กิจการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการบางประเภทได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่ก็มีอีกกลุ่มกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่สามารถขอจดทะเบียน ดังนั้น ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจว่ากิจการของตนเองมีสิทธิดังกล่าวหรือไม่ เพื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ตารางเปรียบเทียบสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิขอจดทะเบียน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81 (1) ดังต่อไปนี้

  • การขายพืชผลทางการเกษตร

  • การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

  • การขายปุ๋ย

  • การขายปลาป่น อาหารสัตว์

  • การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์

  • การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน

4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่มีสิทธิขอจดทะเบียน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81 (1) ดังต่อไปนี้

  • การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ

  • การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา

  • การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ

  • การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล

  • การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ

  • การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

  • การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

  • การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

  • การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ

  • การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร

  • การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล

  • การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

  • การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น

  • การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

  • การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น

  • การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร

::ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย :: (rd.go.th)

มาตรา 80_82 | กรมสรรพากร - The Revenue Department (rd.go.th)

  • หน้าแรก

  • BLOG myAccount Cloud

  • กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การประกอบกิจการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • การขายสินค้า
    1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี
    2. การขายพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นส่วนใด ๆ ของพืช รวมถึงวัตถุพลอยได้จากพืชที่ยังมีสภาพเดิม และไม่ทำเป็นอุตสาหกรรม แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้
    3. การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนมและวัตถุพลอยได้จากสัตว์ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราว แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
    4. การขายปุ๋ย
    5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
    6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์สำหรับพืชหรือสัตว์
    7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
    8. การขายสินค้าของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
    9. การขายสินค้าเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการสาธารณสุขในประเทศไทย ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
    10. การขายบุหรี่เฉพาะที่ผลิตโดยองค์การของรัฐบาล และผู้ขายที่มิใช่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสูบที่ผลิตสินค้าดังกล่าว
    11. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาลและสลากบำรุงกาชาดไทย
    12. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากรหรือแสตมป์อื่นของรัฐบาลเฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้
    13. การบริจาคสินค้าให้แก่
      1. สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ
      2. องค์การหรือสถานสาธารณะกุศล หรือแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นนอกจากใน (ก) ตามที่รัฐมนตรีประกาศ.กำหนดในราชกิจจานุเบกษา
  • การให้บริการ
    1. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการและเอกชน
    2. การให้บริการที่เป็นงานศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และสาขาดุริยางค์ศิลป์และคีตศิลป์
    3. การให้บริการการประกอบโรคศิลป์ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการ ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ทั้งนี้เฉพาะวิชาชีพ อิสระที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพอิสระนั้น
    4. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
    5. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มิใช่ทางธุรกิจ
    6. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
    7. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
    8. การให้บริการการแข็งขันกีฬาสมัครเล่น
    9. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
    10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
    11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศเฉพาะทางบก
    12. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
    13. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ที่มิใช่เป็นการพาณิชย์หรือหารายได้
    14. การให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
    15. การให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการสาธารณกุศลในประเทศไทย ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
    16. การให้บริการสีข้าว
    17. การขนส่งระหว่างประเทศโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งตามกฎหมายของประเทศนั้น ยกเว้นภาษีทางอ้อมให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามหลักถ้อยที่ถ้อยปฏิบัติ
    18. การให้บริการสื่อสารทางวิทยุเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย จากรัฐบาลให้จัดบริการดังกล่าว
    19. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาที่รัฐมนตรีกำหนด
  • การนำเข้า
    1. การนำเข้าพืชผลทางการเกษตร รวมถึงวัตถุพลอยได้จากพืช การนำเข้าสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ ซึ่งรวมถึงวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ด้วยเช่นกัน การนำเข้าปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยา หรือเคมีภัณฑ์สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน
    2. การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก เฉพาะสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
    3. การนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยการส่งของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
    4. สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากรแล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
  • การส่งออก
    การส่งออกสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่ 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย

แหล่งที่มา : Link

การประกอบกิจการประเภทใดที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535ฯ)

จดบริษัท ไม่จด Vat ได้ไหม

ผู้ประกอบการ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าจะทำการจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว

หจก ต้องเสีย VAT ไหม

หากหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้จะไม่มีการซื้อขายก็จะต้องยื่นแบบ ภพ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ประกันสังคม หากมีลูกจ้างต้องมีการยื่นประกันสังคมและเงินสมทบทุกเดือน เสียภาษีโรงเรือนหากเข้าข่าย และภาษีป้ายหากมี ยื่นแบบภาษีกลางปี ภงด 51.

นิติบุคคล ต้องจด VAT ไหม

หลักเกณฑ์ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คือ นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการใด ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ แต่หากมีความประสงค์จะขอเข้าจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนก็ได้ (หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จะจดหรือไม่ก็ได้) แต่ถ้าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้นจะต้อง ...