วัย ใด ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อ สุขภาพ มาก ที่สุด

 

  จากข้อมูลสถิติ  ของการประชุมมหกรรมสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อ (NCD Forum 2018) พบว่าคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ถึง 37 คน / ชั่วโมง หรือ 320,000  คน / ปี เเละในอนาคตมีเเนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเเละผู้เสียชีวิตมากขึ้นจากโรคนี้ โดย 6 โรคในกลุ่มโรคNCDs ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ โรคเบาหวาน  โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง

      โรคกลุ่ม NCDs มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Non-Communicable diseases หรือ ภาษาไทยคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนมากอาการของโรคกลุ่มนี้อาจจะไม่แสดงอาการออกมาทันที แต่จะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยบางรายกว่าจะรู้ตัวว่าป่วยในระยะที่รักษาได้ยากแล้ว หรือบางรายก็เสียชีวิตกะทันหัน ทั้งนี้สาเหตุของโรค NCDs ไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัส การติดเชื้อ การติดต่อโรคผ่านตัวพาหะ หรือติดต่อผ่านการสัมผัสแต่อย่างใด แต่เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตทั้งสิ้น ดัง 5 พฤติกรรมหลักต่อไปนี้

    การละเลยอาหารการกิน
         พฤติกรรมการทานอาหาร ถือเป็นสาเหตุใหญ่ของโรค NCDs การทานอาหารหวานจัด เค็มจัด หรือทานของทอด ของมัน ก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมถึงโรคอ้วน ตามมาด้วยโรคอื่นๆที่มีสาเหตุจากโรคนี้ ส่วนการทานเค็ม จากการศึกษาของนักวิจัยทางการเเพทย์ในหลายประเทศยืนยันชัดเจนว่า การทานเค็มจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องด้วยการติดตามกลุ่มคนที่ไม่ใช้เกลือในการประกอบอาหารเลย พบว่า กลุ่มคนที่ไม่ใช้เกลือประกอบอาหารความดันโลหิตจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ ในทางตรงกันข้ามกลุ่มคนที่ใช้เกลือประกอบอาหารเป็นปกติความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นตามอายุเป็นส่วนใหญ่

    ไม่ออกกำลังกาย
         การขาดการออกกำลังกาย จะทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลง การไหลเวียนโลหิตน้อยลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนเเอ ทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงการโรคกลุ่ม NCDs การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคในกลุ่มนี้ เพราะการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจเเข็งเเรง ช่วยให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น ภูมิคุ้มกันเเข็งเเรง จากงานศึกษาวิจัยตัวอย่างประชากรโลกกว่าเเสนคน โดย Dr. Scott Lear ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจากโรงพยาบาล St. Paul ประเทศแคนาดาเป็นหัวหน้าโครงการศึกษานี้พบว่า กลุ่มประชากรที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพียงวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจด้วย

วัย ใด ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อ สุขภาพ มาก ที่สุด

    ดื่มเเอลกอฮอล์
         การดื่มเเอลกอฮอล์นอกจากจะมีผลต่อตับ ยังส่งผลต่อหัวใจ เพราะหากดื่มเกินพอดี แอลกอฮอล์จะทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ  เมื่อเกิดอาการนี้เป็นระยะเวลานานส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนเเอ ในขณะเดียวกันผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับตับหากมีการสะสมแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มาก จะนำไปสู่อาการไขมันพอกตับหรือเกิดพังผืดในตับ  เเละทำให้เป็นโรคตับแข็งได้ 

     สูบบุหรี่จัด
          ในบุหรี่ มีสารพิษกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายกว่าร้อยชนิด เเละเป็นสารก่อมะเร็งอีก 42 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น อะซิโตน (Acetone) ทาร์ (Tar) และที่เรารู้จักกันดีคือนิโคติน (Nicotine) เมื่อสูบบุหรี่ทุกวัน สารเหล่านี้้จะไปทำลายปอดทำให้เกิดโรค เช่น ถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด นอกจากนี้โรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เช่นกัน จากงานวิจัยของศูนย์การแพทย์ทางการทหารในเมืองเบอร์มิงแฮม รัฐอลาบามาของสหรัฐฯ พบว่า การสูบบุหรี่เเละดมควันบุหรี่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน โดยอาสาสมัคร 22% ของกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อีก 17% ของอาสาสมัครที่ไม่สูบบุหรี่เเต่ได้สูดดมควันบุหรี่เสมอ จะเริ่มมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เเต่มีเพียง 11.5% ของกลุ่มคนที่เคยสูบบุหรี่เเละเลิกสูบเเล้ว ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

    เครียด
         เมื่อเครียดร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างฮอร์โมนความเครียดออกมา หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนคอร์ติซอล(Cortisol) ส่งผลให้หัวใจเต้นถี่ขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น  ทั้งนี้ความเครียดยังส่งผลต่อพฤติกรรมการทานอาหารที่ทำให้บางคนทานมากเกินไป รวมทั้งมีพฤติกรรมเเก้ปัญหาความเครียดเเบบผิดๆ เช่นการดื่มเเอลกอฮอล์ การเสพยา หรือการสูบบุหรี่ ซึ่งพฤติกรรมนี้เองจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ รวมถึงโรคมะเร็งด้วย

วัย ใด ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อ สุขภาพ มาก ที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/2/173/176-กลุ่มโรค+NCDs.html
https://www.hfocus.org/content/2018/08/16157
https://www.livestrong.com/article/377725-what-happens-to-your-body-when-you-dont-exercise/
https://www.healthline.com/health/smoking/effects-on-body#3
https://www.thaihealth.or.th/Content/39157-ในบุหรี่มีสารพิษอะไรบ้าง.html
https://www.voathai.com/a/exercise-prevents-early-deaths-ro/4042884.html

ข้อใดคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยง

1. H – Home ครอบครัว ที่อยู่อาศัย ชุมชนแวดล้อม ความปลอดภัยในบ้าน 2. E – Education/Employment การเรียน การทำงาน เป้าหมายอาชีพและความหวังในชีวิต 3. Eating – พฤติกรรมการกิน มากหรือน้อยเกินไป ไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดอาหาร ผอมเกินไปหรือเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่นและเยาวชนมีอะไรบ้าง

องค์การ UNICEF (2007 อ้างถึงใน กรเกล้า สาลี, 2558) ได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง การกระทำของบุคคลที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต หรือทรัพย์สิน ได้แก่การสูบ บุหรี่ การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ การไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการตั้งครรภ์ใน วัยรุ่น

ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดคือข้อใด

สถาบันทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดคือ กลุ่มเพื่อน เพื่อนเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น ทั้งความคิด ค่านิยม การเรียนรู้ วัยรุ่นมักเลือกคบเพื่อนที่มีรสนิยม ทัศนคติคล้ายคลึงกันเด็กชายจะรวมกลุ่มกับ เด็กชายด้วยกันก่อน เด็กหญิงก็จะรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกัน เพราะการมีเพื่อน สนิทเป็นสิ่งสาคั ...

โรคใดสัมพันธ์กับการไม่ออกกำลังกายซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น

เป็นที่ทราบกันว่าการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการเป็นโรคไม่ติดต่อหลายโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมะเร็งหลายชนิด ทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงอีก 1.6% และภาวะสมองเสื่อมอีก 8.1%