ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ bass & avolio 1994

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leadership)

  • Post author:kalpin
  • Post published:07/03/2021
  • Post category:อาจารย์ ดร.กัลย์ ปิ่นเกษร

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leadership) เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในตัวบุคคล โดยผู้นำจะมุ่งเน้นให้ผู้ตามเกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยม คุณธรรม มาตรฐาน และการมองการณ์ไกลในอนาคต ทั้งนี้ Bass & Avolio ได้เสนอทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และจำแนกพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 องค์ประกอบ (สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์, 2548) ได้แก่
1. อุดมการณ์ หรือความเสน่หา (Idealized Influence or Charisma) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ตาม ผู้ตามจะรับรู้พฤติกรรมของผู้นำและเกิดการเลียนแบบพฤติกรรม
2. กระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual Stimulation) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกด้วยการกระตุ้นให้ผู้ตามเกิดความคิดสร้างสรรค์ ทดลองหาวิธีการใหม่ๆ และแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง
3. มุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน (Individualized Consideration) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำมุ่งเน้นการเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี และตอบสนองความต้องการของผู้ตามเป็นรายบุคคล เช่น การให้คำแนะนำและการช่วยเหลือ และการกระจายอำนาจการตัดสินใจ
4. ดลใจ (Inspirational Motivation) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกด้วยการสื่อสารให้ผู้ตามทราบถึงความคาดหวังของผู้นำที่มีต่อผู้ตามด้วยการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ตามเข้าใจวิสัยทัศน์ขององค์การ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และจูงใจให้ปฏิบัติงานเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

เอกสารอ้างอิง
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.

Post Views: 1,237

Please Share This Share this content

  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window
  • Opens in a new window

You Might Also Like

ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

07/03/2021

ความรู้เชิงปรนัย (Tacit Knowledge)

07/03/2021

นวัตกรรม (Innovation)

28/08/2021

ความคิดของ Bernard Bass เกี่ยวกับสภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำส่วนใหญ่ใช้ภาวะผู้นำทั้งสองแบบ แตกต่างที่ความมากน้อย หรือความถี่ในการใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพมีประสิทธิภาพเหนือกว่า

1.4  การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  (Individualized  Consideration : IC)  ผู้นำจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในฐานะเป็นผู้นำให้การดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคลและทำให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่าและมีความสำคัญ  ผู้นำจะเป็นโค้ช (Coach)  และเป็นที่ปรึกษา (Advisor) ของผู้ตามแต่ละคน  เพื่อการพัฒนาผู้ตามผู้นำจะเอาใจใส่เป็นพิเศษในความต้องการของปัจเจกบุคคล  เพื่อความสัมฤทธิ์ผลและเติบโตของแต่ละคน  ผู้นำจะพัฒนาศักยภาพของผู้ตามและเพื่อนร่วมงานให้สูงขึ้น  นอกจากนี้ผู้นำจะมีการปฏิบัติต่อผู้ตามโดยการให้โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  สร้างบรรยากาศของการให้การสนับสนุน  คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความจำเป็นและความต้องการ  การประพฤติของผู้นำแสดงให้เห็นว่าเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล  เช่น  บางคนได้รับกำลังใจมากกว่า  บางคนได้รับอำนาจการตัดสินใจด้วยตนเองมากกว่า  บางคนมีมาตรฐานที่เคร่งครัดว่า  บางคนมีโครงสร้างงานที่มากกว่า  ผู้นำมีการส่งเสริมการสื่อสารสองทาง  และมีการจัดการด้วยการเดินดูรอบๆ (Management  by  walking  around) มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นการส่วนตัว  ผู้นำสนใจในความกังวลของแต่ละบุคคล  เห็นปัจเจกบุคคลเป็นบุคคลทั้งครบ (As  a  whole  person)  มากกว่าเป็นพนักงานหรือเป็นเพียงปัจจัยการผลิต  ผู้นำจะมีการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ  มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy)  ผู้นำจะมีการมอบหมายงานเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้ตาม  เปิดโอกาสให้ผู้ตามได้ใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มที่และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่ท้าทายความสามารถ  ผู้นำจะดูแลผู้ตามว่าต้องการคำแนะนำ  การสนับสนุนและการช่วยให้ก้าวหน้าในการทำงานที่รับผิดชอบอยู่หหรือไม่  โดยผู้ตามจะไม่รู้สึกว่าเขากำลังถูกตรวจสอบ

   จะเห็นได้ว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่ผู้นำพยายามเปลี่ยนแปลงผู้ตามให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดความไว้วางใจ  เกิดความจงรักภักดีและเชื่อถือในตัวผู้นำเกิดความคล้อยตาม  พยายามแก้ปัญหาในการปฏิบัติ  เกิดความมั่นใจในตนเอง  มีความรับผิดชอบและยอมอุทิศตนเพื่อองค์กร  ดังนั้น  ผู้บริหารหรือผู้นำการเปลี่ยนผู้นำที่ดี  จึงต้องมีความสามารถในการจูงใจคนให้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจ  ทำให้ผู้คนรู้สึกอยากจะติดตามไปทุกหนทุกแห่งขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมลูกน้องให้ได้แสดงออกถึงความรู้สึกความสามารถ  ให้มีโอกาสพัฒนาตนให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่  ต้องสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานที่อบอุ่น  ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้องเกิดความรักความผูกพันต่อองค์กร