ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

ปัจจุบันแรงงานคนในภาคการเกษตรไทยนั้นมีจำนวนน้อยลง และประสิทธิภาพจากการทำงานของแรงงานคนต่ำลง จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และยังช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย

Show
ข้อดีของโดรนเกษตร และการพัฒนาโดรนในยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก นอกจากจะมีการใช้งานโดรนโดยทั่วไปเพื่อธุรกิจ ความบันเทิง หรือเพื่องานอดิเรกแล้ว โดรนเกษตร ก็เป็นหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างประโยชน์อย่างมากให้แก่การเกษตรกรรมของประเทศไทย แต่ข้อดีของโดรนเกษตรจะมีอะไรบ้าง ตามมาสิไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

ข้อดีของโดรนเกษตร

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร
Cr. dji.com

เพราะงานด้านเกษตรนั้นเป็นงานหนัก เกษตรกร ชาวสวน หรือผู้ที่ทำธุรกิจด้านการเกษตร ต้องทำงานในพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับด้านการเกษตรขึ้นมา ซึ่งโดรนเกษตร ก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยตอบสนองการใช้งานด้านเกษตรได้อย่างดีเลยทีเดียว

ช่วยลดการใช้แรงงานด้านการเกษตร

ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ด้านเกษตรในประเทศจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งเจ้าของกิจการด้านเกษตรกรรมนั้นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ขั้นตอนการปลูก การดูแลรดน้ำ การใส่ปุ๋ย การดูแลผลผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ซึ่งโดรนเกษตรมีส่วนสำคัญในขั้นตอนการฉีดพ่นปุ๋ยทั้งชีวภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีส่วนผสมธรรมชาติ) และเคมีภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี) ที่ใช้ในการกำจัดแมลง ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุน และลดการใช้แรงงานคนลงได้มาก

ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงพื้นที่การเกษตรได้ง่ายขึ้น

การปลูกพืช หรือการทำไร่ ในพื้นที่ที่แตกต่างกันของประเทศไทย บางครั้งก็อาจสร้างความลำบากให้แก่เกษตรกรในการดูแลผลิตผลของตนเอง ยกตัวอย่าง เช่น การพ่นปุ๋ยสวนลำไยในพื้นที่ลาดชัน ทางขึ้น-ลง ลำบาก การใช้โดรนเกษตรก็เข้ามาตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ดี ทำให้การเข้าถึงพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรเป็นเรื่องง่ายขึ้น

เกษตรกรทำงานได้อย่างปลอดภัย

การใช้โดรนเกษตรในการทำเกษตรกรรม ช่วยให้เกษตรกรมีความปลอดภัย โดยการไม่ต้องสัมผัสชีวภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์โดยตรง รวมถึงไม่ต้องเดินเข้าไปสัมผัสบริเวณเพาะปลูกด้วยเอง สามารถทำงานได้ด้วยความรวดเร็วอีกด้วยค่ะ

โดรนเกษตรที่ได้รับความนิยม

โดรนเกษตรที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรซึ่งมีการรับรองมาตรฐาน และรับประกันคุณภาพคือ โดรนเกษตร MG1 ของบริษัท DJI โดยเป็นโดรนที่ใช้ในการพ่นยาเพื่อการเกษตร ซึ่งมีความจุ 10 ลิตร ทั้งนี้ระยะเวลาการใช้งานโดรนเกษตรนั้นขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ และผู้ใช้โดรนเกษตรต้องไม่ลืมว่า แม้จะเป็นการบินโดรนเกษตร แต่โดรนทุกตัวที่ใช้บินในประเทศไทยต้องมีการขึ้นทะเบียน และมีประกันภัยโดรนด้วยนะคะ

ประกันภัยสำหรับโดรนเกษตร

เจ้าของโดรนเกษตรหากต้องการความอุ่นใจสามารถเลือกทำประกันภัยโดรนเกษตรที่ตอบโจทย์ได้เลยค่ะ สามารถดูข้อมูลในตารางได้เลย

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

สนใจสมัครประกันภัยโดรน

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร
สนใจสมัคร

เกษตรกรและเจ้าของธุรกิจด้านการเกษตรที่ใช้โดรน สามารถบินโดรนได้อย่างสบายใจไปกับประกันโดรน ที่มีความครอบคลุมทั้งอุบัติเหตุและบุคคล ส่วนใครที่กำลังมองหาสุดยอดร้านขายโดรน มาสิมีร้านขายโดรน รวมถึงร้านขายโดรนออนไลน์ที่จำหน่ายโดรนหลายแบบหลายรุ่น แถมบางร้านขายโดรนผ่อน 0% และรับบัตรเครดิต มาแนะนำคุณเช่นกัน หรือหากคุณสนใจประกันภัยโดรนสามารถโทรติดต่อกับมาสิได้โดยตรงเลยที่ 02 710 3100 และ  0633231640 หรือแอดไลน์กันเข้ามาได้ ที่ @masii (มี @ด้วยนะ) 

ปกติเรามักได้เห็นประโยชน์หลัก ๆ ของ โดรน (Drone) คือการใช้บินถ่ายภาพ หรือการถ่ายวิดีโอ จากมุมสูง หรือ ใช้เพื่อการสังเกตการณ์ (Observation) เท่านั้น แต่ในด้านของเกษตรกรรมโดรนก็มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด ซึ่งบทความนี้ เราจะไปศึกษาเรื่องของโดรนการเกษตรกันว่ามันถูกนำมาใช้ทำหน้าที่อะไร และมันต่างกับโดรนถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอทั่วไปอย่างไร ?

โดรนการเกษตร (Agricultural Drone) คืออะไร ?

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

สมัยนี้เกษตรกรเริ่มมีการใช้โดรนเข้ามาช่วยงานมากขึ้น ซึ่งมันก็จะถูกเรียกว่า "โดรนการเกษตร" หรือ "Agricultural Drone" เป็นโดรนที่มีลักษณะพิเศษที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรต่าง ๆ เช่นมีซอฟต์แวร์ช่วยทำแผนที่ ระบบจัดตารางบินสำรวจพื้นที่ เซนเซอร์ตรวจจับโรคหรือสุขภาพของพืชผล ไปจนถึงระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนให้กับเกษตรกร และงานทั่วไปอย่างการฉีดยา ให้ปุ๋ย หรือพ่นน้ำตามตารางเวลามันก็สามารถทำได้

โดรนการเกษตร มีหน้าที่ และ ประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

ในอดีตการทำฟาร์มเกษตร เป็นเรื่องของประสบการณ์และการคาดเดา ทำให้ควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้ยาก เมื่อเกิดผลกระทบเลยแก้ไม่ถูกจุด แต่พักนี้หลายคนอาจเคยได้ยินการทำฟาร์มเกษตรยุคใหม่ หรือ "ฟาร์มเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture)" มันคือแนวคิดที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

โดย ฟาร์มเกษตรแม่นยำ ในที่นี้ มีหลักการง่าย ๆ ว่าการทำเกษตรต้องวางแผนรวบรวมข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อปรับปรุงพัฒนาฟาร์มเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และใช้ทรัพยากรอย่างมีค่าที่สุด เช่น วิเคราะห์ในเรื่องของปริมาณน้ำหรือระบบชลประทาน การจัดการปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชผล การใช้สารกำจัดศัตรูพืช จนถึงการสำรวจสภาวะอากาศและภูมิประเทศที่เหมาะสมก่อนทำการเพาะปลูก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องมีการรวบรวมข้อมูลอย่างแม่นยำ

นี่คือจุดที่โดรนถูกนำมาใช้งานเพื่อความสะดวก เพราะมันเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย และแม่นยำ ปัจจุบันในหลายประเทศ มีการผลิตและวางขายโดรนสำหรับการเกษตร บ้างก็อาจมีขายเทคโนโลยีเป็นโซลูชั่นสำหรับการเกษตรเลยทีเดียว โดยประโยชน์ของโดรนสามารถแบ่งได้ดังนี้

การสำรวจ และ รวบรวมข้อมูลทางอากาศ 

คุณสมบัติการบินและการถ่ายภาพทางอากาศ ทำให้โดรนมีประโยชน์ต่อการเกษตรในด้านของการสำรวจภูมิประเทศ หรือ มอนิเตอร์การเติบโตของพืชผลได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่แคบ หรือ ทุ่งโล่งกว้างใหญ่แค่ไหน เกษตรกรสามารถให้โดรนช่วยสำรวจพื้นที่เพื่อถ่ายภาพหรือวิดีโอแบบเรียลไทม์โดยไม่ต้องเข้าไปยังพื้นที่ให้เสียเวลา 

และไม่ได้หมดแค่นั้น โดรนการเกษตร มักจะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ทำแผนที่ ทำให้มันสามารถกำหนดเส้นทางบินสำรวจได้เลยเกษตรกรแทบจะไม่ต้องทำอะไร และหากล้ำขึ้นไปอีกหน่อย ก็อาจจะมีระบบถ่ายวิดีโอแบบ Time-Lapse ด้วยตัวกล้องที่ติด GPS ซึ่งทำให้มันรู้ว่าควรจะถ่ายจุดใดเมื่อไหร่ทุกครั้งที่มันออกสำรวจ ทำให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบและคาดการณ์การเติบโตของพืชผลได้อย่างแม่นยำและวิเคราะห์ถึงผลผลิตสำหรับอนาคตที่จะต้องเก็บเกี่ยว

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

ภาพจาก Shutterstock

มอนิเตอร์สุขภาพของพืชผลทางการเกษตร

โดรนการเกษตร จะมีการประยุกต์นำกล้อง ที่เรียกว่า "Multispectrum Camera Drone" ซึ่งมีความสามารถใช้การใช้อินฟราเรดเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพไปจนถึงตรวจหาความผิดปกติของพืชได้ด้วย เช่น การเกิดโรค หรือ แมลงศัตรูพืช ไปจนถึงมีวัชพืช เพราะแสงอินฟราเรดสามารถช่วยแยกแยะสุขภาพจากสีของใบในขณะที่สายตาคนอาจมองไม่เห็น

ซึ่งโดรนก็จะประมวลผลออกมาเป็นค่าดัชนีความต่างพืชพรรณ NDVI (Normalized Difference Vegetation Index) มาที่จอภาพมอนิเตอร์ของเกษตรกร จากนั้นข้อมูลที่ได้ก็จะถูกใช้ประโยชน์เพื่อวางแผนสำหรับการพ่นยา หรือ การปริมาณปุ๋ยเพื่อแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญสำหรับพืชผลทางการเกษตรอย่าง "น้ำ" โดรนการเกษตรบางรุ่นมีการประยุกต์ใช้กล้องจับความร้อน (Thermal Camera) มาวัดอุณหภูมิหน้าดินหรือช่วยระบุได้ว่าพื้นที่ส่วนใดมีความชื้นหรือมากเกินไปและตรงไหนมีความร้อนและความหนาแน่นของพืชสูง ทำให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับระบบชลประทานเพื่อให้มีการระบายน้ำอย่างเหมาะ หรือ ลดความหนาแน่นลงในช่วงผลผลิตฤดูกาลถัดไป ทำให้พืชเติบโตได้อย่างเต็มที่และสมบูรณ์กว่าเดิม

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

ลดระยะเวลาในการกำจัดศัตรูพืช หรือ ให้ปุ๋ย 

ก่อนจะมีการใช้โดรนเพื่อใส่ปุ๋ยหรือพ่นยากำจัดศัตรูพืช ย้อนไปอดีตเกษตรกรมักจะใช้เครื่องพ่นด้วยมือแทน ซึ่งถ้าเป็นรายใหญ่หน่อยมีพื้นที่กว้าง ๆ และมีต้นทุน ก็จะใช้เครื่องบินขนาดเล็ก (แต่หน้าตาเหมือนเฮลิคอปเตอร์) ที่ต้องมีคนบังคับอยู่ด้านล่าง ซึ่งก็จะมีราคาที่แพงกว่า นอกจากนี้ยังอาจเกิดอันตรายต่อคนที่อยู่ข้างล่างด้วย เพราะมันต้องบินต่ำ

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

ซึ่งการใช้โดรนก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เลยสำหรับเกษตรกรไทย เดี๋ยวนี้คนมีไร่พื้นที่ใหญ่ ๆ ก็เริ่มที่จะหันมาใช้โดรนกันมากขึ้น เพราะมันคุ้มค่ากว่า เร็วกว่า และปลอดภัยมากกว่า แถมยังควบคุมการฉีดพ่นได้อย่างแม่นยำทำให้มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม 

ช่วยลดระยะเวลาในการหว่านเมล็ด

หลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาและทดสอบโดรนสำหรับช่วยยิงเมล็ดพืชและสารอาหารลงไปในดินโดยตรง แต่ยังอยู่ในช่วงของการทดลอง หากมันสำเร็จและนำออกมาใช้ได้จริง อาจทำให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนหรือขับเครื่องจักรแบบเดิม ๆ อีกต่อไป เราใช้แรงงานโดรนอัตโนมัติอย่างเดียว

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

โดรนการเกษตร และ โดรนถ่ายวิดีโอ แตกต่างกันอย่างไร ?

บางคนอาจมีข้อสงสัยว่าโดรนถ่ายวิดีโอหรือถ่ายภาพ และ โดรนการเกษตร มันต่างกันไหม ? หรือใช้เหมือนกันได้หรือเปล่า เช่นจะเอา DJI Phantom 4 Pro ซึ่งเป็นโดรนถ่ายภาพระดับมือโปร มาติดตั้งถังปุ๋ยและต่อท่อขึ้นบินสาดปุ๋ยตามท้องนาแบบนี้จะได้ไหม หรือจะเอาโดรนที่เขาไว้ใส่ปุ๋ยมาถ่ายภาพได้เปล่า จริง ๆ มันก็ได้แค่มันผิดวัตถุสงค์เท่านั้นเอง ซึ่งถ้าดูจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของโดรนการเกษตรที่กล่าวมา มันจำเป็นที่จะต้องมีซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมด้วย

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

ภาพจาก DJI AGRAS T16 / https://www.dji.com/t16?site=ag&from=nav

ตัวอย่างเช่นรุ่น DJI AGRAS T16 ก็เป็นแบรนด์จากเจ้าเดียวกัน ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ ทำให้มันมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้นมา เช่น มีกำลังไฟสูงขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้รองรับน้ำหนักได้มากและติดตั้งถังน้ำได้ หรือมีสายฉีดพ่นเปรย์ มีการนำเอา เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับวาดภาพแผนที่เมื่อบินสำรวจ มีแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานหนัก ๆ และระบบอื่น ๆ รวมถึงมีราคาที่สูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

ส่วนโดรนถ่ายภาพ ก็อาจจะเน้นในเรื่องของขนาดที่ต้องมีความคล่องตัว มีคุณภาพกล้องที่สูง เช่น ความนิ่ง หรือ ความละเอียดคมชัด ต่าง ๆ นานา เป็นต้น ดังนั้นถ้าเกิดจะนำมาใช้ร่วมกันเนี่ยคงเป็นไปได้ยาก 

ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตร

ภาพจาก DJI Phantom 4 Pro /  https://www.dji.com/phantom-4-pro-v2?site=brandsite&from=nav

สุดท้ายนี้ข้อมูลที่น่าสนใจคือ Global Market Insights คาดการณ์ว่าขนาดของตลาดโดรนเพื่อการเกษตรจะเติบโตเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ภายในปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าในอนาคตนวัตกรรมโดรนอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งและก้าวหน้าไปพร้อมกับวงการเกษตรกรรม และทำให้กระบวนการทำฟาร์มมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อีกนัยก็อาจหมายถึงความต้องการของแรงงานคนที่น้อยลงด้วยเช่นกัน

โดรนเกษตรมีประโยชน์อย่างไร

เทคโนโลยีโดรนสามารถนำมาช่วยให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาโรคพืชได้อย่างตรงจุด โดยการนำโดรนมาติดระบบเซ็นเซอร์ และกล้องสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศโดยใช้ระบบ GPS ในการหาพิกัดต่าง ๆ การตรวจสอบภาพพื้นที่เพาะปลูกในมุมสูง เพื่อวิเคราะห์หาการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละจุด และหาวิธีแก้ไขได้อย่างทั่วถึง

โดรนเพื่อการเกษตร มีอะไรบ้าง

โดรนการเกษตร จะมีการประยุกต์นำกล้อง ที่เรียกว่า "Multispectrum Camera Drone" ซึ่งมีความสามารถใช้การใช้อินฟราเรดเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพไปจนถึงตรวจหาความผิดปกติของพืชได้ด้วย เช่น การเกิดโรค หรือ แมลงศัตรูพืช ไปจนถึงมีวัชพืช เพราะแสงอินฟราเรดสามารถช่วยแยกแยะสุขภาพจากสีของใบในขณะที่สายตาคนอาจมองไม่เห็น

โดรนพ่นยาใช้น้ำกี่ลิตรต่อไร่

ในทางตรงข้าม การพ่น ยาฆ่าหญ้า จะใช้พื้นที่เป็นเกณฑ์ เช่น พื้นที่ 1 ไร่ใช้ไกลโฟเซต 1 ลิตร ดังนั้นต้องทดลองบินโดรนด้วยน้ำเปล่า ก่อนทุกครั้งว่า พื้นที่ 1 ไร่ ใช้น้ำเท่าไหร่ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3-5 ลิตร ถ้าถังโดรนบรรจุน้ำได้ 15 ลิตร แสดงว่า โดรนจะพ่นได้พื้นที่ 3 ไร่ ดังนั้น เราต้องผสมไกลโฟเซต 3 ลิตรและเติมน้ำ 12 ลิตรเพื่อ ...

โดรนมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดี : โดรนเพื่อการเกษตร.
1. ประหยัดเวลา ... .
2. ทุ่นแรง ลดค่าใช้จ่ายในการฉีดพ่นได้ในระยะยาว ... .
3. สามารถทำงานได้เอง ... .
1. ราคาแพง ... .
2. เปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ... .
3. ค่าบำรุงรักษาแพง.