สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

ยุคสมัยนี้ ไมโครเวฟได้กลายเป็นเครื่องครัวสามัญประจำบ้านไปแล้ว เพราะสะดวก ใช้งานง่าย ร้อนได้โดยไม่ต้องจุดไฟ คิดไรไม่ออกก็ยัดใส่เวฟ แต่มือใหม่อาจจะยังใช้งานกันไม่ถูกต้องนัก โดยเฉพาะภาชนะที่นำไปเข้าเวฟซึ่งหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่

การเลือกภาชนะที่นำไปเข้าเวฟเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใช้วัสดุไม่เหมาะสมนอกจากอาหารจะพังแล้ว อาหารอาจมีการปนเปื้อนสารบางอย่างจากภาชนะเข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือถ้าเกิดระเบิดไฟ ไหม้นี่เรื่องใหญ่แน่นอน

ภาชนะที่สามารถใส่ไมโครเวฟได้

1. พลาสติก

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

พลาสติกมีความทนต่อความร้อนและสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ คือพลาสติกประเภท Polyethylene terephthalate (PET) หรือ Polypropylene (PP) อื้อหือ แค่เห็นชื่อก็โคตรงงแล้วครับ เอาเป็นว่าภาชนะพลาสติกที่นำเข้าเวฟได้ เค้าจะมีสัญลักษ์บอกอยู่แล้วหล่ะ เพราะจะทำให้ขายได้ง่ายขึ้น

และจะมีพลาสติกบางประเภทที่ทนความร้อนได้ต่ำ ถ้าเรานำเข้าเวฟพลาสติกอาจจะละลายหรือมีสารปนเปื้อนลงไปในอาหารได้ ขอให้มีสัญลักษณ์บอกชัวร์ๆ ว่าเข้าเวฟได้ จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าหมอทีหลัง

 

2. เซรามิก

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

เซรามิกแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามวัสดุ เอิร์ทเทนแวร์ (Earthenware), สโตนแวร์ (Stoneware), พอร์ซเลน (Porcelain) หรือ โบนไชน่า (Bone china) ซึ่งแต่ละแบบของเซรามิกผ่านกระบวนการเผาด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยดังกล่าวเพียงแค่มีผลกับระยะเวลาในการเวฟอาหารเท่านั้น สามารถเข้าเวฟได้ทุกตัว

แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องของสีที่ใช้ตกแต่งเครื่องเซรามิก ไม่ควรใช้สีที่ฉูดฉาด อย่างสีเงินหรือสีทอง เพราะเป็นสีที่สะท้อนคลื่นไมโครเวฟ อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้

 

3. แก้ว

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

สำหรับแก้วนี่สามารถนำเข้าเวฟได้เลย ไม่ต้องคิดมาก เพราะองค์ประกอบของแก้วคือสารอนินทรีย์อย่างทราย มีความทนทานต่อความร้อนสูงมาก ไม่มีผลกระทบต่อวัสดุเมื่ออุณภูมิมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และผิวของแก้วไม่มีการสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ

ภาชนะที่ไม่สามารถใส่ไมโครเวฟได้

1. โลหะทุกชนิด

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

เมื่อนำโลหะใส่เตาไมโครเวฟ จะเกิดประกายไฟในส่วนที่เป็นมุมแหลมๆ ของภาชนะที่เป็นโลหะ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ อันตรายมาก ถ้าใครเคยเผลอนำช้อนหรือส้อมเข้าไมโครเวฟ สังเกตว่าจะมีไฟแล่บแปล๊บๆ ในส่วนปลาย (ถ้าช้อนไม่ได้อยู่ในน้ำ)

และอย่าลืมสังเกตดีๆ เพราะภาชนะบางอย่างไม่ได้ทำจากโลหะทั้งอัน แต่มีบางส่วนที่ตกแต่งด้วยโลหะ หรือมีด้ามจับเป็นโลหะ อันนี้ก็อันตรายเหมือนกันนะ

 

โฟม

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

โฟมเนี่ยห้ามนำเข้าเวฟเลยครับ เพราะมันทนความร้อนได้ไม่สูงนัก ตัวโฟมอาจละลายหรือไหม้ได้เลย หรือบางทีอาจจะมีส่วนที่ละลายปนเปื้อนลงไปในอาหารชิบหายแน่นอน

 

วัสดุที่เป็นไม้, กระดาษ

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

วัสดุพวกไม้มีโอกาสไหม้ได้ง่ายมาก และสำหรับกระดาษนั้นพอใช้อุ่นอาหารเบาๆ ก็พอไหว แต่ถ้าเผลอใช้ไฟแรงอาจจะเกิดก็ไฟไหม้ได้เลยไม่แนะนำ ถ้าไม่ลำบากไปนักก็แกะใส่ชามพลาสติกเถอะนะ

 

สรุปการเลือกภาชนะ

โดยเบื้องต้นแล้ว วัสดุที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้มักจะเป็นวัสดุที่ทนความร้อนสูงมาก ติดไฟได้ยาก และถ้าเป็นภาชนะที่บรรจุอาหารมาอย่างของแช่แข็ง เค้าจะมีฉลากบอกเลยครับ ว่าเข้าเวฟได้หรือไม่ได้ เอาเป็นว่าถ้าเราไม่แน่ใจก็อย่านำไปเวฟจะดีกว่า เพราะเรื่องความร้อนนี่อันตรายน้า

เคยสงสัยกันไหมคะว่า ภาชนะเข้าไมโครเวฟได้ แบบไหนกันแน่ ชามใบนี้มันเข้าไมโครเวฟได้ไหมนะ แล้วกล่องพลาสติกพวกนี้อีกล่ะ ชามแบบนั้น ถ้วยใบนี้ แล้วหม้อนั้นอีกล่ะ โอ๊ยยย เยอะ !!

เอาละค่ะขอให้เลิกทำคิ้วผูกโบ  เก็บเครื่องหมายอะไรเอ่ยที่ผุดขึ้นมาอยู่เต็มไปหมดลงกระเป๋าไปก่อน แล้วหันมาตั้งใจฟัง my home จะบอกให้ว่า ภาชนะเข้าไมโครเวฟได้ มีแบบไหนบ้างนะคะ

เริ่มที่ภาชนะกลุ่มแรกกันค่ะ เป็นภาชนะที่เราสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยแน่นอน เหมาะสำหรับความหิวระดับสิบ!! น้ำย่อยสั่งการให้สมองหยิบชามโดยด่วน!! ขอให้หยิบจานชามในกลุ่มนี้เข้าไมโครเวฟนะคะ

เซรามิก

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.westelm.com
สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.crateandbarrel.com
สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.target.com

เป็นภาชนะที่สามารถใช้กับไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยหายห่วงเลยค่ะ จะอุ่นอาหารก็ได้ ปรุงอาหารก็ดี ถึงเนื้อของเซรามิกจะแตกต่างกันออกไปก็ไม่เป็นผลต่อการใช้งานกับไมโครเวฟมากนักค่ะ ยกตัวอย่างเช่นเซรามิกกลุ่ม Earthware นั้นอาจจะใช้เวลาในการอุ่นอาหารให้ร้อนนานกว่ากลุ่ม Stoneware และ Bone china อยู่สักหน่อยค่ะ ก็เจ้า Earthware เค้ามีเนื้อดินที่มีความพรุนตัวมากจึงทำให้ความสามารถในการดูดน้ำสูง เลยต้องใช้เวลากันสักหน่อยกว่าอาหารในภาชนะนั้นจะสุก

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.luluandgeorgia.com
สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.westelm.com

ข้อควรระวังของภาชนะในกลุ่มเซรามิกนั้นพอมีอยู่บ้าง ก็คือต้องเป็นภาชนะที่ไม่ตกแต่งลวดลายสีเงิน หรือ สีทองนะคะ เพราะสีเหล่านี้สามารถสะท้อนคลื่นไมโครเวฟได้ ทำให้อุปกรณ์ภายในของไมโครเวฟเกิดความเสียหายได้

แก้ว

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.crateandbarrel.com

นอกจากกลุ่มภาชนะที่ทำจากเซรามิกแล้วก็มี แก้ว นี้แหละค่ะที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้อย่างใสๆเลย เพราะองค์ประกอบสำคัญของแก้วคือ สารอนินทรีย์อย่าง ทราย และเจ้าทรายนี้ ก็มีคุณสมบัติที่ทนต่อความร้อนได้สูงมาก  แถมผิวเงาๆมันๆของแก้ว ก็ยังไม่สะท้อนคลื่นไมโครเวฟด้วยค่ะ

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.modcloth.com
สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.casadeperrin.com

ข้อควรระวังของภาชนะที่ทำจากแก้วก็คงเป็นลวดลายที่ตกแต่งอยู่บนผิวของแก้วนี้แหละค่ะ ถ้าใบไหนมีลายก็ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟนะคะ

มาต่อกันที่กลุ่มที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แต่ต้องให้ความใส่ใจกับเขาหน่อยค่ะ เป็นกลุ่มภาชนะที่เหมาะสำหรับการหิวในระดับกลาง แบบที่น้ำย่อยยังไม่สร้างความเสียหายต่อการตัดสินใจและอารมณ์มากนัก ภาชนะกลุ่มนี้จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

พลาสติก

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.dollartree.com
สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.refinery29.com

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม

สัญลักษณ์ PP เข้าไมโครเวฟได้ไหม
ภาพจาก www.WordPress.com

กล่องใส่อาหารพร้อมทานส่วนมาก ก็มาพร้อมกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหมือนกันหมดเลย แต่พลาสติกที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ จะต้องเป็นพลาสติกประเภท Polyethylene terephthalate (PET) และ พลาสติกประเภท Polypropylene (PP) เท่านั้นนะคะ เพราะทั้งสองประเภทนี้มีความเหนียว และยืดหยุ่น จึงทนต่อแรงกดกระแทกได้ค่อยข้างสูง ถ้ายังงง ๆ ว่าเจ้าสองตัวนี้คือพลาสติกแบบไหน ลองพลิกด้านดูบริเวณก้นของภาชนะพลาสติก จะมีสัญลักษณ์บอกไว้อย่างชัดเจนค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรใช้เพียงเพื่ออุ่นอาหาร ไม่ควรนำไปปรุงอาหารด้วยความร้อนสูงนะคะ

กล่องเอ็มเคเข้าไมโครเวฟได้ไหม

MK Restaurants. เป็นพลาสติกค่ะ แอดมินไม่แนะนำให้เข้าไมโครเวฟค่ะ แนะนำเปลี่ยนถ่ายภาชนะก่อนนะคะ

พลาสติก PP 5 เข้าไมโครเวฟได้ไหม

พลาสติก PP พลาสติกรีไซเคิลได้ประเภทที่ 5 เป็นพลาสติกที่มีความเหนียว อากาศสามารถผ่านได้เล็กน้อย แต่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้ นอกจากจะใช้เก็บอาหารสด อาหารแปรรูป และอาหารแช่แข็งได้ดี ทนต่อสารเคมีและอาหารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้เล็กน้อยแล้ว ยังทนความร้อนได้ถึง 110 องศาเซลเซียส ดังนั้นสามารถใช้ใส่อาหารเพื่ออุ่นร้อนในไมโครเวฟได้

กล่องแบบไหนเข้าไมโครเวฟได้

สรุปแล้ว ภาชนะที่สามารถนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟได้โดยไม่เป็นอันตราย ไม่ระเบิด ไม่เกิดไฟลุก และไม่มีสารปนเปื้อน ได้แก่ ภาชนะประเภทแก้ว, เซรามิก, กระเบื้อง, พลาสติกประเภทที่ 5 (PP) รวมถึงบรรจุภัณฑ์กระดาษบางประเภท

พอลิเมอร์ประเภทใดที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้

ในปัจจุบันพลาสติกที่นำเข้าไมโครเวฟได้ มี 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ พลาสติก CPET (Crystallized Polyethylene Terephthalate) และพลาสติก PP (Polypropylene) ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้