บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด

สถานที่ตั้ง บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ประวัติความเป็นมา
การค้นพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณหมู่บ้านเชียงนั้น เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อราษฎรชาวบ้านเชียงบางคนสังเกตเห็นและมีความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีลวดลายเขียนสีแดงที่มักพบเสมอ เมื่อมีการขุดพื้นดินในบริเวณหมู่บ้าน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านและจัดแสดงให้ผู้คนสนใจได้เข้าชม
พ.ศ. ๒๕๐๙ นายสตีเฟน ยัง (Stefhen Young) นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้านเชียง จึงได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผาเขียนสีกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่บ้าน จึงได้เก็บไปให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำกองโบราณคดี กรมศิลปากร ศึกษาวิเคราะห์และได้ลงความเห็นว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ (Neotelhic Period)
ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอย่างจริงจัง และส่งโบราณวัตถุไปหาอายุโดยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (C-๑๔) ที่มหาวิทยาลัยเพนซินเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า โบราณวัตถุเหล่านั้นมีอายุ ประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๓ หน่วยศิปลากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุที่บ้านเชียง แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จึงไม่มีการค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. ๒๕๑๕ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน และบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการขุดค้นที่บ้านเชียง เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

ลักษณะทั่วไป
วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง แบ่งออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ ตามลักษณะการฝังศพและภาชนะดินเผาที่บรรจุลงเป็นเครื่องเซ่นในหลุมฝังศพ ดังนี้
๑. สมัยต้นบ้านเชียง อายุระหว่าง ๕,๖๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
๒. สมัยกลางบ้านเชียง อายุระหว่าง ๓,๐๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
๓. สมัยปลายบ้านเชียง อายุระหว่าง ๒,๓๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว
จากการวิเคราะห์วิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียงโดยนักวิชาการพบว่า คนบ้านเชียงสมัยนั้นได้เลือกที่จะตั้งหมู่บ้านในพื้นที่เนินสูงปานกลางใกล้จุดที่ทางน้ำธรรมชาติสองสายมาบรรจบกัน และมีพื้นที่ราบลุ่มผืนใหญ่รอบๆ มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์กันแล้ว แต่ก็ยังล่าสัตว์ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร บ้านพักอาศัยมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างอยู่บนเสาสูงทำให้มีใต้ถุนบ้าน สามารถใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ได้

หลักฐานที่พบ
๑. โครงกระดูกมนุษย์
๒. กระดูกสัตว์
๓. ภาชนะดินเผาลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และลายเขียนสี
๔. ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว
๕. เครื่องประดับ เครื่องใช้ ใบหอก และใบขวานสำริด

เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ เส้นทางอุดรธานี-สกลนคร ถึงกิโลเมตรที่ ๕๐ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒๕ เข้าสู่หมู่บ้านเชียงอีกประมาณ ๖ กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองอุดรธานีถึงบ้านเชียง ๕๖ กิโลเมตร

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญเห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 16 ภายใต้เกณฑ์คุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากล ข้อที่ 3 เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานทางวัฒนธรรม หรือ อารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน หรือที่สาบสูญไปแล้ว

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ตั้งอยู่บนเนินดินสูง รูปยาวรี ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ ที่ยังคงปรากฎ ร่องรอยการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 4,300 ปี ก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นพัฒนาการในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความรู้ความสามารถและภูมิปัญญา ในด้านต่าง ๆ อาทิ หม้อเขียนสี และเครื่องมือเครื่องใช้สำริด และโลหะ

ปัจจุบัน โบราณวัตถุที่ขุดพบส่วนใหญ่ ถูกรวบรวม และจัดแสดงไว้ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ในพื้นที่

    บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะเมื่อราว 5,000 กว่าปีมาแล้ว มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณ ชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะที่รู้จักทำการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ นิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก และรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมาแต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่กันไป

ชาวบ้านเชียงรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะสีเทาทำเป็นลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และขัดมัน รู้จักทำภาชนะดินเผาลายเขียนสีรูปทรงและลวดลายต่าง ๆ มากมาย กรมศิลปากรได้ส่งเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบที่บ้านเชียงนี้พบว่ามีอายุประมาณ 5,000-7,000 ปีซึ่งเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่พบที่บ้านเชียงนี้ นับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าที่ค้นพบที่ประเทศสาธารณรัฐจีนและอาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลกก็เป็นได้

พบว่าใต้พื้นดินในหมู่บ้านมีโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังร่วมกับวัตถุมากมายโดยเฉพาะภาชนะเขียนลายสีแดงสวยงามแปลกตา ใบที่สมบูรณ์ถูกนํามาใช้ประโยชน์ ใน ..2503 โรงเรียนบ้านเชียงจัดห้องพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมวัตถุที่พบในหมู่บ้าน เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาตรวจโรงเรียนก็มักจะมอบภาชนะเขียนลายให้เพื่อหวังให้มีคนสนใจ .. 2508 ภาชนะเขียนลายสีแดงใบสุดท้ายของโรงเรียนมอบให้กับเจ้าหน้าที่จังหวัด และถูกส่งต่อไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

.. 2510 การศึกษาโบราณคดีบ้านเชียง เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังโดยกรมศิลปากรและสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

.. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนินทอดพระเนตรการขุดค้นของกรมศิลปากร

.. 2516 นายสตีเฟน ยัง นักศึกษาสังคมวิทยาเดินทางไปที่บ้านเชียงให้ความสนใจภาชนะเขียนลายสีแดงเป็นอย่างมาก

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
สมเด็จพระพี่นางฯ เสด็จชมนิทรรศการ ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จัดแสดงวัตถุที่ขุดค้นพบ ที่บ้านอ้อมแก้ว ราวกลางปี พ.ศ. 2515

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นขาว จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
(ภาพโดย พจนก กาญจนจันทร)

หม้อเขียนลาย

งานสํารวจขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง เริ่มขึ้นราว .. 2510 หรือภายหลังจากที่มีการซื้อขายโบราณวัตถุมาหลายปีหม้อเขียนลายได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อมาเมื่อข้อมูลทางวิชาการระบุว่าบ้านเชียงมีอายุเก่าแก่ถึง 6,000-7,000 ปีก็ยิ่งทําให้หม้อเขียนลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น

กระแสการอนุรักษ์

ก่อนหน้าที่ข้อมูลความรู้ทางโบราณคดีจะก้าวหน้าดังเช่นปัจจุบัน ก็มีงานตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับการค้นพบที่บ้านเชียงมากมายหลายชิ้น ทั้งโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจที่ไม่ใช่นักโบราณคดี ที่ได้บอกเล่าประวัติชุมชน ประวัติการค้นพบ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และที่น่าสนใจคือมีความพยายามที่จะอธิบายที่มาของวัฒนธรรมบ้านเชียงโดยเปรียบเทียบกับหลักฐานในต่างประเทศ

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด

พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504

มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน/วัตถุ และรองรับการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นพิเศษ อีกทั้งให้อํานาจอธิบดีในการประกาศห้ามทําการค้าโบราณวัตถุดังกล่าวนั้นในราชกิจจานุเบกษา และมีการกําหนดบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นกว่ากฎหมายฉบับก่อน

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 189 พ.ศ. 2515

ห้ามการขุดหา และจําหน่ายจ่ายโอนโบราณวัตถุ อธิบดีกรมศิลปากรมีอํานาจสั่งให้ผู้ครอบครองส่งมอบโบราณวัตถุ ผู้ฝ่าผืนมีความผิดทางอาญา

บ้านเชียงในโลกวิชาการ

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
วิทยา อินทโกศัย
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
อลิซเบธ ไลออนส์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
เฟรอลิช เรเนย์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
ดอนน์ แบเยิร์ต
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
เซสเตอร์ ดอร์แมน
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
พิสิฐ เจริญวงศ์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
จอยซ์ ไวท์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
สุด แสงวิเชียร
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
ปรีชา กาญจนคม
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
สุมิตร ปิติพัฒน์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
หลุมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงภายในวัดโพธิ์ศรีใน ปี พ.ศ. 2518
(ภาพโดย เชสเตอร์ กอร์แมน)
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
หลุมขุดค้นจําลอง (บน) จัดแสดงที่วัดโพธิ์ศรีใน (ล่าง) จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติบ้านเชียง (ภาพโดยพจนก กาญจนจันทร)

บ้านเชียงกับการเริ่มต้นงานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

องค์ความรู้เรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ราว .. 2500 เป็นต้นมา กระแสความสนใจต่ออดีตของผู้คนบนผืนแผ่นดินไทย ถูกปลุกขึ้นมาด้วยการค้นพบโครงกระดูกและภาชนะเขียนลายที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
ภาพหมู่คณาจารย์และนักศึกษาแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ
โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรขุดค้นที่บ้านเชียงหน้าหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรี ใน พ.ศ. 2516

การสํารวจขุดค้นที่บ้านเชียง

       ดําเนินโดยกรมศิลปากร และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โครงการศึกษาที่ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดและเทคนิควิธีต่อโบราณคดีไทยมากที่สุดคือ โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่รวมผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา วัตถุประสงค์ของโครงการนอกจากใน

ด้านวิชาการแล้วก็มุ่งหมายในการฝึกฝนนักโบราณคดีรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การขุดค้นได้เผยให้เห็นว่าบ้านเชียงเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ช่วงประมาณ 5,600 – 1,800 ปีมาแล้ว เป็นสังคมเกษตรกรรม มีประเพณีการฝังศพที่นิยมฝังสิ่งของอุทิศร่วมกับศพ เช่น ภาชนะดินเผาที่ผลิตอย่างประณีต และเครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น

มหากาพย์สําริดบ้านเชียง

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
โบราณวัตถุจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
(ภาพโดย พจนก กาญจนจันทร)

Localism vs Diffusionism

       ผลงานวิจัยโบราณคดีบ้านเชียงได้สร้างองค์ความรู้มากมายเกี่ยวกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เช่น เรื่องการดํารงชีวิต พิธีกรรมความเชื่อการใช้ทรัพยากรพัฒนาการของเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอก ตลอดจนการแสดงออกเชิงศิลปะที่สะท้อนโลกทัศน์และจินตนาการของคนสมัยโบราณ 

       เมื่อมีการค้นพบหลักฐานเชิงประจักษ์จํานวนมากก็สะท้อนให้เห็นว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างน้อย ตั้งแต่สมัยหินใหม่ อีกทั้งยังมีความรู้ความชํานาญที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะด้านโลหกรรม ซึ่งมีผู้เสนอว่าเป็น เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเองในท้องถิ่น(Localism) หาได้เป็นสังคมที่ล้าหลังที่เพียงแต่รับความเจริญจากภาพนอกดังที่เคยเข้าใจกันไม่

ความรู้ใหม่ท้าทายแนวคิดเดิม

        ที่ว่าด้วยเรื่องการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (Diffusionism) และการเสนอค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของบ้านเชียงที่มีนัยยะถึงอายุสมัยของโลหกรรมด้วย ที่บางคนเชื่อว่าไม่ควรเก่าแก่ไปกว่าจีนและอินเดียจนทําให้เกิดข้อถกเถียงทางวิชาการมากมาย

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคใด
ใบหอกสําริดพบที่บ้านเชียง
(ที่มาภาพ: http://iseaarchaeology.org/distinct-bronze-age)

อายุเป็นเพียงตัวเลข

           ข้อมูลแหล่งโบราณคดีไทยนับว่าก้าวหน้ามากในปัจจุบัน การเสนออายุสมัยของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงโดยทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคนิคการกําหนดอายุที่พัฒนาขึ้น ปัจจุบันทีมวิจัยนี้เสนอว่า บ้านเชียงสมัยสําริดมีอายุ ราว 1,700 ปีก่อนคริสตกาล

          ในขณะที่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอตาโก นิวซีแลนด์ ที่ทํางานที่แหล่งบ้านโนนวัด และแหล่งอื่นๆ ใน .นครราชสีมา เสนอว่าโลหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยน่าจะเริ่มขึ้นราว 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

           ข้อถกเถียงว่าด้วยการกําหนดอายุดังกล่าวนี้ กลายเป็นมหากาพย์ทางวิชาการที่ยังไม่มีข้อยุติ คงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของโลกวิชาการ ที่จะมีแนวคิดที่แตกต่างกันไปหากเป็นการถกเถียงด้วยการทํางานวิจัยแทนที่จะเป็นการล้มล้างความน่าเชื่อถือของกันและกัน

มรดกโลกบ้านเชียง

มรดกไทย

บ้านเชียงมิใช่เป็นเพียงแหล่งโบราณคดีแต่อาจเรียกได้ว่าเป็นภาพแทนของโบราณคดีไทยเป็นแหล่งที่มีบทบาทสําคัญ

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงมีอายุกี่ปี

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นปรากฎการณ์สำคัญของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี ในช่วงเวลาระหว่าง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช ๒๐๐ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับ ...

ใครคือผู้ค้นพบแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

Joyce White นักโบราณคดีผู้ศึกษา 'บ้านเชียง' ผ่านพืชผักท้องถิ่น จนค้นพบวิทยาการที่โลกไม่เคยรู้จัก เรื่องราวของนักโบราณคดีอเมริกัน และวัยรุ่นอเมริกันผู้สะดุดล้มไปเจอเศษเครื่องปั้น ที่ทำให้ 'บ้านเชียง' กลายเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญของโลก

แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงพบหลักฐานใด

จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มาจากการพบภาชนะลายเขียนสี เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยชาวบ้านเชียง ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ชาวอเมริกัน ได้พบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงโดยบังเอิญจึงนำไปแจ้งที่กรมศิลปากร ปีพ.ศ. 2510 จึงได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกปี พ.ศ.2515 ได้ขุดค้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จ ...

ภาชนะดินเผาลายเขียนสีที่บ้านเชียงเกิดขึ้นในยุคใด

อายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้ว ลักษณะ : ภาชนะดินเผาก้นกลม ปากผายออก มีการตกแต่งด้วยการเขียนสี เต็มทั้งใบ