แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร เกิดจาก

ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมการติดเชื้อในแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนก่อให้เกิดโรคร้ายแรงแต่บางคนกลับไม่มีอาการ ซึ่งเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุก่อให้เกิดหลายโรคในกระเพาะอาหาร คือ Helicobacter pylori หรือชื่อที่เราคุ้นเคยคือ H.pylori เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบได้ในกระเพาะอาหาร พบว่าประชากรกว่าครึ่งหนึ่งในโลกตรวจพบเชื้อชนิดนี้ แต่ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดงของโรคปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ H.Pylori อาจติดต่อโดยการทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ ผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่า Duodenum เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกสุดของทางเดินอาหารที่รับอาหารต่อจากกระเพาะ โดยเชื้อจะเข้าไปปล่อยเอนไซม์และสารพิษต่างๆ ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้กรดในกระเพาะอาหารรวมถึงน้ำย่อยต่างๆ ทำลายเนื้อเยื่อกระเพาะและลำไส้เล็กรุนแรงขึ้น จนก่อให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังทั้งกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น

อาการของเชื้อ H.pylori

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการแตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการรุนแรง ไปจนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยอาการที่พบได้บ่อยของแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ อาการปวด หรือแน่น โดยเเฉพาะด้านบนของช่องท้อง อาการท้องอืดแน่น เรอ หรือมีลมแน่น รับประทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็วขึ้น หรืออาการแน่นหลังจากรับประทานแม้ทานไม่มาก ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายอุจจาระสีดำ อาการเพลีย หรืออาการที่มีผลจากภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังบางราย อาจมีเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารผิดปกติได้ แต่ก็มีบางส่วนที่อาจเปลี่ยนเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อ H.pylori

ทดสอบการติดเชื้อ H.pylori โดยไม่ต้องส่องกล้อง มีหลายวิธี ได้แก่

  • เจาะเลือดตรวจ โดยวินิจฉัยหาโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเลือดเรียกว่า “antiesbodies” เป็นโปรตีนที่เป็นภูมิคุ้มกันที่มีความจำเพาะต่อเชื้อ H.pylori
  • ตรวจการติดเชื้อจากลมหายใจ โดยจะให้รับประทานสารพิเศษ ซึ่งจะแตกตัวเมื่อมีเชื้อ H.pylori ในกระเพาะอาหาร ทำให้สามารถตรวจพบค่าความผิดปกติได้จากลมหายใจ
  • ทดสอบการติดเชื้อโดยการตรวจอุจจาระ เป็นการทดสอบหาโปรตีนจากเชื้อ H.pylori โดยตรงจากอุจจาระ

เมื่อไหร่ที่ต้องตรวจหาการติดเชื้อ H.pylori

แนะนำให้ตรวจเมื่อผู้ป่วยมีอาการน่าสงสัยว่าอาจมีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่เคยมีประวัติติดเชื้อมาก่อน หรืออาจตรวจในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร รวมถึงผู้ที่มีความกังวลว่าอาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะคนเชื้อสายจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์ของมะเร็งกระเพาะอาหารค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะพบการติดเชื้อ H.pylori ได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร แต่ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารก็ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ H.pylori ทุกคน โดยสาเหตุสำคัญอีกประการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารคือ ยา เช่น ยาในกลุ่ม aspirin, ibuprofen, naproxen เป็นต้น

แนวทางการรักษา

สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่ตรวจพบแผลในกระเพาะอาหารร่วมกับการตรวจพบเชื้อ H.pylori พร้อมๆ กัน การกำจัดเชื้อจะช่วยรักษาแผล และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ อีกทั้งลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผล เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร

การรักษาแนะนำว่าต้องใช้ยามากกว่า 3 ชนิดในการกำจัดเชื้อ เพื่อให้ได้ผลหายขาดมากกว่าร้อยละ 90 และต้องใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างน้อยสองชนิดเพื่อลดโอกาสดื้อยา โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาให้ครบและต่อเนื่องตลอดการรักษา แพทย์จะใช้ยาหลายๆ ชนิดในการกำจัดเชื้อ H.pylori ใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน และอาจพิจารณาใช้ยาลดกรดกลุ่มหนึ่งที่ชื่อ proton pump inhibitor หรือ PPI มีผลช่วยลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อหายเป็นปกติ เช่น lansoprazole, omeprazole pantoprazole, rabeprazole และ esomeprazole เป็นต้น

ผลข้างเคียงของการรักษา

โดยทั่วไปจะพบผลข้างเคียงจากยาประมาณร้อยละ 50 แต่ส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก และน้อยกว่าร้อยละ 10 ที่ต้องหยุดยา ซึ่งยาที่พบว่ามีผลข้างเคียงบ่อย ได้แก่ metronidazole และ clarithromycin ยาเหล่านี้ทำให้เกิดรสขมเหมือนเหล็กในปาก สำหรับผู้ที่รับประทานยา metronidazole และดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดผื่นผิวหนัง ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ส่วนผู้ที่ได้รับยา Bismuth อาจทำให้อุจจาระมีสีดำกว่าปกติ และยาเกือบทุกตัวอาจทำให้มีอาการปวดท้องหรือถ่ายเหลวได้

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร หรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรตรวจหาความเสี่ยง หรือตรวจสุขภาพประจำปี เพราะเป็นการป้องกันโรคร้ายได้ดีที่สุด

อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังรับประทานอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน อาจเกิดจากการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ในระบบทางเดินอาหารก็เป็นได้
ทำความรู้จัก เชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร)
    H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร ติดต่อระหว่างคนสู่คน โดยเชื้อเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่บางรายเชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นรวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไรเป็นอย่างไร
การติดเชื้อชนิดนี้มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ก็ยังผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติได้ ได้แก่
• ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องส่วนบนบริเวณเหนือสะดือ
• ปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร
• คลื่นไส้ อาเจียน
• จุกเสียดลิ้นปี่
• ท้องอืด เรอบ่อย
• เบื่ออาหาร
• น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
    อาการดังที่กล่าวมานี้ ล้วนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้เรื้อรัง ดังนั้น หากมีอาการลักษณะนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและทำการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีอาการจากการติดเชื้อ H. Pylori ที่มีความรุนแรงมากขึ้นและจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร เกิดจาก

ลักษณะอาการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) แบบรุนแรงที่ควรพบแพทย์ด่วน
1. มีปัญหาในการกลืน
2. ปวดท้องอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
3. อาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนมีสีน้ำตาลคล้ำ
4. อุจจาระเป็นเลือด ลักษณะของอุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง
    ผู้ป่วยบางรายเมื่อมีการอักเสบที่รุนแรงเกิดขึ้นจนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจมีถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ มีลักษณะเหมือนยางมะตอยได้ (อุจจาระเป็นเลือด) จากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก เสี่ยงต่อ ภาวะโลหิตจาง, กระเพาะอาหารทะลุ รวมถึง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
DID YOU KNOW: องค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อ Helicobacter pylori เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง เช่นเดียวกับบุหรี่ และไวรัสตับอักเสบบี ดังนั้น การกำจัดเชื้อให้หมดจึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในอนาคตได้
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร ติดได้อย่างไร
    จากการศึกษาปัจจุบันยังหาสาเหตุของการติดเชื้อ H. Pylori ได้ไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากแบบไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้กับทุกเพศทุกวัย โดยที่เมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori เข้ามาในร่างกายเราแล้ว ร่างกายเราก็พยายามจะกำจัดเชื้อแบคทีเรียนี้ ด้วยการส่งเม็ดเลือดขาว และสร้างแอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody)เพื่อทำลายแบคทีเรียนี้ แต่ก็ไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียนี้ได้ เนื่องจากเชื้อ H. Pylori มีอยู่หลายชนิดย่อย ขณะเดียวกับเชื้อ H. Pylori ก็จะเข้าไปโจมตีเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้
แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร เกิดจาก

เมื่อไม่มีแน่ใจว่าติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ตรวจอย่างไร
   เบื่องต้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการให้แน่ชัด ในส่วนของการตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้โดย
1. การตรวจเลือด เป็นการตรวจหาสารภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อ วิธีนี้จำเป็นต้องใช้ผลจากการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ วินิจฉัยร่วมด้วย
2. การตรวจลมหายใจ ผู้ป่วยต้องรับประทานสารที่มีส่วนประกอบของโมเลกุลคาร์บอน จากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยหายใจใส่ถุง แล้วนำตัวอย่างลมหายใจไปตรวจหาร่องรอยของการติดเชื้อที่ออกมากับแอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. การตรวจอุจจาระ เป็นการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติเจน ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori
4. การส่องกล้อง Endoscopy โดยใช้ท่อที่ต่อกล้องลงไปในทางเดินอาหารซึ่งวิธีนี้สามารถนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้ด้วย (biopsy) เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อ H.pylor โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่บริเวณส่วนปลายเข้าไปทางปากเพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร เกิดจาก

รักษาการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ได้อย่างไร
    การติดเชื้อ H. Pylori สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น โดยหลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติิดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องรักษาซ้ำโดยเปลี่ยนยาตามอาการของแต่ละบุคคล เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีการดื้อยาเกิดขึ้น
โรคติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร)มีการดูแลตนเองและการป้องกันอย่างไร
    วิธีที่ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเองคือ การดูแลสุขอนามัยที่ดี ด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ก็จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้ เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนจัดเตรียมหรือรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุกลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัด การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ รวมถึงเลิกสูบบุหรี่นอกจากนี้ ในส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเชื้อ H. pylori และได้รับยาปฏิชีวนะรักษา การรับประทานยาให้ครบตามจำนวนวันที่กำหนด เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเชื้อมีโอกาสดื้อยาได้ง่าย ทำให้การรักษาอาจไม่ได้ผล

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
โทร. 0-2271-7000 ต่อ โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ

แบคทีเรียในกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

แบคทีเรียชนิดนี้พบได้จากการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ไม่ผ่านความร้อน และในอาหารแช่เย็นที่ติดเชื้อชนิดนี้จากกระบวนการผลิตที่ไม่สุก ไม่สะอาดเพียงพอ ทำให้มีแบคทีเรียเจือปน เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะแฝงตัวในกระเพาะอาหารจนกระทั่งมีอาการผิดปกติแสดงออกมา

H. Pylori ก่อให้เกิดโรคใด

เชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) คือเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร โดยผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังแต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งผู้ติดเชื้อนี้มีความเสียงที่จะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหารถึง 10-20 % โดยมีการอักเสบที่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย และมีโอกาสสูงที่จะเกิดในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงผู้ติดเชื้อนี้ ...

H. Pylori อันตรายไหม

เชื้อโรคเอชไพโลไรเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ซึ่งพบว่า ถ้าเราได้รับเชื้อตัวนี้ในระยะยาว มันจะทำให้เกิดกระเพาะอักเสบและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้

เชื้อ H pylori รักษายังไง

การติดเชื้อ H. Pylori สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น โดยหลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ...