ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ เบิกได้ไหม

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscopy)

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscopy) เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่น โค้งงอได้ มีกล้องและดวงไฟขนาดเล็กมากติดอยู่ที่ปลายท่อ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. ความยาวประมาณ 160 ซม. ใส่เข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจดูพยาธิสภาพของทวารหนักและลำไส้ใหญ่ที่มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร ทั้งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้น และลำไส้เล็กส่วนปลาย ทั้งนี้ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักมี 2 ชนิด คือ การส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพ ตั้งแต่ทวารหนักถึงลำไส้ใหญ่ส่วน Sigmoid (Sigmoidoscope) และการส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพ ตั้งแต่ทวารหนักถึงลำไส้ใหญ่ส่วน Cecum (Colonoscope)

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เป็นทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในคราวเดียวกัน โดยสามารถใช้ตรวจสภาพความผิดปกติของผนังลำไส้ เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ และตัดเนื้องอกบางชนิดได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเข้าทางช่องท้อง เช่น หากเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ที่มีโอกาสเป็นเนื้อร้าย หรือเป็นแผลมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรก สามารถตรวจพบและผ่าตัดได้เลย เป็นวิธีตรวจที่มองเห็นได้ชัดเจนโดยตรงกว่าการสวนแป้งตรวจทางรังสี โดยสิ่งที่ตรวจพบได้จากการส่องกล้อง ได้แก่ ลำไส้อักเสบ  ริดสีดวงทวาร  ถุงโป่งจากลำไส้ใหญ่  ติ่งเนื้อ เนื้องอก และ มะเร็งลำไส้ใหญ่ 

ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ เบิกได้ไหม

อาการและข้อบ่งชี้ที่ควรได้รับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก (ไม่ถ่ายอุจจาระอย่างน้อย 3 วัน) ท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
  • มีนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีอาการแน่นท้อง อึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
  • น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลำท้องพบก้อน ขนาดของลำอุจจาระเล็กลง ซึ่งอาจเป็นอาการเตือนของโรคร้าย
  • ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ หรือตรวจอุจจาระพบเลือดแฝง โดยที่ตรวจแล้วไม่ใช่สาเหตุจากบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรงส่วนล่าง
  • ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อบิด
  • เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนัก และมีเลือดออก
  • เคยส่องกล้องพบติ่งเนื้อในลำไส้ หรือใช้ตรวจติดตามหลังผ่าตัดมะเร็ง
  • อื่นๆ เช่น ไส้บิดกลืนกัน หลังฉายรังสีแล้วถ่ายมีมูกเลือดปน
  • มีบุคคลในครอบครัว พี่น้อง บิดา มารดา เป็นติ่งเนื้อ หรือมะเร็งในลำไส้
  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุกๆ 3-5 ปี
  • สำหรับการตรวจหาค่าเชื้อมะเร็งลำไส้ CEA (Carcino embryonic antigen) ที่สูงผิดปกติ ไม่ได้บ่งบอกว่าท่านจะเป็นมะเร็งลำไส้ แพทย์ไม่ได้ใช้ผลเลือดนี้เป็นข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจลำไส้ ต้องอาศัยการซักประวัติตรวจร่างกาย ซึ่งจะมีประโยชน์ในการตัดสินใจมากกว่า

การเตรียมตัวเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ก่อนเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผู้ป่วยควรเตรียมตัวให้พร้อม โดยแจ้งประวัติส่วนตัวให้แพทย์ทราบ ได้แก่ โรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ (ที่จำกัดการดื่มน้ำ) โรคไต โรคตับแข็งมีท้องมานน้ำ, แจ้งประวัติการแพ้ยา, แจ้งประวัติการใช้ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ยากันเลือดแข็งตัว ยาแอสไพริน ยาแก้อักเสบปวดข้อ หากมียาลดความดันโลหิตที่ต้องทานประจำสามารถทานได้ และแจ้งให้แพทย์ทราบหากกำลังตั้งครรภ์

ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ เบิกได้ไหม

ก่อนวัดนัดตรวจ 7 วัน ให้หยุดยาป้องกันการสร้างลิ่มเลือด (Orfarin, Warfarin) หรือยาต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด (Aspirin, Plavix) เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย ยาบำรุงเลือด หรือยาที่มีธาตุเหล็กประกอบ เพราะจะไปเคลือบเป็นสีดำในลำไส้ (เป็นการเตรียมตัวคนไข้ กรณีมีติ่งเนื้อต้องตัด) ก่อนวันนัดตรวจ 2 วัน ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และมีกากน้อย ได้แก่ ข้าวต้ม โจ๊ก เนื้อปลา หรือไข่ ให้งดอาหารกากมาก เช่น ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้

ก่อนวันนัดตรวจ 1 วัน ให้รับประทานอาหารเหลวที่ไม่มีกาก เช่น น้ำผลไม้ชนิดใส น้ำผึ้ง น้ำซุปใส น้ำหวานไม่มีสี โจ๊กเหลว เป็นต้น รับประทานยาระบายตามแพทย์สั่งเพื่อถ่ายระบายให้ลำไส้ใหญ่สะอาด และให้งดอาหาร ดื่มน้ำเปล่าได้ตามเวลาที่แพทย์สั่ง

วิธีการเตรียมล้างลำไส้ใหญ่

การล้างเตรียมลำไส้ใหญ่ เป็นการทำความสะอาดลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สะอาด ไม่มีเศษอุจจาระ ทำให้แพทย์มองเห็นผนังลำไส้ใหญ่ได้ชัดเจน การล้างเตรียมลำไส้มีข้อห้ามในผู้ที่เพิ่งเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายภายใน 3 สัปดาห์ ผู้ที่ลำไส้กำลังอักเสบมาก ที่มีความเสี่ยงต่อการทะลุเวลาตรวจ ผู้ที่เป็นโรคไตวาย ปัสสาวะออกน้อย หรือเป็นโรคหัวใจวาย และผู้ที่มีท้องมานน้ำ โดยวิธีการล้างเตรียมลำไส้ใหญ่มี 2 วิธี ได้แก่

วิธีที่ 1

วันที่หนึ่ง
  • รับประทานอาหารอ่อนที่ไม่มีเส้นใย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ห้ามรับประทานผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ทุกชนิด และดื่มน้ำมากๆ
วันที่สอง
  • รับประทานเฉพาะอาหารเหลว เช่น น้ำข้าว, น้ำหวานใส, นม, กาแฟ, น้ำผักผลไม้ไม่มีกาก และดื่มน้ำมากๆ
  • รับประทานยาระบายตามแพทย์สั่ง ซึ่งเป็นยาระบายที่ช่วยทำให้ลำไส้สะอาด ไม่มีเศษอุจจาระ
  • เวลา 17.00 น. รับประทานยาระบาย Swiff 1 ขวด หรือ Niflec 1 ซอง ผสมน้ำหรือน้ำหวาน 1 แก้ว ให้ผงละลายให้หมด แล้วดื่มน้ำตาม 2-3 ลิตร ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง
  • หลังรับประทานยาระบาย ให้ดื่มเฉพาะน้ำหวานใสๆ, ชาเขียว, อมทอฟฟี่, รับประทานผลไม้ไม่มีกาก และดื่มน้ำมากๆ
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องถ่ายอุจจาระประมาณ 10 ครั้งขึ้นไป ลำไส้ถึงจะสะอาด เวลาตรวจสามารถมองเห็นผนังลำไส้ได้ชัดเจน
  • หากมีอาการอ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำหวานหรืออมทอฟฟี่ (ที่ไม่ใช่สีแดง) ได้
วันที่สาม
  • ซึ่งเป็นวันส่องกล้องตรวจ ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำหวานและน้ำเปล่าเล็กน้อยขณะรอตรวจได้

ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ เบิกได้ไหม

วิธีที่ 2

วันที่หนึ่ง
  • รับประทานอาหารอ่อนที่ไม่มีเส้นใย เช่น ข้าวต้ม เต้าหู้ หมูสับ เนื้อปลา งดผักผลไม้
วันที่สอง
  • รับประทานยาระบายตามแพทย์สั่ง ซึ่งเป็นยาระบายที่ช่วยทำให้ลำไส้สะอาด ไม่มีเศษอุจจาระ
  • เวลา 17.00 น. รับประทานยาระบาย Swiff 60 ml. + น้ำ 250 ml. แล้วดื่มน้ำตาม 2 ลิตร ให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง
  • เวลา 19.00 น. ทานยาระบาย Swiff 30 ml. + น้ำ 250 ml. ดื่มน้ำตาม 1 ลิตร ภายใน 1 ชั่วโมง แล้วให้ดื่มน้ำหรือนอนพักได้
  • มื้อเย็นให้รับประทานน้ำเต้าหู้หรือนมได้ 1 กล่อง
วันที่สาม
  • ซึ่งเป็นวันส่องกล้องตรวจ เวลา 06.00 น. ทานยาระบาย Swiff 60 ml. + น้ำ 250 ml. ดื่มน้ำตาม 2 ลิตร ภายใน 2 ชั่วโมง
  • ให้งดน้ำ งดอาหาร หลัง 08.00 น. และมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลาตรวจ 1 ชั่วโมง ดังนั้น ผู้ป่วยจะได้ยาระบาย Swiff กลับไปบ้านทั้งหมด 2 ขวด

ขั้นตอนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ผู้ถูกตรวจอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย ก้นชิดริมเตียง งอเข่าชิดอก คลุมร่างกายด้วยผ้าสะอาด มีช่องเปิดที่ก้น จากนั้นแพทย์จะเริ่มใส่กล้องส่องตรวจเข้าทางทวารหนัก ทำการขยับ และปรับกล้องส่องอย่างเหมาะสม จากนั้นจึงเคลื่อนไหวกล้องส่องให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ในขณะส่องกล้องแพทย์จะเป่าลมให้ลำไส้ขยาย เพื่อดูพยาธิสภาพภายใน จึงทำให้ขณะตรวจผู้ป่วยอาจรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ แน่น หรืออัดอัดท้อง อาการเหล่านี้บรรเทาได้โดยการหายใจช้าๆ สูดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆ ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง ถ้าแน่น อึดอัดท้องมากจนทนไม่ไหว ให้รายงานแพทย์ แพทย์จะดูดลมออกให้ และในระหว่างการส่องกล้องห้ามดิ้นโดยเด็ดขาด ในบางรายแพทย์อาจให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ โดยภาพที่บันทึกได้จะปรากฏบนจอโทรทัศน์ สามารถเก็บรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด มีคุณภาพและความคมชัด ส่งผลทำให้การตรวจวินิจฉัยและการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ และเมื่อพบสิ่งผิดปกติ แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักใช้เวลาตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นวิธีการที่มีความปลอดภัยสูง แต่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก เช่น

  • มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดมวนท้องเล็กน้อยหลังส่องกล้อง ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น
  • บาดแผล เช่น รอยครูด รอยถลอก ที่อาจเกิดขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่
  • มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน, มีไข้, มีเลือดออกจากทวารหนักมาก หากมีอาการเหล่นี้ให้พบแพทย์โดยด่วน
  • ภาวะเลือดออกภายในลำไส้ใหญ่ในกรณีที่ตัดก้อนเนื้อไปตรวจ หากมีภาวะนี้เกิดขึ้น แพทย์จะทำการให้เลือดกับผู้ป่วย หรือนำกล้องออกมาจากลำไส้ก่อน เพื่อรอให้เลือดหยุด แล้วจึงใส่กลับเข้าไปใหม่

ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ เบิกได้ไหม

ข้อปฏิบัติภายหลังการส่องกล้อง

ในกรณีได้รับยาคลายวิตกกังวล ยากล่อมประสาท และยาแก้ปวด ท่านจะได้นอนพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการส่องกล้อง เมื่อรู้สึกตัวดีแล้ว หากรู้สึกหิว กระหาย สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารอ่อนๆ ได้ จากนั้นจึงให้ญาติรับกลับบ้านได้ ห้ามผู้ป่วยขับรถกลับบ้านเองเด็ดขาด เพราะอาจมีอาการมึนงงจากการได้รับยาซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ในรายที่แพทย์ได้ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา หรือตัดติ่งเนื้อในลำไส้ออก ในระยะ 2 วันแรกอุจจาระอาจมีเลือดปนเล็กน้อย และโดยส่วนใหญ่เลือดหยุดได้เอง หากมีอาการผิดปกติภายหลังการตรวจ เช่น ปวดท้อง ท้องอืดมาก มีไข้ ถ่ายมีเลือดออก ให้ติดต่อที่ห้องตรวจได้ทันที ในกรณีที่แพทย์สั่งยารักษาให้ท่าน ควรรับประทานให้ครบถ้วนและถูกต้องอย่างเคร่งครัด และเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ควรมารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่านเอง

การผ่าตัดแบบส่องกล้อง เบิกได้ไหม

A : การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีพิเศษที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ตามระเบียบของศูนย์การแพทย์ฯผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าอุปกรณ์พิเศษ(หัวกล้องพร้อมอุปกรณ์) จำนวน 11,000 บาท ยกเว้น การผ่าตัดไส้เลื่อน การผ่าตัดลำไส้เล็ก/ใหญ่ การผ่าตัดปอด ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่อยู่ได้กี่ปี

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธีดังนี้ (เริ่มต้นเมื่ออายุ 50 ปี) - ตรวจอุจจาระหาเลือดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Fecal Occult Blood Test) ปีละครั้ง - การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ทุก 5 ถึง 10 ปี

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่อันตรายไหม

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และการตัดชิ้นเนื้อค่อนข้างปลอดภัยเมื่อได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการส่องกล้อง ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การทะลุของลำไส้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัด ภาวะลำไส้ทะลุมีโอกาสเกิด 1 ใน 1,000 ในการส่องกล้องปกติ แต่กรณีที่ได้รับการตัดติ่งเนื้อจะเพิ่มเป็นการเกิด ...

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ใช้ประกันสังคมได้ไหม

A : กรณีสิทธิประกันสังคม สามารถส่องกล้องได้ ซึ่งไม่สามารถเข้าแพคเกจได้ แต่จะต้องเข้าพบแพทย์ตามขั้นตอนประกันสังคม โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ทางด้านอายุรกรรมหลังจากแพทย์วินิจฉัยจะส่งต่อแพทย์เฉพาะอีกครั้ง และนัดหมายเข้ารับการส่องกล้อง