เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เบื้องต้น

แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ from UNDP

จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและการเสื่อมโทรของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงและเกิดการแพร่กระจายครอบคลุมไปทั่วโลก ซึ่งเกิดจากการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดผลกระทบสู่ภายนอกซึ่งผลกระทบสู่ภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมนั้น เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่ก่อให้เกิดผลกระทบนั้นไม่สนใจถึงต้นทุนและผลตอบแทนที่จะมีขึ้นกับสังคม เช่น การที่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำต่อท่อระบายของเสียจากการผลิตลงสู่แม่น้ำโดยปราศจากการติดตั้งเครื่องกำจัดของเสีย

โดยหลักทางทฤษฎีแล้วการนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ก็เพื่อที่จะนำค่าหรือราคาของสิ่งแวดล้อม เข้าไปบวกไว้ในราคาของสินค้าในระบบของตลาด หรือการให้มูลค่า/ราคาต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และโดยหลักทางทฤษฎีแล้วมาตรการทางเศรษฐศาสตร์จะสามารถแสดงบทบาทได้สมบูรณ์ เมื่อระบบตลาดเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์

มาตรการทางเศรษฐศาสตร์(Economic Instruments)

มาตรการหรือเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์(Economic Instruments) เป็นมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

(1) มาตรการที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์(Economic Incentives) ได้แก่ มาตรการยกเว้นด้านภาษี (Tax Exemptions) มาตราการการลดหย่อนทางภาษี (Tax Reduction) การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน/การลงทุน (Financial Subsidies) ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนซึ่งใช้เครื่องจักร/โรงงานที่ไม่ก่อไห้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การวางเงินค้ำประกันซึ่งสามารถเรียกคืนได้ (Deposit-refund Schemes) และ

(2) มาตรการที่ลดแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Disincentives) ส่วนมากเป็นระบบซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลักการผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย (Polluter Pays Principle) เช่น ระบบการกำหนดภาษีสิ่งแวดล้อม (Environmental Tax) การเก็บค่าธรรมเนียมมลพิษ (Environmental/Pollution Tax) การใช้นโยบายการกำหนดราคา (Pricing Policy) ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยมลพิษ (Transferable Policy Rights หรือ Marketable or Tradable Permits/Quotas) การเก็บค่าทิ้งกากของเสียและปล่อยน้ำทิ้ง (Effluent/ Discharge Fees) เป็นต้น

มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีการนำมาใช้ในการจักการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยเรานั้นได้นำเอาทิ้ง 2 วิธี มาใช้ คือ (1) มาตรการจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การใช้เงินช่วยเหลือด้านการลงทุนเพื่อการสร้างระบบบำบัดของเสียที่เป็นพิษและของเสียที่เป็นสารพิษ โดยมีการใช้วิธีการเก็บค่าบริการ (Service Charges) ในการใช้บ่อบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และรวมไปถึงการสร้างความแตกต่างของราคา (Price Differentiation) ในกรณีของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผสมสารตะกั่ว และ (2) มาตรการที่ลดแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ตัวอย่างเช่น มาตรการด้านด้านภาษีมลพิษมาบังคับใช้ ในกรณีของรถจักรยานยนต์สองจังหวะ เครื่องปรับอากาศแบตเตอรี่ และหินอ่อนและหินแกรนิต (ซึ่งกรณีของหินอ่อนและหินแกรนิต ได้ถูกยกเลิกไปในปี 2540) ณ ปัจจุบันการจักการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนในประเทศไทยมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2540 ซึ่งส่งผลให้ องค์กรส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. และชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการอนุรักษ์การจัดการ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้องค์การเอกชนต่าง ๆ ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการกระตุ้นให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน โดยที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและบริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด"

วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน
เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ
เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ (เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย)
เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่
เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics)
เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics)

เศรษฐศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิธีการนำทรัพยากรซึ่งมีอยู่จำกัดมากระทำให้เกิดสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ไม่จำกัดเพื่อให้เราสามารถเข้าใจความหมายของเศรษฐศาสตร์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง ทรัพยากร สินค้าและบริการ และความต้องการ ซึ่งเกี่ยวพันกับเศรษฐศาสตร์อย่างใกล้ชิด ดังนี้

๑.ทรัพยากร ในที่นี้ความหมายครอบคลุมถึง ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมายถึงแรงงาน ทรัพยากรเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ที่ดิน แม่น้ำ ลำคลอง แร่หินต่าๆ และทรัพยากรซึ่งมนุษย์
เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น เครื่องงจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ

๒.สินค้าและบริการ หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผลิตโดยอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้และไม่ได้ เนื่องจากสินค้าและบริการเป็นสิ่
งที่เกิดขึ้นจากกาผลิต จึงอาจจะเรีียกว่า ผลผลิต

๓.ความต้องการ หมายถึง ความอยากได้หรืออยากเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความต้องการของมนุษย์มีหลายลักษณะ บางลักษณะเป็นความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เช่น ต้องการมีบ้าน
มีรถยนต์ มีโทรทัศน์ เมื่อมีแล้วความต้องการก็อาจไม่หมดไป แต่ต้องการที่จะมีบ้านหลังใหญ่มากกว่าเดิม ต้องการมีรถยนต์เพิ่มอีก ๑ คัน

ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์

แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว นักปราชญ์สมัยโบราณพยายามสอดแทรกแนวความคิดและกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ปะปนอยู่ในหลักปรัชญา ศาสนา ศีลธรรมและหลักปกครอง แต่ความคิดเหล่านี้ยังไม่ถือเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เช่น แนวคิดเรื่องการแบ่งงานกันทำของเพลโต (Plato) แนวคิดเรื่องความมั่งคั่ง ของอริสโตเติล (Aristotle) เป็นต้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษบุคคลแรกที่วางรากฐานวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อาดัม สมิธ (Adam Smith) ได้เขียนตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก ซึ่งมีชื่อค่อนข้างยาวว่า “An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations” หรือเรียกสั้นๆว่า “The Wealth Nations” (ความมั่งคั่งแห่งชาติ) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1776 โดยเสนอความคิดว่า รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศควรเข้าแทรกแซงการผลิตและการค้าให้น้อยที่สุด โดยยินยอมให้เป็นภาระหน้าที่ของเอกชน ทั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงแนวความคิดแบบเสรีนิยมหรือส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรี
จากหนังสือของอาดัม สมิธ ดังกล่าวถือเป็นตำราทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญเล่มแรกของโลก และตัวเขาได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์” ในสมัยต่อมา  

 ทัศนะและข้อเขียนของอาดัม สมิธ ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ แต่ภายหลังแนวคิดเรื่องนโยบายเสรีนิยมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำขนานใหญ่ในช่วงปี 1930 ได้ส่งผลให้ความถือที่มีต่อความสามารถของกลไกตลาดลดลงมาก ทั้งนี้เพราะเกิดการว่างงานอย่างมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยที่นโยบายเสรีนิยมไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) เป็นผู้ประกาศลัทธินี้ Das Kapital เป็นหนังสือสำคัญของคาร์ล มาร์กซ์ กล่าวถึงวิธีการขูดรีดของนายทุนจากกรรมกร และแนวคิดเรื่องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันและแบ่งผลประโยชน์อย่างเสมอภาค

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred Marshall) ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต (Theory of the Firm) ซึ่งต่อมากลายเป็นที่มาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค
ในปี 1954 จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีบทบาทอย่างมากทั้งในวงการวิชาการและกระบวนการกำหนดนโยบายของอังกฤษ ได้เขียนหนังสือชื่อ “The General Theory of Employment, Interest and Money” หรือเรียกสั้นๆว่า “The General Theory” เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ขัดแย้งกับเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อนๆ ในเรื่องกลไกตลาด ที่ไม่สามารถทำงานได้ดีพอสำหรับการแก้ไขปัญหาการว่างงานและปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้น ดังนั้น รัฐจึงควรถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแทรกแซง เพื่อการกระตุ้นให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นและลดการว่างงานลง โดยรัฐอาจสร้างงานให้ประชาชน เช่น การสร้างถนน สร้างเขื่อน หรือสร้างสถานที่ทำงานของรัฐ เป็นต้น
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจหรือสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีระเบียบ รู้จักใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีเป้าหมายต่างกันอันเนื่องจากหน่วยเศรษฐกิจต่างระดับกัน
ระดับผู้บริหารประเทศ ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์ในการพิจารณาถึงการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ที่มีอย่างจำกัดนั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ระดับประชาชน ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อ เป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกและตัดสินใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจประกอบอาชีพ หรือ ช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบ้านเมืองและวิธีแก้ไขของภาครัฐบาล
1. ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์
แบ่งเป็น 2 สาขา
1.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยหรือศึกษาเฉพาะกรณีเป็นเรื่อง ๆ เช่น การขึ้นราคาสินค้า การฟอกเงิน กฤติกรรมการบริโภค ของบุคคลในสังคม ฯลฯ
1.2 เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ปัญหาเงินเฟ้อ ฯลฯ
2. หน่วยเศรษฐกิจหรือผู้ประกอบการหมายถึง ผู้ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการโดยเป็นผู้นำปัจจัยการผลิตซึ่งประกอบด้วย
2.1 ทุน Capital ทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สินค้า เครื่องจักร หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต
2.2 ที่ดิน Land หมายถึง แหล่งผลิตหรือทรัพยากรที่อยู่บนดิน ใต้ดิน และเหนือพื้นดิน
2.3 แรงงาน Labour หมายถึง การทำงานทุกชนิดที่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ แรงงานนี้รวมถึง แรงงานด้านการใช้กำลังกายและกำลังความคิดของมนุษย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย
2.4 การประกอบการ Enterpreneurship หมายถึงผู้ผลิต ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโดยตรง เป็นผู้ให้ความริเริ่มในนโยบายต่างๆ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายในส่วนสำคัญในอันที่จะทำให้ การผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ปัญหาพื้นฐานทางการผลิต
3.1 จะผลิตอะไร
3.2 จะผลิตอย่างไร
3.3 จะผลิตเพื่อใคร
เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด และสอดคล้องกับทรัพยากรของประเทศที่มีอย่างจำกัด ประเทศใดสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาพื้นฐานดังกล่าว โดยถือการกินดี อยู่ดีของประชาชนในประเทศเป็นเกณฑ์วัด แสดงว่าประเทศนั้นประสบความสำเร็จต่อปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ประเภทของวิชาเศรษฐศาตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน

เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ
เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ (เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย)
เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่
เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics)
เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics)

สำหรับประเด็นหลัก ๆ ที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้น ๆ นั่นเอง

ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิกใหม่ (Neo - Classical Economics) ทั้งนี้ เศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิเคราะห์ถึง "ความเป็นเหตุเป็นผล-ความเป็นปัจเจกชน-ดุลยภาพ" ตรงกันข้ามกับเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่เน้นวิเคราะห์ "สถาบัน-ประวัติศาสตร์-โครงสร้างสังคม" เป็นหลัก

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์คืออะไร

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกนำาเอามาใช้เพื่อกระตุ้นให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาด เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บางอย่างเพื่อลดการปล่อยมลพิษและลดการบริโภควัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่อาจกลายมาเป็นขยะมูลฝอย อีกนัยหนึ่งกลไกดังกล่าวย่อมเสริมแรงจูงใจ ...

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นมีอะไรบ้าง

เศรษฐศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ตลาด ไปจนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การวิเคราะห์ตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค ซึ่งจะมีกราฟหรือตัวเลขเป็นเครื่องมือสำหรับบอกค่าต่างๆว่า แต่ละอย่างเกิดขึ้นเพราะอะไร และจะส่งกระทบอย่างไรต่อใครบ้าง ทุกอย่างจะเป็นเหตุเป็นผล ...

หัวใจสําคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์คืออะไร

หัวใจของหลักเศรษฐศาสตร์ คือ การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่ง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหลักปรัชญาที่ทำให้เราสามารถนำทรัพยากรมาใช้พัฒนาได้อย่างรอบด้านและคุ้มค่าที่สุด ทั้งการกำหนดเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดโดยพึ่งตนเองและไม่เดือดร้อนผู้อื่น ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Positive Economics และ Normative Economics แตกต่างกันอย่างไร

Normative Economics นน เราไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องด้วยการหา ประจักษ์พยานข้อเท็จจริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง Positive Economics มิได้มีการใช้ค่านิยม ส่วนบุคคล (value judgment) ส่วน Normative Economics มีการใช้ดุลพินิจส่วนบุคคล