พิธีตั้งศาล พระภูมิ เจ้าที่

พิธีตั้งศาล พระภูมิ เจ้าที่


หลาย ๆ บ้านมีความเชื่อกันว่า หากทำการตั้งศาลพระภูมิ จะทำให้บ้านได้รับสิริมงคล เพราะจากตำนานศาลพระภูมิเชื่อกันว่า ศาลพระภูมิคือที่อยู่ของพระชัยมงคล เทพที่ปกปักษ์รักษาคนในบ้านให้พ้นภัยอันตราย และมีความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง ดังนั้น การตั้งศาลพระภูมิที่ถูกต้องจึงมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น วิธีเลือกศาลพระภูมิ, องค์ประกอบของศาลพระภูมิและเครื่องประดับ, สถานที่ตั้งศาลพระภูมิ, ทิศทาง ศาลพระภูมิ, การปักเสาตั้งศาลพระภูมิ รวมถึงฤกษ์ยามในการทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ

วิธีเลือกศาลพระภูมิ

ลักษณะของศาลพระภูมิ คือ มีเสาเพียงต้นเดียว จริง ๆ แล้วการเลือกศาลพระภูมินั้นไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว ทั้งสี ขนาด หรือความสูงของศาลพระภูมินั้น ขึ้นอยู่กับความชอบและงบประมาณของเจ้าของบ้าน แต่ตามตำราแล้ว ระดับชานชาลาของศาลพระภูมิควรอยู่เหนือระดับปากของเจ้าของบ้าน แต่บางตำราก็ว่า ควรอยู่เหนือระดับคิ้วของเจ้าของบ้าน ส่วนสีนั้น ไม่ควรใช้สีฟ้า สีน้ำเงิน และสีดำ ซึ่งเป็นสีของธาตุน้ำที่ไม่ถูกกับศาลพระภูมิที่เป็นธาตุไฟ หากนำมาตั้งจะทำให้ขาดพลังในการส่งเสริมความเป็นสิริมงคล


พิธีตั้งศาล พระภูมิ เจ้าที่


องค์ประกอบของศาลพระภูมิ และเครื่องประดับการตั้งศาลพระภูมิ

ไม่ใช่ว่าเพียงตั้งเปล่า ๆ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ และเครื่องประดับตกแต่งเพื่อให้ครบองค์บริวาร ซึ่งมีดังนี้

1. เจว็ดศาลพระภูมิ 

เจว็ดศาลพระภูมิ คือ ตัวแทนของพระชัยมงคล เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับศาลพระภูมิ เจว็ดศาลพระภูมิ จะมีลักษณะรูปร่างคล้ายใบเสมา หรือแกะสลักเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ โดยเมื่อทำพิธีปลุกเสกแล้ว จะเรียกว่า พระภูมิ ซึ่งเป็นประธานของศาลพระภูมิ

2. บริวารของพระภูมิ

  • ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
  • ตุ๊กตาช้างม้า อย่างละ 1 คู่
  • ละครยก 2 โรง หรือละครรำ

พิธีตั้งศาล พระภูมิ เจ้าที่


3. เครื่องประดับตกแต่งศาลพระภูมิ


เครื่องประดับตกแต่ง จำนวน ผ้าผูกเจว็ด1 ผืนแจกัน1 คู่เชิงเทียน1 คู่กระถางธูป1 ใบฉัตรเงิน-ฉัตรทอง2 คู่ผ้าแพร 3 สีสำหรับพันศาล1 ชุดผ้าขาว1 ผืนทองคำเปลว1 ชุดแป้งเจิม1 ถ้วย

สถานที่ตั้งศาลพระภูมิ

  • ควรตั้งศาลพระภูมิบนพื้นดิน แต่ห้ามตั้งศาลบนพื้นเดียวกันกับตัวบ้าน แต่หากไม่มีบริเวณพื้นดินจริง ๆ ให้ตั้งศาลพระภูมิที่ชั้นดาดฟ้าได้
  • ควรยกพื้นให้พื้นที่ตั้งศาลพระภูมิสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ
  • ตั้งศาลพระภูมิให้ห่างจากตัวบ้าน โดยไม่ให้เงาของตัวบ้านทอดลงมาทับศาลพระภูมิได้
  • ห้ามหันหน้าศาลพระภูมิเข้าไปทางตัวบ้าน ห้องน้ำ และประตูของตัวบ้าน
  • ให้มีระยะห่างจากที่ตั้งศาลพระภูมิกับกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร

ทิศทางของการตั้งศาลพระภูมิตามความเชื่อโดยทั่วไป

ศาลพระภูมิควรหันหน้าไปทางทิศดังนี้
  • ทิศที่ดีเป็นอันดับ 1 คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ทิศที่ดีเป็นอันดับ 2 คือ ทิศตะวันออก
  • ทิศที่ดีเป็นอันดับ 3 คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้
  • ทิศต้องห้ามคือ ทิศตะวันตกและทิศใต้

หลังจากที่ได้ทิศทางตั้งศาลพระภูมิแล้ว ควรพูนดินบริเวณที่ตั้งศาลให้สูงจากพื้นเดิมประมาณ 1 คืบ จากนั้นให้ใช้มือเกลี่ยดินแล้วทุบให้แน่น ทั้งนี้ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด และเนื่องจากเป็นพื้นที่สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงต้องขับไล่สิ่งชั่วร้ายก่อน โดยให้นำน้ำมนต์ธรณีสาร (น้ำที่พระสงฆ์ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์โดยใส่ใบไม้ต้นธรณีสารลงในน้ำ) มาประพรมบริเวณที่ตั้งศาลพระภูมิ

พิธีตั้งศาล พระภูมิ เจ้าที่


การปักเสาตั้งศาลพระภูมิ

ก่อนวันที่ทำพิธีปักเสาศาลพระภูมิ ให้เตรียมขุดหลุมสำหรับปักเสาศาลพระภูมิ โดยมีสิ่งของที่ต้องเตรียมในการปักเสา คือ พานครู 1 พาน สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึง หรือ 99 บาท และอย่าลืมว่าในการกลบหลุมเสาศาลพระภูมินั้น ต้องใช้มือกด ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด

นอกจากนี้ จะต้องใส่ของมงคลในหลุมเสาของศาลพระภูมิด้วย โดยมีรายการดังนี้

 ของมงคล  จำนวน เหรียญเงินและเหรียญทอง อย่างละ 9 เหรียญ ใบเงิน 9 ใบใบทอง 9 ใบใบนาค 9 ใบใบมะยม 9 ใบใบรัก 9 ใบใบนางกวัก 9 ใบใบนางคุ้ม 9 ใบใบกาหลง 9 ใบดอกบานไม่รู้โรย 9 ดอกดอกพุทธรักษา 9 ดอกไม้มงคล 9 ชนิดแผ่นเงิน ทอง และนาค 1 ชุดพลอยนพเก้า 1 ชุด

ฤกษ์ยามในการทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ

ฤกษ์ยามในการทำพิธีตั้งศาลพระภูมินั้น ควรปรึกษาพราหมณ์หรือโหรผู้มีความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม เพื่อดูวันเดือนปีเกิดของเจ้าบ้าน และหาฤกษ์ที่เป็นสิริมงคลกับเจ้าบ้านโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้วันต้องห้ามตั้งศาลพระภูมิโดยทั่วไป มีดังนี้

เดือนวันต้องห้ามเดือนอ้าย (ธันวาคม)วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ เดือนยี่ (มกราคม)วันพุธ และวันศุกร์เดือน 3 (กุมภาพันธ์)วันอังคารเดือน 4 (มีนาคม)วันจันทร์เดือน 5 (เมษายน)วันพฤหัสบดี และวันเสาร์เดือน 6 (พฤษภาคม)วันพุธ และวันศุกร์เดือน 7 (มิถุนายน)วันอังคารเดือน 8 (กรกฎาคม)วันจันทร์เดือน 9 (สิงหาคม)วันพฤหัสบดี และวันเสาร์เดือน 10 (กันยายน)วันพุธ และวันศุกร์เดือน 11 (ตุลาคม)วันอังคารเดือน 12 (พฤศจิกายน) วันจันทร์

พิธีตั้งศาล พระภูมิ เจ้าที่


เมื่อทราบหลักวิธีการตั้งศาลพระภูมิและองค์ประกอบต่าง ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การประกอบพิธีกรรมในการตั้งศาล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้คือ พราหมณ์และผู้สืบทอดการทำพิธีจากพราหมณ์ และหลังจากตั้งศาลพระภูมิและทำพิธีบวงสรวงอย่างถูกต้องแล้ว โดยทั่วไปมีความเชื่อกันว่าจะช่วยส่งเสริมให้พระภูมิมีพลังในการดูแลคนในบ้านให้พบเจอแต่ความสุขและความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างเต็มที่

ที่มา DDProperty