ตัวนำวงจรในวงจรระหว่างอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินจุดสุดท้ายกับจุดจ่ายไฟ

แนวข้อสอบคนชำนาญงาน กฟผ

สำหรับท่านที่ อยากเตรียมสอบ
สอบคนชำนาญงาน กฟผ
หา คู่มือสอบคนชำนาญงาน กฟผ
หนังสือสอบคนชำนาญงาน กฟผ
ทาง NUDSOB ได้รวบรวม แบ่งปัน
ตัวอย่าง ข้อสอบคนชำนาญงาน กฟผ
เพื่อเป็นความรู้ และแนวทางในการสอบให้กับทุกๆท่าน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

คำนิยามทางไฟฟ้า
กระแส (ampere) หมายถึง อัตราการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำ มีหน่วยเป็น Ampere หรือ A
โวลต์ (volt) หมายถึง แรงดันไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอน ซึ่งจะส่งให้มีกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น มีหน่วยเป็น Volt หรือ V
เครื่องใช้ไฟฟ้า (appliance) หมายถึง บริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ประโยชน์ในการใช้สอยทั่วไป โดยบริภัณฑ์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาตามมาตรฐานสากล เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น
วงจรย่อย ( branch circuit) หมายถึง ตัวนำวงจรในวงจรระหว่างอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้ายกับบริภัณฑ์ไฟฟ้า
เซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker: CB) หมายถึง อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบเพื่อให้เปิดและปิดวงจรโดยไม่อนุมัติ หากกระแสไหลผ่านเกินกว่าที่กำหนดไว้ เซอร์กิตเบรกเกอร์จะเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ
หม้อแปลงกระแส (current transformer: CT) หมายถึง หม้อแปลงที่ทำหน้าที่ลดปริมาณกระแสไฟฟ้า
หม้อแปลงแรงดัน (voltage transformer: VT) หมายถึง หม้อแปลงที่ทำหน้าที่ลดระดับแรงดันไฟฟ้า
หม้อแปลงจำหน่าย (distribution transformer) หมายถึง หม้อแปลงที่ทำหน้าที่ลดระดับแรงดันจากระดับแรงดันปานกลางเป็นระดับแรงดันต่ำ
เครื่องปลดวงจร (disconnecting switch) หมายถึง บริภัณฑ์ที่ใช้ในการตัดวงจรในขณะที่ไม่มีโหลด
รางเคเบิล (cable trays) หมายถึง รางเปิดซึ่งทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟ ใช้สำหรับรองรับและ จับยึดสายเคเบิล
สายป้อน (feeder) หมายถึง ตัวนำของวงจร ระหว่างบริภัณฑ์ประธานและบริภัณฑ์ป้องกันกระแสเกินของวงจรย่อย
แผงย่อย (panel board) หมายถึง แผงเดี่ยวหรือกลุ่มของแผงเดี่ยวที่ประกอบรวมกันเป็นแผงเดียว
เต้ารับ (receptacle) หมายถึง อุปกรณ์ที่ติดตั้งเพื่อเป็นจุดจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
วงจรประธาน (service) หมายถึง บริภัณฑ์และตัวนำสำหรับจ่ายไฟฟ้าจากระบบของ การไฟฟ้ามายังระบบสายป้อน
ตัวนำประธาน (service conductor ) หมายถึงตัวนำ(สายไฟฟ้า) ที่ทำหน้าที่นำพลังงานไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้ามายังบริภัณฑ์ประธาน
บริภัณฑ์ประธาน (service equipment) หมายถึง บริภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ตัดกระแสทั้งหมดของระบบไฟฟ้า โดยทั่วไปประกอบด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสวิทช์ และฟิวส์ สวิทช์ต่อลงดินกับดักฟ้าผ่าฟิวส์แรงสูง ใช้ที่ หม้อแปลงไฟฟ้า แปลงแรงดัน
สวิทช์เกียร (switchgear) หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับและจ่ายกระแสไฟฟ้า ตัดกระแสที่ลัดวงจรหรือโหลดเกิน
บริภัณฑ์เครื่องวัด หมายถึง บริภัณฑ์ที่ใช้วัดค่าต่างๆ กระแส แรงดัน กำลังไฟฟ้า ความถี่ พลังงานไฟฟ้า
บัสเวย์ (Busways) หมายถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าปริมาณมากจากจุดแหล่งจ่ายไฟฟ้าไปยังโหลดหน้าที่จะคล้ายกับสายไฟ

กิจกรรม 9.3.1
จงให้ความหมายของนิยามทางไฟฟ้า ต่อไปนี้
หม้อแปลงกระแส (CT)
วงจรย่อย (branch circuit)
วงจรประธาน (service circuit)
บริภัณฑ์ประธาน (service equipment)

แนวตอบกิจกรรม 9.3.1
หม้อแปลงกระแส (current transformer: CT) หมายถึง หม้อแปลงที่ทำหน้าที่ลดปริมาณกระแสไฟฟ้าลงเพื่อใช้กับบริภัณฑ์เครื่องวัด (metering) และบริภัณฑ์ป้องกัน (protection)
วงจรย่อย (branch circuit) หมายถึง ตัวนำวงจรระหว่างอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้ายกับบริภัณฑ์ไฟฟ้า
วงจรประธาน (service) หมายถึง บริภัณฑ์และตัวนำสำหรับจ่ายไฟฟ้าจากระบบของ การไฟฟ้าฯ มายังระบบสายป้อน
บริภัณฑ์ประธาน (service equipment) หมายถึง บริภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดของระบบไฟฟ้า โดยทั่วไปประกอบด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสวิตช์และฟิวส์
มาตรฐานทางไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าในประเทศไทย
1. มาตรฐานทางไฟฟ้า
– British Standard (BS) คือมาตรฐานของประเทศอังกฤษ
– German Industrial Standard (DIN) คือมาตรฐานของประเทศเยอรมัน
– Japanese Industrial Standard (JIS) คือมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น
– American National Standard Institute (ANSI) คือมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา
– Verband Detacher Elekrotechniker (VDE) คือมาตรฐานของกลุ่มวิศวกรไฟฟ้าในประเทศเยอรมนี
– Kiering van Elektroterchnische Materialen (KEMA) คือมาตรฐานการทดสอบของประเทศเนเธอร์แลนด์
– Thailand Industrial Standard (TIS) คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของประเทศไทย
นอกจากนี้แล้วยังมีมาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับและถูกใช้ในหลาย ๆ ประเทศที่เป็นสมาชิกได้แก่
– International Organization for Standardization (ISO) คือ มาตรฐานขององค์กรที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานทั่วไปทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ISO 9000, ISO 9001 และ ISO 14000 เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ามาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นมีอยู่หลายมาตรฐาน อย่างไรก็ตามที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน คือ มาตรฐานของ IEC นอกจากนี้แล้วสำหรับประเทศไทยยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) อีกด้วย

2. ระบบไฟฟ้าในประเทศไทย โดยทั่วไปประกอบด้วย 4 ส่วน
1) ระบบการผลิต (generating system)
2) ระบบการส่งกำลังไฟฟ้า (transmission system)
3) ระบบจำหน่าย (distribution system)
4) ระบบกำลังไฟฟ้า (utilization system)

แบบทดสอบ 1
1. จงบอกว่ามาตรฐานทางไฟฟ้าต่อไปนี้เป็นมาตรฐานของประเทศใด
1.1 DIN
1.2 TIS
1.3 IEC
2. ในประเทศไทยมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้านิยมใช้มาตรฐานใดบ้าง
3. โดยทั่วไประบบไฟฟ้ากำลังประกอบด้วยกี่ส่วนอะไรบ้าง

แนวตอบแบบทดสอบ 1
1. มาตรฐานทางไฟฟ้าต่อไปนี้เป็นมาตรฐานของประเทศ
1.1 DIN คือ German Industrial Standard ประเทศเยอรมัน
1.2 TIS คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของประเทศไทย
1.3 IEC คือ International Electroechnical Commission เป็นมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ
2. มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในประเทศไทยปัจจุบันคือ มาตรฐาน IEC และมาตรฐาน มอก. สำหรับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย ว.ส.ท. ร่วมกับ กฟภ. ร่วมกันจัดทำมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย 2545
3. โดยทั่วไประบบไฟฟ้ากำลังประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ได้แก่
1) ระบบการผลิต
2) ระบบการส่งกำลังไฟฟ้า
3) ระบบจำหน่าย
4) ระบบใช้กำลังไฟฟ้า

แบบทดสอบ 2
1. แบบทางวิศวกรรมไฟฟ้านิยมเขียนเป็นแบบใด
2. ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ใช้ประกอบการเขียนแบบทางวิศวกรรมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

แบบทดสอบ 2
1. แบบไดอะแกรมเส้นเดียวหรือวันไลน์ไดอะแกรม (singlclinc diagram)
2. ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ใช้ประกอบการเขียนแบบทางวิศวกรรมไฟฟ้าดังนี้
– ขนาดของตัวนำ (สายไฟฟ้า)
– ชนิด/ประเภทของตัวนำ
– จำนวนของตัวนำ
– จำนวนของวงจรย่อย
– ชนิด/ประเภท/แบบของบริภัณฑ์ไฟฟ้า เช่น โคมไฟฟ้า เต้ารับ เป็นต้น
– ขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Ampere Trip: AT และ Ampere Frame AF)
– วิธีการเดินสาย
– ขนาดและจำนวนของท่อสาย รางเดินสาย รางเคเบิล
– สถานที่ตั้งแผงวงจรย่อย ตู้ MDB
– ขนาด/ชนิด/ประเภทของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
– ขนาดของมิเตอร์
– การต่อเข้าของโหลด

เราใช้ Cookie เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น คลิ๊ก “ยอมรับ” หากคุณอนุญาต ให้ใช้งาน Cookie ในเว็บไซต์ได้