หน้าที่พลเมืองดีต่อครอบครัว

หน้าที่พลเมืองดีต่อครอบครัว

โรงเรียนกับการสร้างเยาวชนพลเมืองดี

 2 years ago 5741

ผู้เขียน: นางสาวกนกวรรณ สุภาราญ ครูจากโครงการ Teach for Thailand
ภาพ: กชกร มั่นคงเจริญกิจ

          “พลเมืองดี” … เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ เคารพความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น ปฏิบัติตนตามกฎหมาย และปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม... ทุกสังคมล้วนปรารถนาให้ประชาชนเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ ทำแต่สิ่งที่ดี และมีประโยชน์ต่อสังคมด้วยกันทั้งสิ้น แต่การจะทำให้ทุกคนเป็นพลเมืองที่ดีได้นั้นล้วนต้องอาศัยกระบวนการอบรมบ่มเพาะที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่มจากครอบครัวและที่สำคัญไม่แพ้กันซึ่งก็คือ โรงเรียน

“เพราะโรงเรียนเป็นมากกว่าสถานที่ให้ความรู้”
          โรงเรียนเป็นสถานที่อบรมบ่มเพาะเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ นอกจากความรู้เรื่องวิชาการแล้ว ยังรวมถึงทักษะ ทัศนคติ ความเข้าใจต่อการแสดงออกที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันภายในสังคม โรงเรียนจึงเปรียบเสมือนสถานที่จำลองสังคมขนาดเล็กให้แก่เด็กได้เรียนรู้และปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมภายนอกบริเวณบ้าน และครอบครัวของตนเอง ช่วยหล่อหลอมให้เด็ก และเยาวชนได้เรียนรู้หน้าที่ บทบาทในสังคมของตนเองอย่างเหมาะสมและสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของสังคมที่ตนอาศัยอยู่อีกด้วย

“สร้างห้องเรียนประชาธิปไตย สร้างพลเมืองดีของสังคม”
          ความเป็นประชาธิปไตยเกี่ยวข้องอย่างไรกับการสร้างพลเมืองดีในโรงเรียน คำถามที่ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกันเสียทีเดียวแต่กลับมีความเกี่ยวข้องกันอย่างน่าสนใจ ห้องเรียนประชาธิปไตย... การสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างมีอิสระบนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกันร่วมกันในห้องเรียน...เปรียบห้องเรียนเสมือนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดรูปแบบ เปิดกว้างต่อความแตกต่าง และเปิดรับต่อการมีส่วนร่วมที่หลากหลายของนักเรียน

          จากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการบริหารระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย” พบผลการศึกษาว่าการสร้างเยาวชนหรือนักเรียนในโรงเรียนให้มีลักษณะของความเป็นพลเมืองดีได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรเริ่มต้นจากบทบาทครู และห้องเรียน รวมทั้งวิธีการอบรมสั่งสอนของครูที่มีต่อนักเรียนหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นวิธีการทางตรงหรือการสร้างอิทธิพลทางอ้อมก็ตาม การนำแนวทางประชาธิปไตยมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบการอบรมนั้นก็เพื่อปรับเปลี่ยน และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง เปิดโอกาสให้นักเรียนและครูได้เรียนรู้ที่จะรับฟังซึ่งเหตุผลและความคิดเห็นที่หลากหลายในประเด็นต่างๆ ที่ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งตระหนักถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขพัฒนาปัญหาที่เขาได้พบเจอมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียนรู้ และการตระหนักถึงบทบาทของตนเองนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย หากปราศจากครู และบรรยากาศห้องเรียนที่เปิดกว้าง พื้นที่ที่รับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันอย่างเคารพและเปิด

“เด็กทุกคนเป็นพลเมืองดีได้”
          บทบาทครอบครัว โรงเรียนและครูล้วนต่างมีส่วนในการอบรมสั่งสอน ชี้แนะแนวทางที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ด้วยความเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนสามารถเป็นคนดีได้ เป้าหมายของการอบรมสั่งสอนจึงไม่เพียงแต่มุ่งหวังให้นักเรียนมีความรู้ แต่ยังมุ่งหวังให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมอีกด้วย ไม่ว่าจะครูผู้สอนจะใช้รูปแบบการเรียนการสอน และวิธีการอบรมบ่มเพาะเช่นไร ห้องเรียนประชาธิปไตยสามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการจัดการเรียนรู้จึงเป็นอีกทางเลือกสำคัญในการปรับหรือดัดแปลงกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อแก่การบ่มเพาะนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองดี โดยเริ่มต้นจากห้องเรียนเล็กๆ ที่ครูและนักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้น

          ในปัจจุบันโรงเรียนมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการสร้าง และบ่มเพาะพลเมืองดีสู่สังคม เมื่อนักเรียนเข้ามาในโรงเรียน ก็เปรียบเสมือนนักเรียนได้เรียนรู้การปรับตัว และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่กว้างกว่าครอบครัวของตน สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ และซึมซับจากสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้น บทบาทของครูและโรงเรียนจึงมีส่วนสำคัญในการจัดบรรยากาศของโรงเรียน ห้องเรียน รวมทั้งรูปแบบการเรียนรู้ที่เอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการสร้างนักเรียน และเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี ผ่านกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย รับฟังและเคารพเสียงของทุกคนมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันบนพื้นฐานของความเคารพ และมีเหตุมีผล หากโรงเรียน ห้องเรียน และครูสามารถปลูกฝังสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการเป็นพลเมืองดีเหล่านี้ให้แก่นักเรียนได้อย่างสม่ำเสมอแล้วนั้น เด็กนักเรียนและเยาวชนทุกคนจะมีรากฐานของการเป็นพลเมืองที่ดี และสามารถปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอันกว้างใหญ่ขึ้นได้อย่างแน่นอน

ที่มา
สมฤดี พละวุฑิโฒทัย. (2561). การพัฒนาการบริหารระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1)4-6.



หน้าที่พลเมืองดีต่อครอบครัว

การที่ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้นั้น พลเมืองในประเทศต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง หากเราทุกคนทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี เชื่อว่าบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

พลเมืองที่ดี หมายถึง ผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องทำและควรทำได้อย่างครบถ้วน สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณีที่ได้กำหนดไว้ มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ถือได้ว่า พลเมืองเป็นส่วนสำคัญของสังคม ทุกสังคมต่างต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพที่ดี คือ

หน้าที่พลเมืองดีต่อครอบครัว

  1. ให้ทราบถึงบรรทัดฐานของสังคม
  2. รู้จักการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น
  3. ต้องเคารพกฎหมาย มีระเบียบวินัย ตามที่สังคมได้วางไว้
  4. ปรับทัศนคติและค่านิยมที่ดีในสังคม

ลักษณะของพลเมืองที่ดี คือ

หน้าที่พลเมืองดีต่อครอบครัว

  1. ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน คือ ต้องมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ เห็นความสำคัญในประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของตนเอง
  2. ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ สามารถประพฤติ ปฏิบัติได้อย่างที่สังคมต้องการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล

การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีตามแนวทางประชาธิปไตยทำได้หลายด้านเช่น

  • ด้านสังคม พลเมืองที่ดีต้องแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสมมีเหตุผล, รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น, ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี ร่วมพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า เสียสละเพื่อส่วนรวม
  • ด้านเศรษฐกิจ ต้องรู้จักประหยัด อดออม, มีความซื่อสัตย์สุจริต, ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • ด้านการเมืองการปกครอง ต้องเคารพกฎหมายบ้านเมือง, ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

หน้าที่ของพลเมืองดี ที่พึงปฏิบัติ คือ

  1. นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่าประโยชน์ส่วนตน
  2. มีระเบียบ วินัย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเรียบร้อย
  3. รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  4. มีความอดทน สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีแม้ว่าจะต้องเหตุการณ์ที่สร้างความไม่พอใจก็ตาม
  5. รู้จักประหยัด อดออม ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้จ่ายยามจำเป็น ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
  6. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักการให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  7. มีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา
  8. เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี
  9. มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี

ทุกสังคมต้องการพลเมืองที่ดี เพื่อที่จะสามารถนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมและประเทศชาติได้อย่างมั่นคง เราควรเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี โดยมีผู้ใหญ่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้น พวกเขาจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างที่ทุกคนในสังคมต้องการ

หน้าที่พลเมืองต่อครอบครัวมีอะไรบ้าง

ให้ความเคารพเชื่อฟังผู้นำในครอบครัว.
ดูแลครอบครัว ให้สามารถอยู่ได้ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่อื่นๆ.
ไม่สร้างความแตกแยก แก่ครอบครัว.
ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ครอบครัว.
เคารพกฎเกณฑ์ของครอบครัวและแบบแผนทางสังคม.
สร้างอาชีพและรายได้ให้เพียงพอกับสมาชิกในครอบครัว.

พลเมืองดีของครอบครัวเป็นอย่างไร

1. มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว 2. มีสัมมาคารวะต่อบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ รู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ และไหว้ผู้ใหญ่ ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎกติกา ระเบียบของครอบครัว

หน้าที่ของพลเมืองที่ดีคืออะไร

หน้าที่ของพลเมืองดี ที่พึงปฏิบัติ คือ นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีระเบียบ วินัย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเรียบร้อย รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เราจะปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีได้อย่างไร

๑. เคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เมื่อตนเองได้รับสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย แล้วย่อมไม่ทาให้ผู้อื่นเสียหาย หรือได้รับ ความเดือดร้อน ๒. ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กติกา ของสังคม และปฏิบัติตามกฎหมาย ๓. มีเหตุผล เมื่อมีความเห็นที่แตกต่างกับผู้อื่น และยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีเหตุผลดีกว่าตนเอง