คุณค่าด้านเนื้อหา เห็นแก่ลูก

ภาษาไทย(สอบกลางภาค)

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ประพันธ์โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

ใช้พระนามแฝงว่า พระขรรค์เพชร

(พระนามแฝงของท่านมีมากมาย เช่น

บทละครพูด ทรงใช้ ศรีอยุธยา,พระขรรค์เพชร

บันเทิงคดี ทรงใช้ พันแหลม,รามจิตติ,นายแก้ว นายขวัญ)

ลักษณะคำประพันธ์ เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีลักษณะยาว ๑ องก์(ตอน)

ระยะเวลาในการแต่ง ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘

คุณค่าของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

๑.ข้อคิดคติธรรม

     ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๒.ด้านความรู้

     มาตราเงินไทยในสมัยนั้นมีหน่วยเป็นชั่งและบาท

     รูปแบบของการเขียนบทละครพูด

     การใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง

     เทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการถ่ายภาพ

๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม

     สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงาน การรดน้ำอวยพรและการให้ของรับไหว้

     ค่านิยมให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย

     สังคมไทยยกย่องคนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต และไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ ทำผิดกฎหมาย

     ทำให้ทราบหน่วยเงินที่ใช้ในสมัยนั้น

๔.ด้านวรรณกรรม

     มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ทำให้เห็นอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ เข้ามาใช้ในภาษาไทย

     ภาษาเข้าใจง่าย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจพฤติกรรมของตัวละครและเหตุการณ์ได้ชัดเจน

มีคำอุทานในบทสนทนา ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวาน่าติดตาม

     มีการใช้ภาษาพูดในยุคสมัยนั้น ทำให้ได้รับความรู้เรื่องการใช้คำศัพท์ในยุคสมัยนั้น

*บละครพูดขนาดสั้น คือ

     ใช้บทสนททนาในการดำเนินเรื่อง

     ตัวละครน้อย ๒-๓ คน

     มีฉากเดียว

     แนวคิดแก่นของเรื่องมีแนวเดียว

งานนำเสนอเรื่อง: "บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก By Pratchanee P. 2/2015

2 บทนำเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่า “พระขรรค์เพชร” เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงคิดโครงเรื่องเอง เป็นละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์โดยมิใช่เป็นการแปล ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ถึง ๑๓ ภาษา ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่น จีน นอร์เวย์ สเปน รัสเซีย อังกฤษ อินโดนีเซีย อาหรับ ฮินดี สิงหล มาเลย์ ฝรั่งเศส เกาหลี เพื่อเฉลิม พระเกียรติในงานฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

3 ที่มาของเรื่อง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ทรงแปลหรือแปลงมาจากภาษาต่างประเทศ และทรงคิดผูกโครงเรื่องขึ้นเอง บางครั้งทรงอำนวย การซ้อมและทรงร่วมแสดงด้วย ในจำนวนบทละครพูด ที่เป็นเรื่องพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ- พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคิดโครงเรื่องเองเป็น บทละครพูดภาษาไทยเรื่องแรก คือ บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก “บทละครพูด” มีที่มาจากประเทศทางตะวันตก และเริ่มแพร่หลายในประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับความนิยมสูงสุดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดร้อยแก้ว มีความยาว ๑ องก์ เนื้อเรื่องมีขนาดสั้น ปมเรื่องไม่ซับซ้อน บทละครพูดเป็นการสนทนาโต้ตอบของตัวละครที่เหมือนในชีวิตจริง

4 พระราชประวัติผู้ทรงพระราชนิพนธ์
ที่มาของเรื่อง พระราชประวัติผู้ทรงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือ ด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครองราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๕ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๕ ปี ได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” พ.ศ. ๒๕๑๕ UNESCO ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็น บุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และ นักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

5 ที่มาของเรื่อง เนื้อเรื่องย่อ
พระยาภักดีเกรงว่าบุตรสาวจะต้องอับอายขายหน้า จึงให้เงินนายล้ำเพื่อให้กลับไป นายล้ำแสดงความเห็นแก่ตัวโดยจะขอพบแม่ลออ แม่ลออบังเอิญมาพบและพูดด้วย ความภาคภูมิใจในบิดาที่ให้กำเนิดตน นายล้ำเกิด ความละอายใจและเห็นแก่ลูก ไม่เปิดเผยความจริงเพื่อให้แม่ลออมีชีวิตที่มีความสุขต่อไป พระยาภักดีและนายล้ำเคยเป็นเพื่อนกัน และรักผู้หญิงคนเดียวกัน คือ แม่นวล ซึ่งเป็นมารดาของแม่ลออ แม่นวลได้ฝากลูกสาวไว้กับพระยาภักดีก่อนสิ้นใจ พระยาภักดีเลี้ยงแม่ลออและรักเหมือนลูกแท้ ๆ อบรมเลี้ยงดูและปลูกฝังให้มีความรักต่อบิดาแท้ ๆ นายล้ำบิดาของแม่ลออเป็นคนดื่มเหล้าจัด เคยต้องโทษจำคุกถึง ๑๐ ปี นายล้ำกลับมาเพราะต้องการแสดงตัวว่าเป็นบิดาของแม่ลออ เนื่องจากได้ข่าวว่าแม่ลออจะแต่งงานกับบุตรพระยารณชิตซึ่งมีฐานะดี นายล้ำจึงหวังจะมาขออยู่กับลูกสาว

6 ที่มาของเรื่อง ตัวอย่างเนื้อเรื่อง
นายล้ำ. (นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วพูด เสียงออกเครือ ๆ.) เจ้าคุณขอรับ ใต้เท้าพูดถูก, เด็กคนนี้ดีเกินที่จะเป็นลูกผม ผมมันเลวทรามเกินที่จะเป็นพ่อเขา ผมพึ่งรู้สึกความจริงเดี๋ยวนี้เอง. พระยาภักดี. (ตบบ่านายล้ำ.) พ่อล้ำ! นายล้ำ. หล่อนได้เขียนรูปพ่อของหล่อนขึ้นไว้ในใจเป็นคนดีไม่มีที่ติ ผมไม่ต้องการจะลบรูปนั้นเสียเลย. (ถอดแหวนวงหนึ่งจากนิ้ว.) นี่แน่ะครับแหวนนี้เป็นของแม่นวล ผมได้ติดไปด้วยสิ่งเดียวเท่านี้แหล่ะ เจ้าคุณได้โปรดเมตตาผมสักที พอถึงวันแต่งงานแม่ลออ เจ้าคุณได้โปรดให้แหวนนี้แก่เขา บอกว่าเป็นของรับไหว้ของผม ส่งมาแทนตัว.

7 บทวิเคราะห์ ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา บทละครพูดมีความยาว ๑ องก์
๑. คุณค่าด้านเนื้อหา บทละครพูดมีความยาว ๑ องก์ ตัวละครหลักในเรื่องมี ๓ ตัว ได้แก่ นายล้ำ พระยาภักดีนฤนาถ และแม่ลออ ๑.๑ โครงเรื่อง ๑.๒ ตัวละคร ๑.๔ แก่นเรื่อง ๑.๓ ฉาก สำนึกของความเป็นพ่อ และความเสียสละของพ่อ ที่มีต่อลูก เหตุการณ์ตามเนื้อเรื่องอยู่ในช่วง ยุคสมัยรัชกาลที่ ๖ สถานที่คือ ห้องหนังสือภายในบ้านของ พระยาภักดีนฤนาถ

8 บทวิเคราะห์ ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๒.๑ ลักษณะการประพันธ์ ประพันธ์ด้วยรูปแบบของบทละครพูดร้อยแก้ว ๒.๒ ศิลปะการประพันธ์ ๑). ใช้ภาษาเข้าใจง่าย เป็นภาษาพูดสนทนากันและ มีการบรรยายกิริยาอาการ ความรู้สึก นายล้ำ (เสียงเครือ.) เจ้าคุณ! ผม...ผม... (เช็ดน้ำตา.) พระยาภักดี อ๊าย! ไม่รับไม่ได้ ไม่รับโกรธกันเทียว. (ยัดเยียดธนบัตรให้นายล้ำ.) นายล้ำ (รับธนบัตร.) ผมจะไม่ลืมพระเดชพระคุณใต้เท้าจนตายทีเดียว ขอให้เชื่อผมเถอะ. ตัวอย่าง

9 บทวิเคราะห์ ๒.๒ ศิลปะการประพันธ์
๒.๒ ศิลปะการประพันธ์ ๒). มีคำอุทานในบทสนทนา ทำให้บทสนทนาดูมีชีวิตชีวา น่าสนใจ น่าติดตาม พระยาภักดี. ฮือ! แล้วก็ทำยังไงล่ะ ฉันหวังใจว่าการที่ทำนั้นไม่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย, แต่ที่จริงนี่ก็ไม่ต้องกล่าวเพราะถ้าผิดกฎหมายแกคงไม่มาเล่าให้ฉันฟัง. นายล้ำ. อ้อ! เจ้าคุณนี่ก็ยังช่างพูดอยู่เหมือนหนุ่ม ๆ น่ะเอง การที่ผมทำน่ะ เป็นการค้าขายครับ. ตัวอย่าง ๓). มีการใช้ภาษาพูดในยุคสมัยนั้น เช่น กระได หล่อน เทียว

10 บทวิเคราะห์ ๒.๒ ศิลปะการประพันธ์
๒.๒ ศิลปะการประพันธ์ ๔). มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น ออฟฟิศ ๕). มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามรูปแบบของภาษาอังกฤษ พระยาภักดี. ฮือ! พิศ ๆ ไปก็ออกจะจำได้ นายล้ำใช่ไหม ? นายล้ำ. ขอรับ นายล้ำ ทิพเดชะ. พระยาภักดี. อ้อ ๆ นั่งเสียก่อนซิ, (นั่งทั้งสองคนด้วยกัน.) เป็นยังไง สบายดีอยู่ดอกหรือ ? ตัวอย่าง

11 บทวิเคราะห์ ๓. คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม
๓. คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม ๓.๑ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งงานว่ามีการรดน้ำอวยพร จากผู้ใหญ่อันเป็นประเพณีการแต่งงานที่ดีงาม และผู้ใหญ่จะมี ของรับไหว้ตามประเพณี ๓.๒ ค่านิยมไทยสมัยก่อนจะให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ๓.๓ สังคมไทยสมัยนั้นใช้เงินเป็น “ชั่ง” เป็น “บาท” เช่น ห้าสิบชั่ง สามสี่ร้อยบาท ๓.๔ สังคมไทยสมัยนั้นมีการถ่ายภาพแล้ว ๓.๕ สังคมไทยยกย่องชื่นชมการทำมาหากินอย่างสุจริต และถ้าทำผิดกฎหมายจะถูกลงโทษ ผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตทำผิดกฎหมายจะไม่ได้รับการยอมรับในสังคม

12 ๒. ได้ความรู้เกี่ยวกับสภาพ สังคมไทยสมัยก่อนทั้งวิถีชีวิต ประเพณี และค่านิยม
๑. ได้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ ของการเขียนบทละครพูด และการใช้ภาษาในบทสนทนา ความรู้จากวรรณคดี ๓. ได้ความรู้เกี่ยวกับมาตราเงินไทย สมัยนั้นว่ามีหน่วยเป็นชั่งและบาท ๔. ได้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใน สมัยรัชกาลที่ ๖ ว่ามี การถ่ายภาพ

13 ข้อคิดนำชีวิต ๑. มนุษย์ทุกคนไม่ว่าไพร่ ผู้ดี มีความรักลูกเสมอ แม้ว่าคนที่เห็นแก่ตัวอย่างนายล้ำ สุดท้ายก็แสดงแก่นแท้ของหัวใจที่รักลูก เห็นแก่ลูก ยอมเสียสละเพื่อลูก ๒. เมื่อจะเลี้ยงดูผู้ใดก็ควรให้ความรัก ความเมตตา ดูแลทะนุถนอมอย่างพระยาภักดี เลี้ยงแม่ลออ ๓. เลือกประกอบอาชีพที่สุจริต และมีความซื่อสัตย์ในหน้าที่ของตน ไม่โลภ ไม่คดโกง ๔. ไม่ดื่มสุราและไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดทุกชนิด เพราะสารเสพติดทำลาย ทั้งสติปัญญา สุขภาพ และอนาคต

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีคุณค่าด้านใดบ้าง

บทละครพูดเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อสองรูปแบบ คือพ่อที่แท้จริงและพ่อบุญธรรมแม้ไม่ใช่พ่อที่แท้จริงหากได้เลี้ยงดูมาก็ย่อมรัก หวังดีต่อลูกและทำทุกอย่างเพราะเห็นแก่ลูกมากกว่าเห็นแก่ตัว สำหรับพ่อที่แท้จริงแม้จะเคยทำตนไม่ดีมาก่อน แต่เมื่อพบความรักที่บริสุทธ์จริงใจของลูกทำให้สำนึกและเสียสละเพื่อลูก

คุณธรรมสำคัญที่ปรากฏในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีอะไรบ้าง

แม้ว่าบทละครพูดเรื่องนี้จะแต่งขึ้นมากกว่า ๙๐ ปี ความนิยมบางอย่าง ตลอดจนวิธีการใช้คำพูดและกิริยามารยาทอาจจะเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ ความรักของบุพการีที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญที่แสดงไว้ในเรื่อง รวมไปถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและความรักในศักดิ์ศรี

คุณค่าทางด้านเนื้อหาคืออะไร

๑. คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหา หมายถึง ใจความของเรื่อง รายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์ ต่าง ๆ ของวรรณคดีและวรรณกรรม เนื้อหาจึงประกอบด้วย ฉาก ตัวละคร เหตุการณ์ต่าง ๆ บทสนทนา ของตัวละคร การพิจารณาคุณค่าด้านเนื้อหา จึงต้องพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้ว่ามีครบถ้วนหรือไม่ สมจริงอย่างไร มีเหตุผลเพียงใด มีคุณค่าต่อผู้อ่านอย่างไร ...

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ 1. การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังจะเห็นได้จากผลทุจริตของนายล้ำที่ต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลา ๑๐ปี 2. ความรักระหว่างพ่อลูกเป็นความรักบริสุทธิ์ไม่หวังผล ดังที่นายล้ำล้มเลิกความเห็นแก่ตัวของตนเอง เมื่อได้รับรู้ว่าแม่ลออมีความภาคภูมิใจในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอย่างไร