โรค ซึม เศร้า หายเองได้ไหม

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ

“เศร้า” กับ “ซึมเศร้า” แตกต่างกันตรงที่ อาการเศร้า เป็นเพียงอาการชั่วคราวที่สามารถหายไปได้เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ เมื่อสมอง และจิตใจยอมรับ และเข้าใจในสิ่งที่เกิดได้ ความรู้สึกเศร้าก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่หากเป็น “โรคซึมเศร้า” มันไม่ใช่เพียงความเศร้าชั่วคราว นานวันเข้าอาจกระทบกระเทือนชีวิตการทำงานจนอาจต้องจากโลกก่อนวัยอันควรได้

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

รศ.นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัยมาก โดยภาพรวมก็เป็นปัจจัยทางด้านจิตใจ การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมที่ทำให้ตัวเองมีแนวโน้มที่จะมองตัวเองในทางลบ วัยเด็กอาจจะถูกทอดทิ้ง หรือว่าใช้ความรุนแรง หรือว่ามีความห่างเหินทางด้านจิตใจระหว่างผู้ป่วยกับพ่อแม่ หรือมีการเลี้ยงดูที่ไม่ค่อยถูกต้องต่าง ๆ ไม่ค่อยได้เสริมให้เด็กมีกำลังใจหรือว่าเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง หรือว่าอาจจะมีความเครียดต่อเนื่องกันมานาน ๆ สุดท้ายแล้ว ประสบการณ์ที่เขาเติบโตมา ไม่ว่าจะเป็นจากการเลี้ยงดู หรือว่าปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดความเครียดต่าง ๆ มันก็มีผลต่อการทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องของอารมณ์

โรคซึมเศร้า ต้องรีบพบแพทย์

มีหลายคนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะถึงมือแพทย์ได้ก็ตอนที่พยายามจะทำร้ายตัวเอง คนที่โชคดีอาจจะทำร้ายตัวเองไม่สำเร็จแล้วรอดชีวิตมาได้ จนได้เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้ากับจิตแพทย์

แต่จะรอจนกว่าจะถึงวันที่ลงมือทำร้ายตัวเองก็ดูจะสายเกินไป ปัจจุบันมีแบบทดสอบที่จะคัดกรองประเมินตัวเอง (คลิกที่นี่) หากเราประเมินตัวเองแล้วรู้สึกว่าอารมณ์ของเราเปลี่ยนไปจากเดิม มันมีผลกระทบต่อชีวิตของเราเยอะ จากที่เราเคยมีความสุขในการที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือทำงานตามหน้าที่ได้ตามปกติ มันเริ่มท้อถอยไป แล้วก็รู้สึกจิตใจห่อเหี่ยว ซึมเศร้า ไม่มีความสุข อาจจะคิดลบต่าง ๆ หรือมีอาการนอนไม่หลับ ความคิดความจำลดลงนั้น ก็ควรจะมาพบแพทย์ได้แล้ว ไม่ต้องรอให้อาการเยอะจนกระทั่งความคิดด้านลบมันอยู่เป็นเวลานาน หรือจนกระทั่งคิดจะทำร้ายตัวเอง

รักษาโรคซึมเศร้าด้วยการกินยา และผลข้างเคียง

รศ.นพ.ศิริไชย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การรักษาด้วยยาทางจิตเวชที่รักษาโรคซึมเศร้า จะไม่ใช่ยาที่รับประทานแล้วจะดีขึ้นมาในวันสองวัน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาเป็นสัปดาห์ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปถึงจะดีขึ้น 

หากถามว่ามีผลข้างเคียงอย่างไร โดยทั่วไป ถ้าเป็นยารักษาโรคซึมเศร้ารุ่นเก่า ๆ ก็จะมีผลข้างเคียงเยอะตั้งแต่ปากแห้ง ท้องผูก ใจสั่น แต่ยารักษาโรคซึมเศร้ารุ่นหลัง ๆ ผลข้างเคียงต่าง ๆ จะน้อยกว่ายารุ่นก่อน แต่ก็จะยังมีอยู่ เช่น อาจจะมีความรู้สึกคลื่นไส้ พะอืดพะอม บางคนก็จะเวียนหัว อาจจะมีใจสั่นมือสั่นบ้าง แต่โดยทั่วไป ผลข้างเคียงมันก็จะค่อย ๆ ลดลงเหมือนเราทนกับยาได้มากขึ้น

ถ้าหมอไม่ได้อธิบายไว้ก่อน ผู้ป่วยก็จะไม่ค่อยอยากกินยาเพราะว่าการกินยาช่วงแรก ผลของมันจะยังไม่เห็น แต่ว่าผลข้างเคียงจะมาก่อน เพราะฉะนั้นผู้ป่วยก็จะต้องเข้าใจเหมือนกันว่า ช่วงแรกอาจจะต้องทนกับผลข้างเคียงนิดนึง แล้วมันก็จะลดลง ส่วนเรื่องอารมณ์มันจะใช้เวลาระยะหนึ่ง โดยทั่วไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ที่จะเริ่มเห็นผลได้ชัดเจน

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดจิตใจ

การรักษาโรคซึมเศร้าต้องมีการบำบัดทางด้านจิตใจร่วมด้วย และยารักษาโรคซึมเศร้าตัวหนึ่ง ไม่ใช่ได้ผลกับทุกคน บางคนก็อาจจะ ได้ผลดีกับตัวนี้ บางคนก็อาจจะได้ผลดีกับอีกตัว เพราะฉะนั้น เวลาเริ่ม รักษา ถ้ารักษาไประยะหนึ่ง เช่น 4 สัปดาห์ หรือ 6 สัปดาห์ แล้วดูอาการยังไม่ค่อยดีขึ้น หมอก็อาจจะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย แต่ละคน

ระหว่างรักษาโรคซึมเศร้า ต้องพยายามใช้ชีวิตให้ปกติ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรพยายามทำกิจวัตรประจำวันให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด พบปะเจอะเจอผู้คน ทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วก็อาจจะต้องใช้วิธีอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีทั่ว ๆ ไป เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูหนัง เป็นต้น ทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจให้ได้มากที่สุด หรืออาจเลือกทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ เช่น ลงเรียนคอร์สที่สนใจ ช่วยเหลือหมาแมวจรจัด ทำบุญเลี้ยงอาหารเด็ก ดูแลคนชรา ฯลฯ ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ตัวเองมีในทางที่เป็นประโยชน์ จะช่วยให้เห็นคุณค่าของตัวเองมากยิ่งขึ้น

โหลดเพิ่ม

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :รศ.นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพ :iStock

โรค ซึม เศร้า หายเองได้ไหม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ซึมเศร้าโรคซึมเศร้าการรักษาโรคซึมเศร้าภาวะซึมเศร้ารักษาโรคซึมเศร้าสุขภาพจิตสุขภาพจิตใจสุขภาพใจ-สมองดูแลจิตใจดูแลสุขภาพสุขภาพ

‘โรคซึมเศร้า’ คือ ภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ ร่วมกับความรู้สึกท้อแท้ มองโลกในแง่ร้ายมีความรู้สึกด้อยค่าในตัวเอง และมีอาการในลักษณะเป็นต่อเนื่องนานมากกว่า 2 สัปดาห์ จนถึง 1 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับภาวะเครียดทั่วไป คือ ภาวะซึมเศร้าจะมีความต่อเนื่องของอาการยาวนานกว่า และภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดโดยมีสิ่งกระตุ้น (Stressor) หรือไม่มีก็ได้ แตกต่างจากภาวะเครียดทั่วไปที่มักเกิดโดยมีสิ่งกระตุ้นให้เครียด กังวล นำมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ หากมีอาการหรือสงสัยว่าจะมีอาการควรรีบมาปรึกษาจิตแพทย์โดยเร่งด่วน

 

โรค ซึม เศร้า หายเองได้ไหม

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  1. ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง
  2. พันธุกรรม
  3. เหตุการณ์สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เครียด
  4. โรคทางกายภาพและยาบางชนิด

โรค ซึม เศร้า หายเองได้ไหม

อาการของโรคซึมเศร้า

  • ด้านอารมณ์ เศร้าท้อแท้ อารมณ์อ่อนไหว เบื่อหน่ายกับสิ่งรอบข้าง ไม่มีความสุขหรือสนุกกับกิจกรรมที่ทำอยู่ประจำ หรือบางคนมีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายมากขึ้น
  • ด้านความคิด เริ่มมองสิ่งต่างๆ รอบตัวในเชิงลบมากกว่าความเป็นจริง อาจมีความคิดเรื่องไม่อยากมีชีวิต อยากฆ่าตัวตายในผู้ที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรงมากๆ
  • ด้านความจำ เริ่มไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ทำ หลงลืมบ่อยๆ ทำงานผิดๆ ถูกๆ จนมีปัญหากระทบในชีวิตประจำวัน เช่น สอบไม่ผ่าน ถูกให้ออกจากหน้าที่การงาน
  • ด้านร่างกาย อ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร กินมากขึ้น นอนหลับยาก หรือนอนมากกว่าเดิม
  • ด้านสังคม เริ่มแยกตัวไม่อยากยุ่งกับใคร บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิมจนเป็นที่สังเกตได้ของคนรอบข้าง

โรค ซึม เศร้า หายเองได้ไหม

วิธีรับมือเมื่อมีภาวะซึมเศร้า

  1. ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชอบ หรืองานอดิเรกที่ชอบทำ
  2. พยายามพูดคุยกับคนใกล้ชิดหรือคนที่ไว้วางใจ แสดงความรู้สึกให้คนอื่นได้รับรู้ หลีกเลี่ยงการปิดบังความรู้สึก หรือเก็บกดความรู้สึก เพราะอาจทำให้ภาวะซึมเศร้าแย่ลง
  3. ออกกำลังกาย 30-45 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
  4. ช่วงมีภาวะซึมเศร้าให้หลีกเลี่ยงการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญๆ ในชีวิต เพราะเป็นช่วงที่ใช้ความคิดต่างๆ ได้ไม่ตรงความเป็นจริงอาจมีทัศนคติเชิงลบมากกว่าปกติ ที่ทำให้ตัดสินใจได้ไม่ถูกต้อง
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ (มีผลวิจัยในต่างประเทศว่า สุรา แอลกอฮอล์ มีผลให้ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีอาการรุนแรงมากขึ้น เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากขึ้น)

การรักษาโรคซึมเศร้า

การรักษาด้วยยา

  • ปัจจุบันมียารักษาโรคซึมเศร้าที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพ ตามลักษณะเฉพาะของผู้มีภาวะซึมเศร้า โดยยาเหล่านี้จะทำหน้าที่ปรับสารสื่อประสาทที่ควบคุมเรื่องอารมณ์ในสมอง ให้กลับมาทำงานปกติ (มีการค้นพบว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสารสื่อประสาทในสมองบางตัวทำงานน้อยเกินไป ยาจึงไปช่วยปรับให้สารสื่อประสาทนี้กลับมาทำงานตามปกติ)
  • ยารักษาโรคซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า จะต้องทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใส และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ยาจึงออกฤทธิ์เต็มที่
  • เมื่ออาการเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทานยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ตามลักษณะอาการผู้ป่วย

การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด

มักใช้วิธีนี้ในรายที่เป็นซึมเศร้าระดับน้อยๆ ที่ไม่รุนแรง หรือจิตแพทย์ประเมินแล้วว่ายังไม่รุนแรงถึงขั้นใช้ยา วิธีนี้ต้องใช้เวลานาน โอกาสสำเร็จจะต่ำกว่าวิธีการรักษาด้วยยา

โรคซึมเศร้ามีทางหายขาดไหม

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามา ...

โรคซึมเศร้า เป็นนานไหม

ยารักษาโรคซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า จะต้องทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใส และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ยาจึงออกฤทธิ์เต็มที่ เมื่ออาการเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทานยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ตามลักษณะอาการผู้ป่วย

โรคซึมเศร้าใช้เวลารักษานานแค่ไหน

. + + + #ระยะเวลาการรักษา + + + จากเริ่มต้น จนอาการหาย (remission) เรียกว่า ระยะต้น(acute phase) ส่วนใหญ่ใช้เวลา 2-3เดือน บางคนก็อาจจะมากกว่านี้ ตามปัจจัยต่างๆ เช่น ถ้าหากมีอาการมาหลายๆๆปี (บางคนเป็นมา 5ปี 10ปี ถึงได้มาพบหมอ) ก็มักจะใช้เวลานานกว่านี้ เป็นต้น

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคซึมเศร้า เกิดจากสมองที่ทำงานผิดปกติโดยเส้นประสาทอาจไม่สมดุลกัน หรือมีปัญหาในการทำงานประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านความรู้สึก และอารมณ์ ลักษณะทางความคิด ความคิด และมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ถือเป็นส่วนสำคัญของโรคซึมเศร้า หากมีทัศนคติในแง่ลบ อ่อนไหวต่อสิ่งรอบตัวได้ง่ายอาจส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้