จุดเดือด จุดหลอมเหลว ตารางธาตุ

จุดหลอมเหลวและจุดเดือด (Melting point , Boiling point)

สารต่าง ๆ จะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสารนั้น ๆ อยู่ในรูปโมเลกุลหรืออะตอม ความแข็งแรงของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะมีผลต่อจุดหลอมเหลวและจุดเดือด สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคแข็งแรงมากจุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะสูง ส่วนสารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคแข็งแรงน้อย จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะต่ำ

ตารางจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุ

–259.1
H
–269

–272
He
1269

179
Li
1317

1280
Be
2770

2300
B
2550

>3500
C
4827

–209.86
N
–195.8

–218
O
–183

–223
F
–187

–248
Ne
–246

97.6
Na
892

650
Mg
1170

660
Al
2450

1410
Si
2355

44
P
280

113
S
445

–102
Cl
––35

–248
Ar
–186

63
K
770

839+2
Ca
1484

29.78
Ga
2403

937.4
Ge
2830

358
As
613

217
Se
685

7
Br
59

157
Kr
–153

39
Rb
688

770
Sr
1580

156.61
In
2080

231.9
Sn
2270

631
Sb
1635

450
Te
990

114
I
183

–112
Xe
–107

28
Cs
678

714
Ba
1640

660+10
Tl
3287

327.5
Pb
1740

271.3
Bi
156+5

254
Po
962

1050
At
3200–300

–71
Rn
–62


Fr

700
Ra
<1140

สรุปแนวโน้มของจุดหลอมเหลวและจุดเดือด

1. แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดตามคาบ

เมื่อพิจารณาตามคาบ ธาตุหมู่ IA IIA IIIA และ IVA จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะหมู่ IVA จะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงที่สุด ส่วนหมู่ VA VIA VIIA และ VIIIA จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ

à การที่จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA ที่อยู่ในคาบเดียวกันมีแนวโน้มสูงขึ้นตามเลขอะตอม เนื่องจากเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น อะตอมจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากขึ้น รวมทั้งมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อิสระแข็งแรงขึ้น สำหรับธาตุหมู่ IVA บางธาตุมีโครงสร้างเป็นแบบโครงผลึกร่างตาข่าย จึงทำให้มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีค่าสูงขึ้น ซึ่งอธิบายได้อีกเหตุผลหนึ่งคืออะตอมของโลหะจะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโลหะ โดยความแข็งแรงของพันธะโลหะจะพิจารณาดังนี้

£ แปรผันตรงกับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน ธาตุที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาก พันธะโลหะจะแข็งแรงมาก จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะสูง

£ แปรผกผันกับขนาดอะตอม ธาตุที่มีขนาดอะตอมเล็กพันธะโลหะจะแข็งแรงมาก จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะสูง

à ธาตุหมู่ VA VIA VIIA และ VIIIA มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ และมีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของธาตุกลุ่มนี้มีค่าต่ำมาก โมเลกุลของอโลหะยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ โดยแรงแวนเดอร์วาลส์จะแปรผันตรงกับมวลโมเลกุล และขนาดโมเลกุล

£ โมเลกุลที่มีมวลโมเลกุลสูง หรือขนาดโมเลกุลใหญ่จะมี
แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงมาก จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะสูง

2. แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดตามหมู่

เมื่อพิจารณาตามหมู่พบว่าจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA ส่วนใหญ่มีค่าลดลงเมื่อมีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น หรือมีแนวโน้มลดลงจากบนลงล่างตามหมู่ เนื่องจากมีขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น ความแข็งแรงของพันธะโลหะจะลดลงตามหมู่ ส่วนธาตุหมู่ VA VIA VIIA และ VIIIA มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม ซึ่งเป็นผลมาจากมีมวลอะตอมเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล (แรงแวนเดอร์วาลส์) มีค่ามากขึ้น สำหรับจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IVA มีแนวโน้มที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากธาตุหมู่ IVA มีโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมแตกต่างกัน จึงไม่สามารถสรุปแนวโน้มได้

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ตารางธาตุ