เสียว ฟัน ทำ ยัง ไง ดี

อาการเสียวฟัน เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ซึ่งแม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรง แต่ก็สามารถก่อให้เกิดความรำคาญใจ หรือมีผลต่อบุคลิกภาพได้ บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับอาการเสียวฟัน และวิธีแก้ไขเมื่อ รู้สึกเสียวฟัน ให้มากขึ้น

ทำไมถึงรู้สึกเสียวฟัน?

อาการเสียวฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การแปรงฟันแรงจนเกินไป
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง
  • นอนกัดฟันในตอนกลางคืน
  • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดเป็นประจำ
  • อาการกรดไหลย้อน
  • ปัญหาเหงือกร่น เหงือกอักเสบ
  • ปัญหาฟันผุ ฟันแตก ฟันบิ่น หรือวัสดุที่อุดฟันหลุด

มีวิธีป้องกันอาการเสียวฟันอย่างไรบ้าง?

สามารถป้องกัน อาการเสียวฟัน ได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ (Fluoride)
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • หยุดพักการฟอกสีฟันสักระยะหนึ่งก่อน
  • จำกัดการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • สวมฟันยาง หรือยางกันฟัน (Mouthguard) เพื่อป้องกันอาการนอนกัดฟัน
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ไปพบทันตแพทย์

รู้สึกเสียวฟันจะบรรเทาอาการได้ยังไงบ้าง?

หากรู้สึกเสียวฟัน สามารถใช้วิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทา อาการเสียวฟัน ได้ 

  • น้ำมันพืชสกัด 

จากผลการวิจัยพบว่าน้ำมันพืชสกัด เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น มีส่วนช่วยบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ และลดอาการเสียวฟันได้ หากมีอาการเสียวฟัน ลองกลั้วปากด้วยน้ำมันพืชสกัดหลังการแปรงฟัน อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้

  • ใบฝรั่ง

ใบฝรั่งมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีสรรพคุณต้านการอักเสบ เป็นสารต้านจุลชีพ จึงมีส่วนช่วยลดอาการปวดฟัน หรืออาการเสียวฟันได้ หากมี อาการเสียวฟัน ลองเคี้ยวใบฝรั่ง อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้

  • น้ำเกลือ

หากมี อาการเสียวฟัน ให้ลองกลั้วปากด้วยน้ำเกลือ เนื่องจากน้ำเกลือมีสรรพคุณเป็นสารต้านจุลชีพ มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก จากผลการศึกษาพบว่าน้ำเกลือมีสรรพคุณเดียวกับน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) ที่ช่วยให้ช่องปากสะอาด

  • ฟลูออไรด์

การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นทางเลือกที่ดีในการบรรเทา อาการเสียวฟัน เนื่องจากฟลูออไรด์มีส่วนช่วยเสริมให้ฟันแข็งแรง ลดปัญหาฟันผุ บรรเทาอาการเสียวฟัน ดังนั้น เวลาเลือกซื้อยาสีฟัน ควรเลือกชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณที่เพียงพอ

หากลองบรรเทาอาการเสียวฟันด้วยตนเองแล้วยังไม่รู้สึกดีขึ้น ควรหาเวลาไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟัน เพราะสาเหตุที่ทำให้เสียวฟันอาจมาจากปัญหาสุขภาพช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสียก่อน อาการเสียวฟัน จึงจะหายไป

โหลดเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้

แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คัดลอกลิงก์

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :Khongrit Somchai

ภาพ :iStock

เสียวฟันอาการเสียวฟันสุขภาพปากและฟันสุขภาพฟันดูแลสุขภาพฟันสุขภาพเหงือกและฟันฟันกร่อนฟันบิ่นฟันผุเหงือกร่นสุขภาพกายรู้ทันโรคดูแลสุขภาพสุขภาพเคล็ดลับวิธีhowtohow to

ว่ากันว่า “ฟัน” เป็นหนึ่งในอวัยวะที่เป็นตัวกำหนดว่าเราจะเจริญอาหารได้มากน้อยแค่ไหน เห็นจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะหากเรามีอาการผิดปกติที่ฟัน หรือไม่มีฟันที่แข็งแรงพอที่จะบดเคี้ยวอาหารได้ดีดังเดิม เราคงหมดความอยากอาหารไปเยอะเช่นกัน ยิ่งอาการเล็กๆ น้อยๆ แต่สร้างความลำบาก และรำคาญให้กับชีวิตอย่างอาการ “เสียวฟัน” ยิ่งทำให้เราที่อยากทานอาหารอร่อยๆ ต้องหมดอารมณ์ที่จะทานไปก็หลายครั้ง ดังนั้น Sanook! Health เรามีวิธีแก้อาการเสียวฟันอย่างถูกวิธีมาฝากกัน

 

5 วิธีแก้อาการ “เสียวฟัน” อย่างได้ผล

  1. แปรงฟันให้ถูกวิธี โดยแปรงจากโคนฟันไปทางปลายฟัน และแปรงทั้งด้านนอก และด้านในของฟัน แปรงฟันซี่ละ 4-5 ครั้ง และอย่าลืมสอดแปรงเข้าไปถึงฟันซี่ในสุดด้วย นอกจากนี้ควรใช้แปรงสีฟันขนอ่อน เพื่อลดอาการเหงือกร่น ซึ่งอาจเพิ่มอาการเสียวฟันให้มากขึ้นได้

    >> เช็กด่วน! คุณอาจกำลังแปรงฟันผิดวิธีมาตลอดชีวิต


  2. ควรเลือกทานอาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เปรี้ยวจี๊ดจ๊าดจนเกินไป รวมถึงอาหารที่ไม่แข็ง หรือเหนียวจนเกินไป เพราะอาจทำให้ฟันที่อาจจะไม่ค่อยแข็งแรงมากอยู่แล้ว เกิดการเสียหายมากขึ้น ทั้งจากอาหารรสเปรี้ยวที่เป็นกรดทำลายผิวเคลือบฟัน ที่อาจทำให้ฟันกร่อน หรือฟันผุได้ในเวลาต่อมา และการโยกคลอนของโคนฟัน และเหงือกจากการเคี้ยวอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไป


  3. การใช้ยาสีฟันที่มีสารที่ลดการเสียวฟัน เช่น strontium chloride และ potassium nitrate ที่ทำหน้าที่อุดช่องเชื่อมต่อเล็กๆ ที่มีอยู่ระห่วางผิวฟันกับเส้นประสาทฟัน ทำให้เส้นประสาทมีความไวต่อการถูกกระตุ้นน้อยลง อย่างไรก็ตามสารเหล่านี้สามารถลดอาการเสียวฟันที่เกิดจากฟันสึกถึงเนื้อฟัน และฟันที่เหงือกร่นจนถึงเคลือบรากฟันได้เท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขอาการเสียวฟันที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเหงือก หรือฟันผุได้ ซึ่งส่วนใหญ่อาการเสียวฟันมักมาจากเหตุผลทั้งสองอย่างหลังนี้


  4. การใช้เลเซอร์เพื่ออุดปิดท่อเนื้อฟัน หากอาการเสียวฟันมาจากอาการฟันสึก กร่อน โดยจะใช้เลเซอร์เพื่อกรอฟัน และอุดฟันด้วยเครื่องเลเซอร์ทางทันตกรรมหรือเออร์เบี่ยมแยคเลเซอร์ (Er-Yag Laser) ที่ทำให้เกิดเลือดออกน้อย และไม่รู้สึกร้อน หรือสะเทือนขณะกรอฟัน


  5. เคลือบฟันด้วยซีลแลนท์ (Sealant) เป็นการเคลือบฟันเพื่อป้องกันฟันผุและลดอาการเสียวฟัน ส่วนมากมักจะทำบริเวณฟันด้านบดเคี้ยวของฟันกราม สารซีลแลนท์มีลักษณะเป็นของเหลว และมีส่วนผสมของสารคลอเฮกซิดีน และสารอื่นๆ ที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อในช่องปาก ป้องกันคราบอาหารเกาะติดฟัน แต่ต้องเป็นฟันที่ไม่มีอาการผุ ถ้าพบว่าฟันผุจะต้องกรอและอุดฟันซี่นั้นเสียก่อน แล้วจึงทำการเคลือบฟันได้ แต่หากเคลือบฟันแล้ว ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกเดือน หรือทุกๆ สามเดือน เพราะมีโอกาสที่สารเคลือบฟันกร่อน หรือหลุดระหว่างใช้งานได้

 

อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการเสียวฟันที่ดีที่สุด คือการพบทันตแพทย์โดยตรง เพราะอาการเสียวฟันของแต่ละคนอาจมีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันไม่เหมือนกัน ดังนั้นให้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดจะดีกว่า

โหลดเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้

แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คัดลอกลิงก์

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :ทพญ. ธนิตา ณรงค์เดช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,ทพ.กิตติพงศ์ บูรณะโสภณ ทันตแพทย์สาขาทันตกรรมบูรณะ โรงพยาบาลเวชธานี,โรงพยาบาลยันฮี

ภาพ :iStock

เสียวฟันฟันผุฟันกร่อนฟันสึกเหงือกร่นสุขภาพฟันฟันเคลือบฟันอุดฟันกรอฟันเลเซอร์สุขภาพกายดูแลสุขภาพสุขภาพhowtohow to

รักษารากฟันราคากี่บาท

สรุป ราคารักษารากฟัน ราคารักษารากฟันหน้า 6,000 – 8,000 บาท ราคารักษารากฟันกรามน้อย 8,000 – 10,000 บาท ราคารักษารากฟันกราม 10,000 – 13,000 บาท

กินยาอะไรถึงจะหายปวดฟัน

ไอบูโพรเฟน ผู้ใหญ่รับประทานยาไอบูโพรเฟนปริมาณ 200-400 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง พาราเซตามอล ผู้ใหญ่รับประทานยาพาราเซตามอลชนิดออกฤทธิ์ทันทีปริมาณ 325-1,000 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง เด็กรับประทานยาพาราเซตามอลปริมาณ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อกิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมงและไม่ควรรับประทานเกิน 5 ครั้งต่อวัน

ปวดฟันเป็นๆหายๆเกิดจากอะไร

ปวดแบบชั่วคราวหายได้เอง : มักเกิดอาการเมื่อได้รับปัจจัยกระตุ้น เช่น การรับประทานของเย็น ของร้อน หรือขณะเคี้ยวอาหาร โดยอาการเหล่านี้จะหายไปได้เองเมื่อกำจัดปัจจัยกระตุ้น ลักษณะอาการปวดมักจะมีลักษณะ ปวดจี๊ดๆ หรือ ร่วมกับอาการเสียว โดยมากพบว่าสาเหตุเกิดจากฟันผุหรือฟันบิ่นจนถึงเนื้อฟันชั้นใน ความเย็น ความร้อน และการบดเคี้ยว ...