การแต่งกายสมัยอยุธยา pantip

เซ็นทรัลอยุธยา จัดงาน “ฤา บุพเพสันนิวาส2” ในคอนเซ็ปต์ “เชิญออเจ้า นุ่งโจง ห่มสไบ สัมผัสชีวิต วิถีไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์” ช้อป ชิม ลิ้มลองอาหารไทย

วันที่ 29 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ลานกิจกรรม 1 ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อยุธยา นายประพันธ์ ตรีบุปผา ปลัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีเปิดงานฤา บุพเพสันนิวาส 2 ในคอนเซ็ปต์งานเชิญออเจ้าทั้งหลาย นุ่งโจง ห่มสไบ สัมผัสชีวิต วิถีไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ช้อป ชิม ลิ้มลองอาหารไทย แบบครบรส โดยมี นายธนภัทร วงษ์ประเสริฐ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อยุธยา นางจุรีพร ขันตี วัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ และประชาชน ร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก

นายประพันธ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อยุธยา เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ การแสดง การแต่งกาย และการทำอาหาร ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้รวบรวมไว้ในงาน “ฤา บุพเพสันนิวาส” ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 28 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2565 เพื่อมอบให้กับนักท่องเที่ยว และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การส่งเสริมรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งเป็นสีสันของจังหวัดอีกด้วย

สำหรับการจัดงาน “ฤา บุพเพสันนิวาส” ภายใต้คอนเซ็ปต์ เชิญออเจ้าทั้งหลาย นุ่งโจง ห่มสไบ สัมผัสชีวิต วิถีไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ช้อป ชิม ลิ้มลองอาหารไทย แบบครบรส เพื่อส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ และเป็นการตอบรับกระแสของภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส 2 ที่ได้หยิบยกเรื่องราวประวัติศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งด้านความรุ่งเรืองของการค้าขาย ศิลปะการแสดง ลวดลายของเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ภายในงานจะได้สัมผัสบรรยากาศชีวิตวิถีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จัดไว้อย่างสวยงาม ทั้ง 4 โซน ได้แก่ โซนเรือนครัว โซนนอกชาน โซนตลาดย้อนยุค และโซนถ่ายรูปเช็คอิน พร้อมด้วย สไบ โจงกระเบน และผ้านุ่ง ลวดลายสวยงาม ที่ทางศูนย์การค้าฯ จัดเตรียมไว้สำหรับให้ลูกค้าใส่ถ่ายรูปภายในงาน และกิจกรรมสุดพิเศษ Meet & Greet กับคุณพี่ภพ “โป๊ป ธนวรรธน์” วันที่ 1 ส.ค. 65 ณ ลานกิจกรรม ชั้น G บริเวณ (หน้าร้านสตาร์บัค) ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อยุธยา

             การแต่งกายของชาววังและชาวบ้านจะไม่แตกต่างกันมาก จะมีแตกต่างกันก็ตรงส่วนของเนื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งหากเป็นชาววังแล้วจะห่มผ้าไหมอย่างดี ทอเนื้อละเอียด เล่นลวดลาย สอดดิ้นเงิน-ทอง ส่วนชาวบ้านทั่วไปจะนุ่งผ้าพื้นเมือง หรือผ้าลายเนื้อเรียบๆ หากเป็นราษฎรทั่วไปที่มีอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำนาแล้วจะนุ่งผ้าในลักษณะถกเขมร คือจะนุ่งเป็นโจงกระเบนแต่จะถกสั้นขึ้นมาเหนือเข่า เพื่อความสะดวก ไม่สวมเสื้อ หากอยู่บ้านจะนุ่งลอยชาย หรือโสร่งแล้วมีผ้าคาดพุง แต่ถ้าแต่งกายไปงานเทศกาลต่างๆ มักนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าแพรสีต่างๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชายทั้งสองยาวไว้ด้านหน้า การตัดผมของสตรีสาวจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายทอยยาวถึงบ่า หากเป็นผู้ใหญ่แล้วจะตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น 

# สมัยรัชกาลที่ ๑ แหล่ง: pantip.com การแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่ได้แตกต่างจากสมัยอยุธยาธนบุรีมากนัก ผม :...

Posted by ฝ้ายยกดอกลำพูน - ผ้าฝ้ายทอมือ on Tuesday, March 6, 2018

                    วัดหน้าพระเมรุมีชื่อเดิมว่าวัดพระเมรุราชการาม เป็นวัดโบราณวัดเดียวในอยุธยาที่ยังคงสภาพสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาที่สมบูรณ์มากที่สุด เนื่องจากเป็นวัดที่พม่าเคยใช้ตั้งกองบัญชาการรบ จึงไม่ได้ถูกพม่าเผาทำลาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดมีความงดงามมาก เป็นวัดยอดนิยมอีกแห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวมักเดินทางมานมัสการหลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถอันศักดิ์สิทธิ์