การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย


การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย


          �.����觡�� �� �����秡�ͧ���ա���觡�� ����������������� ���� ����ͼ����� ��觼������ ��м�Ң����ҤҴ��� ��� �繪ش������ͧ�ͧ������ҹ
               �. �������١��ҹ���ͤ������ѧ ���͡�����֡�� ���Ф���Ҥ��� �����������ç��秡�ͧ������ �֧��ͧ����١��ҹ��觤�˹������ ����ա��ѧ �ç �� ����秡�᷹ͧ �繡���׺�ʹ���ླ��㹵��
               �. �ҧ��ͧ��� �ѧ�ա�����ͧ���ѭ�ҳ��ҧ� �� �յ͹���¡��Ǻ�ҹ��Ъ�� ����Ӥ�� ���¡��� "��ͧ�ŧ" �ա�ͧ�͹��ҧ�׹���¡��� "��ͧ�֡" �繵�

การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

���觢����� : �������Է�� ��վ� , ����ط�� �����ķ��� , �������ɰ� ����

-------------------------------------------------------------------------
˹����ѡ | ��ͧ����ѭ�ҳ�����ѧ | ������ѧ | �����秡�ͧ |
��鹵͹��÷ӡ�ͧ��� | ��ͧ��秡Ѻ��û�Ѻ����¹�ҧ�ѧ�� |
��ͧ��秡Ѻ���Իѭ�Ҫ�Ǻ�ҹ | ������������ǡѺ��ͧ |
������ѡ�ҡ�ͧ��� | ���ླա����秡�ͧ | �Էҹ�������Ǣ�ͧ |
�š��ͧ | ���͹��ѡ����Ż�Ѳ����� | ������Ѿ��੾�� | ���觢�����
-------------------------------------------------------------------------

การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยสมัยก่อนกำลังจะถูกอิทธิพลของชาวต่างชาติคลอบงำทำให้เลือนหายไป  คนไทยสมัยก่อนนั้นนิยมใส่เสื้อผ้าที่ทอด้วยมือทำจากผ้าไหมซึ่งเป็นผ้าไทยนำมาทำเป็นสไบสำหรับผู้หญิง เสื้อจะเป็นลายลูกไม้สวยงาม   ส่วนชาวบ้านที่ผู้ชายจะนิยมผ้าขาวม้าซึ่งใช้กันทั้งในอดีตและปัจจุบัน  การแต่งกายแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย  มีความสวยงาม  สุภาพ  เรียบร้อย   มีความละเอียดในการทอ    บ่งบอกถึงนิสัยของคนไทยสมัยก่อนว่า ผู้หญิงจะค่อนข้างรักนวลสงวนตัว ปัจจุบันแทบหาไม่ได้แล้วเนื่องจากอิธิพลชาวต่างชาติแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็วทำให้การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์แบบนี้เริ่มจางหายไป

การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวนเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจง ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ

การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

เนื่องจากการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เหล่านี้กำลังจะลบเลือนหายไปจึงมีกลุ่มคนบางกลุ่มออกมาอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทย โดยการแต่งชุดไทยออกไปในพื้นที่สาธารณะหรือพิธีการสำคัญ เช่น กรณีด็อกเตอร์ยุ้ย

(คุณ Rungrut Sutthiwarotamakun)ที่ใส่ชุดไทยสไบเขียวพร้อมเครื่องประดับทองสวยงาม รับปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์สาขา Medical school จาก Gasgow Univisity ประเทศสก็อตแลนด์ (เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาเอกนี้ด้วย) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการประกาศว่าคนไทยก็มีความสามารถไม่ต่างชาติคนชาติอื่น การกระทำนี้ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติและได้รับความชื่นชมจากคนไทยอย่างมากมาย อีกทั้งยังเป็นจุดประกายให้คนไทยหันมาใส่ชุดไทยในชีวิตประจำวันมากขึ้น

วัฒนธรรมไทยด้านการแต่งกาย ตั้งแต่ในอดีตมานั้นคนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยซึ่งทำจากผ้าไหม ผ้าทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนผู้ชายก็มีการแต่งกายที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม่พ้นผ้าขาวม้าซึ่งนิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่

ตัวอย่าง ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวนเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจง สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ

ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยมตามชาวยุโรปซึ่งทำให้กายแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลื่อนหายไปมาก 

            ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยมตามชาวยุโรปซึ่งทำให้กายแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลือนหายไปมาก  จึงน่าใจหายและน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งหากคนไทยไม่ช่วยกันอนุรักษ์การแต่งกายด้วยผ้าไทยไว้  เราอาจจะมีเพียงคำบอกเล่าถ่ายทอดให้ลูกหลานฟังโดยส่งต่อเพียงภาพวาดหรือภาพถ่ายของชุดไทยเท่านั้น เอกลักษณ์การแต่งกายของไทยจะเลือนหายไปในที่สุด

การแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า

1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

ดังนั้น จึงอาจสรุปลักษณะการแต่งกายของแม่ญิงล้านนาอย่างคร่าวๆได้ ดังนี้

การเกล้าผมและเครื่องประดับศีรษะ

1. การเกล้าผม  การเกล้ามวยผมของหญิงชาวล้านนามีหลายแบบ เช่น เจ้านายไทเขินจะเกล้ามวยไว้กลางหัว ไทใหญ่มวยอยู่ กลางหัวแต่จะเอียงมาทางซ้าย เพื่อให้ปลายผมทิ้งชายยาวห้อยลงมา ส่วนการเกล้าผมอย่างคนไทยวน มีชื่อเรียกขานต่างๆ กัน ดังนี้

‘เกล้าวิดว้อง’ เป็นการเกล้าผมทรงสูงแล้วดึงปอยผมขึ้นมาเป็นว้องหรือเป็นห่วงอยู่กลางมวย

‘เกล้าผมบ่มจ๊อง หรือ ผมอั่วจ๊อง’ คือ การเอาผมปลอมปอยหนึ่ง (จ๊อง-ช้อง) ใส่เข้าไปในมวยผมเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

‘เกล้าผมแบบอี่ปุ่น หรือ เกล้าแบบสตรีญี่ปุ่น’ เป็นทรงผมที่นิยมมากในสมัย พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

          2. เครื่องประดับศีรษะและการตกแต่งมวยผม  ‘ปิ่นปักผม’ ชาวยองเรียกปิ่นว่า หมาดโห ส่วนลาวล้านช้างเรียกว่า หมั้นเกล้า การใช้ปิ่นปักผมมีประโยชน์ทั้งใช้เพื่อขัดผมให้อยู่ทรง หรือใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามให้มวยผม วัสดุที่นำมาทำปิ่นก็มีแตกต่างกันไป เช่น ปิ่นเงิน ปิ่นทองคำ ปิ่นทองเหลือง ปิ่นที่ทำจากเขา-กระดูกสัตว์

ลักษณะของปิ่นปักผม มีหลายรูปแบบต่างกันออกไป เช่น ปิ่นทองเหลืองลักษณะโบราณที่แม่แจ่ม ทำเป็นช่อชั้นคล้ายเจดีย์ ซึ่งปิ่นโบราณที่พบในล้านนาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ส่วนยอดปิ่นอาจประดับด้วยอัญมณีอย่างทับทิมหรือหินสีก็ได้ นอกจากนี้ยัง มีปิ่นที่ทำเป็นรูปร่ม ได้แก่ ปิ่นจ้องของชาวไทลื้อ หรือไทเขินในเชียงตุง

‘ดอกไม้ไหว’ เมื่อยามจะไปวัดทำบุญหญิงชาวล้านนามักจะเหน็บดอก ไม้ไว้ที่มวยผม ดังมีคำกล่าวว่า ‘เหน็บดอกไม้เพื่อบูชาหัว และเพื่อก้มหัวบูชาพระเจ้า’ โดยดอกไม้ส่วนใหญ่ที่นำมาประดับเวลาไปวัดนั้น มักเป็นดอกไม้หอมสีสุภาพ เช่น ดอกเก็ดถะหวา (ดอกพุดซ้อน) ดอกจำปา-จำปี เป็นต้น ส่วนดอกไม้ที่นำมาประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามนั้น มักนิยมใช้ดอกเอื้องผึ้ง ซึ่งต่อมาได้มีการ ประดิษฐ์ดอกเอื้องด้วยทองคำ เงิน ทองเหลือง เรียกว่า เอื้องเงินเอื้องคำ นอกจากนั้นก็ยังมีดอกเอื้องที่ทำจากกระดาษอีกด้วย

การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

‘หวีสับ’ หวีสับที่นำมาประดับผมมีทั้งหวีงา หวีทอง หวีเงิน หวีเขาสัตว์ หรือปัจจุบันมักเห็นเป็นหวีพลาสติก ซึ่งพบได้มากในหญิง ชาวไทลื้อสิบสองพันนา ที่มักจะใช้หวีสับสีสันสดใสเป็นเครื่องประดับมวยผม ส่วนหวีที่ทำจากทองคำ เงิน หรือ หวีที่ทำจากงาช้าง มักจะเป็นหวีของชาวไทใหญ่

‘โพกหัว เคียนผ้า’ มักพบการโพกหัวในชีวิตประจำวันของ คนเฒ่าคนแก่ชาวยองในลำพูน หรือชาวไทลื้อในสิบสองพันนา ที่ต่างก็โพกผ้าขาวเป็นปกติเวลาไปวัดเพื่อความเรียบร้อย อีกทั้งยังช่วยกันแดดและกันฝุ่นผงที่จะมาเกาะผมที่ชโลมน้ำมันมะพร้าวไว้

นอกจากนั้นการโพกผ้ายังสามารถเป็นตัวบ่งชี้สถานภาพของผู้หญิงอีกด้วย เช่น หญิงไทลื้อในเมืองอู ถ้ายังไม่ออกเรือนจะ โพกหัวด้วยผ้าสีชมพู แต่ถ้าออกเรือนแล้ว จะโพกผ้าสีอะไรก็ได้

เครื่องประดับร่างกาย

1. ตุ้มหู    การเจาะหูนั้นภาษาล้านนา เรียกว่า บ่องหู ชาวไทใหญ่ เรียกว่า ปี่หู ส่วนตุ้มหูของชาวไทยวนมีลักษณะต่างๆ กันไป เช่น

‘ด็อกหู’ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นคำๆ เดียวกับ ‘ดอกหู’ ซึ่งอาจหมายถึงการเอาดอกไม้มาเสียบไว้ที่ติ่งหูก็เป็นได้ จะมีลักษณะ เป็นตุ่มกลมๆ

‘ลานหู’ มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป เพื่อให้รูที่เจาะไว้ขยายกว้างออก เรียกว่า ‘ควากหู’

นอกจากนั้นยังมีคำต่างๆ ที่ใช้เรียกตุ้มหูอีกหลายคำ เช่น ท่อต๊าง ท่อต๊างลานหู หน้าต้าง หละกั๊ด เป็นต้น
2. สร้อย    ‘สร้อยคอ’ หรือที่ภาษาเหนือเรียกว่า ‘สายคอ’ แต่เดิมการใส่สร้อยคอของหญิงล้านนาอาจจะไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากพิจารณา ดูจากภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ไม่ปรากฏว่ามีรูปผู้หญิงใส่สร้อยคอ แต่จะมีการใส่สร้อยสังวาลปรากฏอยู่แทน ดังนั้นการ ใส่สร้อยคอน่าจะเพิ่งได้รับความนิยมในสมัยหลังมานี้

‘จี้คอกับสร้อยอุบะ’ จี้คอเป็นเครื่องประดับที่ใช้คู่กับสร้อยคอ โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามความชอบของแต่ละคน ส่วนสร้อยอุบะจะมีลักษณะกลมกลืนกันระหว่างส่วนที่เป็นสร้อยกับอุบะ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลาง

‘ล็อกเกต เข็มกลัด’ ล็อกเกตจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ‘จี้’ แต่จะเปิดออกได้ โดยข้างในมักนิยมใส่รูปบุคคลที่มีความสำคัญ ต่อเจ้าของ แต่บางครั้งล็อกเกตนี้ก็สามารถดัดแปลงเป็นเข็มกลัดได้ด้วย

‘สร้อยสังวาล’ ผู้รู้ทางด้านการแต่งกายแบบล้านนาได้กล่าวไว้ว่า สร้อยสังวาลนี้น่าจะเป็นเครื่องทรงของเจ้านายฝ่ายหญิง มากกว่าจะเป็นของหญิงสามัญชน จำนวนเส้นของสร้อยสังวาลยังบอกถึงฐานะทางสังคมอีกด้วย แต่โดยปกติจะใส่พาดทับผ้าสไบเพียง เส้นเดียว

การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย
การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย
การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

          3. กระดุม  ภาษาพื้นเมืองเรียก ‘บ่าต่อม’ น่าจะใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเมื่อสังเกตจากภาพจิตร กรรมฝาผนังในล้านนา ก็จะเห็นแต่ผู้ชายที่ใส่เสื้อแบบฝรั่งเท่านั้นที่ติดกระดุม กระดุมมีหลายประเภทและใช้วัสดุแตกต่างกันไป เช่น ลักษณะกระดุมที่เป็นเชือกถักขอดเป็นปม น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากจีน ส่วนเสื้อของไทใหญ่ไทลื้อจะเป็นกระดุมห่วงที่สามารถถอดไป ใช้กับเสื้อตัวอื่นได้ โดยกระดุมเหล่านี้มีทั้งทำมาจากทองคำ นาก เงิน อัญมณี แก้ว เป็นต้น

4. เข็มขัด  ภาษาล้านนาเรียกว่า ‘สายฮั้งบอกแอว’ ส่วนชาวจังหวัดน่านเรียกว่า ‘แบ้ว’ สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ‘BELT’ ส่วนชาวลำปางเรียกว่า ‘ต้าย’ เป็นทั้งเครื่องใช้และของประดับ ควบคู่ไปกับผ้าซิ่นและเตี่ยวสะดอ แต่ถ้าสังเกตจากภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ภาพของทั้งบุรุษและสตรีล้วนแต่ไม่ใช้เข็มขัด แต่จะใช้วิธีทบและขมวดปมผ้าซิ่นหรือกางเกงแทน

          5. กำไล  ภาษาล้านนาเรียกกำไลว่า ‘ขอแขน ว้องแขน ขะแป่ง’ ชาวไทลื้อเชียงคำ เรียกกำไลว่า ‘กอกไม้’ ส่วนชาวไทใหญ่ เรียกว่า ‘แหวนมือ’ โดยลักษณะของกำไลนั้นมีหลายแบบ เช่น กำไลวง คือ กำไลที่มีลักษณะเป็นวงกลมธรรมดา กำไลเกลียว มีลักษณะเป็นเกลียวเดียวหรือหลายเกลียวเรียงกัน ส่วนกำไลข้อเท้า จะเรียกว่า ‘ขอแฅ่ง หรือ ว้องแฅ่ง’

6. แหวน  ภาษาไทลื้อเรียกว่า ‘จอบมือ’ ภาษาไทใหญ่เรียกว่า ‘มงกวย’ ทางภาคเหนือมีแหวนช่อ (จ้อ) ลักษณะเป็นช่อเป็นชั้น ความสำคัญของแหวนล้านนา น่าจะอยู่ที่หัวแหวนเป็นสำคัญ คือ แก้วหรืออัญมณีที่ใช้ประดับแหวน แก้ววิเศษที่ถือว่าเป็นของมงคล ในการนำมาทำเป็นหัวแหวน เช่น แก้ววิทูรย์ แก้วผักตบ แก้วบัวรกต แก้วมหานิลไชยโชค แก้วมหานิลซายคำ เป็นต้น

ผ้าซิ่น

ผ้าซิ่นที่แม่ญิงชาวล้านนานิยมนุ่ง มีแบบที่ตัดสำเร็จ และแบบที่เป็นผืน เรียก ‘ซิ่นต่วง’ หรือ ‘ซิ่นบ้วง’ ปัญหาของการนุ่งซิ่น คือ การนุ่งซิ่นกลับหัว มักจะเกิดกับซิ่นลาว ซิ่นไทลื้อ เพราะ ซิ่นลาวมักมีลวดลายซับซ้อน ส่วนซิ่นไทลื้อจะมีผ้าสีห้อมเป็นเชิง ในส่วนที่ เป็นลายจะพาดอยู่ตรงสะโพก

          ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม  เมืองแม่แจ่มได้รับการกล่าวถึงความประณีตในศิลปะแห่งการทอผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ้าซิ่นที่เป็นของเก่าจะมีลวดลายแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ที่สนใจซื้อหาไปสะสม เมื่อซิ่นแม่แจ่มเริ่มมีชื่อเสียง การทอผ้าซิ่น แบบใหม่จึงได้เริ่มขึ้น แต่เนื่องจากลวดลายแบบเก่านั้นทำยาก ซิ่นแม่แจ่มในปัจจุบันจึงเป็นลวดลายแบบใหม่ ผ้าฝ้ายที่ใช้ก็มัก เป็นผ้าฝ้ายเกลียวจากโรงงาน มากกว่าที่จะใช้ผ้าฝ้ายจากธรรมชาติ

การอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

  ซิ่นก่านซิ่นต๋า  ซิ่นต๋า ซิ่นก่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซิ่นต่อตีนต่อแอว (แอว-เอว) “ต๋า” คือ ลายเส้นพาดขวางกับลำตัว “ก่าน” คือ ลายพาด “ต่อตีนต่อแอว” คือ การเอาผ้าซิ่นอีกชิ้นต่อตรงหัวซิ่น และอีกชิ้นหนึ่งต่อเป็นตีนซิ่น ดังนั้น ซิ่น 1 ผืน จึงประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ในส่วนที่เป็น “ต๋า หรือ ก่าน” จะมีชื่อเรียกเฉพาะที่ต่างกันออกไป เช่น

ซิ่นต๋าผุด คือ ซิ่นที่มีลวดลายในตัวแต่มองเห็นได้ไม่ชัดนัก
ต๋าแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาดเส้นเดียว
สองแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาด 2 เส้น เป็นต้น

ซิ่นก่านซิ่นต๋า หรือ ซิ่นต่อตีนต่อแอวนี้ เป็นซิ่นแบบโบราณของชาวไทยวน ที่พบเห็นได้ทั่วไป ปัจจุบันมักพบเป็น “ซิ่นก่าน ทอลวด” คือ เป็นซิ่นที่ทอทั้ง 3 ส่วน ติดต่อกันเป็นผืนเดียว

ซิ่นไหมสันกำแพง เส้นไหมของสันกำแพงเป็นไหมที่เส้นเล็ก อ่อนพลิ้ว เงางาม ซิ่นต๋าหรือซิ่นก่านไหม มีแหล่งผลิตหลักอยู่ที่ สันกำแพง แต่ในส่วนลายพาดขวางที่เรียกว่า สองแลว สามแลว นั้น ทางสันกำแพงได้สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมาใหม่ โดยขยาย แถบให้กว้างขึ้น แล้วไล่ระดับเล็กใหญ่เรียงกันไป และค่อนข้างมีสีสันฉูดฉาด เช่น สีบานเย็น เหลือง เขียว ม่วง เป็นต้น

ซิ่นน้ำถ้วม เป็นซิ่นของกลุ่มไทยวนในเชียงใหม่กลุ่มหนึ่ง มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณทะเลสาบดอยเต่า ในอดีตบริเวณนี้ เป็นชุมชนโบราณ มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน แต่ประวัติศาสตร์ทั้งมวล รวมทั้งศิลปะการทอผ้า ได้ล่มสลายลงไปอยู่ใต้น้ำ เมื่อมีการสร้างเขื่อนภูมิพล ดังนั้นผ้าซิ่นของชาวบ้านกลุ่มนี้ จึงได้ชื่อว่า ‘ซิ่นน้ำถ้วม’

ซิ่นน้ำถ้วมนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ตัวซิ่นประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ตีนจก ตัวซิ่น และหัวซิ่น ซิ่นแบบเก่ามักทอลายห่าง ซึ่งเป็นแบบอย่างของตีนจกโบราณของทุกพื้นที่ ก่อนจะเพิ่มลายเพิ่มฝ้ายให้หนาขึ้นในภายหลัง และจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน การเปลี่ยนวิถีชีวิตในการดำรงชีพของชาวบ้านกลุ่มนี้ ซิ่นน้ำถ้วมในปัจจุบัน อาจจะขาดคนสืบต่อการทอซิ่นชนิดนี้ไปแล้ว