาตรา 106 โดยอนุโลม

    มาตรา 108 ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่
    (1) เป็นแถวทหารหรือตำรวจ ที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน
    (2) แถวหรือขบวนแห่หรือขบวนใด ๆที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจร กำหนด

    มาตรา 109 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ บนทางเท้าหรือทางใด ๆซึ่งจัดไว้สำหรับคนเดินเท้าในลักษณะ ที่เป็นการกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร

    มาตรา 110 ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ ขาย แจกจ่าย หรือเรี่ยไรในทางเดินรถหรือออกไปกลางทางโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเป็นการกีดขวางการจราจร


    ลักษณะ 14 สัตว์และสิ่งของในทาง

    มาตรา 111 ห้ามมิให้ผู้ใดขี่ จูง ไล่ต้อน หรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ

    มาตรา 112 การขี่ จูง หรือไล่ต้อนสัตว์ไปบนทาง ให้ผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ว่า ด้วยรถโดยอนุโลม

    มาตรา 113 เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกคำสั่งห้ามขี่ จูง ไล่ต้อน หรือปล่อยสัตว์ไปบนทางใด ๆ เมื่อ พิจารณาเห็นว่าการขี่ จูง ไล่ต้อน หรือปล่อยสัตว์ดังกล่าวจะกีดขวางการจราจรหรือจะก่อให้เกิดความสกปรก
    บนทาง

    มาตรา 114 ห้ามมิให้ผู้ใดวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็น การกีดขวางการจราจร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร แต่เจ้าพนักงานจราจรจะอนุญาตได้ ต่อเมื่อมีเหตุอันจำเป็นและเป็นการชั่วคราวเท่านั้นผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง นอกจากจะมีความผิดตาม
    มาตรา 148 แล้ว เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ ถ้าไม่ยอมรื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายได้

    มาตรา 115 ห้ามมิให้ผู้ใดแบก หาม ลาก หรือนำสิ่งของไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะ 15 รถม้า เกวียนและเลื่อน ลักษณะ 16 เขตปลอดภัย
    ลักษณะ 15
    รถม้า เกวียนและเลื่อน

    มาตรา 116 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถม้าหรือเกวียนหรือเลื่อนที่เทียมด้วยสัตว์จอดรถม้าหรือเกวียนหรือเลื่อนในทางโดย ไม่มีผู้ควบคุม เว้นแต่ได้ผูกสัตว์ที่เทียมนั้นไว้ไม่ให้ลากรถม้าหรือเกวียนหรือเลื่อนต่อไปได้

    มาตรา 117 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถม้าปล่อยสายบังเหียนในเวลาขับรถม้า

    มาตรา 118 การขับรถม้าหรือเกวียนหรือเลื่อนที่เทียมด้วยสัตว์ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ว่าด้วยรถโดยอนุโลม

    ลักษณะ 16 เขตปลอดภัย

    มาตรา 119 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถเข้าไปในเขตปลอดภัย เว้นแต่ในกรณีจำเป็นและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 17 เบ็ดเตล็ด

    ลักษณะ 17
    เบ็ดเตล็ด

    มาตรา 120 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถถอยหลังในลักษณะที่ไม่ปลอดภัยหรือเป็นการกีดขวางการจราจร

    มาตรา 121 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องนั่งคร่อมบนอานที่จัดไว้สำหรับให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์นั่ง ถ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนให้บรรทุกคนโดยสารได้ คนโดยสารจะต้องนั่งซ้อนท้ายผู้ขับขี่
    รถจักรยานยนต์ และนั่งบนอานที่จัดไว้สำหรับคนโดยสารหรือนั่งในที่นั่งพ่วงข้าง

    มาตรา 122(1) ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อ ป้องกันอันตรายในขณะขับขี่ และโดยสารรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ เฉพาะท้องที่ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ความในวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับลักษณะและ วิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติตามมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นใดที่ใช้ผ้า โพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 123(2) ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถยนต์ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์เกินสองคน ผู้ขับขี่รถยนตร์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนตร์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ และคนโดยสารรถยนต์ดังกล่าวต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนต์ด้วย ประเภทหรือชนิดของรถยนต์ ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัยตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด 
    โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา 124(3) ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นทางด้านหน้าหรือด้านข้าง ของรถได้โดยสะดวกในขณะขับรถหรือในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการควบคุมบังคับรถ
    ห้ามมิให้ผู้ใดเกาะ ห้อยโหนหรือยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายออกไปนอกตัวถังรถยนตร์โดยไม่สมควร หรือ นั่งหรือยืนในหรือบนรถยนต์ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ในขณะที่รถยนต์เคลื่อนที่อยู่ในทางเดินรถ
    ห้ามมิให้ผู้ใดขึ้นหรือลงรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกคนโดยสารรถโรงเรียน หรือรถแท็กซี่ ในขณะที่รถ ดังกล่าวหยุดเพื่อรอสัญญาณไฟจราจรหรือหยุดเพราะติดการจราจร
    ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หรือผู้เก็บค่าโดยสาร รถโดยสารประจำทาง รถบรรทุก คนโดยสาร รถโรงเรียน หรือรถแท็กซี่ ยินยอมให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ ตามวรรคสองหรือวรรคสาม

    มาตรา 125 การขับรถผ่านทางแคบระหว่างภูเขาหรือระหว่างเนิน หรือการขับรถในทางเดินรถบนภูเขาหรือ บนเนิน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อถึงทางโค้งผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณเพื่อเตือนรถอื่น ที่อาจสวนมา

    มาตรา 126 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ใช้เกียร์ว่างหรือเหยียบคลัทช์ในขณะที่ขับรถลงตามทางลาดหรือไหล่เขา

    มาตรา 127 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
    (1) ตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะต่ำกว่าห้าสิบเมตร
    (2) ผ่านเข้าไปหรือจอดในบริเวณเขตปฏิบัติการดับเพลิง
    (3) ทับสายสูบดับเพลิงที่ไม่มีเครื่องป้องกันสายสูบในขณะเจ้าหน้าที่ดับเพลิงปฏิบัติการตามหน้าที่ เว้นแต่ได้รับ ความยินยอมจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิงซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั้น

    มาตรา 128 ห้ามมิให้ผู้ใดวาง เท หรือทิ้งเศษแก้ว ตะปู ลวด น้ำมันหล่อลื่น กระป๋องหรือสิ่งอื่นใด หรือกระทำด้วย ประการใด ๆ บนทางอันอาจทำให้เกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล หรือเป็นการกีดขวางการ จราจร

    มาตรา 129 ผู้ใดรู้ว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามมาตรา 128 อันอยู่ในความดูแลของตน ตก หก หรือไหลอยู่บนทาง ผู้นั้น ต้องจัดการเก็บกวาดของดังกล่าวออกจากทางทันที

    มาตรา 130 ห้ามมิให้ผู้ใดเผา หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ภายในระยะห้าร้อยเมตรจากทางเดินรถ เป็นเหตุ ให้เกิดควันหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้ไม่ปลอดภัยแก่การจราจรในทางเดินรถนั้น

    มาตรา 131 ผู้ใดเคลื่อนย้ายรถที่ชำรุดหรือหักพังออกจากทาง ผู้นั้นต้องจัดการเก็บสิ่งของที่ตกหล่นอันเนื่องจาก ความชำรุดหรือหักพังของรถออกจากทางทันที

    มาตรา 132 ในขณะที่ใช้รถโรงเรียนรับส่งนักเรียน เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่รถโรงเรียนต้องจัดให้มีข้อความ รถ โรงเรียน ขนาดสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่าสิบห้าเซนติเมตรติดอยู่ด้านหน้าและด้านหลังของรถ
    ถ้ารถโรงเรียนมีไฟสัญญาณสีแดงปิดเปิดเป็นระยะติดไว้ด้านหน้าและด้านหลังของรถเพื่อให้รถที่สวนมาหรือ ตามหลังเห็นได้โดยชัดเจน เมื่อนำรถนั้นไปใช้ในทางโดยไม่ได้ใช้รับส่งนักเรียนให้งดใช้ไฟสัญญาณสีแดงและ
    ต้องปิดคลุมข้อความว่า รถโรงเรียน

    มาตรา 133 รถที่เข้าขบวนแห่ต่าง ๆ หรือรถที่นำมาใช้เฉพาะเพื่อการโฆษณาสินค้าหรือมหรสพที่แห่หรือโฆษณา ไปตามทาง จะต้องรับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร เว้นแต่ขบวนแห่หรือการโฆษณานั้นเป็นของทางราชการ รถที่ใช้โฆษณาสินค้าหรือมหรสพดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ถ้าเข้าขบวนแห่ที่รับอนุญาตแล้ว และในการอนุญาตนั้น
    ได้ระบุรถที่ว่านี้ไว้ด้วยแล้ว รถนั้นไม่จำต้องได้รับอนุญาต

    มาตรา 134(1) ห้ามมิให้ผู้ใดแข่งรถในทาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร ห้ามมิให้ผู้ใดจัด สนับสนุน หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถในทาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนัก


    งาน-จราจร

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 18 
    อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร และพนักงานเจ้าหน้าที่

    มาตรา 135 เพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจกำหนดให้บริเวณหรือ พื้นที่ใดที่เจ้าของที่ดินได้เปิดให้ประชาชนใช้ในการจราจรเป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้

    มาตรา 136 ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่จะกำหนดและผ่านการอบรมตามหลักสูตรอาสาจราจร เพื่อให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
    คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการอบรม รายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกอบรมหลักสูตรอาสาจราจรและหน้าที่ของอาสา จราจร ตลอดจนเครื่องแบบ เครื่องหมาย ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด

    มาตรา 137 ในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของอาสาจราจรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อาสาจราจรเป็นเจ้า พนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

    มาตรา 138 ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น ทำให้ไม่ปลอดภัย หรือไม่สะดวกในการจราจรในอาณา บริเวณใด เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการได้ตามที่เห็นสมควรและจำเป็นเกี่ยว
    กับการจราจร ในอาณาบริเวณนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรดังต่อไปนี้
    (1) ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดหรือคนเดินเท้าเดินในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใด
    (2) ห้ามหยุดหรือจอดรถในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใด
    (3) ห้ามเลี้ยวรถ กลับรถ หรือถอยหลังรถ ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใด
    (4) กำหนดทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดให้รถเดินได้ทางเดียว ทั้งนี้ ชั่วระยะเวลาเท่าที่จำเป็น

    มาตรา 139 ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดที่เจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าถ้าได้ออกประกาศข้อบังคับหรือ ระเบียบเกี่ยวกับการจราจรแล้วจะเป็นการปลอดภัย และสะดวกในการจราจร ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ
    ออกประกาศข้อบังคับ หรือระเบียบดังต่อไปนี้

    (1) ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน
    (2) ห้ามหยุดหรือจอด
    (3) ห้ามเลี้ยวรถ กลับรถ หรือถอยหลังรถ
    (4) กำหนดให้รถเดินได้ทางเดียว
    (5) กำหนดระยะเวลาจอดรถในทางแคบหรือที่คับขัน
    (6) กำหนดอัตราความเร็วของรถในทางภายในอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
    (7) กำหนดช่องหรือแนวทางเดินรถขึ้นและล่อง
    (8) กำหนดทางเดินรถทางเอกและทางเดินรถทางโท
    (9) กำหนดการจอดรถหรือที่จอดพักรถ
    (10) กำหนดระเบียบการใช้ทางหรือช่องเดินรถสำหรับรถบางประเภท
    (11) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้รถโรงเรียน
    (12) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยาน
    (13) ควบคุมขบวนแห่หรือการชุมนุมสาธารณะ
    (14) ควบคุมหรือห้ามเลี้ยวรถในทางร่วมทางแยก
    (15) ขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง หรือติดตั้งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจร
    (16) กำหนดระยะทางตอนใดให้ขับรถล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ได้
    (17) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจอดรถที่ชำรุด หักพัง ตลอดจนรถที่ซ่อมแซมในทาง
    (18) กำหนดระเบียบการข้ามทางของคนเดินเท้าบนทางที่ไม่มีทางข้าม
    (19) กำหนดการใช้โคมไฟ
    (20) กำหนดการใช้เสียงสัญญาณ
    (21) กำหนดระเบียบการอนุญาตและการใช้รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยาง

    มาตรา 140(1) เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่า ปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา 157 ทวิ มาตรา 159 มาตรา 160 และมาตรา 160 ทวิ ห้ามมิให้ว่ากล่าวตัก เตือนหรือทำการเปรียบเทียบ ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้า หน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวน ภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง
    ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับ และผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าวเว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่
    การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

    มาตรา 141(2) ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งตามมาตรา 140 อาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
    (1) ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่งหรือตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ ในใบสั่งหรือสถานที่ที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในวัน เวลา ที่ระบุไว้ในใบสั่ง
    (2) ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่งโดยการส่งธนาณัติ หรือการส่งตั๋วแลกเงินของธนาคารโดยทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียน สั่งจ่ายให้แก่อธิบดีพร้อมด้วยสำเนาใบสั่งไปยังสถานที่ และภายในวัน เวลา ที่ระบุไว้ใน
    ใบสั่งเมื่อผู้ได้รับใบสั่งได้ชำระค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้วให้คดีเป็นอันเลิกกัน และในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือ
    พนักงานสอบสวนรีบจัดส่งใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้คืนให้แก่ผู้ได้รับใบสั่งโดยเร็ว และให้ถือว่าใบรับการ ส่งธนาณัติ หรือใบรับการส่งตั๋วแลกเงินประกอบกับใบสั่งเป็นใบแทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นเวลาสิบวัน นับแต่วัน
    ที่ส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินดังกล่าว วิธีการชำระค่าปรับโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและวิธีการส่งใบอนุญาต ขับขี่คืนให้แก่ผู้ได้รับใบสั่งให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

    มาตรา 141 ทวิ(3) ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 141 ให้พนักงานสอบสวนม อำนาจดังต่อไปนี้

    (1) ในกรณีที่ทราบที่อยู่ของผู้ขับขี่หรือที่อยู่ของเจ้าของรถ ให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ ให้มารายงานตัวที่พนักงานสอบสวนในกรณีดังกล่าว นี้ผู้ได้รับหมายเรียกต้องมารายงานตัวตามวัน เวลา และ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในหมายเรียก และให้พนักงานสอบ สวนดำเนินการเปรียบเทียบและว่ากล่าวตักเตือนผู้ได้รับหมายเรียกดังกล่าว
    (2) ในกรณีที่ไม่อาจส่งหมายเรียกให้แก่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถได้ให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือไปยังนาย ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์และตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เพื่อให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้มา ติดต่อขอชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไปรายงานตัวที่พนักงานสอบสวนตาม หมายเรียกถ้าผู้มาติดต่อขอชำระภาษีประจำปีเป็นเพียงตัวแทนของเจ้าของรถ ให้ผู้มาติดต่อแจ้งให้เจ้าของรถ
    ทราบเพื่อไปรายงานตัวที่พนักงานสอบสวนตามหมายเรียกในกรณีดังกล่าวนี้ ให้นายทะเบียนงดรับชำระภาษีประจำปี สำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าได้มีการปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นแล้ว การงดรับชำระภาษีประจำปีไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นไม่ต้องชำระเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่า ด้วยการขนส่งทางบก แล้วแต่กรณี

    มาตรา 142(1) เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ
    (1) รถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6
    (2) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยว กับรถนั้น ๆ (26)(2) ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อน ความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่
    (3)ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อ ให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว และเมื่อผู้นั้นยอมให้ทดสอบแล้ว เหตุผลการทดสอบปรากฏว่าไม่ได้ฝ่าฝืน มาตรา 43 (1) หรือ (2) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที
    (4)การทดสอบตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 143 ถ้าปรากฏว่าผู้ขับขี่นำรถที่มีสภาพไม่ถูกต้องตามมาตรา 6 ไปใช้ในทาง นอกจากจะต้องรับโทษตาม บทบัญญัตินั้น ๆ แล้ว เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ ซ่อมหรือแก้ไขรถให้ถูกต้อง

    มาตรา 143 ทวิ(5)เจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถเพื่อทำการ ตรวจสอบในเมื่อรถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ทวิ และมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการ ใช้รถนั้นเป็นการชั่วคราว และให้เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ซ่อมหรือแก้ไขรถให้ถูกต้อง

    มาตรา 144(6) เมื่อเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ได้ซ่อมหรือแก้ไขรถถูกต้องตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้า หน้าที่ หรือผู้ตรวจการ ซึ่งสั่งตามมาตรา 143 หรือมาตรา 143 ทวิ แล้ว ให้นำรถไปให้เจ้าพนักงานจราจรหรือผู้ที่ อธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจตรวจรถตรวจรับรอง เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่จะนำรถออกใช้ในทางได้เมื่อได้รับใบตรวจรับรอง การตรวจรับรองรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 145(1) บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกจากความผิดที่กำหนดโทษไว้ในมาตรา 157 ทวิ มาตรา 159 มาตรา 160 และมาตรา 160 ทวิ ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจเปรียบเทียบหรือว่ากล่าวตักเตือนได้ในกรณีที่ผู้ขับขี่ได้ขับรถชนหรือโดนคนเดินเท้า
    ที่ข้ามทางนอกทางข้ามและอยู่ในระหว่างทางข้ามกับเครื่องหมาย จราจรแสดงเขตทางข้าม หรือที่ข้ามทางนอกทางข้ามโดยลอด ข้าม หรือผ่านสิ่งปิดกั้น หรือแผงปิดกั้นที่เจ้าพนักงาน จราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่นำมาวางหรือตั้งอยู่บนทางเท้าหรือกลางถนน เมื่อพนักงานสอบสวนมีเหตุผลอัน ควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาได้ใช้ความระมัดระวังตามความในมาตรา 32 แล้ว ให้พนักงานสอบสวนมี
    อำนาจปล่อยตัวผู้ต้องหาไปชั่วคราวโดยไม่มีประกันได้ เมื่อผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องร้องขอ

    มาตรา 146 เงินค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้รับในกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดใด หรือในท้องถิ่นที่ กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด ให้แบ่งให้แก่กรุงเทพมหานครหรือเทศบาลในจังหวัดนั้นเพื่อใช้ในการ
    ดำเนินการเกี่ยวกับการจราจร ในอัตราร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินค่าปรับ หรือให้ตกเป็นของท้องถิ่นที่ กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดทั้งหมด

    พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 19 บทกำหนดโทษ

    ลักษณะ 19
    บทกำหนดโทษ

    มาตรา 147 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 12 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 81 มาตรา 82 มาตรา 103 มาตรา 104 มาตรา 105 มาตรา 106 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 มาตรา 131 หรือมาตรา 132 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองร้อยบาท

    มาตรา 148 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง มาตรา 20 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 44 มาตรา 51 มาตรา 54 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 60 มาตรา 62 มาตรา 63 
    มาตรา 68 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 73 วรรคสอง มาตรา 74 มาตรา 76 มาตรา 83 มาตรา 84 มาตรา 87 มาตรา 88 มาตรา 96 วรรคหนึ่ง มาตรา 97 มาตรา 101 มาตรา 107 มาตรา 108 มาตรา 109 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 114 วรรคหนึ่ง มาตรา 118 มาตรา 119 มาตรา 120 มาตรา 121 มาตรา 122 มาตรา 123 มาตรา 124 มาตรา 126 มาตรา 129 หรือมาตรา 133 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

    มาตรา 149 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 98 วรรคสองหรือวรรคสามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

    มาตรา 150 ผู้ใด
    (1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 14 วรรคสอง
    (2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสอง
    (3) ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18
    (4) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งตามมาตรา 113 หรือ
    (5) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 140 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าร้อยบาท

    มาตรา 151 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 39 มาตรา 52 มาตรา 61 หรือ
    มาตรา 66 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองร้อยบาทถึงห้าร้อยบาท

    มาตรา 152(2) ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 7 มาตรา 10 ทวิ มาตรา 13 วรรคหนึ่ง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง 
    มาตรา 16 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง มาตรา 22 มาตรา 23 (1) มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 29 มาตรา 49 
    มาตรา 50 มาตรา 56 มาตรา 64 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง มาตรา 73 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม มาตรา 77 วรรคหนึ่ง 
    มาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 89 วรรคหนึ่ง มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 มาตรา 94 วรรคหนึ่ง 
    มาตรา 95 มาตรา 99 มาตรา 127 มาตรา 128 หรือมาตรา 130 หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่อธิบดีกำหนดตาม 
    มาตรา 15 วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 77 วรรคสอง หรือมาตรา 96 วรรคสอง ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

    มาตรา 153 ผู้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถแท็กซี่ผู้ใดไม่จอดรถ ณ สถานที่ที่กำหนดตาม พระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามมาตรา 102 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

    มาตรา 154(2) ผู้ใด
    (1) ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 138 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
    (2) ฝ่าฝืนคำสั่ง ข้อบังคับ หรือระเบียบของเจ้าพนักงานจราจรตามมาตรา 139
    (3) ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 142 วรรคสอง หรือ
    (4) ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการตามมาตรา 143 ทวิ ถ้าไม่เป็นความผิดที่กำหนดโทษไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท

    มาตรา 155 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 141 โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

    มาตรา 156(3) ผู้ใดนำรถที่เจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการได้สั่งให้เจ้าของรถหรือผู้ ขับขี่ซ่อมหรือแก้ไขตามมาตรา 143 หรือมาตรา 143 ทวิ ไปใช้ในทางโดยยังมิได้รับใบตรวจรับรองตาม
    มาตรา 144 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และปรับรายวันอีกวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

    มาตรา 157(4)) ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 มาตรา 43 (3) (4) (6) หรือ (7) มาตรา 45 มาตรา 46 
    มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 53 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 125 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึง หนึ่งพันบาท

    มาตรา 157 ทวิ(5)) ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรพนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการที่ให้มีการตรวจสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา 43 ทวิ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
    คำสั่งของผู้ตรวจการที่ให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา 43 ตรี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
    หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีกหนึ่งในสาม และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนด ไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เป็นเหตุ ให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสน สองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ และถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิก ถอนใบอนุญาตขับขี่

    มาตรา 158 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 หรือมาตรา 100 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 17 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับ ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 159(1) ผู้ขับขี่ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง หรือขัดขวางเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้เคลื่อนย้ายรถ หรือมิให้ใช้เครื่องมือ
    บังคับรถมิให้เคลื่อนย้ายตามมาตรา 59 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้า พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือ
    บังคับรถมิให้เคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนย้ายรถที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องมือบังคับมิให้ เคลื่อนย้ายตามมาตรา 59 วรรคสอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานสอบสวน ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 160(2) ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึง หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ (8) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 160 ทวิ(3) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 134 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึง หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    มาตรา 161(4) ในกรณีที่ผู้ขับขี่ผู้ใดได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้ญชา-การตำรวจภูธร ผู้บังคับการตำรวจจราจร ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดครั้งละ ไม่เกินหกสิบวันผู้สั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ตามวรรคหนึ่งอาจบันทึกการยึดและคะแนนไว้ด้านหลังใบอนุญาต
    ขับขี่ที่ถูกยึด และดำเนินการอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำตั้งแต่สองครั้งภายในหนึ่งปี รวมทั้งสั่งพัก ใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่เสียคะแนนมากของผู้ขับขี่นั้นมีกำหนดครั้งละไม่เกินเก้าสิบวันการดำเนินการบันทึก
    คะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนดโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ขับขี่ซึ่งถูกสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ตามวรรคหนึ่ง หรือถูกสั่งพักใช้ใบ
    อนุญาตขับขี่ตามวรรคสอง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่ออธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งยึดหรือสั่งพักใช้ ใบอนุญาตขับขี่ให้อธิบดีวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคสี่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ถ้าไม่ได้ วินิจฉัยชี้ขาดภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าอธิบดีวินิจฉัยไม่ให้ยึดใบอนุญาตขับขี่ หรือไม่พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ตามคำอุทธรณ์ของผู้ขับขี่คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด

    มาตรา 162 ในคดีที่ผู้ขับขี่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอัน เกี่ยวกับรถนั้น ๆ นอกจากจะได้รับโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่าหากให้ผู้นั้นขับรถต่อ ไปอาจก่อให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ศาลมีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ของผู้นั้นได้

    มาตรา 163 คดีที่มีผู้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับทางหลวงหรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ ถ้าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้นก่อให้เกิด ความเสียหายแก่สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำหรือติดตั้งไว้ เมื่อพนักงาน อัยการยื่นฟ้องผู้กระทำความผิด ให้พนักงานอัยการเรียกราคาหรือค่าเสียหายสำหรับสัญญาณจราจรหรือ เครื่องหมายจราจรดังกล่าวด้วย

    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
    พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
    นายกรัฐมนตรี


    หมายเหต ุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการคมนาคมและขนส่งทางบกได้เจริญ ก้าวหน้าขยายตัวไปทั่วประเทศและเชื่อมโยงไปยังประเทศใกล้เคียง และจำนวนยานพาหนะในท้องถนนและ ทางหลวงได้ทวีจำนวนขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทาง ถนนและพิธีสารว่าด้วยเครื่องหมายและสัญญาณตามถนน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ซึ่งได้ใช้บังคับมากว่าสี่สิบปี ให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรและจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้น และเพื่อความ
    ปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

    พรบ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2522

    พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522


    หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 บางมาตรามีลักษณะไม่เหมาะสมและบกพร่องขัดต่อการปฏิบัติในบางท้องที่ จึงเห็น สมควรที่จะตราพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ขึ้น[รก.2522/211/1พ/19 ธันวาคม 2522]

    พรบ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2529
    พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2529


    หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติห้ามรถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารแล่นในช่องทางเดินรถ ด้านขวามือข้อห้ามนี้รวมถึงรถบรรทุกเล็กที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมด้วยแต่รถดังกล่าวมิใช่รถ ที่มีความเร็วช้าหรือใช้ความเร็วต่ำ จึงไม่จำเป็นต้องบังคับให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุด การบังคับ เช่นนี้ทำให้ผู้ใช้รถดังกล่าวไม่ได้รับความเป็นธรรม สมควรให้รถบรรทุกเล็กที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อย กิโลกรัมสามารถใช้ทางเดินรถขวามือได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น [รก.2529/180/1พ/17 ตุลาคม 2529]

    พรบ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2535
    พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535


    หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้วบทบัญญัติบางประการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการจราจร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.2535/39/44/6 เมษายน 2535]

    พรบ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538
    พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2538


    มาตรา 4 ในกรณีของรถยนตร์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ขับขี่รถยนตร์และ คนโดยสารรถยนตร์นั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

    หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบัน อุบัติเหตุจากการจราจรทางบกมีผลต่อการพัฒนาประเทศโดยตรงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนสูงขึ้นเป็นอันมาก สมควรกำหนดมาตรการเพื่อสร้างความปลอดภัยและลดความรุนแรงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ขับขี่รถยนตร์ และคนโดยสารรถยนตร์ โดยกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนตร์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับ รถยนตร์และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนตร์ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนตร์รัดร่างกาย ด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนตร์และคนโดยสารรถยนตร์ดังกล่าวต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนตร์ด้วยจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.2538/42ก/1/6 ตุลาคม 2538]

    พรบ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2542
    พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2542


    หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นบน ท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากผู้ ขับขี่เมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนในขณะขับรถ แม้จะ ได้มีการจับกุมปราบปรามและป้องกันมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือเมาสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวขณะขับรถแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า ยังมีผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนอยู่อีก สมควร

    กำหนดให้ผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์มีอำนาจ ดำเนินการเกี่ยวกับการทดสอบหรือการตรวจสอบของมึนเมาหรือสารเสพติดดังกล่าวในผู้ขับขี่ได้เช่นเดียวกับ พนักงานจราจรและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเจ้า
    พนักงานดังกล่าวและปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่และ ผู้ตรวจการให้สามารถดำเนินการทดสอบหรือตรวจสอบตลอดจนจับกุมปราบปรามผู้ขับขี่ซึ่งเมาสุราหรือของเมา อย่างอื่นหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนในขณะขับรถให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดความปลอดภัยในท้องถนนมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.2542/20ก/13/25 มีนาคม 2542]