การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการ เรียนวรรณคดีไทย

ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. 2553. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร;

ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. (2553) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ . มหาวิทยาลัยศิลปากร/กรุงเทพฯ.

ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ. . กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. (2553) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ . มหาวิทยาลัยศิลปากร/กรุงเทพฯ.

Other Title:

The comparison of Matthayomsuksa 1 studens’ achievement on Thai litterature using games and folk songs

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมร่วมกับเพลงพื้นบ้าน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมร่วมกับเพลงพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 46 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสุภาษิตพระร่วง และนิราศภูเขาทอง ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เกมร่วมกับเพลงพื้นบ้าน 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่องสุภาษิตพระร่วงและนิราศภูเขาทอง และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมร่วมกับเพลงพื้นบ้านการวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test fordependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมร่วมกับเพลงพื้นบ้าน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมร่วมกับเพลงพื้นบ้านพบว่า โดยภาพรวมอยูในระดับเห็นด้วยมากที่สุด The objectives of this research were to: 1) compare the learning achievement of Mattayomsuksa 1 students on Thai literature before and after using games and folk songs , and 2) study Mattayomsuksa 1 students’ opinions towards using games and folk songs. The sample used in the research were 46 Mattayomsuksa 1 students of Benchamatheputhit Petchburi School selected by simple random sampling. The instruments used for this research were :1) lesson plans on Phraruang proverb and poetry of Phukhaothong 2) an achievement test on Thai literature : Phraruang proverb and poetry of Phukhaothong, and 3) questionnaires on Mattayomsuksa 1 students’ opinions towards using games and folk songs. The statistical analysis employed were means, standard deviation, and t-test for dependent. The results of this research were as follows : 1. The Mattayomsuksa 1 students achievement scores after using games and folk songs were significantly higher than before using games and folk songs at the 0.05 level. 2. The Mattayomsuksa 1 students’ opinions towards using games and folk songs were at the highest level.