คนไร้ความสามารถซื้อของได้ไหม

นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนั้นการทำนิติกรรมจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในรูปแบบของการทำสัญญาเสมอไป แม้แต่การตกลงซื้อขายน้ำเปล่ากันแค่ 1 ขวด ก็เป็นการทำนิติกรรมระหว่างกันแล้ว

คนไร้ความสามารถซื้อของได้ไหม

บุคคลวิกลจริต = คนบ้า ?

ในส่วนของบุคคลวิกลจริต ในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปเมื่อมาอ่านตัวบทกฎหมายอาจจะพาสับสนได้ บุคคลวิกลจริตคือคนบ้า สติไม่ดี แต่ในทางกฎหมายแบ่งแยกการทำนิติกรรมของบุคคลวิกลจริตไว้ 2 กรณี คือ กรณีที่ศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถซึ่งเรียกว่า บุคคลวิกลจริต และกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเรียกว่า คนไร้ความสามารถ ซึ่งผลของการทำนิติกรรมก็จะแตกต่างกันไป

ผลของการทำนิติกรรมมีด้วยกัน 3 แบบ คือ สมบูรณ์ โมฆียะ และ โมฆะ สิ่งที่ยากคือการแยกระหว่าง โมฆียะและโมฆะ โมฆียะคือการที่นิติกรรมมีความสมบูรณ์อยู่เรื่อยมาจนกว่าจะถูกบอกล้างหรือบอกเลิก ส่วนโมฆะ คือการที่นิติกรรมนั้นไม่มีผลมาตั้งแต่แรก

มาตรา 30 การใดอันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต จะเห็นได้ว่าหากไม่ได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่และคู่กรณีอีกฝ่ายรู้ว่าผู้กระทำ เป็นบุคคลวิกลจริต ผลของนิติกรรมย่อมเป็นสมบูรณ์เสมอ เท่ากับว่ากฎหมายยังเปิดโอกาสให้คนวิกลจริตทำนิติกรรมได้ในขณะที่จิตปกติ

ตัวอย่างเช่น นาง A เป็นคนบ้า วิกลจริต แต่งตัวด้วยชุดนางรำ จัดหนักจัดเต็มอย่างกับนางรำอาชีพ เดินมาป้วนเปี้ยนบริเวณที่มีการจัดพิธีรำแก้บนพอดิบพอดี นาง A เกิดอยากกินลูกชิ้นปิ้ง จึงเดินไปซื้อลูกชิ้นปิ้ง 5 ไม้ แม่ค้าขายลูกชิ้นปิ้งก็ขายให้โดยไม่เอะใจอะไร ซึ่งนาง A ก็จ่ายเงินให้ พูดจาดีเหมือนคนปกติทุกอย่าง การทำนิติกรรมซื้อลูกชิ้นปิ้งของนาง A จึงมีผลเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะที่จะทำให้แม่ค้ามีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้ เนื่องจากในขณะซื้อลูกชิ้นปิ้งนาง A ไม่ได้มีอาการวิกลจริตอยู่ และแม่ค้าก็ไม่ได้รู้ว่านาง A เป็นคนวิกลจริต

การขายทรัพย์สินของผู้ไร้ความสามารถ

    บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ ไม่อาจแสดงเจตนาเพื่อทำนิติกรรมโดยลำพังได้ มิฉะนั้น นิติกรรมย่อมเป็นโมฆียะหรือโมฆะ ตามกฎหมาย

    ซึ่งผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลที่ศาลได้มีคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

    การขายทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ของผู้ไร้ความสามารถ นั้น หากมีความจำเป็นต้องขาย ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงจะสามารถทำนิติกรรมการขายได้ เพื่อการเล็งถึงประโยชน์ของคนไร้ความสามารถเป็นสำคัญ

    หากในขณะที่ร้องขอศาลเพื่อตั้งผู้อนุบาล มิได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ด้วย ผู้อนุบาลต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตเสียก่อน เมื่อศาลอนุญาตแล้วสามารถนำคำสั่งศาลดังกล่าวพร้อมเอกสารฐานมายื่นคำขอต่อเจ้าพนักงงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินได้

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

1 ทะเบียนบ้าน

2 บัตรประจำตัวประชาชน

3 คำสั่งศาลเป็นผู้ไร้ความสามารถ และแต่งตั้งผู้อนุบาล/ผู้พิทักษ์

4 โฉนดที่ดิน พร้อมหนังสือรับรองราคาประเมิน ไม่เกิน 3 เดือน

5 ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

6 สัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน (ถ้ามี)

7 หนังสือให้ความยินยอมจากทายาทผู้ไร้ความสามารถ

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น ผู้ไร้ความสามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไว้ก่อนศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541

    แม้ ส. ผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ ส. เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ ส. จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อ ตามสัญญาจะซื้อขายปรากฏว่า ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อขายที่ ส. ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาล ซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ มิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส. ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน และยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทน ส. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขาย ซึ่งเป็นโมฆียะกรรม โดยการแสดงเจตนาแก่ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส. ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส. อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้าน ตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม และเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของ ส. ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อ ส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของ ส. ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่า มีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อ ส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของ ส. คนไร้ความสามารถขายที่ดินของ ส. ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2541)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 29 การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา 30 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต

มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต

(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์

(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น

(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)

(7) ให้กู้ยืมเงิน

(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์

(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา

(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น

(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)

(12) ประนีประนอมยอมความ

(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1 ผู้ร้องสามารถขอให้ศาลมีคำสั่ง เป็นคนไร้ความสามารถและอยู่ในความอนุบาล พร้อมทั้งขออนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถไปในคดีเดียวกันได้

2 แม้ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกล่าวถึงอำนาจการจัดการหรือขอบอำนาจกระทำการแทนของผู้อนุบาล แต่การทำนิติกรรมก็ต้องขออนุญาตศาลก่อนทุกกรณีไป เหมือนกรณีของผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574

3 ศาลอาจจะมีคำสั่งให้อนุญาตขายได้ และต้องดำเนินการให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ภายใน 1 ปี หรือ 2 ปี เป็นต้น

4 ประสงค์จะขายทรัพย์สินให้ผู้ใด ในราคาเท่าใด ปกติต้องตามราคาท้องตลาด ซึ่งไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน ซึ่งคำสั่งศาลจะกำหนดให้ขายไม่ต่ำกว่าราคา - บาท โดยควรซื้อขายในราคาที่สูงกว่าราคาประเมิน เพื่อจะนำเงินที่ได้จากการขายมาเป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและค่ารักษาพยาบาล

5 ต้องบรรยายในคำร้องว่า ปัจจุบันผู้ไร้ความสามารถรักษาพยาบาลอยู่ที่ใด มีค่าใช้จ่ายเท่าใด ซึ่งทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะชำระ

6 สถานะในปัจจุบันของผู้อนุบาลไม่มีรายได้เพียงพอที่จะรับภาระค่าใช้จ่ายได้

7 กรณีผู้ไร้ความสามารถ เป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกับบุคคลอื่น ในฐานะกรรมสิทธิ์ร่วมหรือสินสมรส คำร้องจะต้องให้เจ้าของร่วมหรือคู่สมรสเซ็นยินยอมและไม่คัดค้านด้วย

8 ผู้เสมือนไร้ความสามารถ สามารถขายทรัพย์สินของตนเองได้เช่นเดียวกันคนปกติ ยกเว้นนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ มิใช่โดยคำสั่งอนุญาตจากศาล

บุคคลไร้ความสามารถซื้อของได้ไหม

ผลของกฎหมายการเป็นคนไร้ความสามารถ : ไม่สามารถทำนิติกรรมได้ด้วยตนเอง แม้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทนทั้งหมด นิติกรรมที่คนไร้ความสามารถทำลงไปตกเป็นโมฆียะ ซึ่งผู้อนุบาลอาจบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้ในภายหลัง ตาม ป.พ.พ. 29 แต่บางนิติกรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574.

คนเสมือนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของใครตามกฎหมาย

การให้คนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาล (๑) ผู้ใช้อํานาจปกครอง มาตรา๑๕๖๙“ผู้ใช้อํานาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ของบุตร ในกรณีทีบุตรถูกศาลสังให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ใช้อํานาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือ ผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี”

คนวิกลจริต ซื้อของได้ไหม

คนวิกลจริต สามารถทำนิติกรรม เช่น ขายที่ดิน ยกที่ดินให้ผู้อื่นโดยสเน่หา ซื้อทรัพย์สินต่างๆ เหมือนกับบุคคลทั่วไปทุกประการ

คนเสมือนไร้ความสามารถทำนิติกรรมอะไรได้บ้าง

มาตรา 34 คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้ว จึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ (1) นำทรัพย์สินไปลงทุน (2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น (3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า