ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำว่าพอเพียงและพอดีเป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริเอาไว้ และได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยให้เป็นแนวทางพื้นฐานของการดำรงชีวิต เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในแบบที่ยั่งยืนพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีชีวิตที่สมดุล และสามารถพึ่งพาตนเองได้วิธีการอยู่ในสังคมให้มีความสุข จะขอน้อมเอาหลักคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแบบอย่าง นั่นคือหลักของความพอดี 5 ประการ

  1. ความพอดีด้านจิตใจ หมายถึงต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อเพื่อมนุษย์และคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
  2. ความพอดีด้านสังคม การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้จักสร้างความสามัคคีในหมู่คณะรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
  3. ความพอดีด้านความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างฟุ่มเฟือย ควรมีนิสัยการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
  4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมมาก
  5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ ควรรู้จักวิธีการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่ พอกินอย่างพอดีและรู้จักเก็บออมจนเป็นนิสัย

ถ้ายึดหลักความพอดีเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตแล้ว ความสมดุลในด้านอื่น ๆ ก็จะสามารถมีได้ไม่ยาก การพัฒนาก็จะก้าวสู่ความยั่งยืนทั้งต่อตนเองและประเทศชาติ ได้ตามลำดับขั้นตอน แม้ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตในแบบของคนเมืองหลวงก็ตาม พระองค์ท่านไม่ได้ทรงต้องการให้การตีความของคำว่าพอเพียง ไปในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ เพราะมีหลาย ๆ คนที่เข้าใจผิดคิดว่าไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องพยายาม ก็เลยอยู่เฉย ๆ นั่นผิดวัตถุประสงค์อย่างแน่นอน

ด้วยทรงเข้าใจสภาพของสังคมไทยเรา จึงมีแนวพระราชดำริและพระบรมราโชวาท เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าความพอเพียงนั้นคือ การยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริตและต้องไม่หยุดนิ่งที่จะขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้นรวมถึงเคารพซึ่งกันและกัน นี่คือปรัชญาการใช้ชีวิตแบบยั่งยืนบนพื้นฐานของคำว่าพอเพียงอย่างพอดีและตามรอยพ่อหลวง (รัชกาลที่9) ให้เป็นแบบอย่างที่ดีถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเราต่อไป

ความพอดีด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

คำถาม:ความพอดีด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คืออะไร

ตอบ การรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยยึกหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน  มีระบบจัดการบริหารที่ดี  แม้ว่าบางกรณีจะต้องลงทุนและเสียทรัพยากรบางอย่างไป  ก็เพื่อผลประโยชน์ที่กลับคืนมาที่มากกว่าและดีกว่า

กลับหน้าหลัก    คำถาม2

งานนำเสนอเรื่อง: "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางส่งเสริมการสร้างความพอดี 5 ประการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางส่งเสริมการสร้างความพอดี 5 ประการ
ความพอดีด้านจิตใจ 1 ความพอดีด้านสังคม 2 ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 ความพอดีด้านเทคโนโลยี 4 ความพอดีด้านเศรษฐกิจ 5 สุเมธ ตันติเวชกุล (2550:6)

2 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางส่งเสริมการสร้างความพอดี 5 ประการ
ความพอดีด้านจิตใจ 1 เราต้องไม่ดูที่คนอื่น ต้องดูที่ตัวเราเอง ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ใช่หลงใหล ไปตามกิเลส ตัณหา 1 สุเมธ ตันติเวชกุล (2550:6)

3 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางส่งเสริมการสร้างความพอดี 5 ประการ
ความพอดีด้านสังคม 2 2 เราไม่อยู่คนเดียวในโลก เราดีคนเดียวยังไม่พอ แต่เราจะต้องมีความสัมพันธ์กับคนอื่น เราต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็ง ให้ครอบครัวและชุมชน สุเมธ ตันติเวชกุล (2550:6)

4 3 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางส่งเสริมการสร้างความพอดี 5 ประการ
ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 เราต้องเลิกนิสัยการใช้ทรัพยากรอย่างล้างผลาญ กินทิ้งกินขว้าง ฟุ่มเฟือย จะต้องรู้จักใช้ จัดการอย่างฉลาด อย่าเป็นแค่นักอนุรักษ์ ต้องบริหารจัดการให้เป็น ให้เราใช้ได้อย่างไม่รู้จบ เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3 สุเมธ ตันติเวชกุล (2550:6)

5 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางส่งเสริมการสร้างความพอดี 5 ประการ
ความพอดีด้านเทคโนโลยี 4 4 การใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม ไม่ใช่ปิดประเทศอยู่อย่างล้าหลัง ต้องปรับปรุงด้วยเทคโนโลยี ต้องคัดสรรเทคโนโลยีที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์จริงๆสอดคล้องกับความสำคัญ สร้างประโยชน์แก่คนหมู่มาก สุเมธ ตันติเวชกุล (2550:6)

6 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางส่งเสริมการสร้างความพอดี 5 ประการ
ความพอดีด้านเศรษฐกิจ 5 5 ความพอดีด้านเศรษฐกิจนั้นจำเป็นต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อน มีรายได้เท่าไหร่ ต้องจัดการให้ได้ ไม่ใช่ดูตัวอย่างคนอื่น ต้องอยู่พอกิน พอใช้ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว หารายได้ให้อยู่ได้ค่อยเป็นค่อยไป หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ สุเมธ ตันติเวชกุล (2550:6)