พระบราโชวาท ความมีระเบียบวินัย

… วินัยนั้น เมื่อนำมาฝึกหัดปฏิบัติจะเป็นดังข้อบังคับที่ควบคุมบุคคลให้ประพฤติปฏิบัติเป็นระเบียบ จึงอาจทำให้เกิดความอึดอัดลำบากใจ เพราะต้องฝืนกระทำ แต่เมื่อปฏิบัติไปให้ชิน จนรู้สึกว่าเป็นไปโดยอัตโนมัติแล้ว ก็จะสำเร็จผล ทำให้เป็นคนมีระเบียบและเป็นระเบียบ คือ คิดก็เป็นระเบียบ ทำก็เป็นระเบียบ ตามลำดับขั้นตอน ตามกาลเทศะ ตามความพอเหมาะพอควร หายสับสน หายลังเล และหายขัดแย้ง ทั้งในความคิด ทั้งในการทำงาน สามารถนำวิชาความรู้และความชำนาญทุกๆ ประการไปใช้ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว สำเร็จผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ช่วยให้เกิดประโยชน์สมบูรณ์บริบูรณ์ตามจุดหมาย ทั้งจะเกื้อกูลรักษาผู้มีวินัยให้เจริญสวัสดีทุกเมื่อ…

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๕
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันเสาร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๗

�ѧ����ʵ�� �Ѱ��ʵ�� ������ͧ ���ɰ��ʵ�� >>

����Ҫ����� 㹾�кҷ���稾���������������Ծ�ʹ���പ

1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38

��к������ҷ㹾Ըվ���Ҫ�ҹ��ԭ�Һѵ����������
����֡�Ҩҡ����Է�������⢷�¸���Ҹ��Ҫ
� �Ҥ�������ǹ����� �ѹ��� 26 �չҤ� 2527

"�Թ�¹������͹��ҽ֡�Ѵ��ԺѵԨ��繴ѧ��ͺѧ�Ѻ���Ǻ����ؤ������оĵԻ�Ժѵ�������º �֧�Ҩ������Դ�����ִ�Ѵ �Ӻҡ� ���е�ͧ�׹��з� ������ͻ�Ժѵ�����Թ������֡���������ѵ��ѵ���ǡ������稼� ������繤�������º ���������º ��ͤԴ��������º �ӡ�������º ����ӴѺ��鹵͹���������� �������������оͤ�� ����Ѻʹ ����ѧ�� �����¢Ѵ��� ���㹤����Դ ���㹡�÷ӧҹ ����ö���ԪҤ��������Ф����ӹҭ�ء � ��С�� ������ҧ�١��ͧ���ͧ���� ����稼����������˹��� ��������Դ������ó����ش���� ��駨����͡���ѡ�Ҽ�����Թ�������ԭ���ʴշء�����"

  • ����Ҫ����� 㹾�кҷ���稾�Ш�Ũ����������������

พระบราโชวาท ความมีระเบียบวินัย
พระบราโชวาท ความมีระเบียบวินัย
พระบราโชวาท ความมีระเบียบวินัย
พระบราโชวาท ความมีระเบียบวินัย

พระราชดำรัส

      ข้าราชการที่มีหน้าที่สำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติต่อบุคคล ทั้งปวง ด้วยความสุจริตจริงใจ วางตัวให้พอเหมาะพอสมกับฐานะตำแหน่ง พร้อมกับรักษาความสุภาพอ่อนโยนไว้ให้เหนียวแน่นสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ยังจะต้องมีความเสียสละ อดทน รู้จักเกรงใจ ให้อภัย ทั้งโอนอ่อนผ่อนตามกันและกันด้วยเหตุผล และสำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดความเห็นแม้กระทั่งคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้นแท้จริงคือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลายหลาก มาอำนวยประโยชน์ในการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง

พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน
เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ณ ภูพิงคราชนิเวศน์

วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๖ 


      การทำงานใดๆ ไม่ว่าเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก ถ้าย่อหย่อนจากความเพียรแล้ว ยากที่จะให้สำเร็จเรียบร้อยทันเวลาได้ การฝึกฝนความเพียร ถึงหากแรกๆ จะรู้สึกเหนื่อยลำบาก แต่พอได้เพียรจนเป็นนิสัยแล้วก็จะกลับเป็นพลังสำคัญที่คอยกระตุ้นเตือนให้ทำงานอย่างจริงจัง ด้วยใจร่าเริง และเมื่อใดพลังของความเพียรนั้นเกิดขึ้นเมื่อนั้นการงานทั้งหลายก็สำเร็จได้โดยง่ายและรวดเร็ว

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๒


                   

      การบำเพ็ญประโยชน์จะต้องทำที่ตัวเองก่อน ด้วยการประพฤติดี เป็นต้นว่า รักษาระเบียบวินัย รักษาความสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติกิจการงานด้วยความเข้มแข็งหนักแน่นให้จนติดเป็นนิสัย ผลของการทำดีที่เป็นประโยชน์ก็จะงอกงามขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติอย่างเต็มเปี่ยมแล้วจะสะท้อนออกถึงผู้อื่น พลอยให้ผู้อื่นและส่วนรวมได้รับผลดีด้วย

พระบรมราโชวาท
ในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ

๑ กรกฎาคม ๒๕๒๗

      

     ต่างคนต่างมีหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำเฉพาะหน้าที่นั้น เพราะว่าถ้าคนใดทำหน้าที่เฉพาะของตัว โดยไม่มองไม่แลคนอื่น งานก็ดำเนินไปไม่ได้ เพราะเหตุว่างานทุกงานจะต้องพาดพิงกันจะต้องเกี่ยวโยงกัน ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องมีความรู้ถึงงานของผู้อื่นแล้วช่วยกันทำ

พระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม ๒๕๓๓

      

      

ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุข ความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น

พระราชดำรัส
ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกทรงครองราชย์ครบ 50 ปี

    

 

      การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะเป็นไปโดยราบรื่นปราศจากปัญหาข้อขัดแย้ง ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำนวนมาก ย่อมมีความคิดความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ท่านจะต้องรู้จักอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกันด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุที่จะทำให้เป็นข้อขัดแย้ง โต้เถียง เพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน แต่เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ทั้งในวิถีทางและวิธีการปฏิบัติงาน

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๑


      

ถ้าทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้เกิดผลอันยิ่งใหญ่ คือ ความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติ ด้วยความสุจริตและด้วยความรู้ความสามารถด้วยจริงใจ ไม่นึกถึงเงินทองหรือนึกถึงผลประโยชน์ใดๆ ก็เป็นการทำหน้าที่โดยตรงและได้ทำหน้าที่โดยเต็มที่

พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ ศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๑

      

      การรู้จักประมาณตน ได้แก่ การรู้จักและยอมรับว่าตนเองมีภูมิปัญญา และความสามารถด้านไหน เพียงใด และควรจะทำงานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้ จะทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้อง เหมาะสมกับงาน และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑


       

คุณธรรมข้อหนึ่งที่ยังมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจของคนไทยก็คือ การให้ การให้นี้ไม่ว่าจะให้สิ่งใด แก่ผู้ใด โดยสถานใดก็ตาม เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรีอย่างสำคัญระหว่างบุคคลกับบุคคล และให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคคีธรรม

พระราชดำรัส
เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕

       

      พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น

พระราชดำรัส
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย

วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

      การวินิจฉัยตัดสินปัญหามีหลายระดับ อย่างหยาบที่สุด ได้แก่ วินิจฉัยตัดสินตามความพอใจ ไม่อาศัยเหตุผลและหลักเกณฑ์ อีกอย่างหนึ่ง วินิจฉัยตัดสินตามประสบการณ์ที่เคยชิน และทำตามๆ กันมา ซึ่งเหนือขึ้นมากกว่าอย่างแรก แต่ยังถือว่าถูกต้องทีเดียวไม่ได้ เพราะขาดการพิจารณาสอบสวนที่แน่ชัด อย่างที่สาม ได้แก่ การวินิจฉัยตัดสินโดยอาศัยการพิจารณา วิเคราะห์ปัญหาอย่างถี่ถ้วน ให้ประจักษ์ความจริงทุกแง่มุม ทั้งสอบทานเทียบเคียง จนเห็นชัดว่าถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควรอย่างไร เพียงใด ตามหลักวิชา หลักเหตุผลและหลักจริยธรรม ซึ่งนับเป็นการตัดสินวินิจฉัยที่ละเอียดรอบคอบ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์อันสมบูรณ์ สามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาทั้งปวงในชีวิตได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒

      คนเราถ้าท้อใจแล้วเป็นอันตราย เพราะว่าถ้าเป็นคนที่มีความรู้แล้ว ท้อใจ ความท้อใจนั้นทำให้การควบคุมจิตใจ สติของตัวน้อยลง เพราะว่ามันท้อ ความท้อใจนี้ เป็นสิ่งกีดขวางความดีไปได้มากเพราะว่าไม่ระวังตัว เวลาท้อใจก็เกิดน้อยใจ น้อยใจก็เกิดประชด เปิดโอกาสให้จิตใจรับสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาในจิตใจได้ เพราะว่าความฟุ้งซ่าน คนไหนถ้าท้อใจสังเกตดีๆ พวกเพื่อนๆ ที่ท้อใจ บางทีคนนั้นพูดฟุ้งซ่าน พูดอะไรไม่ได้เรื่อง แล้วถ้าใครมาชักชวนให้ทำอะไรก็อาจจะเป็นผู้ร้ายไปก็ได้ ทำให้ขาดการพิจารณา คือขาดสตินั่นเอง

พระราชดำรัส
พระราชทานแก่บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ ๑๓ และคณะกรรมการประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันอังคารที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๔

         ความคิดนั้นสำคัญมาก ถือได้ว่าเป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำทั้งปวง กล่าวคือถ้าคนเราคิดดี คิดถูกต้อง ทั้งตามหลักวิชาและคุณธรรม คำพูดและการกระทำก็เป็นไปในทางที่ดีที่เจริญ แต่ถ้าคิดไม่ดี ไม่ถูกต้อง คำพูดและการกระทำก็อาจก่อความเสียหาย ทั้งแก่ตัวเองและส่วนรวมได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใด จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำ คำที่จะพูด ผิดหรือถูก เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย เป็นสิ่งที่ควรพูด ควรกระทำ หรือควรงดเว้น เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่สมควรหยุดยั้ง การกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นคุณ เป็นประโยชน์ และเป็นความเจริญ

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๙ กรกฎาคม ๒๕๔๐