หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค

โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ รู้สึกปวดคอ คอแข็ง ปวดร้าวลงมาที่มือ หรือปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดร้าวลงมาที่แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่ง จนรู้สึกชา ไม่มีแรง ขยับตัวลำบาก อาการเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้การรักษาด้วยยาหรือกายภาพบำบัดนั้นไม่ได้ผลดีนัก และจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดช่วยในการรักษาแทน

ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้ เรามาทำความเข้าใจถึงโครงสร้างของกระดูกในร่างกายคนเรากันก่อนดีกว่า อยากรู้มั้ยล่ะว่าคนเรา มีกระดูกทั้งหมดกี่ชิ้น…โครงสร้างของร่างกายเรานั้นประกอบไปด้วยกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น แต่จะชิ้นก็จะมีส่วนประกอบของข้อต่อที่มีองศาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกระดูกชิ้นนั้นๆ เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นกระดูกในร่างกายอาจมีการผุและเสื่อมไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเกิดโรคต่างๆ นั่นเอง ซึ่งกระดูกในร่างกายของคนเรานั้นมีหลายจุดที่เราควรให้ความสำคัญเมื่ออายุมากขึ้น แต่จุดหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าจุดอื่นๆ เลย นั่นก็คือ กระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค

เนื่องจากกระดูกบริเวณนี้เป็นแกนกลางของร่างกาย ส่วนตรงกลางกระดูกจะกลวงและมีเส้นประสาทหลายเส้นประกอบกับไขสันหลังหล่อเลี้ยงอยู่ และจะมีกระดูกเรียงขวางต่อกันเป็นแนวยาวตั้งแต่คอถึงเอว ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีกระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่นช่วยรองรับแรงต่างๆ และเมื่อไหร่ก็ตามที่กระดูกมีการเสื่อมสภาพอาจทำให้มีการเคลื่อนของหมอนรอง และมีอาการ ปวด เสียว ชา ที่อวัยวะที่มีปลายประสาทไปเลี้ยง ซึ่งต่อมาจะทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆได้

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ถือว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เริ่มมีอายุตั้ง 40 ปีขึ้นไป หรือในบางรายอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 35 ปี เนื่องจากการทำงานที่ต้องยกของหนักมากบ่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันคนไข้สามารถเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ 3 แบบ คือ การใช้พลังงานสนามแม่เหล็ก หรือที่เรียกว่า MRI, การตรวจด้วยเครื่อง CT ร่วมกับการฉีดสีเข้าไขสันหลังซึ่งจะมีความแม่นยำพอกับการทำ MRI และการตรวจคลื่นไฟ้ฟ้ากล้ามเนื้อ Eletromyography (EMG) เป็นการวัดว่าเส้นประสาทถูกกดทับหรือไม่โดยการเปรียบเทียบข้างที่เป็นโรคกับด้านที่ปกติ จะช่วยให้สามารถหาสาเหตุและวิธีการรักษาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น ทั้งนี้การเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอยู่ 2 จุดหลักๆ คือ บริเวณคอ และบริเวณหลัง ซึ่งอาการและสาเหตุของทั้ง 2 จุดนั้นก็จะแตกต่างกันไป

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อมมาทับบริเวณเส้นประสาท หรือเมื่ออายุมากขึ้นมีการงอกของกระดูกคอ และอาจมากดทับบริเวณรากประสาทได้ ทำให้มีอาการปวดคอ คอแข็ง และปวดร้าวลงมาที่มือ หรือปวดบ่า ปวดไหล่ และปวดร้าวลงมาที่แขน ในบางรายอาจมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น หมอนรองกระดูกยื่นออกมากดทับประสาทไขสันหลังจนทำให้รู้สึกว่ากล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง ชาตามแขนขาได้

สำหรับการรักษาในเบื้องต้นนั้น จะรักษาตามอาการปวด หากเป็นอาการปวดที่เกิดจากการกดทับของเส้นประสาทและเกิดจากการอักเสบ จะใช้วิธีการรักษาโดยให้ยาแก้ปวด NSAID เท่านั้น หากยังไม่ดีขึ้นและมีอาการปวดเพิ่มขึ้น อาจใช้การรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การทำกายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อนหรือเย็น, การใช้อัลตร้าซาวด์จะช่วยในการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ, การดึงคอเพื่อช่วยลดการกดทับของเส้นประสาท, ใส่ปลอกคอเพื่อให้มีการพักของกระดูกต้นคอ, การจัดกระดูก Chiropractic manipulation ซึ่งต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ถึงจะสามารถช่วยลดอาการปวด และหากมีอาการปวดมากอาจใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยระงับอาการปวด และการฉีดยาเข้าบริเวณที่ปวด เป็นต้น ส่วนการผ่าตัดนั้นจะทำเมื่อการรักษาในแบบไม่ผ่าตัดทำแล้วไม่ได้ผล โดยการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอในปัจจุบัน สามารถรักษาได้ 2 วิธีด้วยกัน วิธีแรกเรียกว่า Anterior cervical discectomy and fusion เป็นการผ่าตัดเพื่อนำเอาหมอนรองกระดูกออก ปัจจุบันได้มีการรักษาโดยการใช้กล้องผ่าตัด (Microscope) เพื่อผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกทั้งหมด แล้วใส่กระดูกเทียม, ใส่หมอนรองกระดูกเทียม หรือใส่กระดูกของผู้ป่วยในบริเวณอื่นแทน และวิธีที่สองเรียกว่า Posterior cervical discectomy เป็นการผ่าตัดนำหมอนกระดูกออกโดยผ่าทางด้านหลัง แต่วิธีการผ่าตัดจะยากกว่าการผ่าตัดทางด้านหน้า เป็นการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกเพียงบางส่วน เช่น การตัดหมอนรองกระดูกทางด้านหลัง หรือ การผ่าตัดขยายโพรงเส้นประสาททางด้านหน้านั่นเอง ซึ่งการผ่าตัดทั้ง 2 วิธี คนไข้ต้องใช้เวลาในการนอนพักฟื้นอยู่โรงพยาบาล 3-4 วัน จึงสามารถกลับบ้านได้ และควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลัง มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อายุที่มากขึ้น 35-40 ปีขึ้นไป การยกของหนักมากเกินไป การเคลื่อนไหวตัวผิดท่า การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือนั่งทำงานในท่าเดิมนานจนเกินไป จนทำให้เกิดจากการฉีกขาดของเส้นใยของหมอนรองกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกที่บริเวณเอวปูด และอาจเคลื่อนหรือแตกทับเส้นประสาทได้ ซึ่งการฉีกขาดนี้จะทำให้สารเหลวคล้ายเจลลี่เคลื่อนตัวออกมาภายนอก จึงส่งผลทำให้คนไข้จะรู้สึกปวดร้าวจากหลังไปยังขาหรือหลังเท้า ในบางรายอาจปวดจนเดินไม่ได้

สำหรับการรักษาในเบื้องต้นนั้นจะเป็นการให้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยระงับอาการปวด หรืออาจมีการใช้วิธีการประคบร้อนร่วมกับการทำอัลตร้าซาวน์จะช่วยในการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันในช่วงแรกที่มีอาการปวด โดยงดเว้นการยกของหนัก ไม่ยกของเหนือระดับหัวไหล่ หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลทำให้เกิดการกระแทก, นอนที่นอนไม่อ่อนนุ่มหรือแข็งเกินไป, ถ้านอนตะแคงควรนอนระวังไม่ให้ลำตัวบิด และถ้านอนหงายควรมีหมอนรองใต้ข้อเข่าให้งอเล็กน้อยไม่เหยียดตรงจนเกินไป และใส่สายรัดพยุงหลังเพื่อช่วยในการประคอง เป็นต้น หากยังไม่ดีขึ้นแพทย์จึงค่อยพิจารณาการผ่าตัดในลำดับต่อไป ซึ่งการผ่าตัดรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังนั้น มีอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ วิธีแรก การผ่าตัดผ่านช่องกระดูกสันหลังเพื่อนำเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก ปัจจุบันได้มีการรักษาโดยการใช้กล้องผ่าตัด เรียกว่า Microdiscectomy เป็นการผ่าตัดเช่นเดียวกับการทำผ่าตัดเปิดเอาหมอนรองกระดูกสันหลังออกแบบเดิมที่เรียกว่า Standard open discectomy แตกต่างที่แผลขนาดเล็กลงกว่า ลดระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาล, วิธีที่ 2 คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมที่ระดับหลัง วิธีนี้จะเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกเสื่อม และวิธีที่ 3 การผ่าตัดโดยวิธีการผ่านกล้องขนาดเล็ก (Endoscope) เป็นการผ่าตัดขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตรเท่านั้น เหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกแตกหรือปูดมากดทับเส้นประสาทนั่นเอง

สำหรับการดูแลตัวเองหลังการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น แต่ละกลุ่มก็จะมีวิธีการดูแลตัวเองที่แตกต่างกันออกไป

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค

ซึ่งในคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคอนั้น จะต้องดูแลตัวเองด้วยวิธีปรับการใช้ชีวิตประจำวันใหม่ อาทิ หากต้องนั่งนานๆ ควรปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง อย่านั่งนานเกินไป ควรลุกขึ้นยืน หรือปรับเปลี่ยนอากัปกิริยา ทุกๆ ชั่วโมงเพื่อลดอาการปวดคอ คอแข็ง หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ , การนอนควรใช้หมอนหนุนศีรษะโดยมีส่วนรองรับใต้คอให้กระดูกคออยู่ในลักษณะปกติ , บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำงานโดยแหงนคอเป็นเวลานานๆ บ่อยๆ เป็นต้น

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค

ส่วนคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลัง เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่คนไข้ไม่ควรละเลยก็คือการดูแลตัวเองหลังการรักษาและปฏิบัติตัวให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเณหลังอีก โดยการลดการใช้งานของกล้ามเนื้อหลังให้น้อยลง ไม่ยกของหนักจนเกินไป หรือหากต้องยกของหนักจากพื้นควรยกในท่าที่ถูกต้อง ไม่ควรก้มเลยทันทีควรย่อเข่าแล้วยกของ และถือของชิดตัวเพื่อลดอาการปวดบ่า ปวดไหล่ ส่วนการออกกำลังกายนั้นควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมเกินไป หากรู้สึกเหนื่อยและเมื่อยให้หยุดพักแล้วจึงค่อยทำใหม่

หากคุณปฏิตัวอย่างถูกต้องเพียงแค่นี้ก็จะช่วยให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอและหลังลดน้อยลงได้

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค