โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากไหมพรม

5. วัสดุอุปกรณ์และวิธีการถักผ้าพันคอจากไหมพรม

2.1  ความหมายของสิ่งประดิษฐ์

นาง อุลัยวรรณ      คำดี ได้ให้ความหมายงานประดิษฐ์ไว้ว่า  หมายถึง  กิจกรรม

สร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลที่เกิดจากการถ่ายทอดความรู้  ความคิด  และประสบการณ์  ตลอดจนทักษะความชำนาญออกมาเป็นผลงานที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้

             นาง อุลัยวรรณ  คำดี ได้ให้ความหมายของงานประดิษฐ์ว่า สิ่งที่ทำขึ้น  สร้างขึ้น  จัดทำขึ้นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความประณีต สวยงาม และยังรู้จักใช้เวลาวางให้เกิดประโยชน์

สรุปว่า งานประดิษฐ์คือ งานที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรในการสร้างชิ้นงาน แต่ใช้สมองกับ ๒ มือและเป็นผลงานที่ต้องใช้ความอดทน ความรักในงาน ความคิดที่สร้างสรรค์ จินตนาการ ความละเอียดและที่สำคัญ คือความมีคุณค่าทางจิตใจของผู้สร้างงานประโยชน์คือเป็นงานที่สามารถคิดต่อยอดจากการประดิษฐ์นั้นๆไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด งานประดิษฐ์บางชิ้นสามรถสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและประเทศชาติได้ และประโยชน์อันมาจากการนำไหมพรมหรือที่ใครคิดไม่ถึงสามารถมาทำประโยชน์ได้อย่างมีคุณค่า สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

                สรุปได้ว่า  งานประดิษฐ์หมายถึง  กิจกรรมสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลที่ทำขึ้น  จากความคิด  ประสบการณ์  และสิ่งที่ทำขึ้น  สร้างขึ้น  จัดทำขึ้นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความประณีต สวยงาม และยังรู้จักใช้เวลาวางให้เกิดประโยชน์

1. ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของงานประดิษฐ์

       นางรัศมี   ศรีจันทร์สอน  ได้กล่าวถึงประโยชน์ของงานประดิษฐ์ว่ามีอยู่ ๒ ด้าน  คือ

 ๑.  ด้านที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้แก่

        ๑.๑  สร้างความสนุกสนานและเพลิดเพลินให้แก่ผู้ประดิษฐ์

        ๑.๒  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

        ๑.๓  ทำให้เกิดสมาธิเพราะใจจะจดจ่ออยู่กับการสร้างผลงานให้ประสบความสำเร็จ

        ๑.๔   ฝึกการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

        ๑.๕  ฝึกทักษะและความชำนาญในการสร้างหรือประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ

        ๑.๖   นำไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง

 ๒.   ด้านที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน  ได้แก่

        ๒.๑ ฝึกการทำงานร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

        ๒.๒ ใช้วัสดุที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่า

        ๒.๓  เกิดอาชีพใหม่จากงานประดิษฐ์รูปแบบต่างๆ

        ๒.๔  สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศในรูปแบบสินค้า

       2 .หลักการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์

        นาง อุุลัยวรรณ  คำดี (๒๕๕๔:๕)  ได้กล่าวว่าถึงหลักในการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์   ไว้ดังนี้

        ๑. หมั่นศึกษาหาความรู้ในงานที่ตนเองสนใจโดยศึกษาจากผู้ชำนาญการในชุมชนหรือท้องถิ่นนั้น ๆ  หรือศึกษาหาความรู้จากโรงเรียนหรือสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาตัวอย่างจากสิ่งประดิษฐ์ที่สนใจ เป็นต้น

        ๒. ศึกษาวิธีการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน  ในการประดิษฐ์ชิ้นงานอาจเลียนแบบชิ้นงานจากภาพ  หรือชิ้นงานจริง  ซึ่งผู้เรียนควรศึกษาหลักการและวิธีการในการประดิษฐ์ชิ้นงานนั้น ๆ โดยการวิเคราะห์ด้วยตนเองหรือศึกษาจากผู้รู้  ผู้เชี่ยวชาญ  หรือศึกษาจากสื่อต่าง ๆ เช่น  วารสาร  หนังสือ อินเตอร์เน็ต  เป็นต้น

        ๓. ทดลองปฏิบัติการประดิษฐ์  ในกรณีที่ผู้เรียนต้องการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ขึ้นเองหรือเรียกกันว่างานประดิษฐ์ประเภทนวัตกรรม  ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้าและทดลองปฏิบัติตามแนวคิดที่สร้างสรรค์ไว้  ซึ่งเป็นการลงมือทดลองทำในลักษณะลองผิด  ลองถูก  และมีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจนสำเร็จเป็นชิ้นงานประดิษฐ์ที่พึงพอใจ

3. กระบวนการในการทำงานประดิษฐ์

                นาง อุลัยวรรณ  คำดี   (๒๕๕๔: ๓๐- ๔๔)  ได้สรุปขั้นตอนกระบวนการทำงานประดิษฐ์ไว้ดังนี้

                ๑. ขั้นการวางแผนการทำงาน เป็นการกำหนดรูปแบบเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานโดยกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีปฏิบัติไว้ล่วงหน้า  เพื่อมุ่งหวังให้ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ซึ่งในการวางแผนโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับคน  เงินทุน  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือ  และเวลารวมทั้งวิธีการทำงาน  ซึ่งเป็นการคาดคะเนว่า  จะทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงานนั้น ๆ ประมาณเท่าใด  เป็นต้น

            ๒. ขั้นปฏิบัติงานตามแผน  เป็นขั้นตอนการนำวิธีการที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผนการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้  ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องใช้กระบวนการบริหารอย่างเป็นระบบ  ซึ่งจะช่วยให้บรรลุตามแผนที่วางไว้ในการปฏิบัติงาน แบ่งได้    ขั้นตอน   ดังนี้

          ๒.๑ ขั้นเตรียมการ

                ๒.๑.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานและให้ผู้ร่วมงานทุกคนเข้าใจชัดเจนในเรื่องจุดประสงค์ของแผนจะต้องรู้ว่าจะทำอะไร  ที่ไหน มีงบประมาณมากน้อยเพียงใด  พร้อมทั้งชี้แจงขั้นตอนในการปฏิบัติงานทั้งนี้ควรแจกปฏิทินในการปฏิบัติงานด้วย

                      ๒.๑.๒ จัดระบบงาน โดยแบ่งหน้าที่และมอบหมายงานให้ผู้เร่วมงานรับผิดชอบพร้อมจัดระบบควบคุมงาน

                 ๒.๑.๓ เตรียมสถานที่ที่จะปฏิบัติงาน

                      ๒.๑.๔ เตรียมและจัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ  เครื่องใช้  สำหรับการผลิต

      ๒.๒ ขั้นลงมือปฏิบัติ

                      ๒.๒.๑ ดำเนินการผลิต

                      ๒.๒.๒ ประสานงานระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระยะ  เพื่อให้งานเป็นไปตามขั้นตอน

                      ๒.๒.๓ จัดให้มีการบันทึกการปฏิบัติงานทุกระยะตามแผนที่วางไว้  เมื่อมีปัญหาให้บันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งหาแนวทางในการดำเนินการแก้ไข

                      ๒.๒.๔ จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

                 ๒.๔.๕ ดำเนินการจำหน่ายหรือบริการ

        ๒.๓ ขั้นสรุปผลการปฏิบัติงาน  เป็นการสรุปงานที่ปฏิบัติ  สรุปบัญชีรายรับ-รายจ่าย  เพื่อการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในขั้นประเมินผล 

                ๓. ขั้นประเมินผลการทำงาน  เป็นลำดับขั้นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานที่วางแผนไว้เพื่อหาข้อบกพร่องของการปฏิบัติงานในขั้นตอนต่าง ๆ เป็นวิธีในการควบคุมตรวจสอบว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนหรือไม่  เกิดปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานมากน้อยแค่ไหน ขั้นการประเมินผลประกอบด้วย

                     ๓.๑ การประเมินผลในระหว่างปฏิบัติงาน  เป็นการประเมินระหว่างที่โครงการกำลังดำเนินอยู่โดยมีจุดหมายเพื่อควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้และแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

                      ๓.๒ การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินคุณค่าของโครงการ  โดยวิเคราะห์จุดอ่อนของโครงการ  เพื่อการปรับปรุงแก้ไข  และนำส่วนดีที่ได้จากการปฏิบัติไปใช้ในเวลาต่อไป

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการถักผ้าพันคอจากไหมพรม

๑.        นางอุลัยวรรณ   คำดี เชี่ยวชาญในท้องถิ่นได้อธิบายถึงวัสดุอุปกรณ์      และวิธีการถัก

๒.       หมวกจากไหมพรมไว้ดังนี้

 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้

        นางรัศมี   ศรีจันทร์สอน(ผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น)ได้อธิบายถึงวัสดุอุปกรณ์และวิธีการถักผ้าพันคอจากไหมพรมไว้ดังนี้

                ๑.คู่มือการถักไหมพรม
                ๒.ไหมพรม
                ๓. แผ่น Easy Knit Frame (5 ซี่/เฟรม) 5 แผ่น
                ๔. เข็มโครเชต์
                ๕. ไม้ถัก
          ๖.กรรไกร
                ๗.สอบถามผู้เชี่ยวชาญ
                ๘.อินเตอร์เน็ต (Internet)

2.2  เว็บไซต์ ( Website ) 

เว็บไซต์ (อังกฤษ: https://docs.google.com/viewer?a) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยง กันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำ ขึ้นเพื่อนา เสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ใน เวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะ ให้บริการต่อผู้ใช้ฟรีแต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ เพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำ เว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือ องค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

           หลักในการออกแบบเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์นั้นควรเริ่มจากการสร้างแผนผังของเว็บไซต์ก่อน หรือที่เรียกว่า  Site Map

                ขั้นตอนที่ 2 กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจ

              กำหนดการเชื่อมโยงให้เว็บเพจแต่ละหน้าเชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้กลับไปกลับมา ระหว่างหน้าต่าง ๆ ได้  โดยแสดงชื่อไฟล์  HTML  แต่ละไฟล์ที่มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  

ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้า

           สามารถออกแบบหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าให้สวยงาม โดยเฉพาะในเว็บเพจหน้าแรก ซึ่งเรียกว่า โฮมเพจนักเรียนควรออกแบบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมในขั้นตอนการออกแบบ นี้ บางทีอาจเรียกว่าการออกแบบเลย์เอาท์ (Lay Out) สามารถทา ได้โดยการเขียนลงในกระดาษ หรือใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้ 

                ขั้นตอนที่ 4 การสร้างเว็บเพจแต่ละหน้า

           นำเว็บเพจที่ออกแบบไวม้าสร้างโดยใช้ภาษา html หรืออาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น FrontPage, Macromedia  Dreamweaver หรือโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความถนัด

ขั้นตอนที่ 5 การลงทะเบียนขอพื้นที่เว็บไซต์ 

             การเผยแพร่เว็บไซต์ที่สร้างเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บุคคลอื่นๆ  สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ วิธีการ คือ นำเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นไปไว้บนพื้นที่ที่ให้บริการ (Web Hosting) ซึ่งมีพื้นที่ ที่ให้บริการฟรี และแบบที่ต้องเสียค่าบริการ

ขั้นตอนที่ 6 การอัพโหลดเว็บไซต์

           หลังจากสร้างเว็บไซต์และลงทะเบียนขอพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์แล้ว   ให้ใช้โปรแกรม สำ หรับอับโหลด (Upload)  เช่นโปรแกรม  CuteFTP  เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเรา ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลักในการสร้างเว็บเพจ

1. การวางแผน

             กำหนดเนื้อหา ก่อนลงทำเว็บ เราจะต้องรู้ว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด ทั้งนี้เพื่อที่เราจะไดนำเนื้อหา เหล่านั้นมาใส่ในเว็บเพื่อแสดงให้เห็นว่าเนื้อหา โดยรวมเกี่ยวกับอะไร   เช่น  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีข้อมูลของคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ลักษณะ ราคาแต่ละรุ่นและสถานที่ขาย เป็นต้น

          ออกแบบมุมมองในหน้าเว็บ (LayOut) คือการจัดวางองค์ประกอบในเว็บเพจว่าส่วนใดควรจะ มีอะไร อาจทำโดยการร่างใส่กระดาษเปล่า ๆ ไว้ก่อนหรือใช้โปรแกรมแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการ ออกแบบก็ได้    การใช้ตารางช่วยในการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บนั้นจะทำ ให้เว็บเพจมีความเป็น ระเบียบยิ่งขึ้น และสะดวกต่อการแก้ไข ปรับปรุง 

                2. การเตรียมการ

                 เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่นักเรียนคิดว่า ต้องการจะนำเสนอในการทำเว็บเพจนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร การรวบรวมข้อมูลก็ มีส่วนสำคัญย่างยิ่ง เช่น ถ้าจะทำเว็บ เกี่ยวกับ โรงเรียน ก็ต้องไปหาคติพจน์ประจำ โรงเรียน สีประจำโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียน ประวัติโรงเรียน ฯลฯ มารวบรวมไว้  แล้วหลังจากนั้นก็เอาข้อมูลนั้นมา จัดรูปแบบในเว็บต่อไป การหาเครื่องมือในการจัดทำ นั้น ก็เป็นเรื่องสำคัญเครื่องมือในที่นี้ หมายถึง

โปรแกรมการทำงานต่าง ๆ เช่นโปรแกรมจัดการรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  โปรแกรมในการ จัดทำเว็บเพจจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการสร้างต้องเตรียมการให้ พร้อม

 3. การจัดทำ  

               เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทา   อาจจะทำคนเดียว หรือทำ เป็นกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือที่เตรียมไว้ซึ่งจะอธิบายถึง วิธีการจัดทา หรือวิธีการสร้างเว็บเพจในลำ ดับต่อไป

                4. การทดสอบและการแก้ไข

               การสร้างเว็บเพจทุกครั้งควรจะมีการทดสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้งเพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมา แก้ไขการทำเว็บนั้นเมื่อทำเสร็จและอับโหลดไปไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้วให้ทดลองแนะนำ เพื่อนที่ สนิทชิดเชื้อและใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ ลองเปิดดูและให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การเชื่อมโยงต่าง ๆ , รูปภาพ และตัวอักษร ว่าถูกต้องช้าไป หรือเปล่า หากทดสอบจากเครื่องของตนเองแล้ว ข้อผิดพลาด ต่างๆ มักจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็นเนื่องจากว่าข้อมูลต่างๆ  จะอยู่ในเครื่องของตนเองและการเชื่อมโยง ต่างๆ เช่นกัน โปรแกรมจะทา การค้นหาในเครื่องจนพบ ทา ให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังจากทดสอบ แล้วให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพดลาด

5. การนำเว็บเพจต่าง ๆ มารวบรวมเป็นเว็บไซต์        เมื่อสร้างเว็บเพจเสร็จ จัดรวบรวม และเรียบเรียงหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าทำ การทดสอบ แก้ไข ปรับปรุงเสร็จแล้ว ก็สามารถเผยแพร่เว็บเพจทั้งหมดออกสู่สาธารณชนในรูปแบบของเว็บไซต์ได้ 

2.3  Blog คืออะไร

รู้จักกับBlog

  Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)

                ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

                มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น

                จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง

                ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น

 ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริงสรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย