สีอะคริลิคทาบนกระดาษได้ไหม

วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ใครที่ยังไม่มีแพลนทำอะไร ลองมานั่งเพ้นท์สีอะคริลิคอยู่บ้านสนุกๆ กันดูมั้ย? เพราะสีอะคริลิคเป็นสีที่สามารถเพ้นท์ได้บนวัสดุที่หลากหลาย นอกจากจะช่วยเยียวยาความเหงา เบื่อ เซงในชีวิตรูทีนของคุณได้แล้ว งานคราฟ์สายฮิปสเตอร์อย่างนี้ ยังช่วยให้คุณได้ปลดปล่อยความครีเอทีฟที่หลบซ่อนอยู่ในตัวเองได้อีกด้วย บางทีกิจกรรมเพ้นท์สีอะคริลิคในวันหยุดสุดธรรมดา อาจจะทำให้คุณได้ค้นพบความสามารถใหม่ๆ ของตัวเองก็เป็นได้

‘สีอะคริลิค’ ใช้ยังไง?

สีอะคริลิคทาบนกระดาษได้ไหม

สีอะคริลิค คือ สีที่มีส่วนผสมของพลาสติกโพลิเมอร์ (Polymer) โดยมีคุณสมบัติพิเศษ ที่แห้งเร็ว ติดทนนาน ถึงขนาดเอาไปเพ้นท์กับวัสดุอื่นๆได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าคานวาส จานเซรามิค  รองเท้าผ้า โลหะ พลาสติก และไม้ เป็นต้น  ซึ่งด้วยลักษณะที่มีความทึบแสงของอะคริลิคนี่เอง  จึงทำให้สีชนิดนี้ สามารถผสมกับน้ำ หรือน้ำมัน แล้วได้เทกเจอร์ภาพในหลากหลายสไตล์ อย่างไรก็ดี ปัญหาที่นักเพ้นท์มือใหม่ทั้งหลาย ล้วนต้องเจอกันก็คือ สีอะคริลิคแห้งไวมาก ทำให้พอระบายสีภาพไปเรื่อยๆ แล้วสีดูไม่สม่ำเสมอกัน จนแล้วจนรอดรูปที่ได้ออกมาก็ไม่เป็นดั่งหวังทุกที และเพื่อให้มือใหม่อย่างคุณไม่รีบถอดใจไปซะก่อน วันนี้เราเลยมีทริคสำหรับมือใหม่หัดใช้สีอะคริลิคมาแนะนำกันค่ะ

5 สเต็ปง่ายๆ สำหรับมือใหม่หัดใช้สีอะคริลิค

เลือกใช้พู่กันสังเคราะห์

ภาพของคุณจะวาดยากหรือง่ายขึ้นอยู่กันปลายพู่กันเท่านั้นเลยค่ะ โดยเฉพาะการระบายสีที่มีคุณสมบัติแห้งไวอย่าง สีอะคริลิคแล้ว ขอแนะนำให้คุณใช้พู่กันแบบสังเคราะห์แทนพู่กันขนสัตว์จะดีกว่า  เพราะว่าด้วยตัวเส้นใยพู่กันสังเคราะห์นั้น จะช่วยอุ้มน้ำได้มากกว่าพู่กันแบบขนสัตว์ ทำให้พอระบายแล้ว สีแห้งช้าขึ้น และภาพก็ไม่ค่อยแตกเวลาระบายอีกด้วย

สีอะคริลิคทาบนกระดาษได้ไหม

ระบายสีเป็นเลเยอร์ก่อน

ไม่ใช้แค่แห้งไวอย่างเดียวเท่านั้นนะคะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ถ้าคุณระบายสีอะคริลิคผิดจุดนี่กลับมาแก้งานยากขึ้นเป็นเท่าตัวเลย ซึ่งทางที่ดี คุณควรใช้วิธีระบายแบบเป็นเลเยอร์ให้ทั่วในบริเวณที่สำคัญก่อน แล้วค่อยกลับมาลงดีเทลในจุดอื่นทีหลัง วิธีนี้จะทำให้คุณไม่ต้องกลับมานั่งแก้งานเวลาลงสีแล้วไม่เสมอกันนั่นเอง

ใช้พู่กันเบอร์ใหญ่เข้าไว้

หนึ่งในความผิดพลาดสำหรับเหล่าบีกินเนอร์ทั้งหลาย ก็คือ พวกเขามักจะประณีตและละเมียดละไมในการลงสี  ทำให้สีอะคริลิคในถาดแห้งทั้งๆ ที่งานยังไม่เสร็จซะอย่างนั้น ทำเอาหลายๆ คนต้องเสียเวลามาผสมสีใหม่อีกรอบ จนงานก็ไม่เสร็จสักที และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้คุณลองเปลี่ยนมาใช้พู่กันเบอร์ใหญ่ๆ ระบายในพื้นที่ว่างหลักๆ บนเฟรมก่อน จะช่วยประหยัดเวลาในการระบายสีของคุณได้เยอะขึ้น

ใช้สเปรย์ฉีดน้ำลงบนเฟรมวาดอยู่เรื่อยๆ

อีกหนึ่งวิธีที่ทำให้สีบนเฟรมวาดของคุณระบายลื่นไหลอยู่เสมอ ก็คือ การรักษาความชุ่มฉ่ำบนภาพวาดนั่นเองค่ะ แนะนำว่า ให้ลองใช้สเปรย์ฉีดน้ำ ฉีดพรมลงบนเฟรมวาดผ้าใบหรือกระดาษอยู่เรื่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้สีบนภาพวาดของคุณแห้งนั่นเอง

สีอะคริลิคทาบนกระดาษได้ไหม

ผสมน้ำ หรือ น้ำมันลงไปด้วย

จริงอยู่ที่ว่าคุณสามารถระบายสีอะคริลิคแบบเพียวๆ ในเฟรมวาดได้เลย แต่เพื่อยืดเวลาการเพ้นท์สีของคุณให้ลุล่วงไปด้วยดี ให้คุณลองใช้สื่อผสม อย่าง น้ำ น้ำมัน หรือ สื่อผสมชะลอการแห้ง (Acrylic Retarder) ผสมลงไปกับสีอะคริลิค เพราะสื่อผสมเหล่านี้ จะช่วยลดคุณสมบัติโพลิเมอร์ได้เล็กน้อย ซึ่งจะทำให้สีอะคริลิคแห้งช้าลงนั่นเอง

ว่ากันว่า จุดเริ่มต้นของงานศิลปะแต่ละชิ้น มักจะเกิดจากความชื่นชอบ และแรงบันดาลใจของศิลปิน  แต่ใครจะไปรู้ละว่า ระหว่างทางของงานศิลป์ ล้วนแต่มาจากการเรียนรู้และฝึกฝนในเทคนิคต่างๆ ของผู้สร้างสรรค์ผลงานทั้งสิ้น  แล้วคุณล่ะคะพร้อมจะเรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการใช้สีอะคริลิคแล้วรึยังเอ่ย?

สร้างสรรค์งานศิลป์ของคุณด้วยสีอะคริลิคคุณภาพจาก OfficeMate วันนี้ พร้อมบริการจัดส่งฟรีแบบไม่มีขั้นต่ำ ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 นี้เท่านั้น! เฟรมพร้อม พู่กันพร้อม สีอะคริลิคพร้อม! มาสร้างสรรค์งานศิลปะกันเลย!

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 35 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง

บทความนี้ถูกเข้าชม 48,663 ครั้ง

ถ้ากำลังมองหาสีน้ำมันที่มีคุณภาพและให้สีสันสดใสเพื่อนำมาใช้ในการวาดภาพโดยไม่เสียเงินหรือเวลามาก การใช้สีอะคริลิกก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด การเลือกใช้สีอะคริลิกมาวาดภาพนอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังทำให้เราผลิตงานศิลปะของตนได้เองที่บ้านและสามารถนำมาแสดงให้เพื่อนๆ ได้ชื่นชมอีกด้วย

ขั้นตอน

  1. เลือกซื้อสีอะคริลิก. สีอะคริลิกมีหลายสิบยี่ห้อและวางขายในรูปแบบหลอดหรือกระปุก วิธีการเลือกซื้อสีอะคริลิกนั้นหาตัวอย่างได้ยาก สีอะคริลิกที่มีราคาแพงและเราอาจต้องเสียเงินซื้อเยอะหน่อย เช่น ยี่ห้อ Golden หรือ Liquitex สีอะคริลิกที่มีราคาถูกจะมีสีไม่เข้มเท่าสีอะคริลิกที่มีราคาแพง ฉะนั้นจึงต้องระบายสีทับสักสองสามครั้งถึงจะได้สีสันที่สดใสเท่ากับสีราคาแพงซึ่งระบายครั้งเดียวก็ได้สีสันที่สดใสแล้ว

    • เริ่มต้นจากซื้อสีพื้นฐานคือ สีขาวไทเทเนียมไวท์ (titanium white) สีดำมาร์สแบล็ก (mars black) สีน้ำเงินอัลตร้ามารีนบูล (ultramarine blue) สีแดงอะลิซารินคริมสัน (alizarin crimson) และสีเหลืองเยลโลว์โอเคอ (ochre yellow) สีส่วนใหญ่ที่เราต้องการสามารถผสมขึ้นมาจากสีเหล่านี้ได้ ยิ่งเราลงสีบ่อยๆ เราก็จะยิ่งรู้ว่าเราต้องการสีไหนเพิ่มเติมบ้าง
    • สีแบบหลอดเหมาะกับผู้เริ่มต้นระบายสีอะคริลิก เพราะเราจะได้ทดลองใช้ในปริมาณน้อยก่อน แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้สีอะคริลิกแบบหลอดหรือแบบกระปุกก็ให้คุณภาพสีไม่ต่างกัน

  2. เลือกพู่กันมาสักสองสามด้าม. พู่กันมีให้เราเลือกใช้หลากหลายแบบ มีการแบ่งประเภทของพู่กันโดยดูจากลักษณะหัวพู่กันและวัสดุที่นำมาใช้ทำขนพู่กัน หัวพู่กันมีอยู่สามแบบคือ แบบแบน แบบกลม และแบบรี ส่วนตัวขนพู่กันจะทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย แต่วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ทำขนพู่กันคือใยสังเคราะห์และขนหมูป่า จิตรกรฝึกหัดส่วนใหญ่จะใช้พู่กันที่มีขนทำจากใยสังเคราะห์และใช้พู่กันหัวหลายแบบปะปนกัน

    • เข้าร้านอุปกรณ์ศิลปะและเลือกซื้อพู่กันต่างๆ มาสักสองสามด้ามตามแต่ที่ต้องการ พู่กันขนสังเคราะห์จะนุ่มกว่าและทำความสะอาดง่ายกว่าพู่กันขนสัตว์
    • อย่าซื้อพู่กันที่มีราคาแพงมากนัก เว้นเสียแต่ว่าเราต้องใช้พู่กันในระยะยาว ถึงแม้การมีพู่กันดีๆ จะมีประโยชน์ต่อการทำงานศิลปะ แต่การมีสีคุณภาพดีนั้นสำคัญกว่า

  3. เตรียมจานสี. เราจะต้องมีอะไรสักอย่างไว้ใช้ผสมสี และเก็บสีหลังจากใช้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราอยากประหยัดสักหน่อย จะใช้จานกระดานหรือจานพลาสติกก็ได้ อะไรที่มีพื้นผิวเรียบสะอาดสามารถนำมาใช้เป็นจานสีได้ทั้งนั้น แต่เพราะสีอะคริลิกเป็นสีที่แห้งไวมาก การใช้จานสีแบบเปียกน่าจะเป็นประโยชน์กว่า เพราะมีฟองน้ำที่ชุ่มน้ำและกระดาษเปียกคอยรักษาความชื้นและคงสภาพสีได้นานหลายสัปดาห์

    • ใช้พลาสติกห่อหรืออะไรที่คล้ายกันนี้คลุมไว้เพื่อรักษาสภาพของสีในจานสีเวลาที่เราไม่ได้ใช้งาน
    • ถ้าเราผสมสีไว้ในปริมาณมาก การใช้ถ้วยเล็กๆ หรือกระปุกเล็กๆ เก็บสีเมื่อไม่ได้ใช้งานจะดีกว่า เพราะจะคงสภาพสีอะคริลิกได้ดีกว่าใช้พลาสติกห่อจานสี

  4. เลือกวัสดุที่ต้องการจะลงสี. เลือกวัสดุที่ต้องการจะลงสี สีอะคริลิกนั้นข้นและเข้ม ดังนั้นจึงสามารถใช้ทาวัสดุได้ไม่กี่ชนิด วัสดุที่นิยมใช้ลงสีอะคริลิคคือผ้าใบหรือแคนวาสบอร์ด (canvas board) กระดาษสีน้ำ หรือไม้ที่ผ่านกระบวนการรักษาเนื้อไม้ (treated wood) เราจะลงสีอะคริลิกในวัสดุอะไรก็ได้ที่ผิวไม่ลื่นมัน หรือเป็นรูพรุน

    • ถ้ายังไม่กล้าลงสีอะคริลิกในวัสดุที่มีราคาแพง ให้เริ่มฝึกลงสีกับกระดาษสีน้ำก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นผ้าใบหรือไม้

  5. เตรียมของที่จำเป็นอื่นๆ. นอกจากสิ่งของที่ต้องซื้อดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เราจะต้องเตรียมของเพิ่มเติมอีกหน่อย แต่ไม่ได้วุ่นวายอะไรมาก เพราะสามารถหาได้จากภายในบ้าน สิ่งที่ต้องเตรียมมีกระปุกหรือถ้วยใส่น้ำ 1-2 ใบ เกรียงผสมสีหนึ่งอัน ผ้าขี้ริ้ว หรือผ้าเก่าๆ ขวดสเปรย์ใส่น้ำ และสบู่ไว้ทำความสะอาดพู่กัน แต่ถ้าหาไม่ได้ภายในบ้าน ก็มีขายในร้านอุปกรณ์ศิลปะ ให้เลือกซื้อแบบธรรมดา

    • เพราะสีอะคริลิกขึ้นชื่อว่าแห้งเร็วมาก ฉะนั้นพ่นละอองน้ำใส่ภาพหรือจานสีเป็นครั้งคราวเพื่อให้สีคงสภาพเหลวไว้
    • ใส่ผ้ากันเปื้อนหรือเสื้อยืดเก่าๆ ขณะที่ลงสีเพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าเปื้อนสีอะคริลิก
    • จิตรกรบางคนอาจปูหนังสือพิมพ์คลุมพื้นโต๊ะเพื่อป้องกันไม่ให้สีอะคริลิกเปื้อน

  1. เลือกตำแหน่งที่เหมาะสม. โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะลงสีได้ดีที่สุดในแสงธรรมชาติ ตั้งแผ่นผ้าใบให้อยู่ใกล้หน้าต่างที่เปิดไว้หรือตั้งในห้องที่มีแสงธรรมชาติเข้ามามาก เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสีทีละนิด ทุกครั้งที่ปัดพู่กัน ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

  2. วางอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน. จิตรกรแต่ละคนมีวิธีวางอุปกรณ์วาดภาพไม่เหมือนกัน แต่การวางอุปกรณ์ทุกอย่างตามความสะดวกของเราก่อนเริ่มวาดภาพจะดีที่สุด ใส่น้ำในกระปุก เอาพู่กันและสีที่เราต้องการใช้ออกมาวาง รวมทั้งวางจานสีในตำแหน่งที่สะดวกที่สุด อย่าลืมใส่ผ้ากันเปื้อนหรือเปลี่ยนมาใส่เสื้อยืดเก่าๆ ด้วย

  3. ตัดสินใจว่าจะวาดรูปอะไร. ในฐานะจิตรกรฝึกหัด เราอาจรู้แล้วว่าตนเองต้องการวาดอะไร หรือเราอาจกำลังมองหาอะไรสักอย่างมาเป็นแบบ ลองคิดสิว่าตนเองอยากวาดอะไรหรืออยากใช้อะไรมาเป็นแบบในการวาดรูปครั้งแรก การใช้วัตถุ 3 มิติหรือรูปถ่ายมาเป็นแบบอาจทำให้เราวาดรูปได้ง่ายที่สุด แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าควรวาดอะไรดี ขอแนะนำวัตถุที่จิตรกรฝึกหัดสามารถวาดได้ง่ายดังนี้

    • ชามผลไม้
    • แจกันดอกไม้
    • วัตถุต่างๆ ในบ้าน
    • พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก

  4. ร่างภาพคร่าวๆ. ถ้ารู้สึกมั่นใจความสามารถในการวาดภาพตามที่เราเห็นจริงๆ เราก็สามารถใช้สีอะคริลิกวาดภาพได้เลย แต่คนส่วนใหญ่จะต้องร่างภาพก่อนลงพู่กัน ใช้ดินสอธรรมดาร่างเค้าโครงหลักๆ ลงผ้าใบตรงๆ ไม่ต้องพะวงเรื่องรายละเอียดหรือแสงเงามากนัก

    • จะร่างภาพใส่กระดาษก่อนร่างลงผ้าใบก็ได้ ถ้าไม่มั่นใจว่าจะวาดภาพออกมาได้ดีในครั้งแรก

  5. ผสมสี. แทนที่จะผสมสีระหว่างวาดภาพ ควรผสมสีให้เสร็จก่อนวาดภาพ จงใช้เวลาและใช้สีให้คุ้มค่าด้วยการผสมสีทั้งหมดที่เรามี ผสมให้ได้สีทั้งหมดที่เราต้องการ ก่อนเริ่มวาดภาพ ที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เราผสมสีเกินกว่าที่ตนเองจะใช้จริง เราอาจสามารถเก็บสีที่เหลือไว้ใช้คราวหน้าได้ก็จริง แต่ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะผสมสีให้ได้เฉดที่ถูกต้องสองครั้ง

    • ใช้วงล้อสีเป็นหลักอ้างอิงในการผสมสี สีพื้นฐานทุกสีเกิดจากการผสมสีขั้นที่หนึ่ง (แดง น้ำเงิน และเหลือง) และถ้าอยากได้สีที่หลากหลายกว่านี้ ก็อาจต้องเอาสีขั้นที่หนึ่งมาผสมกับสีขั้นที่สอง
    • ถ้าหากไม่ได้เฉดสีที่เราต้องการด้วยการผสมเอง อาจซื้อสีเฉดสีที่ต้องการแบบสำเร็จรูปไม่ว่าจะในรูปแบบหลอดหรือกระปุกจากร้านอุปกรณ์ศิลปะ

  1. หาแหล่งกำเนิดแสง. การเปลี่ยนแปลงของสีขึ้นอยู่กับวิถีการถูกแสง ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มลงสีวัตถุ ให้กำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อน จงคำนึงถึงแหล่งกำเนิดแสงตลอดการลงสีนี้ เราควรให้บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมีสีที่สว่างและบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมีสีเข้ม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่การกำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อนเริ่มลงสีจะช่วยให้สีภาพของเราเป็นไปตามอย่างที่ตั้งใจ

  2. ดูองค์ประกอบของวัตถุ. ถึงแม้เรากำลังจะวาดวัตถุเพียงแค่วัตถุเดียว แต่ก็ต้องมีการวาดสิ่งอื่นๆ หรือพื้นหลังของภาพด้วย มองวัตถุและกำหนดว่าอะไรอยู่ใกล้เราที่สุดและอะไรอยู่ไกลเราที่สุด ดูการซ้อนทับกัน การเปลี่ยนแปลงสี และพื้นผิว เราจะได้นำสิ่งเหล่านี้มาวาดพื้นหลังของภาพเราได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้นต้องวางแผนไว้ก่อนว่าจะเริ่มวาดอะไรเป็นอันดับแรก

  3. เริ่มลงสีพื้นหลัง. เมื่อลงสี เราจะไล่ลงสีสิ่งที่อยู่ไกลที่สุดมาจนมาถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด นั้นคือลงสีวัตถุที่อยู่ด้านหลังมาด้านหน้า นี้เป็นวิธีลงสีพื้นหลังที่ง่ายที่สุด การระบายสีที่ง่ายที่สุดคือการเริ่มด้วยสีที่มีน้ำหนักปานกลาง ตามด้วยสีที่เข้มและจากนั้นก็สีอ่อน

  4. เพิ่มเติมรายละเอียดพื้นหลัง. เมื่อลงสีพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดพื้นหลัง ถ้าพื้นหลังเป็นสีพื้นๆ ก็ควรเพิ่มแสงและเงา ถ้าพื้นหลังเป็นลวดลายหรือมีอะไรต่างๆ อยู่เต็มไปหมด ให้สะบัดปลายพู่กันเพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหว จะได้ทำให้พื้นหลังของภาพสมบูรณ์

  5. ลงสีวัตถุ. ขณะที่เริ่มลงสีวัตถุ ให้แบ่งลงสีที่ละส่วนและลงสีพื้นๆ ก่อน ขณะที่เราแบ่งส่วนและลงสีไปเรื่อยๆ วัตถุที่เราร่างไว้ก็จะเริ่มมีสีสันปรากฏเด่นชัดขึ้น ลงสีส่วนเล็กๆ ทีละส่วน งานจะได้เสร็จง่ายและเร็วขึ้น

    • จิตรกรฝึกหัดบางคนอาจเห็นว่าการแบ่งส่วนลงสีเป็นตารางจะทำให้ลงสีง่ายกว่า ลองจินตนาการว่าเราตีตารางลงในผ้าใบ และจากนั้นลงมือระบายสีช่องแรกของตารางจนเสร็จแล้วค่อยมาลงสีช่องถัดไป
    • ให้ลงสีน้ำหนักปานกลางก่อนแล้วตามด้วยสีเข้มและจากนั้นค่อยลงสีอ่อน การไล่สีอ่อนไปหาสีเข้มนั้นยากกว่า ฉะนั้นการลงสีตามที่แนะนำไปจะช่วยทำให้ไล่สีได้ง่ายขึ้นมาก

  6. เพิ่มรายละเอียดด้วยการใช้เทคนิคลงสีต่างๆ. เมื่อลงสีวัตถุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดด้วยเทคนิคการลงสีสักสองสามวิธี เทคนิคเหล่านี้มีไว้เพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหวด้วยการสะบัดพู่กันและการใช้สี

    • ทำให้เกิดรอยแต้มเป็นจุดด้วยการถือพู่กันในแนวตั้งและเคาะพู่กันลงที่กระดาษ เทคนิคนี้จะทำได้ผลดีที่สุด ถ้าพู่กันแห้งและสีมีปริมาณน้อย ผลที่ได้คือจุดเล็กๆ มากมาย
    • ใช้เกรียงผสมสีปาดสี ถ้าเห็นว่ามีส่วนที่ยังต้องใส่รายละเอียดเพิ่มเติม ให้ใช้เกรียงผสมสีช่วย ทาสีที่เกรียงให้หนาและนำไปปาดส่วนที่ต้องการเพื่อเพิ่มรายละเอียดของพื้นผิวให้มากขึ้น
    • ใช้เทคนิควอส์ชคัลเลอร์ (wash color) ด้วยการใช้น้ำทำให้สีจางลง ผลที่ได้จะคล้ายสีน้ำ ภาพจะค่อยๆ สว่างขึ้น ถ้าต้องการไล่สี เทคนิคนี้เหมาะอย่างยิ่ง

  7. ลงสีให้เสร็จ. เอาใจใส่ส่วนที่สำคัญของภาพให้ดี เพิ่มเติมรายละเอียดที่คิดว่าจำเป็นต่อการทำให้ภาพสมบูรณ์ โดยปกติจะเป็นการปรับความอ่อนและความเข้ม ปรับรายละเอียดภาพบริเวณที่ต้องการ และใช้เทคนิควอส์ชคัลเลอร์ตกแต่งในขั้นสุดท้าย

  1. ลงน้ำยาเคลือบสีหลังจากภาพแห้งแล้ว. ลงน้ำยาเคลือบสีหลังจากภาพแห้งแล้ว ถึงแม้จะไม่จำเป็น แต่จิตรกรจำนวนมากก็ลงน้ำยาเคลือบภาพสีอะคริลิกในขั้นสุดท้าย เพราะช่วยให้สีติดผ้าใบและป้องกันความเสียหายได้ดีขึ้น

  2. ทำความสะอาดพู่กันและอุปกรณ์ที่เราใช้ทำงานศิลปะ. ทำความสะอาดพู่กันทันทีหลังจากใช้เสร็จ เพราะสีอะคริลิกจะสร้างความเสียหายและทำให้พู่กันนั้นไม่อาจนำกลับมาใช้ได้อีก ถ้าปล่อยให้สีแห้งติดขนพู่กัน ล้างพู่กันด้วยน้ำเย็นและสบู่จนกว่าน้ำจะใส (ถ้าใช้นำอุ่นหรือน้ำร้อนล้างจะทำให้สีแข็งติดพู่กัน) เช็ดสีออกให้หหมด และล้างกระปุกด้วยน้ำให้สะอาด

  3. เก็บสีที่เหลืออยู่. สีอะคริลิกจะคงสภาพนานหลายเดือนในภาชนะที่ปิดมิดชิด ถ้าเรามีแผนจะใช้สีที่เหลืออยู่นี้ต่อไปในอนาคต ตักสีใส่ภาชนะเล็กๆ ที่มีฝาปิด หรือผนึกไว้กับจานสีแบบเปียก

  4. ปล่อยให้สีแห้ง. ปล่อยภาพทิ้งไว้สัก 1-2 วันเพื่อให้สีแห้ง ถึงแม้สีอะคริลิกจะแห้งเร็วแต่ก็ควรตั้งภาพสีอะคริลิกในบริเวณที่ไม่มีอะไรมารบกวนเพื่อสีจะได้แห้งตามกำหนด

  5. แสดงผลงานศิลปะให้ผู้อื่นชม. งานศิลปะนั้นเป็นงานที่สามารถแบ่งกันชมได้ ฉะนั้นลองแสดงผลงานวาดภาพสีอะคริลิกให้ผู้อื่นเห็นฝีมือของเรา นำมาภาพมาอัดและใส่กรอบถ้าภาพนั้นเป็นกระดาษหรือแคนวาสบอร์ด หรือแขวนอยู่ที่บ้านเลยก็ได้

    สีอะคริลิคเหมาะกับกระดาษแบบไหน

    Canson Acrylique (ชื่อสะกดตามหน้าสมุด) [เว็บไซต์] อ่านจากชื่อก็ทำให้รู้ว่ามันเป็นกระดาษอะคริลิค นั่นหมายความว่ามันเป็นกระดาษสำหรับลงสีอะครีลิคครับ…

    สีอะคริลิคลงทับได้ไหม

    สีอะคริลิค คือ สีที่มีส่วนผสมของพลาสติกโพลิเมอร์ (Polymer) โดยมีคุณสมบัติพิเศษ ที่แห้งเร็ว ติดทนนาน ถึงขนาดเอาไปเพ้นท์กับวัสดุอื่นๆได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าคานวาส จานเซรามิค เป็นต้น ซึ่งด้วยลักษณะที่มีความทึบแสงของอะคริลิคนี่เอง จึงทำให้สีชนิดนี้ สามารถผสมกับน้ำ หรือน้ำมัน แล้วได้เทกเจอร์ภาพในหลากหลายสไตล์ อย่างไรก็ดี ...

    สีอะคริลิค st ดีไหม

    Marie's สีอะคริลิกที่จะเหมาะมากหากคุณกำลังมองหาสีคุณภาพระดับพรีเมียมค่ะ ชุดสีอะคริลิกของ Marie สามารถสร้างภาพวาดที่สดใสได้ เหมาะสำหรับคนที่วาดภาพและนักศิลปะมืออาชีพ ตัวสีมีเนื้อซาตินและมีความคงทนต่อแสงที่ดีเยี่ยมทำให้ตัวสีจะไม่ซีดจางและคงทนได้เป็นเวลานาน

    สีอะคริลิคอยู่ได้นานไหม

    สีทาบ้านสูตรน้ำอะคริลิก หรือสีรองพื้นสูตรน้ำ กรณีเปิดฝามาแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย (อาจจะแค่เปิดมาดูเฉดสี) ไม่ได้ผสมน้ำ ให้ปิดฝาให้สนิทและเก็บให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงบริเวณร้อนจัด หรือมีความชื้น โดยสีจะมีอายุเกือบเท่าเดิมคือประมาณ 10 ปี