ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน

ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
Department of Labour Protection and Welfare

แรงงานมีปัญหา โทรปรึกษา สายด่วน 1546

ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน

    คุณอยู่ที่:  
  1. หน้าแรก
  2. กสร. แจง หากนายจ้างละเมิดสิทธิหักเงินเยียวยา ม.33 จากเงินเดือนของลูกจ้าง มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน
ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน

ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน


     กสร. ชี้แจงประเด็นในสื่อออนไลน์ กรณีนายจ้างหักเงินเยียวยาที่ลูกจ้างได้รับสิทธิกรณีเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จากเงินเดือน เป็นเหตุให้ลูกจ้างขาดรายได้ที่ควรได้รับ จำนวน 2,500 บาท ถือว่านายจ้างละเมิดสิทธิ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

     นางโสภา เกียรตินิรชา รองอธิบดีและโฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวชี้แจง ประเด็นสื่อออนไลน์มีการวิจารณ์ว่า สถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าเมื่อลูกจ้างได้รับเงินเยียวยาของรัฐบาล ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จ่ายเงินเยียวยาให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สำหรับ 9 กลุ่มกิจการ เฉพาะจังหวัดที่กำหนด โดยลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินเยียวยา จำนวน 2,500 บาท นั้น นายจ้างจะหักเงินจำนวนดังกล่าวออกจากเงินเดือน โดยอ้างว่ารัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนให้แล้ว ซึ่งในกรณีนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้แสดงความกังวลและห่วงใยลูกจ้างอาจไม่ได้รับสิทธิตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติการจ่ายเงินเยียวยาครั้งนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การกระทำดังกล่าวของนายจ้างถือเป็นการละเมิดสิทธิที่ลูกจ้างพึงได้รับ จึงสั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตรวจสอบพร้อมชี้แจงข้อเท็จจริง ซึ่งกรมขอชี้แจงว่า กรณีเงินเยียวยาที่รัฐบาลจ่ายให้กับผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 คนละ 2,500 บาท เป็นเงินเยียวยาที่รัฐบาลจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือนเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานให้กับลูกจ้างที่ทำงานให้ ดังนั้นนายจ้างไม่สามารถนำเงินเยียวยา ตามมาตรา 33 ที่ลูกจ้างได้รับมาหักจากค่าจ้างได้ การหักค่าจ้างเช่นนี้ ถือเป็นการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

     โฆษก กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอเตือนนายจ้างที่คิดจะหักค่าจ้างลูกจ้างที่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล ไม่ว่าลูกจ้างจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม หากฝ่าฝืนมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยหากนายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546


ข้อมูลบริการ

พนักงานของบริษัท ให้บริการสำรองห้องพักโรงแรมออนไลน์ 60 คน เข้าร้องเรียนต่อศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์กระทรวงแรงงาน อ้าง บริษัทฯ แจ้งหยุดงาน 4 เดือน เพราะผลกระทบจาก COVID-19 และลดเงินค่าจ้างโดยที่พนักงานไม่ทราบและไม่ยินยอม

วันนี้ (15 พ.ค.2563) กลุ่มพนักงานของบริษัทที่ให้บริการระบบสำรองห้องพักโรงแรมทางออนไลน์ จำนวน 60 คน นำหลักฐานเป็นเอกสารสัญญาจ้างงาน เข้าร้องเรียนต่อศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ กระทรวงแรงงาน เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยอ้างว่า บริษัทแจ้งหยุดงาน 4 เดือน และมีการลดเงินค่าจ้าง โดยพนักงานไม่ทราบและไม่ยินยอม รวมทั้งห้ามพนักงานเข้าปฏิบัติงานทั้งบริษัท ปิดการเจรจาชี้แจงกับพนักงาน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือเจรจากับนายจ้าง เพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับสิทธิขึ้นทะเบียน กรณีว่างงานกับประกันสังคม

ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน
ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และ สำนักงานประกันสังคม ตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมทั้งให้การช่วยเหลือแนะนำการเข้าถึงสิทธิของผู้ประกันตน ที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน
ร้องเรียนนายจ้างหักเงินเดือน

นางปภาพร นิลพัฒน์ ผอ.สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรุงเทพฯ พื้นที่ 5 ให้ข้อมูลว่า บริษัทดังกล่าว มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เขต สาทร กทม. ประกอบกิจการให้บริการระบบสำรองห้องพักโรงแรมทางออนไลน์มีลูกจ้าง 460 คน โดยลูกจ้าง 60 คน ร้องเรียนมายังกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2563

ในเบื้องต้นกรมได้รับการชี้แจงจากบริษัทว่า บริษัทได้แจ้งหยุดกิจการชั่วคราวบางส่วน ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-31 ส.ค.2563 เนื่องจากเหตุสุดวิสัย และได้มีหนังสือรับรองการ ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยฯ ทางเว็บไซต์ประกันสังคมแล้ว เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2563 เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประกันการว่างงาน โดยมีลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 288 คน

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีกองทุนช่วยเหลือลูกจ้างและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ลูกจ้าง 2 เดือน คือ พ.ค.2563 ในอัตราร้อยละ 40 จากอัตราค่าจ้างร้อยละ 15 - 25 โดยบางรายไม่ได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และบริษัทจะคืนเงินที่หักให้แก่ลูกจ้างที่ไม่ยินยอมภายในสิ้นเดือน พ.ค.2563

หลังจากนี้หากลูกจ้างยังไม่พึงพอใจ ทางกรมฯ จะดำเนินการเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน เพื่อความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย

หากมีปัญหาเรื่องแรงงาน ร้องเรียนได้ที่ กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400 หรือ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 3 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน