ประโยชน์ ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

                    อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่ยอมรับกันในแวดวงของนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพและนักกฎหมายระหว่าง ประเทศว่า เป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่ครอบคลุมทุกแง่มุมของความหลากหลายทาง ชีวภาพ ครอบคลุมการอนุรักษ์ทั้งชนิดพันธุ์ พันธุกรรม และระบบนิเวศ

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ


                จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม (Earth Summit) ณ กรุงริโอ เดอ เจเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 5 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ประเทศทั่วโลกได้ให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีทั้งสิ้น 157 ประเทศร่วมลงนาม อนุสัญญาฯ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ปัจจุบันมีภาคี 191 ประเทศ ในส่วนของประเทศไทย ได้ลงนามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2547

                  อนุสัญญาฯ เป็นความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลทุกประเทศเคร่งครัดต่อการรักษาวินัยสิ่งแวดล้อม อนุสัญญาฯ ฉบับนี้เป็นอนุสัญญานานาชาติฉบับแรกที่ครอบคลุมการอนุรักษ์ ทั้งพันธุกรรม ชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1 เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
2 เพื่อใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
3 เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

ประโยชน์ ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ